ราคายางพารา
พ่อค้าจีนบุกไทย ตั้งล้งรับซื้อยางเหนือจรดใต้ ส่งทีมเจรจาตรง สหกรณ์ ตัดพ่อค้าคนกลาง ชี้ปี61-62 จีนต้องการใช้ยาง 5 ล้านตัน ชสยท.-คยปท. หนุนสุดตัว เผยสถาบันเกษตรกรใต้ลงขันกับนักลงทุนจีนตั้งบริษัทร่วมทุน นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมชาวสวนยางกระบี่ และที่ปรึกษาสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ระบบการซื้อขายยางพาราภายในประเทศมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากพ่อค้า นักลงทุนจีนซึ่งช่วงแรกเข้ามาติดต่อซื้อขายยางจากเกษตรกรโดยตรง เฉพาะในภาคเหนือและอีสาน เริ่มเข้าไปเจรจาซื้อขายยางกับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางในภาคใต้มากขึ้น แม้ไม่ถึงกับตั้งโต๊ะหรือมีโกดังซื้อขายมากเหมือนการซื้อขายผลไม้ในภาคตะวัน ออกและภาคเหนือ แต่ดำเนินการในลักษณะเป็นล้งจีนคล้าย ๆ กัน ล้งยางจีนบุกเหนือจดใต้ โดยพ่อค้าจีนเจรจาขอให้สถาบันเกษตรกรทั้งภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ขายยางให้โดยตรง จากนั้นจะรวบรวมส่งออกเอง อ้างว่าที่ผ่านมายางที่รับซื้อจากพ่อค้า ผู้ส่งออกไทยมักมีปัญหาเรื่องคุณภาพ และราคาซื้อขาย เบื้องต้นเน้นเฉพาะสหกรณ์ หรือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางขนาดใหญ่ก่อน กรณีดังกล่าวมองได้ 2 ด้าน ในทางบวกถือเป็นท
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบการกำหนดรายการสินค้าและบริการควบคุม ปี 2561 รวมทั้งสิ้น 53 รายการ แยกเป็น สินค้า 48 รายการ และบริการ 5 รายการ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ซึ่งได้มีการเพิ่มเติมรายการสินค้าอีก 6 รายการ จากในปี 2560 ที่มีอยู่ 47 รายการ โดยสินค้าควบคุม 6 รายการที่เพิ่มเติมเข้ามาในบัญชี ประกอบด้วย สินค้าในหมวดอุปโภคบริโภคประจำวัน 5 รายการ คือ 1.สบู่ก้อน สบู่เหลว 2.แชมพู 3.น้ำยาปรับผ้านุ่ม 4.ผลิตภัณฑ์ล้างจาน เนื่องจากได้รับการร้องเรียนว่าผู้ผลิตปรับลดขนาดบรรจุ แต่ยังคงราคาเดิมหรือไม่ลดราคาลงตามสัดส่วนปริมาณที่ลดลง ถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค 5.ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับเด็กและผู้สูงอายุที่ปัจจุบันมีความนิยมใช้กันมากขึ้น สินค้าในหมวดเกษตร เพิ่มเติม 1 รายการ คือ น้ำยางสด ยางก้อน เศษยาง น้ำยางข้น ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ ทั้งนี้เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ชาวสวนยางพารา เนื่องจากเกิดปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และมีข้อร้องเรียนว่าเกิดจากระบบการซื้อขายของผู้ประก
วันที่ 28 ธันวาคม นายถาวร เสนเนียม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และแกนนำ กปปส. โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พี่น้องชาวสวนยางผู้มีอาชีพเกี่ยวกับสวนยางพาราทุกท่าน ราคายางพาราตกต่ำเป็นเหตุให้พี่น้องเกษตรกรและผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ร่วมกันแก้ไข ขณะนี้ผมเห็นว่ารัฐมนตรีทั้ง 2 ท่านเดินมาถูกทางแล้ว แต่ยังไม่ทันอกทันใจพี่น้องเกษตรกร เพราะราคายางพาราตกต่ำมาร่วม 4 ปีแล้ว ขณะนี้เรามีความหวังกับมาตรการต่าง ๆ ดังนั้น ผมขอทำความเข้าใจและสนับสนุนต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล ดังต่อไปนี้ (1) สภาพปัญหาและข้อเท็จจริง การเกิดวิกฤติการณ์ราคายางตกต่ำส่งผลกระทบต่อรายได้ในการครองชีพพื้นฐานของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางมาต่อเนื่อง นอกเหนือจากปัญหาความเป็นไปของพลวัตในสถานการณ์โลกทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศราคาน้ำมันและสถานการณ์อื่นๆ ของโลกที่มากระทบต่อราคายางตามที่นักวิชาการมักจะอ้างถึงแล้วนั้นยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากภายในประเทศซึ่งสามารถแก้ไขไ
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กล่าวว่า ในวันศุกร์ ที่ 8 ธ.ค. 2560 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะร่วมประชุมกับกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อหารือมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ที่กำลังประสบปัญหายางราคาตกต่ำ จนทำให้มีชาวสวนยาง เดินทางมาเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล รวมถึงปัญหาเรื่องของเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพปศุสัตว์ และสินค้าเกษตร ทั้งนี้ การหารือดังกล่าวจะมีการเชิญเกษตรกรชาวสวยยาง ผู้ผลิต-ผู้รับซื้อยาง เกษตรกรชาวสวยยาง รวมถึงหน่วยงานที่บริหารดูแลด้านยางพารามาพูดคุยกัน อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นกระทรวงเกษตรฯได้เสนอให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อผลิตสินค้าเกษตร เพื่อความสะดวก หากสามารถรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ จะได้รับการดูแลเป็นอันดับแรก เพราะกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบและง่ายต่อการบริหารจัดการ ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่ จ.ตรัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่เกษตรกรชาวสวนยางพาราประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ทำให้ชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก หลายแปลงเจ้าของสวนตัดสินใจโค่นทิ้งก่อนหมดอายุกรีด เพื่อหันไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน และทำการเกษตรประเภทอื่นแทน ขณะเดียวกันหลายแปลงลูกจ้างกรีดยางหนีหาย เจ้าของสวนหาคนกรีดใหม่ไม่ได้ ต้องปล่อยทิ้งร้าง นายชอบ ประจงใจ เจ้าของสวนยางในพื้นที่ ต.ทุ่งต่อ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เนื้อที่กว่า 20 ไร่ กล่าวว่า ขณะนี้พบมีสวนยางพาราหลายแปลงถูกปล่อยทิ้งร้างไม่มีคนกรีด เพราะประสบปัญหาเรื่องคนงานมีรายได้จากการรับจ้างกรีดยางในแต่ละวัน ไม่พอเลี้ยงครอบครัว จึงหยุดกรีด แล้วหันหาอาชีพรับจ้างอย่างอื่นทำแทน ในส่วนของตนเองมีทั้งหมด 3 แปลง ทั้งกรีดเองบ้าง ให้ลูกจ้างกรีดบ้าง ส่วนที่ลูกจ้างกรีดเนื้อที่กว่า 20 ไร่ ต้องทิ้งร้างหาลูกจ้างใหม่ไม่ได้ และทุกครั้งที่มีปัญหาราคายางตกต่ำ ก็จะเกิดปัญหาลูกจ้างทิ้งสวนยางไม่มีคนกรีดทุกครั้ง “ส่วนที่ตนเองกรีดเองก็จะกรีดบ้างหยุดบ้าง เพราะราคายางตกต่ำ กรีดก็ได้เงินไม่คุ้มค่าเหนื่อย จึงไม่มีกำลังใจจะกรีด และหันไปทำอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย และ
วันที่ 10 พ.ย. นพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีการฝากคำถามถึงประชาชน 6 ข้อ ตนเองขอตอบแทนพี่น้องประชาชนแค่ข้อเดียวคือ ข้อ 3 ที่ถามว่า สิ่งที่ คสช. และรัฐบาลนี้ดำเนินการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนมองเห็นอนาคตที่ดีของประเทศชาติบ้างหรือไม่ ตนขอตอบว่า มองไม่เห็นอนาคต เห็นแต่ความมืดมน เพราะในช่วงรัฐบาลนี้ ยางพาราตกต่ำตลอด จนเป็นวลีติดปากชาวบ้านว่า 3 โล 100 ที่สำคัญคือ รัฐบาลไม่สนใจปัญหายางพาราเท่าที่ควร เห็นได้จากโครงการทั้งหลายที่ประกาศว่า จะนำยางมาใช้ในประเทศนั้นล้มเหลวทุกอย่าง และวันนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นแบบไม่น่าเกิดขึ้น คือการที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จับมือ 5 เสือ บริษัทส่งออกยางพารา ตั้งบริษัทร่วมทุนยางพาราจำกัด เพื่อค้ายางทั้งในและต่างประเทศ พร้อมคุยว่าทำไปเพื่อจะเขย่าราคาตลาดโลก ท่ามกลางความงุนงงของชาวสวนยางทั้งประเทศ อดีตส.ส. กล่าวต่อว่า วันนี้ผลปรากฎออกมาแล้วว่า ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง นั่นคือ 1.ไม่สามารถทำให้ยางพาราราคาสูงขึ้นได้ แต่กลับลดลงเรื่อยๆ 2.ที่คุยว่าจะเขย่าตลาดโลก โดยเข้าไปค้าขายในตลาดล่วงหน้าปรากฎ
นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์การเรียกร้องให้แก้ปัญหาราคายางตกต่ำของเกษตรกรผู้ปลูกยางที่ปัจจุบันอุณหภูมิร้อนแรงขึ้น สภาเกษตรกรแห่งชาติได้จัดประชุมคณะกรรมการด้านยางพารา เมื่อวันที่ 2 พ.ย.60 ณ ห้องประชุม 2 อาคารวชิรานุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อพิจารณาโดยฟังเสียงสะท้อนจากเกษตรกร องค์กรเกษตรกร สถาบันเกษตรกร บุคคลที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากการประชุมได้ข้อสรุปตกผลึกเพื่อเสนอแนวทางแก้ไข 5 ข้อ คือ เสนอให้นายกรัฐมนตรีประกาศใช้ยางพาราในประเทศเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานทุกกระทรวงวางเป็นแผนงานโครงการเพื่อใช้ยางพาราภายในประเทศมากขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีอาจใช้ ม.44 ประกาศยกเว้น ซึ่งจะทำให้ภาครัฐสามารถใช้ยางพาราและผลิตภัณฑ์ภายในปีนี้ได้ทันท่วงทีในปริมาณที่เยอะขึ้น เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บังคับใช้กฎหมายเพื่อลดปริมาณการส่งออกหรือระงับการส่งออก ด้วย รมต.ก.เกษตรฯเป็นผู้ดูแล พ.ร.บ.ควบคุมยาง หากนำกฎหมายฉบับนี้มาใช้ก็จะเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและสถานการณ์ราคายางในสภาวการณ์ปัจจุบันที่ตกต่ำอยู่ เสนอให้สร้างตลาดกลางยางพา
นายไพรัช เจ้ยชุม คณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 พ.ย. 60 ทางคณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางจำนวนหนึ่ง จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ จ.นครศรีธรรมราช ที่เดินทางมาพบกับประชาชน โดยในการเข้าพบ จะยื่นหนังสือคือประเด็นเรื่องของยางพารา เช่น ปัญหาตลาดกลางยางพารา ของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ประสบปัญหาเกี่ยวกับการประมูลซื้อขายยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวแทนเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ประกอบด้วย นายประทบ สุขสนาน รองประธานเครือข่ายฯ ระดับประเทศ นายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายฯ ระดับประเทศ นายวิสูตร สุชาฏา ประธานเครือข่ายฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช นายไพรัช เจ้ยชุม กรรมการเครือข่ายฯ ระดับประเทศ นายประยูรสิทธิ์ คณานุรักษ์ กรรมการเครือข่ายฯ ระดับประเทศ และนายวุฒิ รักษ์ทอง เครือข่ายฯจังหวัดสุราษฎร์ธานี “จะทำการยื่นหนังสือกล่าวถึงปัญหายางพาราทั้งระบบ และขอพูดคุย โดยใช้เวลา 4-5 นาที แบบรวบรัด” นายไพรัช กล่าว นายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคม คนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย (ส.ค.ย.) เปิดเผยว่
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงกรณีสื่อนำเสนอประเด็นปัญหาราคายางพาราตกต่ำเหลือกิโลกรัมละ 40 บาท และเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหา ว่า ราคายางเป็นไปตามกลไกการตลาด จะปรับตัวขึ้นหรือลงขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อและขาย หากย้อนหลังไปในปี พ.ศ.2554 ราคายางพุ่งสูงขึ้นมากที่สุด เนื่องจากมีปริมาณความต้องการใช้ยางเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการเก็งกำไร ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ยางฟีเวอร์ ทำให้ประเทศไทยและหลายๆ ประเทศมีการปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น ในช่วงปี 2553-2555 เพิ่มขึ้นประมาณ 11.9 ล้านไร่ ส่งผลให้สถานการณ์ผลผลิตยางพาราทั่วโลกออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ได้แก่ กัมพูชา เพิ่มขึ้น 33.1% อินเดีย เพิ่มขึ้น 21.0% และเวียดนาม เพิ่มขึ้น 11.3% นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า หากพิจารณาสถานการณ์ราคายางในประเทศระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ระดับราคาปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันกับราคายางในตลาดล่วงหน้าทั้ง 3 ตลาดของต่างประเทศ (โตเกียว เซี่ยงไฮ้ ไซคอม) ที่มีการปรับตัวลดลงทุกตลาด นั่นหมายถึงไม่เพียงแค่ราคายางในประเทศที่ปรับตัวลดลง แต่ราคาของตลาดซื้อขายยางล่วงหน้าในต่าง
วันที่ 30 ต.ค. นายบุญมาก บุญเต็ม ผู้จัดการสหกรณ์ยูงทอง จำกัด อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช กล่าวกับผู้สื่อข่าวถึงกรณีราคายางผกผันลดลงอย่างน่าใจหายว่า ราคาน้ำยางตอนนี้อยู่ที่ กก.ละ 41 บาท ยางรมควันอยู่ที่ 51 บาท และขี้ยางอยู่ที่ 18 บาท ถ้าเป็นอย่างนี้ชาวสวนยางจะอยู่อย่างไร สมาชิกสหกรณ์ถอดใจกันหมดแล้ว เพราะราคาตกจนสู้ไม่ไหว ยางราคาถูกแล้วยังขายไม่ได้ หลังจากได้รับซื้อยางจากสมาชิกสหกรณ์ ก็จะนำไปขายที่ตลาดกลางยางพารา ปรากฏว่าต้องรอวันหรือสองวันถึงจะขายได้ ทำให้ชาวสวนยางต้องแบกรับภาระอย่างหนัก ไม่ทราบว่า การยางแห่งประเทศไทยทำอะไรอยู่ตอนนี้ ตั้งขึ้นมาแล้วไม่ทำอะไรที่เป็นรูปธรรม อยากวิงวอนให้รัฐบาลออกมาหามาตรการช่วยเหลือในเรื่องราคายางพาราที่ตกต่ำวันละบาทสองบาท ยิ่งนานวันชาวสวนยางคงตายกันหมด นายบุญมาก กล่าวอีกว่า ราคายางผกผันผิดปกติทุกวัน บางวันกลุ่มพ่อค้าคนกลางเอายางไปขาย และขายได้ขายดี พอสหกรณ์หรือชาวบ้านเอาไปขาย กลับต้องรอเป็นวันๆ ตนมั่นใจว่าน่าจะรู้เห็นกันระหว่างตลาดกลางยางพารากับพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกิดปัญหาจนส่งผลให้ชาวสวนยางเสียหายอย่างมาก หากไม่มีใครมาดูแลในเรื่องนี้คิดว่าอาจจะมีการนำน้ำยางพ