ราคายางพารา
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) แจงสถานการณ์ยางพาราที่ผ่านมา และแนวทางการจัดการของ กยท. หลังจากที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลต่อปัญหาราคายางพาราในปัจจุบัน ว่า กยท. ให้ความสำคัญ และติดตามสถานการณ์ราคายางปัจจุบันอย่างใกล้ชิด รวมถึงได้ดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนงานแก้ไขปัญหาราคายางผันผวน และการสร้างเสถียรภาพด้านราคา โดยระดับราคายางในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ที่ผ่านมา ราคายางในประเทศมีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันกับราคายางในตลาดล่วงหน้าทั้ง 3 ตลาดของต่างประเทศ (โตเกียว เซี่ยงไฮ้ ไซคอม) ที่มีการปรับตัวลดลงทุกตลาด โดยราคายางแผ่นรมควันในตลาดกลาง 3 ตลาดหลัก ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 52.07 บาท/กิโลกรัม ปรับตัวลดลง ร้อยละ 5.55 ขณะที่ราคาเฉลี่ยตลาดโตเกียว อยู่ที่ 58.94 บาท/กิโลกรัม ปรับตัวลดลง ร้อยละ 8.69 ตลาดเซี่ยงไฮ้ อยู่ที่ 66.63 บาท/กิโลกรัม ปรับตัวลดลง ร้อยละ 13.17 และตลาดไซคอม อยู่ที่ 58.12 บาท/กิโลกรัม ปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.61 ทั้งนี้ สถานการณ์ยางพาราในประเทศที่มีปริมาณยางมากขึ้นในช่วงเดือนนี้ เพราะในหลายพื้นที่ปลูกยางมีฝนทิ้งช่วง ซึ่งมี
รายงานข่าวจากจังหวัดสงขลาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคมว่า สถานการณ์ราคายางพาราที่ตกต่ำต่อเนื่อง ทำให้ชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก โดยราคาน้ำยางสด ปรับลดลงมาจากเดือนก่อน ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ 50 บาทเศษ ปรับลดลงเหลือกิโลกรัมละ 38 -40 บาท เท่านั้น ในขณะที่ชาวสวนยางกลับไม่สามารถกรีดยางได้เนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกต่อเนื่อง ยิ่งเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้เพิ่มมากขึ้น นายสมพงษ์ ราชสุวรรณ รองประธานกรรมการ การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท.กล่าวว่าราคายางพาราที่ตกต่ำลงมา ทั้งที่ในช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝน ซึ่งชาวสวนยางจะกรีดยางได้ลดน้อยลง จากฝนตก หน้ายางเปียก ราคาจึงควรจะปรับสูงขึ้น เพราะมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคาที่ตกต่ำในช่วงนี้จึงเป็นการสวนทิศทางการตลาดที่ควรจะเป็น ในช่วงบ่ายวันนี้แกนนำเครือข่ายชาวสวนยางในภาคใต้จึงได้มีกำหนดเชิญตัวแทน สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางและเกษตรกรชาวสวนยางในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ร่วมหารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ตลาดกลางยางพาราสงขลา อำเภอหาดใหญ่ ซึ่งจะมีตัวแทนเกษตรกรจากหลายจังวัดภาคใต้เข้าร่วม ที่มา : มติชนออนไลน์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาน้ำยางสดใน จ.สงขลา ที่ตกต่ำลงมาอีกครั้ง สร้างความกังวลให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางอย่างมาก โดยในช่วงเดือนกันยายนนั้นราคาน้ำยางสดในตลาดท้องถิ่นจะอยู่กิโลกรัมละ 50 บาทเศษ บางช่วงเกือบแตะกิโลกรัมละ 60 บาท แต่ในห้วงเดือนตุลาคมนั้นพบว่า ราคาน้ำยางสดกลับดิ่งตัวลงมาอีกครั้ง และราคาปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่องจนในวันนี้ (22 ตุลาคม) ราคาน้ำยางสดในตลาดท้องถิ่นอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ทำให้ชาวสวนยางเกรงว่าราคาจะปรับตัวลดลงต่อกว่านี้อีก โดยบางวันราคาปรับลดลงมากิโลกรัมละ 2-3 บาท นายสมพงษ์ ราชสุวรรณ แกนนำเครือข่ายชาวสวนยางจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ชาวสวนยางกำลังรอดูทิศทางของราคาว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป โดยในขณะนี้มองว่ารัฐบาลโดยการยางแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการแก้ปัญหาระยะยาว โดยเพิ่งเปิดตลาดกลางน้ำยางสดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงต้องรอดูว่าเมื่อมีตลาดกลางน้ำยางสดแล้ว จะมีการกระตุ้นราคายางในตลาดได้หรือไม่อย่างไร เพื่อที่จะกำหนดทิศทางในการหารือการแก้ปัญหาต่อไป ที่มา : มติชนออนไลน์
กยท. เปิดหลักสูตร “การผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยางข้นชนิดครีม” นำนวัตกรรมการผลิตสู่เกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการ กระตุ้นการใช้ยางในประเทศ หวังแปรรูปเพิ่มมูลค่ายางพาราไทย การยางแห่งประเทศไทย เปิดอบรมหลักสูตร “การผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยางข้นชนิดครีม” เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางและการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า นำนวัตกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพารา สู่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบกิจการยางพาราไทย ณ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่ง ประเทศไทย เขตจตุจักร กรุงเทพฯ นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง กล่าวว่า กยท.ดำเนินการจัดการฝึกอบรมหลักสูตร “การผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยางข้นชนิดครีม” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจ และจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายรุ่น เนื่องจากหลักสูตรนี้มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนให้นำยางพารามาแปรรูปให้มากยิ่งขึ้น โดยเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ยางเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ตลอดจนผู้ประกอบกิจการยาง ตามแผนงานการสร้างรายได้จากโอกาสในธุรกิจใหม่ โครงการสนับสนุนเกษตรกร
ตลาดยางไทยยังไม่สิ้นหวัง กยท.อ้อนประธานใหญ่ไชน่า ไห่หนานฯ ช่วยรับซื้อยางหลายแสนตัน ทั้งในสต๊อกเก่าและลอตใหม่ หวังได้ราคา กก.ละ 60-70 บาท อีกครั้ง สร้างเสถียรภาพราคายางไม่ให้ผันผวนเกินไป ด้านเวทีประชุม ITRC และ IRCO ระบุทิศทางตลาดและราคาปรับตัวสูงขึ้น 3 ประเทศสมาชิกผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกเตรียมแผนระยะยาว มุ่งส่งเสริมใช้ยางในประเทศ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในกลางเดือนสิงหาคมนี้ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไชน่า ไห่หนาน รับเบอร์ อินดัสทรี กรุ๊ป จำกัด ผู้นำเข้ายางรายใหญ่จากจีน จะเดินทางมาเจรจาซื้อยางพาราจาก กยท. หลังจากเมื่อ 2 เดือนก่อนตัวแทนของบริษัท และอีกหลายบริษัทจากจีนมาเจรจาซื้อยางพารากับ กยท.ในปริมาณหลายแสนตัน ซึ่งช่วงนั้น กยท.ได้ให้ไชน่า ไห่หนานฯ ไปทำข้อเสนอด้านราคาและเงื่อนไขการซื้อมาด้วย ทั้งนี้ ราคาที่จะเสนอซื้อยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน ขอให้อยู่ในกรอบ 60-70 บาท/กก. เกี่ยวกับเรื่องนี้ แหล่งข่าวจากวงการยางพารา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การเข้ามาเจรจากับ กยท.ของตัวแทนนำเข้ายางรายใหญ่ของจีนเมื่อ 2 เดือนก่อน เกิดขึ้นหลังจากราคาย
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม สถานการณ์ราคายางพาราเริ่มมีทิศทางที่ดีหลังจากมีการรวมตัวแสดงพลังความเดือดร้อนของชาวสวนยางสัปดาห์ก่อน โดยล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาน้ำยางสดปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 46 บาท สถานการณ์ราคายางพาราเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น ภายหลังการรวมตัวกันของชาวสวนยางในจังหวัดพัทลุง สุราษฎร์ธานี สงขลาและปัตตานี เพื่อแสดงพลังความเดือดร้อนเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยมีการยื่นข้อเรียกร้องและแนวทางในการแก้ไขปัญหาในหลายประเด็นด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคายางพาราในตลาดท้องถิ่นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยน้ำขณะนี้ยางสดอยู่ที่กิโลกรัมละ 46 บาท ปรับเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5-7 บาท ซึ่งแกนนำชาวสวนยางเห็นว่า ถือเป็นทิศทางที่ดี แม้ราคาจะอยู่ในสภาวะที่ทำให้เกษตรกรขาดทุนอยู่เช่นเดิม นายปรีชา สุขเกษม เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรกรจังหวัดสงขลา ระบุว่าได้รับรายงานจากชาวสวนยางพาราในหลายจังหวัดว่า ทิศทางราคายางในแต่ละพื้นที่นั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4-5 บาท นับจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ชาวสวนยางพารามีความหวังมากขึ้น แต่ยังจะต้องรอดูท่าทีการแก้ปัญหาของรัฐบาลว
กยท.มึน “อินโด-มาเลย์” เฉ่งไทยฉุดราคายาง อ้างข่าวม็อบสวนยาง-นักการเมืองพูดกดราคาฮวบ 5 เสือผู้ส่งออกยางพาราลงขันเข้ากองทุน 1.2 พันล้าน ลุยซื้อยางแล้วสัปดาห์นี้ หลังภาคียางพารา 3 ประเทศไฟเขียวจำกัดการส่งออก นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท.ได้ร่วมประชุมแนวทางและมาตรการแก้ปัญหายางพารา ในเวทีสภาไตรภาคียางพารา ครั้งที่ 28 ร่วมกับมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ระหว่าง 6-7 กรกฎาคม 2560 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในที่ประชุม พิจารณา มีมติ 2 เรื่อง คือ 1. มาตรการจำกัดปริมาณการ ส่งออกยางพารา 3 ประเทศ โดยโควตาของแต่ละประเทศที่จะลดการส่งออก จะเสร็จภายใน 15 กันยายน 2560 2. เร่งรัดการประชุมระดับ รมต.ของ 3 ประเทศผู้ผลิตยาง จากเดิมช่วงเดือนธันวาคม เป็นเดือนกันยายนนี้ การประชุมครั้งนี้ ทั้งอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ต่างตำหนิไทย ทำให้ราคาในตลาดโลกปรับตัวลดลง ต่างมี มุมมองว่าไทยทำให้ราคายางพาราในตลาดโลกปั่นป่วน เพราะโยงเรื่องการเมือง ส่งผลให้นักเก็งกำไรราคายาง นำเอาข่าวที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องม็อบเกษตรกรชาวสวนยาง นักการเมืองออกมาพูดเรื่องยาง มาทุบและกดราคาซื้อยางในตลาด เม
พ่อค้า นักธุรกิจนั่งไม่ติด ราคายางผันผวนทุบกำลังซื้อวูบหนักหมื่นล้าน การค้าขายหลายจังหวัดเงียบเหงา ยอดขายสินค้าซบเซาอีกระลอก วอนรัฐบาลทำงานเชิงรุก เร่งวิจัย/แปรรูปเพิ่มการใช้ยางในประเทศจริงจัง จี้ปลดล็อกทีโออาร์จัดซื้อจัดจ้างให้นำยางพารามาผสมทำถนนได้ แนะเกษตรกรชาวสวนยางอย่าทำพืชเชิงเดี่ยว ควรปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์เพิ่มรายได้ นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคใต้ เนื่องจากยางพาราเป็นรายได้หลักของเกษตรกร โดยในแต่ละปีมีน้ำยางพาราออกสู่ตลาดประมาณ 3 ล้านกว่าตันทั่วประเทศ และเมื่อราคายางพาราลดลงทุกๆ 10 บาท/กิโลกรัม (กก.) จะส่งผลให้มูลค่าลดลงไปกว่า 30,000 ล้านบาท ทั้งนี้ มองว่าราคายางควรจะอยู่ที่ 70 บาทขึ้นไป/กิโลกรัม เกษตรกรจึงจะสามารถปรับตัวและผ่านไปได้ แต่หากราคาสูงถึง 90 บาท/กิโลกรัม จะดีมาก แต่อาจจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากสต๊อกยางของโลกยังมีอยู่ ทั้งนี้ มองว่าหากรัฐบาลมีความจริงใจและจริงจังในการนำงบประมาณมาวิจัย (Research) เพื่อหาวิธีการนำยางไปเป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในการทำผลิตภั
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ล่าสุดได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 โดยมอบหมายให้ กยท.เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมยาง 2542 ซึ่งจะทำงานร่วมกับกรมวิชาการเกษตร ในการตรวจสอบปริมาณยางในสต๊อก การนำเข้าและส่งออกยาง หรือที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของปริมาณยางในตลาดที่มีอยู่จริง ป้องกันปัญหาการบิดเบือนข่าว การกักตุนสินค้าหรือทุบราคายาง นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ประเด็นสำคัญของ พ.ร.บ.ควบคุมยาง 2542 กรมวิชาการเกษตรต้องประสานกับ กยท. เรื่องการตรวจสอบปริมาณยางในสต๊อกและการนำเข้าส่งออก รวมถึงสอดคล้องกับศุลกากร แต่กฎหมายควบคุมยางไม่ได้ลงรายละเอียดจำแนกการซื้อขายยาง แต่จะต้องสามารถบอกได้ว่าซื้อมาเท่าไร และขายไปเท่าไร แล้วรวบรวมตัวเลขให้เป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.ควบคุมยาง 2542 ซึ่งจะรวบรวมทุกวันที่ 10 ของเดือนถัดไป ซึ่งผู้ค้ายางทุกรายต้องส่งข้อมูลมาที่กรมวิชาการเกษตร ทั้งหมดต้องอยู่ในระบบเพื่อออกใบผ่านศุลกากร โดยเดือนที่ผ่านมาสต๊อกของเอกชนอยู่ที่ 5 แ
สัมภาษณ์พิเศษ “ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี” ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งเป็น ยักษ์ยางพาราของโลก ด้วยจำนวนโรงงานมากถึง 35 แห่งใน 3 ประเทศ ครองส่วนแบ่งการตลาด 12% พร้อมทั้งตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2.9 ล้านตันในปีนี้ และยังรั้งอันดับ 1 ใน 5 ผู้ผลิตถุงมือยางทางการแพทย์รายใหญ่ของโลกอีกด้วย วันนี้กลุ่มศรีตรังฯก็ยังคงมีเป้าหมายที่จะเติบโต รองรับดีมานด์ยางจากทั่วโลก ด้วยเป้าหมายรายได้รวมที่ใกล้จะทะลุ 1 แสนล้านบาท ขณะที่ยางพาราจัดเป็นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาขึ้น-ลงตลอดเวลา จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของผู้ส่งออกยางในขณะนี้ “วีรสิทธิ์ สินเจริญกุล” กรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA เปิดใจเป็นครั้งแรกกับ “ประชาชาติธุรกิจ” เกี่ยวกับทิศทางอุตสาหกรรมยางพารา Q : ปลูกยาง 5 หมื่นไร่ภาคเหนือ วีรสิทธิ์เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจกลุ่มศรีตรังฯในช่วงปี 2560-2561 ว่า ในส่วนของธุรกิจต้นน้ำ คือ การปลูกยางพารา มีเป้าหมายปลูกยางในภาคเหนือ 50,000 ไร่ ตอนนี้ปลูกไปแล้วราว 80% ต้องรอให้ต้นยางโต 7 ปี ซึ่งได้เริ่มทยอยเปิดกรีดลอตแรกเมื่อปลายปี 2558 ซึ่งที่ผ่าน