สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
การใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีการสื่อสาร ฯลฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ดังนั้น ทักษะการเรียนรู้นวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญของการใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจำเป็นต้องมีติดตัวเพื่อความอยู่รอด UCC Network สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงสร้าง “UCC Network” ศูนย์กลางกระจายเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยร่วมมือกับเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา 9 แห่ง ดำเนินโครงการ Innovation Hubs เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศ ตอบโจทย์ Thailand 4.0 ของรัฐบาล โดยมุ่งสร้างงานวิจัยให้เป็นระบบที่เข้มแข็ง ทั้งโครงสร้างการจัดการ และกำลังคน เกิดการบูรณาการนวัตกรรมงานวิจัย ต่อยอดต้นทุนเดิม (ภูมิปัญญาชาวบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติ) สู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เกิดเป็นนวัตกรรมสินค้าหรือบริการ ที่สร้างรายได้ต่อชุมชนท้องถิ่น สร้างวิสาหกิจเพื่อสังคม ตอบโจทย์รายได้ทางธุรกิจ ควบคู่กับการรับใช้ช
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สืบสานพระราชดำริ พระราชปณิธาน และพระบรมราโชบาย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คณะกรรมการจิตอาสาเฉพาะกิจกลุ่มงานโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ได้มอบหมายให้ วช. ดำเนินกิจกรรมร่วมกับศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสา 904 วปร. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการจัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน” ภายใต้ “โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก” โดย วช. ได้คัดเลือกองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการวัชพืชและผักตบชวา ที่สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบตั้งแต่การนำมาผลิตเป็นเครื่องจักสาน งานหัตถกรรม การใช้เพื่อการบำบัดน้ำ การใช้เพื่อผสมเป็นอาหารสัตว์ การนำมาหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ ตลอดจนการนำมาทำเป็นวัสดุปรับปรุงดินและปุ๋ย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ดีและยั่งยืนที่สุด สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรม “การนำนวัตกรรมไป
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องการส่งออกอาหารไทย โดยกำหนดนโยบายกระตุ้นอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนโยบาย “ครัวไทยสู่ตลาดโลก” ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย “แผนงานโครงการวิจัยครัวไทยสู่ตลาดโลก” ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งเป็นโครงการที่ตอบสนองนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล ที่เกิดจากแนวคิดทำอย่างไรให้อาหารไทยเป็นอาหารจานโปรดของทั่วโลก แต่การที่จะก้าวไปเป็นครัวไทยตลาดโลกได้นั้น จำเป็นต้องแก้ปัญหารสชาติที่ผิดเพี้ยนของอาหารไทยในต่างประเทศทั่วโลก และหาวิธีการสร้างการรับรู้ที่ถูกต้อง จึงได้มุ่งเน้นรสชาติแท้ของอาหารไทย โดยการพิสูจน์สายพันธุ์แท้ของวัตถุดิบ และกระบวนการปรุงที่คงรสชาติดั้งเดิม รวมถึงการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติแท้ สามารถปรุงได้สะดวก รวดเร็ว ปรุงที่ไหนก็ได้รสชาติแท้ดั้งเดิม อีกทั้งยังพิสูจน์ความเป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์วัตถุดิบ ด้วยการศึกษาประโยชน์ในเชิงโภชนาการและสุขภาพของอาหารไทย พร้อมหาแนวทางเผยแพร่ไปสู่กลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายโดยเฉพาะ ชาวต่างชาติ ผู้สูงอายุ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนนำไปผลิต จำหน่าย ทั้งในและต
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตรวจเยี่ยมโครงการ “การผลิตไก่พื้นเมืองและไก่ลูกผสม เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืน” ณ พื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการเกษตร ตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ วช. ในฐานะหน่วยงานให้การสนับสนุนทุนวิจัย ได้จัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยโครงการจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม ตามแนวพระราชดำริ ประจำปีงบประมาณ 2562 แก่ ดร.จิระนันท์ อินทรีย์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแก่เกษตรกร กลุ่มอาชีพในชุมชน และการวางแผนต้นทุนการผลิตและการจัดการทางการตลาด พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายเกษตร กลุ่มอาชีพผู้ผลิตไก่ พื้นเมือง และไก่พื้นเมืองลูกผสม ซึ่งเป็นโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยการนำเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นแนวทางในการลดปัจจัยนำเข้า ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้นำมาซึ่งชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ พื้นที่กลุ่มเป้าหมายในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัย จะต้องมีความเข้มแข็ง พึ
ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร (ศปป.1 กอ.รมน.) สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและพื้นที่ โดย “โครงการเสริมสร้างกลุ่มมวลชนเพื่อความสามัคคีปรองดอง” มีเป้าหมายในการสร้างจิตสาธารณะและสร้างสรรค์สังคม การสร้างชุมชนต้นแบบเข้มแข็ง ผ่านกลไกเครือข่ายปราชญ์เพื่อความมั่นคง ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายต่างๆ ในการนี้ ศปป.1 กอ.รมน. ได้จัด “กิจกรรมเสริมสร้างกลุ่มมวลชนเพื่อความสามัคคีปรองดอง” ขึ้นใน 4 ภาค สำหรับพื้นที่ กอ.รมน. ภาค 2 จัดขึ้นที่ จ.ร้อยเอ็ด โดยมี พล.ท. กนก ภู่ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กอ.รมน. เป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้น ซึ่งทาง ศปป.1 กอ.รมน. ได้เชิญสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมี ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมเป็นวิทยากร นำเสนอความพร้อมองค์ความรู้ผลงานวิจัยและนวัตกรรม และการดำเนินการร่วม ศปป.1 กอ.รมน. ในวันที่ 26 มิถุนายน 2562 กิจกรรม กอ.รมน. ภาค 2 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ปราชญ์เพื่อความมั่นคง
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สืบสานพระราชดำริ พระราชปณิธาน และพระบรมราโชบาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขับเคลื่อนโครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เกิดจากการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 ซึ่งได้น้อมนำพระราชดำริพระราชปณิธานและพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาแปลงเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีโครงการย่อยที่เกิดขึ้นรวม 8 โครงการ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาลำน้ำ ลำคลองและคุณภาพชีวิตของชุมชนริมน้ำ, โครงการผลิตแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อเป็นพลังงานทดแทนและสำหรับสำรองไฟกรณีฉุกเฉินให้แก่ประชาชน, โครงการผลิตเครื่องกำจัดมลพิษทางอากาศ PM 2.5 และ PM 10 และการรับรองมาตรฐานสิ่งประดิษฐ์ภายใต้โครงการ, โครงการลดและคัดแยกขยะของชุมชน, โครงการนำนวัตกรรมไปจัดการกับวัชพืชและผักตบชวาเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน, โครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพ
เมื่อเร็วๆ นี้ รองศาสตราจารย์นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรประกาศเกียรติคุณนักวิจัยและเยาวชนไทยที่นำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทยร่วมประกวดในเวทีสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม คว้ารางวัลมาครองได้มากถึง 225 รางวัลทีเดียว ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ภารกิจของ วช. ในการส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยนำผลงานเข้าจัดแสดงและประกวดผลงานในเวทีระดับนานาชาติ เพื่อเผยแพร่ผลงานนวัตกรรมของคนไทยในเวทีระดับโลก รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ เปิดโลกทรรศน์นักวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดผลงานสู่เชิงพาณิชย์ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาลที่มุ่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในอนาคต ที่ผ่านมา วช. ได้นำนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยคว้ารางวัลเกียรติยศจาก 2 เวที ได้แก่ 1. เวที “The 47
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มีนโยบายรณรงค์ให้มีการค้นคว้า วิจัย รวมทั้งมาตรการประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม และมีการสนับสนุนให้ใช้พลังงานทดแทนต่างๆ ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น จนเป็นวาระแห่งชาติ เพราะพลังงานทดแทนมีส่วนช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกระแสไฟฟ้าจึงมีความสำคัญและถือเป็นความต้องการพื้นฐานของประชาชน อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานทดแทนในปัจจุบันยังคงมีปัญหาต่างๆ อีกมาก วช. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนทุนเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม ตามการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของรัฐบาล ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้พลังงานทดแทน จึงได้ให้ทุนกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ปีงบประมาณ 2559 ภายใต้แผนงานวิจัยตอบสนองนโยบายรัฐบาล กลุ่มเรื่องพลังงานทดแทน (โครงการท้าทายไทย) กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาพลังงานทดแทนและการประยุกต์ใช้ในชุมชนสีเขียว” แก่ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ เพื่อศึกษาวิจั
กองทัพบก และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมพัฒนาความเข้มแข็งให้ชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม ตามมติคณะรัฐมนตรี ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกองทัพบก และ วช. : พอเพียงเพิ่มพลังชุมชน มั่นคงด้วยวิจัยและนวัตกรรม โดย พล.ท.สุเชษฐ์ ตันยะเวช ผู้อำนวยการศูนย์ประสานความมั่นคง กอ.รมน.ภาค3 และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมเปิดกิจกรรมการขยายผล ครั้งที่ 10 ในวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จังหวัดพิษณุโลก กิจกรรมมีขึ้นระหว่าง วันที่ 17-18 มิถุนายน 2562 กิจกรรมครั้งนี้ได้จัดองค์ความรู้ตามความต้องการของพื้นที่ ได้แก่ เรื่อง “เกษตรปลอดภัย : การแปรรูปพริกแห้ง” โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก และ “การสร้างยุ้งฉางเก็บข้าวด้วยมูลกระบือและการผลิตปุ๋ยชีวภาพ” จากมหาวิทยาลัยนครพนม เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช. ภายใต้แผนงานการจัดการความรู้การวิจัยและนวัตกรรม กองทัพบกและ วช. ร่วมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้องค์ความรู้จากงานวิ
ปัจจุบัน อาหารเสริมเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมาก ซึ่ง กระเทียม เป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมสูง เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบของตำรายาไทย เนื่องจากกระเทียมมีฤทธิ์ช่วยต้านจุลชีพ ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ลดระดับไขมัน ลดการอักเสบ ฯลฯ ดังนั้น ศาสตราจารย์ ดร. นงนุช เหมืองสิน ดร. อุฬาริกา ลือสกุล และ ดร. ศักดิ์ชัย หลักสี แห่งคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนวคิดที่จะสกัดและถนอมปริมาณสารสำคัญในกระเทียม เพื่อนำมาเป็นอาหารเสริม เรียกว่า “การ์ลิคอัพ” ที่มีลักษณะเด่นคือ กระเทียมไร้กลิ่น ที่มีปริมาณอัลลิอินสูง กรณีกระเทียมมีกลิ่นลดลงจากการยับยั้งการทำงานเอนไซม์อัลลิอิน ด้วยกระบวนการทรีตเม้นท์และได้ปริมาณสารอัลลิอินที่มีปริมาณสูง พบว่ามีปริมาณอัลลิอินเท่ากับ 8-10 mg/g ประโยชน์ของสารอัลลิอินในกระเทียมจะให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี รวมถึงยังมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดความดันโลหิตสูงอีกด้วย นอกจากนี้ อัลลิอิน ยังถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วกว่าอัลลิซินที่มักพบในผลิตภัณฑ์กระเทียมตามท้องตลาด หลังจากอัลลิอินถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดและไปออกฤทธิ์แล้ว อัลลิ