วัชพืช
“วัชพืช” หรือพืชที่ขึ้นมาเองตามธรรมชาติในไร่และสวน อาทิ ผักยาง ผักโขม หญ้าตีนนก หญ้าแพรก และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเจ้าพืชเหล่านี้ล้วนแล้วไม่เป็นที่ต้องการ และจำเป็นต้องกำจัดทิ้งเสียทุกครั้งที่มันขึ้นมากวนใจ แต่ก่อนที่จะกำจัดวัชพืชเหล่านี้ทิ้งไป เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมาดู 5 วัชพืชที่สามารถเก็บมารับประทานได้ แถมยังเปี่ยมไปด้วยสรรพคุณนานัปการ 1.ส้มกบ ส้มกบคือวัชพืชขนาด 2-3 นิ้ว มักเลื้อยปกคลุมหน้าดิน ลักษณะใบเป็นรูปหัวใจ โดยมีสรรพคุณในการให้สารอาหารอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดมาลิก กรดซิตริก แคลเซียม วิตามินซี และแคโรทีน ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยในการย่อยอาหาร รักษาโรคนอนไม่หลับ แก้อาการหวัด และรักษาโรคดีซ่าน วิธีรับประทาน ใบของส้มกบนั้นจะให้รสเปรี้ยว หวาน และเค็ม จึงสามารถนำมาใช้แทนน้ำมะขามเปียกในเมนูต่างๆ ได้ หรือจะนำใบอ่อนและยอดอ่อนมาปรุงอาหารก็ได้เช่นเดียวกัน แต่ไม่ควรรับประทานต่อเนื่อง เนื่องจากกรดออกซาลิกที่อยู่บริเวณใบของต้นส้มกบอาจสร้างพิษให้กับร่างกาย เมื่อบริโภคได้ปริมาณมากหรือติดต่อกันหลายวัน 2.วอเตอร์เครส วอเตอร์เครส หรือชื่อที่คุ้นหูอย่างสลัดน้ำ เป็นพืชใบเขียวในตระกู
ไมยราบใครๆ ก็รู้จักเพราะพ้องกับชื่อยักษ์หลานทศกัณฐ์ ที่อาสาสะกดทัพวานรแล้วจับตัวพระรามหมายจะเอาไป “ต้มกินต่างสุกรแกล้มสุรา” ในเมืองบาดาล ยักษ์ไมยราพมีฤทธิ์ต่างจากยักษ์ตนอื่นคือเป็นหมอยาสมุนไพรวิเศษ สามารถปรุงยานอนหลับแล้วใช้เป่าสะกดลิงให้หลับได้ทั้งกองทัพ ขนาดพญาวานรอย่างสุครีพ หนุมานก็ยังหลับไม่เป็นท่าเพราะฤทธิ์ยาสมุนไพรของไมยราพ อันที่จริงต้นไมยราบเองก็มีสรรพคุณช่วยระงับประสาท และแก้โรคนอนไม่หลับได้ด้วย ต้นไมยราบ ในที่นี้หมายถึงวัชพืชไม้เลื้อยแผ่ไปบนพื้นดินลำต้นมีหนามแหลมเล็กๆ พบเห็นได้ตามข้างถนนหรือที่รกร้างทั่วไป เอกลักษณ์ของไมยราบคือใบของมันจะหุบลงได้เมื่อถูกกระทบกระเทือน จึงมีชื่อในภาษาฝรั่งว่า Sensitive Plant (พืชอ่อนไหว) ไมยราบชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa pudica L. มีช่อฝักเล็กๆ เหมือนพืชตระกูลถั่วทั่วไป เป็นคนละพันธุ์กับ “ต้นหัวใจไมยราบ” หรือกระทืบยอบ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Biophytum sensitive DC. ซึ่งสรรพคุณคล้ายกันและเป็นพืชอ่อนไหวเหมือนกัน หมอแผนโบราณและหมอพื้นบ้านรู้จักเอาไมยราบทั้งต้นมาล้างสับเป็นชิ้นเล็กๆ ตากให้แห้งสนิทแล้วนำมาต้มกินต่างน้ำ เพื่อแก้โรคกษัยไตพิการ
ผักตบชวา เป็นไม้น้ำที่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่จะไม่ทนน้ำเค็ม คลองมหาสวัสดิ์ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธฆณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นอีกแหล่งที่มีปริมาณต้นผักตบชวา แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนในชุมชน เพราะคนในชุมชนได้พลิกวิกฤติเป็นโอกาส นำผักตบชวาที่หลายคนมองว่าไร้ค่า มาแปรรูปเป็นดินผสมพร้อมปลูกจำหน่ายสร้างรายได้ คุณวันชัย สวัสดิ์แดง ประธานกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มผู้ใช้น้ำบ้านศาลาดิน เล่าว่า เนื่องจากผักตบชวา เป็นปัญหาต่อการสัญจรในคลอง เลยมองเห็นว่าถ้านำมาใช้ประโยชน์ก็น่าจะได้ช่วยกำจัดได้อีกทางหนึ่ง จึงขึ้นป้ายรับซื้อผักตับชวาตากแห้ง จากนั้นก็นำมาผสมรวมกับวัสดุอื่น บรรจุถุงเป็นดินพร้อมปลูก สำหรับการนำผักตบชวาที่เก็บได้จากแม่น้ำหรือคลองต่างๆ มาใช้ในการทำดินพร้อมปลูกผสมผักตบชวาของกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานมหาสวัสดิ์ นั้น จะเริ่มจากการรับซื้อผักตบชวาตากแห้งจากชาวบ้าน ที่นำผักตบชวาไปสับก่อนนำไปตากแดดเป็นเวลา 3 วัน ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท จากนั้นนำผักตบชวาตากแห้งมาผสมกับกาบมะพร้าวสับ แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ และดินบดละเอียดในอัตราส่วนที่เท่ากัน เช่
มีกูรูเรื่องดอกไม้บางคน แบ่งประเภทดอกไม้หลากหลายสายพันธุ์ที่เราสามารถกินได้ ออกเป็น 6 ประเภท แต่ลองอ่านดูแล้วคิดว่าน่าจะแยกแค่ 5 ประเภท เท่านั้นก็พอ ขอแบ่งตามใจตัวเองใหม่ ดังนี้ 1.ดอกของพืชผัก เช่น กะหล่ำดอก บร็อคโคลี่ ดอกกุยช่าย ดอกเก๊กฮวย ดอกผักกวางตุ้ง ดอกต้นหอม ดอกข่า ดอกกระเทียม ดอกฟักทอง ดอกกระถิน ฯลฯ 2.ดอกของไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดอกกุกลาบ ดอกเข็ม พวงชมพู ลั่นทม ดาวเรือง ดาวกระจาย ชบา เฟื่องฟ้า ซ่อนกลิ่น ฯลฯ 3.ดอกของไม้ผล เช่น ดอกทุเรียน ดอกชมพู่ หัวปลี (ดอกกล้วย) ดอกมะละกอ ฯลฯ 4.ดอกของต้นไม้ป่าและไม้ยืนต้นบางชนิด เช่น ดอกพะยอม ดอกงิ้ว ดอกแคบ้าน ดอกแคป่า ดอกแคฝรั่ง ช่อสะเดา ช่อมะกอก ดอกขี้เหล็ก ดอกกระโดน ดอกลำพู ดอกนุ่น ดอกมะรุม ฯลฯ 5.ดอกของวัชพืช เช่น ดอกกะลา ดอกดาหลา ดอกบัวสาย ดอกสลิดหรือดอกขจร ดอกผักปลัง ดอกผักตบชวา ดอกกระเจียว ดอกโสน ฯลฯ ชื่อที่เอ่ยขึ้นมา เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้นนะ คนที่จะรู้ดีว่าดอกไม้ชนิดไหนของต้นอะไรกินได้กินดีไม่มีใครเกินผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่ปู่ย่าตายายของเรา ที่สั่งสมภูมิปัญญาพื้นบ้านถ่ายทอดกันมายาวนานนั่นเอง เรื่องดอกไม้กินได้สำหรับคนโบราณไม่ได้เป็นอะไรที
การปลูกพืชคลุมดินในสวนยาง เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในสวนยาง ทั้งนี้เศษซากพืชคลุมดินเมื่อย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์วัตถุจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยปรับโครงสร้างดินและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งผลให้การเจริญเติบโตดี เปิดกรีดได้เร็วขึ้นและให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นด้วย การปลูกพืชคลุมดินไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน รักษาความชื้นในดิน ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดวัชพืช ตลอดจนเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในดิน ได้แก่ จุลินทรีย์ เช่น เชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดิน เช่น มด แมลง หนอน ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ และยังช่วยเพิ่มฮิวมัสให้แก่ดินอีกด้วย สถาบันวิจัยยาง ได้มีการแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชคลุมดินในสวนยางช่วงเวลาเดียวกันกับการปลูกยาง โดยปลูกในระหว่างแถวยางที่ไม่มีการปลูกพืชแซมยาง พืชคลุมดินที่นิยมปลูกในสวนยาง ได้แก่ พืชคลุมดินตระกูลถั่ว เช่น คาโลโปโกเนียม เซ็นโตรซีมา และเพอราเรีย เป็นต้น ปัจจุบันมีพืชคลุมดินอีกชนิดหน
เมื่อพูดถึงพริก ต้องนึกถึงความเผ็ดและสีสันที่สวยงาม ทั้งยังเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารไทยรสแซบนานาชนิด ไม่ว่าแกง ผัด หรือต้มยำกุ้งที่มีชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วโลก คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักกันดีว่า พริกเป็นพืชในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนที่ทนความแห้งแล้งได้ดีพอควร และสามารถปลูกในดินได้แทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย เพราะมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขังหรือชื้นแฉะซึ่งจะทำให้รากเน่าและตายได้ รูปแบบการปลูกพริกในประเทศไทยมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของดิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกแบบใด เกษตรกรจะให้ความสำคัญกับขั้นตอนการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก การให้น้ำ รวมถึงการดูแลและป้องกันโรคและแมลง การปลูกพริก การปลูกพริกในปัจจุบันสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน เกษตรกรจะเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ดังนี้ การเพาะเมล็ดพันธุ์ในแปลง นำเมล็ดพันธุ์หว่านกระจายให้ทั่วทั้งแปลงเพาะ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวลงไปในร่องลึก 0.6–1 เซนติเมตร ห่างกันแถวละประมาณ 10 เซนติเมตร กลบด้วยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหรือดินผสมละเอียด รดน้ำให้ชุ่มเสมอ คลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้งบางๆ เมื่อกล้าเริ่มงอกมีใบจริงอายุประมาณ 12–15
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)นำนวัตกรรมจัดการวัชพืชและผักตบชวาร่วมโครงการจิตอาสาเฉลิมพระเกียรติ ณ จังหวัดลพบุรี คณะกรรมการจิตอาสาเฉพาะกิจกลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติได้มอบหมายให้ วช. ดำเนินการ “โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” และวช.ได้จัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” ครั้งที่ 4 ขึ้น เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนต.บางพึ่ง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี โดยมี พลตรี สุรเดช ประเคนรี รองแม่ทัพน้อยที่ 1 ในฐานะผู้แทนศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร.เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงความสำคัญและเป้าประสงค์ของกิจกรรมฯ พร้อมด้วยนายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวต้อนรับ ในการนี้ภาคพื้นที่ นายอนุชิต สังฆสุวรรณ ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และพันเอก ณรงค์ จันทร์สืบสาย รองเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 13 ร่วมเป็นเกียรติ โดยมีผู้เข้าร่ว
ย่านลิเภา หรือ หญ้าลิเภา ที่เคยรู้จักมาตั้งแต่เด็กๆ และไม่เคยเห็นประโยชน์ของมันเลย นอกจากมองเห็นมันเป็นแค่วัชพืชที่ขึ้นรกเรื้อตามสวนยางและสวนผลไม้ ที่ต้องฟันทิ้ง ตอนที่เป็นเด็กๆ ก็เคยเอามาทำเป็นเชือกผูกไม้จ่อวาด ก็คือว่า ตัดไม้ไผ่ลำเล็กๆ เรียวๆ มา แล้วใช้ก้านมะพร้าวที่ชุบยางไม้มาผูกติดกับปลายยอดของลำไม้ไผ่แล้วผูกด้วยย่านลิเภา ผู้ใหญ่ก็มามัดผูกทำไม้กวาดแข็งแรงและทนทานดีนักแล ประโยชน์ของย่านลิเภาเท่าที่เคยรู้ตอนสมัยเด็กๆ ก็มีเท่านี้ เพิ่งได้รู้ถึงคุณประโยชน์ของย่านลิเภาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี่เองว่า ย่านลิเภาที่เคยเอามาเล่นในสมัยเด็กๆ นั้น บัดนี้ได้สร้างรายได้ให้กับผู้คนได้มากมาย ด้วยทำเป็นเครื่องจักสาน ที่ดูดีสวยงามและมีคุณค่า ทั้งยังเป็นยาสมุนไพรได้อีกด้วย ย่านลิเภา เขาว่ากันว่า เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามแต่ในแต่ละท้องถิ่น บ้างเรียกตีนมังกร ตีนตะขาบ กระฉอด กระฉอก ตะเภาขึ้นหน ลิเภาใหญ่ กูดก้อง กูดเครือ กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง ก็เรียกต่างๆ กันไป แต่ชื่อที่บางท้องถิ่นเรียก ทำให้ตะขิดตะขวงในความรู้สึกนี่สิ แต่ก็นะ ภาษาใครภาษามัน ท้องถิ่นใครก็ภาษาของท้องถิ่นนั้น ซึ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สืบสานพระราชดำริ พระราชปณิธาน และพระบรมราโชบาย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คณะกรรมการจิตอาสาเฉพาะกิจกลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ได้มอบหมายให้ วช. ดำเนินกิจกรรมร่วมกับศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสา 904 วปร. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการจัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” ภายใต้ “โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” โดย วช. ได้คัดเลือกองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการวัชพืชและผักตบชวา ที่สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบตั้งแต่การนำมาผลิตเป็นเครื่องจักสาน งานหัตถกรรม การใช้เพื่อการบำบัดน้ำ การใช้เพื่อผสมเป็นอาหารสัตว์ การนำมาหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ตลอดจนการนำมาทำเป็นวัสดุปรับปรุงดินและปุ๋ย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ดีและยั่งยืนที่สุด สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไป
ปัจจุบัน พื้นที่ปลูกยางเดิมและดินพื้นที่ปลูกยางใหม่ เป็นดินเสื่อมโทรม มีความสมบูรณ์ต่ำ อันเกิดจากดินขาดอินทรียวัตถุ เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน การสูญเสียธาตุอาหารพืชโดยติดไปกับผลผลิตสภาพแวดล้อมธรรมชาติเปลี่ยนแปลง สภาวะโลกร้อนทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต ทำให้ต้นทุนในการผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน ตลอดจนไม้ผลสูง การปลูกพืชคลุมดินในสวนยาง เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในสวนยาง ทั้งนี้ เศษซากพืชคลุมดินเมื่อย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน ช่วยปรับโครงสร้างดินและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งผลให้การเจริญเติบโตดี เปิดกรีดได้เร็วขึ้นและให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นด้วย การปลูกพืชคลุมดินไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน รักษาความชื้นในดิน ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดวัชพืช ตลอดจนเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในดิน ได้แก่ จุลินทรีย์ เช่น เชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ และสัตว์ที่อา