สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
“มีเทน” เป็นองค์ประกอบหลักของแก๊สธรรมชาติโดยมีสัดส่วนประมาณ 75% แก๊สมีเทนมีคุณสมบัติไวไฟ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาหรือดมกลิ่น จึงต้องใช้อุปกรณ์จำเพาะที่เรียกว่า “แก๊สเซ็นเซอร์” ตรวจสอบการมีอยู่ของแก๊สชนิดนี้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการรั่วไหล ซึ่งแก๊สเซ็นเซอร์คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบและวัดระดับของแก๊สในอากาศหรือในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยเซ็นเซอร์จะทำการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นของก๊าซที่ต้องการวัด ซึ่งมักใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน เช่น การวัดด้วยไฟฟ้า ความร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมี การวิจัยและพัฒนาเซ็นเซอร์ให้มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือจึงมีความจำเป็น ปัจจุบันแก๊สเซ็นเซอร์ชนิดสารกึ่งตัวนำโลหะออกไซด์ได้ถูกพัฒนาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีการตอบสนองต่อแก๊สที่สูง มีความคุ้มค่า สามารถใช้งานในระยะยาว และง่ายต่อการขึ้นรูป งานวิจัยโดย ดร.ยิ่งยศ ภู่อาภรณ์ ส่วนวิจัยด้านพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า และสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และคณะ ได้ใช้เทคโนโลยีสปัตเตอริง* และไฮโดรเทอมอล ผลิตฟิล์มซิงค์ออกไซด์แท่งนาโนสำหรับประกอบเป็นวัสดุเซนเซอร์ตรวจวัดแก๊สมีเทน และใช้แสงซินโคร
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกันวิจัยพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย นนทบุรี – รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมกับ นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา ระหว่าง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการดำเนินงานด้านการศึกษาวิจัยและบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข อาหาร การชันสูตรโรค การวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น ยา ชีววัตถุ สมุนไพร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ณ อาคาร 100 ปี การสาธารณสุขไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ กล่าวว่า “สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มีพันธกิจในด้านการวิจัย ให้บริการ ส่งเสริมและถ่ายทอดการเรียนรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน และการใช้ประ
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดบ้านเป็นเจ้าภาพจัดงาน Advanced Engineering Workshop ครั้งที่ 6 รวมผู้เชี่ยวชาญจาก 10 หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมขั้นสูงจากแต่ละหน่วยงาน สู่การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ชูเป้าหมายร่วมเดินหน้าพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดโดยคนไทย นครราชสีมา – สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง ครั้งที่ 6 (6th Advanced Engineering Workshop) ระหว่าง วันที่ 20 – 21 มีนาคม 2568 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จ.นครราชสีมา โดยความร่วมมือกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง โดยเวียนการเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมขึ้นประจำทุกปี สำหรับปีนี้ยังมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสา
กระดาษธรรมดาทั่วไปเมื่อได้รับรังสีแกมมาจะถูกเปลี่ยนสภาพกลายเป็นกระดาษที่เปื่อยยุ่ย เสียหาย แต่นักวิจัยไทยกำลังพัฒนากระดาษที่สามารถทนรังสีได้ ซึ่งจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ได้ เช่น อุปกรณ์ตรวจวัดรังสี และองค์ความรู้เดียวกันนี้ยังสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาชุดอวกาศหรือยานอวกาศได้ เนื่องจากกระดาษ ชุดอวกาศ และยานอวกาศ ล้วนเป็นวัสดุที่เรียกว่า “พอลิเมอร์” นักวิจัยจากวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับนักวิจัยจากอีกหลายหน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมพัฒนากระดาษทนรังสีแกมมาซึ่งเป็นรังสีที่มีสมบัติทะลุทะลวงสูง ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้นำวัสดุจากธรรมชาติ คือกระดาษกรองซึ่งเป็นเซลลูโลส ที่ได้จากพืชและเป็นพอลิเมอร์รูปแบบหนึ่ง มาจุ่มเคลือบ “วัสดุแผ่นบางไททาเนท” ซึ่งเป็นวัสดุคอมโพสิตและวัสดุนาโนสองมิติ (two-dimensional nanomaterials) ชนิดหนึ่ง โดยได้เคลือบวัสดุดังกล่าวที่ปริมาณ 0.6 มิลลิกรัมต่อตารางเซ
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดการประชุมเครือข่ายนักวิจัยไทยและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ SYNAPSE เพื่อศึกษาและวิจัยแผนที่สามมิติของสมอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจและการรักษาโรคทางด้านสมองและประสาทวิทยาที่ยังหาสาเหตุไม่ได้ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและประสาทวิทยาจากจีนและไต้หวัน ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับนักวิจัยไทยในหลากหลายสาขา ตั้งแต่นักฟิสิกส์คอมพิวเตอร์คำนวณ แพทย์ศัลยกรรมประสาท แพทย์พยาธิวิทยา สัตวแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยาและสรีรวิทยา นับเป็นการประชุมหารือร่วมกันเป็นครั้งแรกเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยด้านสมอง กรุงเทพมหานคร – สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จัดการประชุมเครือข่ายนักวิจัยไทยและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ SYNAPSE เพื่อศึกษาและวิจัยแผนที่สามมิติของสมอง ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร โดยเป็นการประชุมเพื่อหารือความร่วมมือระหว่างเครือข่ายนักวิจัยไทยกับกลุ่มเครือข่าย SYNAPSE ซึ่งเป็นเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญจากประเทศในแถบเอ
นักวิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เข้ารับพระราชทานเกียรติบัตรภายในงาน “วันนักประดิษฐ์” จากผลงานการพัฒนาต้นแบบเครื่องเคลือบฟิล์มคาร์บอนคล้ายเพชรสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568 ประเภทรางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการกัดกร่อนและการสึกหร่อของชิ้นส่วนทางวิศวกรรมในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมได้ กรุงเทพมหานคร – สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติฯ ประจำปีงบประมาณ 2568 เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับพระราชทานเกียรติบัตร โดย รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้รับเชิญในการเข้าร่วมงานด้วย งานดังกล่าวจัดขึ้นโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2568 และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงกา
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรม “ค่ายลำแสงซินโครตรอน แสงแห่งอนาคต” ให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจิตรลดา พร้อมฐานการทดลองวิทยาศาสตร์ ชูไฮไลท์การจำลองสถานการณ์คดีฆาตกรรมเพื่อสืบหาคนร้ายจากเศษขนด้วยเทคนิคการถ่ายภาพเอกซเรย์ 3 มิติ และฐานการทดลองเพื่อเข้าใจพื้นฐานเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคและเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน นครราชสีมา – ดร.ประพงษ์ คล้ายสุบรรณ์ ประธานคณะทำงานจัดกิจกรรมศึกษาเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนสำหรับโรงเรียนจิตรลดา และรองผู้อำนวยการพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงสยาม 2 เป็นประธานเปิด “ค่ายลำแสงซินโครตรอน แสงอนาคต” และบรรยายพิเศษเรื่อง “แสงซินโครตรอน” ให้แก่นักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ โรงเรียนจิตรลดา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 22 คน ซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2568 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จ.นครราชสีมา “หลังจากนักเรียนเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการแสงสยาม โดยมีนักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง นักฟิสิกส์ และนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการนำเยี่ยมชมแล้ว นักเรียนจะได้ทำการ
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม “อว For Kids” โดยเปิดบ้านซินโครตรอนรับวันเด็กแห่งชาติ ให้เยาวชนได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการแสงซินโครตรอนขนาดใหญ่ พร้อมกิจกรรมฐานทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้กล้องถ่ายภาพความร้อน การส่องกล้องจุลทรรศน์ดูซากสิ่งมีชีวิตชนิดขนาดเล็กและเซลล์พืช กิจกรรม D.I.Y. ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ เช่น ฐานเก็บรุ้งใส่กระป๋อง ฐานประดิษฐ์กล้องสลับลาย รวมถึงเปิดพื้นที่ให้ระบายสีตามจินตนาการบนกำแพงยักษ์ และประกอบตัวต่อแม่เหล็ก นครราชสีมา – ดร.ศรายุทธ ตั้นมี หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “สถาบันฯ ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม “อว For Kids” ที่จัดขึ้นโดยกระทรวง อว. โดยสถาบันฯ ได้จัดกิจกรรม เปิดบ้านซินโครตรอนรับวันเด็กแห่งชาติ Synchrotron Open House ระหว่างวันที่ 10-11 มกราคม 2568 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จ.นครราชสีมา ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในรอบปีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนอายุต่ำกว่า16 ปี เข้าเยี่ยมชม ห้องปฏิบัติการและเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนได้ “นอกจากนี้สถาบันฯ
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมทักษะผู้ใช้บริการแสงซินโครตรอนในการประยุกต์ใช้แสงฯ ด้วย 4 เทคนิค ได้แก่ เทคนิค micro-FTIR, เทคนิค micro-XRF imaging, เทคนิค SAXS และเทคนิค WAXS โดยผู้เข้าอบรมได้รับข้อมูลหลักการพื้นฐานทางเทคนิค การประยุกต์เทคนิคในการวิเคราะห์ทดสอบวัสดุด้านต่างๆ รวมถึงการทดลองปฏิบัติจริงที่ระบบลำเลียงแสง ทั้งการเตรียมตัวอย่าง การทำการทดลอง รวมถึงการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการและงานวิจัยระหว่างหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ นครราชสีมา – ดร.แพร จิรวัฒน์กุล หัวหน้าฝ่ายระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “สถาบันฯ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการใช้แสงซินโครตรอนด้วยเทคนิคต่างๆ ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนจ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 23-24 ธันวาคม 2567 ได้แก่ การอบรมการใช้เทคนิค micro-XRF imaging และเทคนิค micro-FTIR ซึ่งมีอาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ กว่า 50 คนเข้าร่วมการอบรม และก
นักวิทยาศาสตร์สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับนักวิจัยจากหลายหน่วยงานค้นพบการออกฤทธิ์ยาต้านเชื้อมาลาเรียจากฐานข้อมูลยาต้านมะเร็ง โดยใช้เทคนิคแสงซินโครตรอนย่านอินฟราเรดตรวจวิเคราะห์ พบว่าตัวยาต้านมะเร็งดังกล่าวสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อมาลาเรียได้จริง สามารถพัฒนาเป็นยาต้านมาลาเรียได้ นครราชสีมา – ดร.บัวบาล กัวประเสริฐ นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “เชื้อโปรโตซัวในกลุ่มพลาสโมเดียมที่อยู่ในยุงก้นปล่องคือตัวการของโรคมาลาเรีย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจหาการติดเชื้อมาลาเรีย หรือทดสอบประสิทธิภาพยารักษามาลาเรียได้จากการตรวจหาผลึกฮีโมโซอิน ที่เชื้อโปรโตซัวสร้างขึ้นเพื่อให้อยู่รอดในเม็ดเลือดแดงได้ แต่กระบวนการตรวจสอบที่ผ่านมามีความยุ่งยากและซับซ้อน จึงมีการพัฒนากระบวนการตรวจด้วยแสงซินโครตรอน ที่สามารถตรวจได้รวดเร็วและแม่นยำ อีกทั้งสามารถตรวจพบการติดเชื้อได้แม้มีตกผลึกเพียงผลึกเดียว โดยวัดการดูดกลืนแสงย่านอินฟราเรดของผลึกฮีโมโซอินในช่วงความยาวคลื่น 1,210 – 1,220 cm-1” ทั