สกสว.
สกสว. เปิดเวทีผนึกกำลังเครือข่ายเมธีวิจัยอาวุโสและศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น เพื่อหารือแนวทางพัฒนานักวิจัยและส่งเสริมศักยภาพนักวิจัยในระบบ สร้างนิเวศที่เอื้อต่อการเสริมแกร่งขีดความสามารถด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต กรุงเทพฯ 10 มิถุนายน 2567 – สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุม “ระดมความคิดเห็นจากเครือข่ายเมธีวิจัยอาวุโสและศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น เพื่อร่วมออกแบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ” โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยชั้นนำของประเทศเข้าร่วมหารือถึงทิศทางการผลิตและพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมใน 3 แผนงานที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาการวิจัยขั้นแนวหน้า การเพิ่มจำนวนและพัฒนาบุคลากรวิจัยของประเทศ และการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางกำลังคนและศูนย์กลางการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาบุคลากรวิจัยใน 3 ประเด็น ได้แก่ งานวิจัยขั้นแนวหน้า อุตสาหกรรม และสังคมศาสตร์ ให้มีศักยภาพพร้อมรับการพัฒนาประเทศในอนาคต ศาสตราจารย์ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) กล่าวว่
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ผนึกกำลังภาคเอกชนนำโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย แถลงข่าวการจัดงานมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 (TRIUP FAIR 2023) ระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2566 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของวงการวิจัยและนวัตกรรมที่รวบรวมผลงาน นักวิจัย ผู้ประกอบการ และหน่วยงานในระบบนิเวศที่มีกลไกสนับสนุนภาคธุรกิจกว่า 60 หน่วยงานมาไว้ในที่เดียวกัน พร้อมตั้งเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเอกชนและสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจจากงานวิจัยและนวัตกรรมให้เป็นรูปธรรม โอกาสนี้ ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) กล่าวว่า จากสถานการณ์และความเคลื่อนไหวของบริบทต่าง ๆ ที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก เล็งเห็นว่าทุกภาคส่วนของไทยต้องให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับคุณภาพชี
นายแพทย์สุรพร ลอยหา รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม ว่าเป็นหลักสูตรใหม่ล่าสุดของวิทยาเขตฯ ที่ โดยเป็นหลักสูตรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2560 จากการลงพื้นที่สำรวจ และระดมความคิดเห็นของชุมชน จนพบจุดอ่อนของชุมชนถึงอุปสรรคสำคัญในการพัฒนา เนื่องจากขาดปัจจัยสำคัญด้านการบูรณาการองค์ความรู้ และการลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนอย่างจริงจัง จึงได้ผนวกเอาศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติกา เมืองสง อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนด้านนิเวศวิทยา และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของหลักสูตรฯ คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 รางวัลผลงานวิจัยระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จากผลงานวิจัย “ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน : การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตอกย้ำความสำเร็จใช้งานวิจัยต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนได้จริง รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยถึงผลการจัดงานแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แผนงานวิจัยการพัฒนาศักยภาพชุมชนและสมาชิกในชุมชนจังหวัดอุดรธานี “Startup Champions Model” สู่การยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ที่จังหวัดอุดรธานี ว่า การจัดงานดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการวิจัยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ช่วยเสริมสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ด้วยการนำงานวิจัยไปต่อยอดภูมิปัญญาของชาวบ้าน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐานและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้
สวพ.8 สุดเจ๋งผุดโครงการ“ชุมชนต้นแบบ พืชสมุนไพรต้านโควิด-19” เชิงพาณิชย์ ระดมคนในชุมชนปลูกสมุนไพรยอดฮิต ฟ้าทะลายโจร ขิงและกระชายขาว เพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรและเพิ่มผลผลิตรองรับการแพร่ระบาดโควิด-19 วางเป้าสร้างรายได้ให้เกษตรกรในชุมชนไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านบาท/ปี นายจิระ สุวรรณประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 สงขลา (สวพ.8) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้สร้างความวิตกให้แก่ประชาชนอย่างมาก ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยรายวันที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบจ่อภาคเกษตรอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง อาทิ มีการบริโภคและกระจายสินค้าเกษตรน้อยลงเนื่องจากมีการปิดตัวของตลาดในชุมชนทำให้เกษตรกรขายสินค้าได้ได้น้อยลงและทำให้สินค้าเกษตรหลายชนิดมีราคาตกต่ำลง นำไปสู่รายได้ที่ต่ำลง และเกิดผลกระทบต่อเนื่องในทั้งทางเศรษฐกิจและ สังคมในที่สุด จากสถานการณ์ดังกล่าว สวพ.8ได้จัดทำโครงการ “ชุมชนต้นแบบ พืชสมุนไพรต้านโควิด 19” ขึ้นมาช่วยเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนและพัฒนาชุมชนเกษตรในการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ขิง กระชายขาว เพื่อเพิ่มปริมาณสมุน
ปลาสลิดบางบ่อ สมุทรปราการ ขึ้นชื่อว่าเป็นปลาสลิดที่อร่อยที่สุดในประเทศไทย ด้วยรสชาติที่หอมนุ่ม-กรอบใน จึงเป็นกับข้าวคู่คนไทยมาช้านาน ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ให้ทุนทำวิจัยในโครงการ การพัฒนาช่องทางการตลาดต่างประเทศ เพื่อส่งออกปลาสลิดแปรรูป จังหวัดสมุทรปราการ ทางท่าเทียบเรือเชียงแสนสู่จีนตอนใต้ ด้วยกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัญญ์ทิตา ชนะชัยภูวพัฒน์ รองคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นหัวหน้าทีม ร่วมกับบุคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หาช่องทางช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้แปรรูปปลาสลิด ส่งออกปลาสลิดไปขายที่ประเทศจีนที่ถือเป็นตลาดใหญ่ ด้วยยี่ห้อปลาสลิดบางบ่อคงไม่ต้องบรรยายถึงความอร่อยถูกปากถูกคอคนไทย แต่ถ้าจะส่งไปไกลให้ต่างชาติลิ้มลองคงต้องจับอาบน้ำแต่งตัวกันเสียใหม่ ผศ.ดร.ศรัญญ์ทิตา ให้นักศึกษาร่วมออกแบบบรรจุภัณฑ์ สร้างภาพลักษณ์ให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือขึ้น ที่สำคัญต้องดูดี สะอาด น่ารับประทาน และนอกจากนี้ ยังได้แนะวิธีการทำปลาสลิดแปรรูปในลักษณะต่างๆ เพื่อให้มีตัวเลือกในตลาดมากยิ่งขึ
สกสว.จับมือนักวิจัย ม.สวนดุสิต หนุนผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าข้าว พัฒนาเครื่องสำอางจากข้าวทับทิมชุมแพที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ไร้แอลกอฮอล์ น้ำหอมและพาราเบน ใช้เทคโนโลยีการสกัดที่ไม่ใช้สารเคมีและกักเก็บสารที่ยาวนานจากแป้งข้าว เตรียมขอเครื่องหมายฮาลาลเพื่อขยายกลุ่มลูกค้า นายวีระวัฒน์ บุดดาบุญ ผู้บริหารบริษัท ออไรซ์ เนเชอรัล สกินแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงนวัตกรรมความงามล่าสุด Ruby Rice Essence Sleeping Mask ภายใต้การสนับสนุนของ Innovative house สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จากโครงการวิจัย “การประยุกตใช้สารสกัดรำข้าวทับทิมชุมแพในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิว” ที่มี อาจารย์ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นหัวหน้าโครงการ ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดสำคัญจากข้าวทับทิมชุมแพ ซึ่งเป็นข้าวสีพันธุ์หนึ่งที่มีความโดดเด่น เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์กลายกับข้าวเจ้าสังข์หยดพัทลุงที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ข้าวทับทิมชุมแพผ่านการขึ้นทะเบียนตามพระราชบั
สกสว.พร้อมภาคีร่วมระดมสมองกำหนดกรอบวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพร ซึ่งเป็นแผนงานในปี 2565 เพื่อให้เกิดความชัดเจนและครอบคลุมทุกมิติ ก่อนนำเสนออนุกรรมการฯ และคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เพื่อจัดสัดส่วนงบวิจัยให้เกิดการต่อจิ๊กซอว์ตามเป้าหมาย 3 ธันวาคม 2563 รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการร่วม คณะอนุกรรมการวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพร เป็นประธานการประชุมหารือกรอบแผนวิจัยแผนสมุนไพรชาติ ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม สกสว. เพื่อให้งานวิจัยและพัฒนาด้านสมุนไพรของประเทศไทยมีความครบถ้วน ครอบคลุมประเด็นสำคัญทุกมิติตามแผนงานโครงการสำคัญที่กำหนดในแผนงานวิจัยและนวัตกรรมสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยเพื่อเศรษฐกิจ ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการเสนอต่อที่ประชุมอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไปตามลำดับ ดร.ภก. มณฑกา ธีรชัยสกุล ผู้อำนวยการกองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงกลไกการขับเคลื่อนแผนงานด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติว่ามีเป้าหมายใ
รศ. สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา และคณะ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกับ นายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร หัวหน้าส่วนราชการและผู้เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดินทำกินของเกษตรกร ณ ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร จากนั้นคณะทั้งหมดได้ไปศึกษาดูงานและรับทราบสรุปผลงานโครงการวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในเขตโครงการชลประทานท่อทองแดง ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง (คบ.ท่อทองแดง) ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. และสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งคบ.ท่อทองแดงเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีเป้าหมายในการลดการใช้น้ำในภาคเกษตร โดยจัดทำงานวิจัยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ รองรับภาวการณ์ลดกำลังคนของเจ้าหน้าที่รัฐ และสร้างความมั่นใจจากเกษตรกรต่อโครงการ โดยสร้างกลไกการสื่อสารระหว่างเกษตรกร
สว.แห่ชมนิทรรศการผลงานวิจัยใช้ประโยชน์ของ ววน. “ประจิน จั่นตอง” ชี้ผลงานวิจัยช่วยชุมชนที่ขายได้จริงจะเป็นตัวสะท้อนบทบาทของ สกสว. ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ขณะที่ประธานแผนงานน้ำอีอีซีหารือ กปภ.พื้นที่ เตรียมปรับราคาน้ำประปาช่วงหน้าแล้งตามต้นทุนน้ำที่แท้จริง หวังลดการใช้น้ำร้อยละ 10 เป็นอย่างน้อย ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา และคณะสมาชิกวุฒิสภา เยี่ยมชมนิทรรศการ “ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กับการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ณ อาคารรัฐสภา เกียกกาย โดยประธานวุฒิสภาให้ความสนใจผลงานต่างๆ โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยสอบถามการใช้น้ำ ปริมาณน้ำและแหล่งน้ำในอีอีซีว่ามีเพียงพอหรือไม่ เช่นเดียวกับ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ อดีตรมว.เกษตรฯ ที่สอบถามการลดการใช้น้ำจริงในแต่ละภาคส่วน กระบวนการลดการใช้น้ำ น้ำที่บำบัดแล้วนำกลับมาใช้ได้จริงอย่างอิสราเอลหรือไม่ และต้องใช้เวลานานเท่าใดจึงจะเห็นผล รศ.ดร. บัญชา ขวัญยืน