สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
วันที่ 22 มกราคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดเวทีแถลงข่าว NRCT Talk ในหัวข้อ “ฝุ่นมาจากไหน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีคำตอบ” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และประธานกรรมการกำกับและติดตาม การพัฒนาศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ และศูนย์กลางด้านความรู้ด้านมลพิษทางอากาศและภูมิอากาศ ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ วช. และคุณจรูญ เลาหเลิศชัย อดีตผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ณ ศูนย์สารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาคาร วช. 8 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้ อว. ได้ตระหนักถึงการนำงานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี มาเป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจในมิติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยอย่างยิ่งสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีค่าฝุ่นละออง PM2.5
เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการเสวนา “รู้ทันผลกระทบสุภาพจากฝุ่น PM2.5 ร่วมกับ ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents of Air Pollution and Climate – HTAPC) โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการเสวนาในครั้งนี้ ณ ศูนย์สารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชั้น 1 อาคาร วช. 8 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึง วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมตามแผนงานสำคัญของประเทศ ให้ความสำคัญกับ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5” โดย วช. ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงรุกที่ช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง (PM2.5) ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและมีความเสี่ยงสูง และร่วมกับเครือข่ายนักวิจัย สถาบันวิจัย และหน่วยงานต่าง ๆ ในการช่วยกันขับเคลื่อนผลผลิตและผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งมีการต่อยอด ขยายผลกับชุมชนและหน่วยงานผู้ใช้ป
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้ารับรางวัลรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2567 (Digital Government Award 2024) หรือ DG Awards 2024 จัดโดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. ย้ำชัดความสำเร็จในการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อให้บริการนักวิจัยและประชาชนอย่างต่อเนื่อง ด้วย 2 รางวัล แห่งความภาคภูมิใจ ดังนี้ “รางวัลรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Awards) หน่วยงานภาครัฐระดับกรมที่ให้บริการเป็นหลัก อันดับ 4″ และ “รางวัลหน่วยงานคุณภาพด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation) หน่วยงานระดับกรม ที่ให้บริการเป็นหลัก” ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เข้าร่วมรับโล่รางวัลและประกาศนียบัตร จาก นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในงานมอบรางวัลรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2567 “DG Awards 2024” ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งในปีนี้ เป็นปีที่ 4 ที่ วช. เป็นรางวัลอันทรงเกียรติและภาคภูมิใจ สะท้อนความมุ่งมั่นพัฒนางานบริการด้าน
เมื่อเอ่ยถึงสิ่งประดิษฐ์ด้านอนุรักษ์พลังงาน หลายคนนึกถึง วิทยาลัยการอาชีพ (วก.) ศรีสัชนาลัยเพราะมีผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านอนุรักษ์พลังงานที่โดดเด่น คว้ารางวัลจากเวทีประกวดทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เช่น รถไถไฟฟ้าลดมลภาวะประหยัดพลังงาน ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับชาติ “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” ปี 2562 วีลแชร์ไฟฟ้าป้องกันโรคติดต่อควบคุมด้วยรีโมต ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โฟล์ค EV ศรีสัชนาลัย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับภาค จาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถานีชาร์จรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ อีกหนึ่งผลงานเด่นของวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย คือ สถานีชาร์จรถสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับชาติ ปี 2566 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และรางวัล The Best International Invention Award. จากประเทศฮ่องกง นวัตกรรมดังกล่าว เป็นผลงานของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย ประกอบด้วย นายพงศ์ธร แก้วมณี นายธนกฤต สอนขาว นายสารนาถ เพ็ญจันทร์ แล ะอาจารย์ที่ปรึกษา ได้แก่ อาจารย์ไพลรัตน์ ลำลี และ อาจารย์ชูเกษม ถิร
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมกับ มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข และ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จัดการแสดงดนตรีประจำชาติภายใต้โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพความเป็นเลิศทางดนตรีของเยาวชน “ไทยใหม่” และ “ประลองยอดฝีมือเยาวชนดนตรี ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2568” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีฃบ โดยท่านศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มอบหมายให้แพทย์หญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในการเปิดงาน ซึ่งมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายสุรพันธ์ ศิลปะสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข ประธานมูลนิธิ สุกรี เจริญสุข และผู้บริหารส่วนจังหวัด ให้การต้อนรับ ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา แพทย์หญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา กล่าวว่า กระทรวง อว.ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาการวิจัย
ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง!กับทีมนักประดิษฐ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย โดยสามารถคว้ารางวัล Grand Prize รางวัลสูงสุดของการจัดงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ “Seoul International Invention Fair 2024” (SIIF 2024) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายน 2567 โดย Korea Invention Promotion Association (KIPA) ณ COEX Convention & Exhibition Center สาธารณรัฐเกาหลี สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัล Grand Prize ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ซัคเสส นวัตกรรมสารเติมแต่งเพื่อการแยกเพศน้ำเชื้อโคสด” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มารินา เกตุทัต-คาร์นส์ และคณะ ซึ่งซัคเสส เป็นนวัตกรรมสารเติมแต่งแยกเพศน้ำเชื้อโค เพื่อการผลิตน้ำเชื้อโคแยกเพศแช่แข็ง การแยกเพศน้ำเชื้อโคด้วยนวัตกรรม SuccexX สามารถใช้ได้กับน้ำเชื้อพ่อพันธุ์โคนมและโคเนื้อ จะทำให้เกษตรกรได้ลูกโคเพศเมียในอัตราที่สูงถึง 80% นอกจากนี้ ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของประเทศไทยยังได้รับรางวัลสำคัญบนเวที SIIF 2024 ดังนี้ – รางวัล WIPO National Award for Creativity ผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่
วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ (BBVC) เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถาบันศึกษาในฝันของเด็กไทยหลายๆ คน เพราะที่นี่ช่วยแบ่งเบาบรรเทาภาระของผู้ปกครอง รับสมัคร ม.3 จากทั่วประเทศ เรียนต่อหลักสูตร ปวช. และ ปวส. นักศึกษาทุกคนได้รับทุนเล่าเรียนตลอดการศึกษา โดยผู้มีจิตศรัทธาอุปการะบริจาคทุนให้ เรียนฟรี พักฟรี อาหารฟรี อุปกรณ์การเรียนฟรี ตลอดการศึกษา 5 ปี วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ สอนวิชาชีพควบคู่กับสอนธรรมะ ตามแนวทางของท่านพุทธทาส คือ สอนวิชาชีพควบคู่กับการสอนธรรมะ การนั่งสมาธิ ทำวัตรเช้า-เย็น ดำเนินการสอนมาแล้วเป็นปีที่ 7 ปัจจุบัน เปิดสอน 6 สาขา คือ สาขาการบัญชี สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาภาษาต่างประเทศ สาขาอาหารและโภชนาการ สาขาการโรงแรม และสาขาการท่องเที่ยว ด้วยหลักสูตรที่ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้นอกสถานที่ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ทั้งในวิทยาลัยและที่สถานประกอบการในพื้นที่ซึ่งผู้สอนเป็นผู้บริหารและหัวหน้างานที่เป็นมืออาชีพในสาขาต่างๆ เพื่อได้มีทักษะสามารถทำงานได้ทุกแห่ง พร้อมสู้งานหนักได้ทุกสถานการณ์ สถานศึกษาแห่งนี้ไม
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานพิธีเปิดการนำโดรนแปรอักษรส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสมุทรสงคราม “ประเพณีลอยกระทงกาบกล้วย” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกล่าวการสนับสนุนกิจกรรม และ นางสาวกาญจน์สุดา ปานะสุทธะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวต้อนรับ พร้อมนี้ นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ได้ควบคุมการจัดแสดงบินโดรนแปรอักษร ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม นายนภินทร กล่าวว่า การจัดงานประเพณีลอยกระทงกาบกล้วยในครั้งนี้ เป็นการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีอันยาวนานของจังหวัดสมุทรสงคราม โดยการนำเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรมาใช้ในการส่งเสริมภาคการท่องเที่ยว ถือเป็นแนวทางสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ จังหวัดสมุทรสงครามแม้จะเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย แต่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจมากมาย เช่น ตลาดน้ำอัมพวา และวัดบางกุ้ง เป็นต้น การนำเทคโนโลยี
อบจ.สมุทรสงครามนำทีมเยาวชนและบุคลากรจังหวัด เสริมทักษะการใช้โดรนส่งเสริมการท่องเที่ยว พร้อมนำทีมรับรางวัลภาพถ่ายด้วยโดรนดีเด่น ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวจ.สมุทรสงคราม ภายใต้การสนับสนุนจาก วช. วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2567 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดรนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว: ภาคกลาง” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและประกาศนียบัตร พร้อมนี้นางสาวกาญจน์สุดา ปานะสุทธะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุมอัมพวันเธียเตอร์ โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ให้เกิดการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่ในหลากหลายด้าน โดยการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับโดรน การคิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการควบคุมโดรน
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดอุทัยธานี และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดรนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว” จำนวน 3 วัน และการบินโดรนแปรอักษรส่งเสริมการท่องเที่ยว 500 ลำ ณ ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี และบริเวณวงเวียนหอนาฬิกา อ.เมืองอุทัยธานี โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี พร้อมนี้ นางศิริพร อภิเดช ปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุทัยธานี และ นายสัมพันธ์ สุภาภักดี ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุทัยธานี พร้อมผู้บริหารในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี และบริเวณวงเวียนหอนาฬิกา อ.เมืองอุทัยธานี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า จังหวัดอุทัยธานีเป็นพื้นที่แรกของภาคกลาง ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติก