สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ แย้งรัฐมนตรีพาณิชย์ หมูไทยแพง มาจากนโยบายกระทรวงพาณิชย์ที่ทำไว้ให้วัตถุดิบอาหารสัตว์แพงที่สุดในโลก นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ แก้ข้อสงสัยให้รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ที่อ้างช่วงหนึ่งของการให้สัมภาษณ์สื่อว่าเนื้อสุกรลักลอบนำเข้าจากประเทศบราซิลทำไมถูก ทั้ง ๆ ที่เสียค่าใช้จ่ายใต้โต๊ะรายทาง และมาวางขายในตลาดเมืองไทยมีราคาถูกกว่าหมูในประเทศ ข้อเท็จจริงคือเป็นเพราะต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ของบราซิลต่ำมาก ขณะที่โครงสร้างต้นทุนการผลิตสุกรของประเทศไทยที่มีต้นทุนส่วนใหญ่ 65-70% มาจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลนโยบายโดยกระทรวงพาณิชย์นั้นมีราคาสูงมาก ทั้งกลุ่มพืชโปรตีน ได้แก่ กากถั่วเหลือง ซึ่งมีการบวกกำไรเกินกว่าเหตุ จนทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์กลุ่มโปรตีนของไทยเป็นกลุ่มที่มีราคาสูงที่สุดในโลก รวมถึงข้าวโพดในไทยที่แพงถึงกว่า 10 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาข้าวโพดต่างประเทศอ่อนตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับราคา 5-6 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น นี่คือสาเหตุหลักที่ รมว.พาณิชย
แม็คโคร ย้ำชัดการดำเนินธุรกิจเคียงข้างเกษตรกร โดยในวันนี้ (11 ก.ค.67) ได้ต้อนรับ นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และคณะผู้แทน ที่เดินทางมายังสำนักงานใหญ่ แม็คโคร เพื่อมอบหนังสือเกี่ยวกับราคาจำหน่ายเนื้อสุกร ทั้งนี้ตัวแทนแม็คโครได้ให้ความมั่นใจกับเกษตรกรว่าราคาจำหน่ายเนื้อสุกรของแม็คโครเป็นไปตามกลไกตลาด ไม่มีนโยบายขายต่ำกว่าทุน พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสร้างมาตรฐานและช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในประเทศ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ผลประโยชน์สูงสุดของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
กรมการค้าภายใน จับมือ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กรมปศุสัตว์ รณรงค์บริโภคเนื้อหมู หลังยังมีผลผลิตส่วนเกิน 8,000 ตัวต่อวัน เพื่อช่วยดูแลราคาให้กับเกษตรกร พร้อมขอความร่วมมือห้างงดจัดโปรโมชั่นช่วงนี้ หวั่นไปกดราคาซื้อ-ขาย ขณะที่แนวโน้มราคาอาหารสัตว์เริ่มปรับตัวลดลง วันที่ 4 มีนาคม 2567 นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมได้ร่วมมือกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กรมปศุสัตว์ รณรงค์ให้ผู้บริโภคช่วยกันบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยดูแลราคาหมูให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง ที่ได้รับผลกระทบจากราคา เพราะขณะนี้ผลผลิตหมูมีชีวิตออกสู่ตลาดเกินความต้องการ เฉลี่ยวันละ 5 หมื่นตัว ขณะนี้อยู่ที่ 5.8 หมื่นตัว จึงต้องหาทางเร่งระบายผลผลิตส่วนเกินออกจากตลาด แม้ว่าในส่วนของกรมปศุสัตว์จะเร่งแก้ปัญหา ตัดวงจรหมูด้วยการผลักดันให้ทำหมูหันไปแล้วส่วนหนึ่งก็ตาม ทั้งนี้ กรมยังได้ขอความร่วมมือไปยังห้างค้าส่งค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า ให้งดการจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าเนื้อสุกรในช่วงนี้ เพราะราคาเนื้อหมูถูกอยู่แล้ว โดยราคาเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 130 บาท และหากมีการนำเนื้อหมูมาจัดโปรโมชั่น เ
สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เร่งรัฐบาลปราบผู้ร้ายลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนให้ราบคาบ “ตัวอันตราย” ดั๊มพ์ราคาต่ำกว่าต้นทุนผลิตที่แท้จริง บิดเบือนกลไกราคาในประเทศ ปิดโอกาสเกษตรกรรายย่อยฟื้นฟูการเลี้ยงต้องออกจากอาชีพ เตือนหากนิ่งนอนใจอาจเจอปัญหาหมูล้นตลาด ราคาตกต่ำช่วงปลายปีนี้ เกิดผลเสียทั้งห่วงโซ่การผลิตและความมั่นคงทางอาหาร นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า แม้จะมีการเรียกร้องให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งกรมศุลกากรและกรมปศุสัตว์เร่งดำเนินการ แต่การปราบปรามและจับกุมยังไม่ดำเนินการอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ทำให้ขบวนการลักลอบนำเข้าไม่เกรงกลัว ทั้งยังมีการลักลอบนำเข้ามาในหลายรูปแบบและมีการทำการตลาดทั้งแบบออนไลน์และขายหน้าร้าน โดยมีราคาขายปลีกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 135-145 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าราคาในประเทศมาก “หากภาครัฐปล่อยให้หมูลักลอบนำเข้าเพิ่มมากขึ้นทุกภาค และวางจำหน่ายกันอย่างเปิดเผย ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย ภายในระยะเวลา 18 เดือน ผู้เลี้ยงรายย่อยและรายเล็กไม่รอดแน่ เพราะทุกคนมีภาระต้องกู้เงินมาฟื้นฟูกิจการ ถ้าต้องขายหมูขาดทุนจะไปต่อได้อย่างไร รัฐบาลต้องทำ
น.สพ. วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวถึงข้อเสนอให้นำเข้าเนื้อสุกรเพื่อเพิ่มปริมาณในประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศในแถบยุโรป ว่าสมาคมฯ และเกษตรกรคัดค้านเรื่องนี้ เพราะนอกจากจะมีความเสี่ยงเรื่องโรคต่างถิ่นที่อาจปนเปื้อนเข้ามากระทบกับฝูงสุกรของไทยแล้ว ผู้เลี้ยงยังทราบดีว่าหากเปิดรับให้ทางยุโรปนำสุกรเข้ามาในไทยได้ ย่อมมีความเสี่ยงที่จะต้องเปิดรับเนื้อสุกรจากยุโรปตลอดไป และมีโอกาสที่จะส่งเข้ามาไม่จำกัด แม้จะมีการกำหนดปริมาณไว้ชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติประเทศผู้ส่งออกจะส่งมาเกินกว่าที่กำหนด ซึ่งประเด็นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ดังเช่น ประเทศเวียดนาม ที่เลือกแก้ปัญหาขาดแคลนสุกรด้วยการนำเข้า โดยหวังว่าจะได้บริโภคเนื้อสุกรราคาถูกในช่วงแรก แต่กลับได้บริโภคในราคาแพง และมีการแยกชนชั้นระหว่างสินค้านำเข้าและสินค้าในประเทศ ไม่ใช่สินค้าราคาถูกอย่างที่หวัง ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรชาวเวียดนนาม ต้องรับภาระขาดทุนจากภาวะสุกรล้นตลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญ การนำเข้าเนื้อสุกร ชิ้นส่วน และสุกรแปรรูปจากต่างประเทศ มาพยุงราคา เป็นการทำลายกลไกการเลี้ยงสุกรในประเทศ เพราะสุกรนำเข้าราคาถูกกว
น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ ต่างได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดทุนสะสมมานานกว่า 3 ปี โดยเฉพาะปี 2564 ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเพียง 67-68 บาท ต่อกิโลกรัม สวนทางกับต้นทุนการเลี้ยงที่สูงถึง 78-80 บาท ต่อกิโลกรัม ตามการประเมินของคณะอนุกรรมการต้นทุนของ Pig Board ยิ่งในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ ราคาสุกรตกต่ำอย่างมากในเดือนมีนาคม-เมษายน สุกรมีชีวิตราคาเคยลดลงไปต่ำสุดเพียง 56 บาท ต่อกิโลกรัม ขณะที่ผู้เลี้ยงต้องแบกรับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบอาหารสัตว์หลัก ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ราคาสูงถึง 10-11 บาท ต่อกิโลกรัม กากถั่วเหลืองราคาล่าสุดสูงกว่า 19.80 บาท ต่อกิโลกรัม และมีแนวโน้มราคาสูงขึ้นต่อเนื่องจากสต็อกผู้ผลิตในต่างประเทศลดลง โดยต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ดังกล่าวคิดเป็น 70% ของต้นทุนการเลี้ยง ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 20-30% ตั้งแต่ต้นปี 2564 ที่สำคัญเกษตรกรยังเผชิญกับโรค PRRS หรือโรคเพิร์ส ที่สร้างความเสียหายให้กับผู้เลี้ยง ส่งผลให้แม่พันธุ์เสี
น.สพ. วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูกำลังเผชิญกับปัจจัยลบหลายอย่าง ทั้งปัญหาน้ำท่วมที่สร้างความเสียหายแก่ฟาร์มเลี้ยงหมูในหลายพื้นที่ และยังมีโรคระบาด PRRS หรือโรคเพิร์ส ที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ ทำให้แม่พันธุ์หมูเสียหายไปมากกว่า 300,000 ตัว ส่งผลให้ฟาร์มหมูขุนได้รับความเสียหายไป 30% ทั้งเกษตรกรรายย่อย รายเล็ก รายกลาง และรายใหญ่ ขณะเดียวกันผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การบริโภคเนื้อหมูลดลงด้วย ประกอบกับ การท่องเที่ยวที่หยุดชะงักทำให้การบริโภคทั้งของผู้บริโภคในประเทศและนักท่องเที่ยวน้อยลงตามไปด้วย ขณะเดียวกัน เกษตรกรทุกคนต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นแทบทุกตัว โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากราคา 8.50 บาท ต่อกิโลกรัม ปรับเพิ่มเป็น 12.50 บาท ต่อกิโลกรัม กากถั่วเหลือง จากราคา 17 บาท ต่อกิโลกรัม เพิ่มเป็น 21 บาท ต่อกิโลกรัม รวมถึงปลายข้าวที่ขณะนี้ราคาขึ้นไปถึงกระสอบละ 1,100 บาทแล้ว ขณะที่ต้องมีภาระในการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ Biosecurity เพื่อการป้องกันโรคในสุกรที่เข้มงวด ทำให้จำเป็นต้
ข้าวโพด : ราคาเพิ่มขึ้น สัปดาห์นี้ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ไซโลโรงงานอาหารสัตว์ ปรับขึ้นจากหาบละ 612 บาท เป็นหาบละ 630 บาท แม้ว่าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะยังคงออกสู่ตลาด แต่เนื่องด้วยภาวะฝนตกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลผลิต ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 1 กันยายน 2564 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รอบส่งมอบเดือนธันวาคม 2564 ราคาอยู่ที่ 522.75 เซนต์/บุชเชล เป็นราคาที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากคาดการณ์สภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยจนถึงสัปดาห์หน้า จะทำให้ข้าวโพดเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ใกล้สู่ช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวในแถบมิดเวสต์ นอกจากนี้กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานผลผลิตที่อยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมากที่ 60% ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และไม่มีรายงานอุปสงค์การส่งออกข้าวโพดเอกชน ขณะที่ปัจจุบันเกษตรกรประเทศบราซิลเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดสำหรับ ฤดูกาล 2563/64 ครบถ้วน แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวโพดในประเทศน่าจะทรงตัว ถั่วเหลือง : ราคาทรงตัว กากถั่วเหลืองจากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า ในสัปดาห์นี้ ทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.90 บาท ปริมาณน้ำฝนในฝั่งอเมริกายังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คาดการณ์
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ สรุปภาวะสินค้าเกษตรประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 26-30 กรกฎาคม 2564 ข้าวโพด : ราคาลดลง สัปดาห์นี้ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ไซโลโรงงานอาหารสัตว์ ปรับตัวอ่อนลง จากหาบละ 642 บาท เป็นหาบละ 633 บาท เนื่องจากเริ่มมีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกสู่ตลาด ด้านตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รอบส่งมอบเดือนกันยายน 2564 ราคาอยู่ที่ 549.25 เซนต์/บุชเชล โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานคุณภาพข้าวโพดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก (Good to excellent condition) ปรับลดลงอยู่ที่ 64% แต่คาดการณ์อุณหภูมิที่จะลดต่ำลงในสัปดาห์หน้า จะช่วยบรรเทาความแห้งแล้งในพื้นที่เพาะปลูกได้ ขณะที่ตลาดได้ติดตามการประกาศรายงานคาดการณ์อุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตรโลก (WASDE) ที่จะประกาศในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งจะมีการปรับผลผลิตต่อไร่ (yield potential) ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณข้าวโพดของสหรัฐฯ ในฤดูกาล 2564/65 แนวโน้ม : คาดว่าราคาข้าวโพดในประเทศน่าจะยืนแข็ง ถั่วเหลือง : ราคาทรงตัว กากถั่วเหลืองจากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า ยืนราคาที่กิโลกรัมละ 18.60 บาท สภาพอาก
น.สพ. วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทยในช่วงปลายปีเช่นนี้มีแนวโน้มสดใส จากภาวะการบริโภคที่คึกคักเป็นปัจจัยสนับสนุน ทั้งการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการในบางภูมิภาคเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่นในภาคเหนือที่เข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ได้ผลดีมากอย่างเช่นโครงการ “คนละครึ่ง” ที่มีผู้ร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก ยิ่งทำให้การบริโภคอาหารจากเนื้อสุกรมากขึ้นถึง 100% จากช่วงก่อนหน้านี้ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอีกในช่วงสิ้นปีและปีใหม่ที่อาจจะสูงถึง 300% ด้วยเหตุนี้ทำให้บางพื้นที่ต้องการผลผลิตหมูเพิ่ม เพื่อรองรับการบริโภคที่มากขึ้น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรร่วมกับผู้เลี้ยง จึงร่วมกันบริหารจัดการด้วยการส่งชิ้นส่วนสุกรหรือสุกรแปรรูป จากภาคกลางไปเติมเต็มความต้องการดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลน ส่วนประเด็นเรื่องโรคในสุกรที่มีกระแสข่าวในช่วงนี้ อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้เป็นช่วงรอยต่อของฤดูกาลปลายฝนต้นหนาวของปี ที่ภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อสุขภาพสัตว์อย่างหลีกเลี