ราคายางพารา
ราคายางเมื่อวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา ยางแผ่นดิบที่ซื้อขายกันในตลาดท้องถิ่นอยู่ที่ กก.ละ 64.40 บาท น้ำยางสดหน้าโรงงาน กก.ละ 65 บาท ขณะที่ราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ยางแผนดิบอยู่ที่ กก.ละ 66.35 บาท และยางแผ่นรมควันชั้น 3 อยู่ที่ กก.ละ 67.27 บาท แต่วันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา ยางแผ่นดิบที่ซื้อขายกันในตลาดท้องถิ่นเหลือ กก.ละ 51.60 บาท น้ำยางสดเหลือ กก.ละ 53.50 บาท ราคาประมูลที่ตลาดกลาง อ.หาดใหญ่ ยางแผ่นดิบเหลือ กก.ละ 53.35 บาท และยางแผ่นรมควันเหลือ กก.ละ 57.07 บาท รวมระยะเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ ราคายางแผ่นดิบและน้ำยางสดลดลงค่อนข้างมากกว่า 10 บาท/กก. ในขณะที่ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ซึ่งสามารถเก็บได้นานกว่าลดลงประมาณ กก.ละ 10 บาท ปัจจัยหลักที่ทำให้ราคายางลดลงอย่างรวดเร็วมาจากค่าเงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 23 เดือนที่ 33.95 บาทต่อเหรียญสหรัฐในต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา แทนที่จะอ่อนค่าจากการคาดการณ์ว่าเฟดหรือธนาคารกลางของสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้ ส่วนประเทศต่าง ๆ ในเอเชียล้วนแข็งค่าเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินวอนของเกาหลีใต้แข็งค่า 7.9% นับจากต้นปีที่ผ่านมา เงินเหรียญไต้หวัน 7.2% และรูเปีย
การยางแห่งประเทศไทย เร่งผลักดันมาตรการรองรับฤดูกาลเปิดกรีด วอนพี่น้องชาวสวนยาง อย่าเร่งขายยางหากราคาไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ อาจส่งผลกระทบต่อราคายางในตลาด คาดภายในสัปดาห์นี้ราคายางขยับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเชิงบวกทางเศรษฐกิจทั่วโลก ขอให้พิจารณาข้อมูล และติดตามสถานการณ์ราคายางอย่างใกล้ชิด ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึงสถานการณ์ยางพาราในช่วงสัปดาห์นี้ว่า ในช่วงต้นสัปดาห์มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อม ทั้งจากผู้ประกอบการชะลอการซื้อขายยาง และนักลงทุนมีความกังวลในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา รวมถึงราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากการคาดการณ์ปริมาณผลผลิตน้ำมันของสหรัฐอเมริกา ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มแท่นขุดเจาะน้ำมัน อย่างไรก็ตาม กยท.คาดว่าในช่วงสัปดาห์นี้ ราคายางน่าจะปรับตัวสูงขึ้นจากแนวโน้มค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และปริมาณสต๊อกยาง ณ ตลาดเซี่ยงไฮ้ ลดลงจากสัปดาห์ก่อน รวมไปถึงปริมาณยางที่ยังเข้าสู่ตลาดน้อยเพราะผลกระทบจากปริมาณฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทางภาคใต้ของประเทศไทย อีกทั้งตามรายงานธนาคารโลกคาดการณ์
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า กยท. ได้เริ่มเปิดซื้อขายยางบนตลาด Regional Rubber Market (RRM) หลังจากทำการพัฒนาระบบการซื้อขายออนไลน์จนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบว่า เริ่มมีผู้สนใจเข้ามาใช้บริการตลาดออนไลน์แห่งใหม่นี้แล้ว โดยเฉพาะสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพื้นที่ภาคใต้ อาทิ ตรัง พัทลุง และยะลา ซึ่งหันมาผลิตยางรมควันอัดก้อนที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP นำมาเสนอขายผ่านตลาด RRM สูงถึง 160 ตัน และทาง กยท. คาดการณ์ว่า ตลาด RRM จะช่วยเพิ่มโอกาสในการหาตลาดใหม่ให้กับผู้ประกอบการยางและสถาบันเกษตรกรได้ อีกทั้งเป็นการซื้อขายยางในระบบราคาที่ยุติธรรม (Fair Price) โดยผู้ซื้อจะได้สินค้าที่มีมาตรฐานตรงกับความต้องการ ตลอดจนเป็นการผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของสถาบันเกษตรกรให้เกิดการรวมตัวกันแปรรูปยางที่มีคุณภาพผ่านรับมาตรฐาน GMP และวันนี้ กยท. ได้เดินหน้านำร่องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ผู้ขายสามารถขายยางให้กับผู้ซื้อยางในตลาดต่างประเทศได้โดยตรงผ่านตลาด RRM แห่งนี้
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 เปิดอบรมพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจการเกษตรอาสาภาคใต้ ชูตัวอย่าง ผู้ประสบความสำเร็จ กล้าคิดและตัดสินใจ พลิกวิกฤตราคายางพาราตกต่ำ ให้เป็นโอกาส หันมาปลูกพืชผสมผสาน 6 ชนิด จำนวน 1,300 ต้น พร้อมนำศาสตร์ของพระราชามาเป็นแนวคิด ในการทำการเกษตร ประกอบกับแนวคิดเชิงนวัตกรรม ส่งผลให้ผลผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอ ได้คุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการสัมมนาโครงการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) เพื่อขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ของพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของศกอ. ในพื้นที่ ให้เป็นแกนนำและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรยุคไทยแลนด์ 4.0 สำหรับองค์ความรู้สำคัญที่ ศกอ. ต้องมีเพื่อพัฒนาศักยภาพนั้น สศก. ได้ให้ความสำคัญให้ครอบคลุมอย่างรอบด้าน ทั้งด้านนโยบายของภาครัฐเพื่อให้ก้าวทันสถานการณ์ ตั้งแต่ภาคเกษตรไทยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาภาคการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ที่สำคัญ ศกอ. จะต้องเป็นผู้ชี้
กยท.ลั่นเดินหน้าขายยางต่อหลังราคาร่วงจนต้องเบรกประมูลลอตสุดท้าย 1.2 แสนตันกลางเดือน มี.ค.นี้ออกไป ด้าน “ฉัตรชัย-จินตนา” กำชับเข้มหวั่นผู้ไม่หวังดีกดราคา ให้ทบทวนช่วงเวลาขายยางลอตสุดท้ายใหม่ นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ให้ กยท.ทบทวนการระบายยางในสต๊อกรัฐบาลที่เหลืออยู่ประมาณ 1 แสนตัน จากยางสต๊อกรัฐที่มีทั้งหมดประมาณ 3.1 แสนตัน เพราะเห็นว่าราคายางแกว่งตัวในทิศทางที่ลดลงกับราคาตลาดโลก แต่ส่วนตัวเชื่อว่าการปรับตัวลดลงของราคายางไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เห็นได้จากตลาดจีนมีการแกว่งตัวลดลงประมาณวันละ 2-3 บาท/กก. จึงน่าจะเป็นการปรับฐานเพื่อรอการดีดกลับรับช่วงฤดูปิดกรีดที่ยางจะไม่ค่อยออกสู่ตลาดแล้ว “สต๊อกยางภาครัฐขณะนี้เหลือประมาณ 1 แสนตัน และขายไปแล้ว 2 แสนตัน ขายได้ลอตแรกราคา 69 บาทต่อ กก.ขายลอต 2 ได้ราคาประมาณ 72-73 บาท/กก. รวมประมาณ 14,000 ล้านบาท มีบางส่วนโอนเข้าใช้หนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพราะตามระเบียบการบริหารสต๊อกรัฐบาล หากมีการขายยางได้จะต้องคืนเงินแก่เจ้าหนี้ภายใน
นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงสถานการณ์การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ว่า ในส่วนภาคใต้ดี เพราะราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น ส่วนภาคเหนือก็ยังดีอยู่ แต่ในส่วนของภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือไม่ค่อยดี เนื่องจากประชาชนยังอยู่ในอารมณ์ไม่ค่อยอยากจับจ่าย เชื่อว่าสถานการณ์จะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ยังต้องรอลุ้นเรื่องภัยแล้งและการขายพืชผลเกษตรว่าจะเป็นอย่างไร สำหรับยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของบริษัทขณะนี้ยังขายได้เรื่อยๆ ไม่ได้ดีมาก เพราะเป็นอาหารซึ่งเป็นสินค้าจำเป็น
การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยสถานการณ์ราคายางในปัจจุบัน ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสองเดือน ที่ผ่านมา และราคาที่กาลังลดลงในขณะนี้ถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาด พร้อม นัดประชุมทั้ง 3 ภาคส่วน แก้ปัญหาราคาน้ายางสด แนะเกษตรกรสามารถกระจายความเสี่ยง ปลูกพืชอื่นเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ราคายางได้ปรับตัว สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากอุปทานยางในประเทศผู้ผลิตยางลดลง ในขณะที่ความต้องการของผู้ประกอบการยังคง มีอยู่ โดยมีหลายสาเหตุที่ทาให้ผลผลิตลดลง ทั้งจากนโยบายชะลอการส่งออกด้วยการควบคุมปริมาณยางของ 3 ประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ ในปี 2559 ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณยางหายไปจากตลาดซื้อขายโลก ประมาณ 7 แสนตัน ประกอบกับภาวะฝนตกหนักและน้าท่วมขังในภาคใต้ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 จนถึงเดือนมกราคม 2560 เป็นเวลาเกือบ 2 เดือน ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยาง ต้นยางได้รับความเสียหาย ปริมาณ ผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณลดลงประมาณ 3 -4 แสนตัน นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมายังมีปัจจัยบวก สนับสนุนให้ราคายางพุ่งสูงขึ้นอีกหลายปัจจัย ได้แก่ ประเทศจีนซึ่งเร่งซื้อยางเพื่อนาไปผลิตเป็นล้อ
นายธีธัช สุดสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคายางปรับตัวขึ้นสูงโดยยางแผ่นดิบรมควันชั้น 3 อยู่ที่ กิโลกรัมละ 97 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายชะลอการส่งออกยางของ 3 ประเทศ ในปี 2559 จำนวน 7 แสนตัน ประกอบกับสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถออกไปกรีดยางได้ และต้นยางบางส่วนได้รับความเสียหาย ผลผลิตหายไปช่วงนี้ 3-4 แสนตัน ขณะนี้ความต้องการใช้ยางมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนโยบายลดการนำเข้าของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ผู้ประกอบการสหรัฐเร่งนำเข้ายางมากขึ้นในช่วงต้นปี ทำให้ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้นทุกตลาด “ยางที่หายไปประมาณ 1 ล้านตัน คิดเป็น 10% ของความต้องการใช้ยางในตลาดโลก 12 ล้านตัน ต่อปี มีผลกระทบต่อตลาดพอสมควร แต่ไม่อยากให้ทุกคนตื่นเต้นกับราคาที่สูงขึ้น อยากให้พิจารณาผลผลิตที่ควรจะสอดคล้องกับความต้องการของราคามากกว่า หากมีการเร่งปลูกมากไปอนาคตราคาปรับลดลงแน่ เกษตรกรต้องรู้จักการกระจายความเสี่ยงปลูกพืชชนิดอื่น และมีเงินทุนสำรองเอาไว้เมื่อมีรายได้สูงขึ้น ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย” นายธีธัช กล่าวและว่า แนวโน้มราคายางจะปรับตัวสูงขึ้นและจะเห็นร
หลังประสบปัญหาราคาตกต่ำมานาน เดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ชาวสวนยางเหมือนถูกรางวัลใหญ่ ราคายางในตลาดโลกปรับขึ้นไม่คาดฝัน แค่เดือนเดียวราคาประมูลซื้อขายยางแผ่นดิบ ณ ตลาดกลางยางพารา สงขลา วันที่ 16 พฤศจิกายนที่ 59.50 บาท/กก. พุ่งทะลุ 80.29 บาท/กก.เมื่อ 16 ธันวาคม 2559 ขณะที่ยางแผ่นดิบปรับขึ้นจาก 59.50 บาท/กก.เป็น 77.25 บาท/กก. ก่อนยางแผ่นรมควันจะปรับลดลงเหลือ 72.75 บาท/กก. ยางแผ่นดิบลดเหลือ 70.71 บาท/กก.เมื่อ 28 ธันวาคม 2559 จนถูกมองว่าผู้ส่งออกกับพ่อค้าสกัดราคายางขาขึ้นรวมหัวกันทุบราคาลง บวกกับเจอแจ็กพอตรัฐไฟเขียวให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ประกาศจะนำยางในสต๊อกรัฐ 3.1 แสนตันประมูลขาย แทนที่ผู้ส่งออกกับพ่อค้าจะกว้านซื้อยางถึงมือชาวสวนเหมือนก่อนหน้านี้ ก็วิ่งเข้าหา กยท.ที่มีสต๊อกยางลอตใหญ่อยู่ในมือ ทำให้ นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยาง และสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) กับ นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มน้ำมัน 16 จังหวัดภาคใต้ พร้อมตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยางยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำสั่งฉุกเฉินให้ กยท.ยกเลิกประมูลขายยาง วันที่
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม นายศักดิ์สฤษดิ์ ศรีประศาสตร์ แกนนำเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ เปิดเผยว่าไม่เห็นด้วยต่อมาตรการของการยางแห่งประเทศไทยล่าสุด ที่ออกมาประกาศขายยางในสต๊อก 3 แสนกว่าตัน รวมทั้งประสานไปยังสหกรณ์ชาวสวนยางให้รีบนำยางในสต็อกออกมาเทขายในตลาดทั้งหมด จนส่งผลให้ราคายางที่เคยขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลับต้องมาสะดุดลดลงในวันเดียว 2-3 บาท ซึ่งถือเป็นมาตรการที่ไม่เหมาะสม และเสมือนกับเป็นการทำไปเพื่อช่วยเหลือพ่อค้าคนกลางรายใหญ่ แทนที่จะเปิดโอกาสให้ชาวสวนยางที่ต่างประสบปัญหาวิกฤตราคายางตกต่ำมานานหลายปีแล้ว ได้ลืมตาอ้าปากจากเม็ดเงินที่กำลังไหลเข้ามาในช่วงระยะนี้บ้าง นายศักดิ์สฤษดิ์ กล่าวต่อว่าสาเหตุที่ยางมีราคาพุ่งสูงขึ้นกว่าช่วงปกติกิโลกรัมละ 10-20 บาท ความจริงแล้วก็เป็นไปตามกลไกตลาด อันเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการโค่นสวนยางเก่า 4-5 แสนไร่ ขณะที่เกษตรกรรายใหม่ก็หันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทนยางกันมากขึ้น รวมทั้งยังเกิดมาจากการใช้ในประเทศที่ลดลง และสถานการณ์น้ำท่วมสวนยางในหลายพื้นที่ของภาคใต้ ซึ่งมิได้มีเหตุปัจจัยอื่นใดที่ทำให้ราคายางพุ่งสูงขึ้นจนผิดปกติ จนต้องนำมาตรการขายยา