สำนักงานการวิจัยแห่ชาติ (วช.)
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จัดประชุมเสวนาทางวิชาการเพื่อเผยแพร่และขยายผลการดำเนินงาน “ศูนย์กลางองค์ความรู้ต้นแบบด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” ซึ่งได้รับเกียรติจาก พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมทั้งกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การบูรณาการความร่วมมือแบบไร้รอยต่อเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงทิศทางของ วช. ในการขับเคลื่อนงานวิจัยในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พร้อมด้วย พลตำรวจโท เสนิต สำราญสำรวจกิจ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ให้การต้อนรับ และ ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง ดร.พัชรา สินลอยมา หัวหน้าศูนย์ PSDP-Hub ได้กล่าวถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานของศูนย์ ณ ห้องประชุมเตมียเวส โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึง บทบาทของกระทรวงยุติธรรมกับการส่งเสริมหลักนิติธรรมของประเทศไทย การแก้ปัญหาอาชญากรรม ซึ่งอาชญากรรมเป็นภยันตรายต่อสังคมและต่อความสงบสุขของประชาชน ดังนั้น การบูรณาการความร่วมมือ
วันที่ 8 ธันวาคม 2566 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำคณะผู้บริหาร อว. เยี่ยมชมบูทย้อนวันวานงานนวัตกรรมกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) ใน “งานวันกาชาด 100 ปี พุทธศักราช 2566” จัดโดย สภากาชาดไทย ระหว่างวันที่ 8 – 18 ธันวาคม 2566 เวลา 11.00 – 22.00 น. ณ สวนลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “งานกาชาด 100 ปี รื่นรมย์สุขฤดี ณ ที่แห่งการให้“ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมออกบูท “ย้อนวันวานงานนวัตกรรม อว.” ใน “งานวันกาชาด 100 ปี พุทธศักราช 2566” โดยในการออกบูทครั้งนี้ ได้มีการออกร้านจัดแสดงนวัตกรรม และจัดจำหน่ายสินค้าชุมชน จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อว. ประกอบด้วย สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และกองขับเคลื่อนและพัฒนาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กขค.) โดย วช. ได้นำนวัตกรรมกาแฟ ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จาก วช. เข้าร
วช. หนุน ม.นเรศวร ขยายพันธุ์ทุเรียนด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล และพื้นเมืองคุณภาพดีในเขตภาคเหนือตอนล่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการวิจัยของ “รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท” และคณะ แห่งคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้ดำเนินงานวิจัยซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย วช. ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในการศึกษาการขยายพันธุ์ทุเรียนในสภาพปลอดเชื้อด้วยเทคนิคการเพาะ เลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ทุเรียนที่มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ 100% สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามต้นแม่พันธุ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์ทุเรียนในอนาคต และได้คุณภาพด้านรสชาติที่ตรงตามความต้องการผู้บริโภค รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท แห่งคณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าโครงการฯ
วันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2565) ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (บางนา) : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และศาสตราจารย์ นายแพทย์ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สวทช. เป็นประธานการลงนาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารทั้ง 2 หน่วยงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน โดยพิธีการฯ จัดขึ้นภายในงาน“วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2564 – 2565 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วช. กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ความสำคัญในการลงทุนส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและสถาบันความรู้ ด้านการวิจัยและนวัตกรรม อันเป็นหนึ่งใน 7 ภารกิจสำคัญของ วช. ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว โดยการพัฒนากำลังคนให้มีความรู้และทักษะ ที่สอดคล้องกับการทำงานและการดำรงชีวิตในศตวรรษที่
วช. สนับสนุนนักวิจัย มทร.ล้านนา พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์จากขิง เป็นของดีเมืองเพชรบูรณ์ ตอบโจทย์ตลาดคนรักสุขภาพ พร้อมเสริมศักยภาพ บจก.สุธัมบดี SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร จำหน่ายเชิงพาณิชย์ กระตุ้นเกษตรกรรมในพื้นที่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ วันนี้ (11 มกราคม 2565) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ดร.จันทรวิภา ธนะโสภณ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักประสานงานชุดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Innovative House ลงพื้นที่ บริษัท สุธัมบดี จำกัด อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ สนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 2 โครงการ เพื่อนำองค์ความรู้งานวิจัยมายกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นให้เติบโตในเชิงอุตสาหกรรม เกิดผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค อันเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าทางการเกษตรของอำเภอเขาค้อ ให้เกิดความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ในพื้นที่ ดร.จันทรวิภา ธนะโสภณ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักประสานงานชุดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Innovative House วช. กล่าวว่า ผลงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนจาก วช., สวทช. และ สกสว. ล้วนมีการนำไปต่อยอดแล้วในระดับอุตส
ในปี 2562 ผักตบชวาเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงและเป็นวัสดุเหลือทิ้งเยอะมาก ทีมวิจัยได้ของบประมาณจาก วช.สำหรับการดำเนินการในปีแรก ผลิตเป็นเส้นด้ายและผ้าจากผักตบชวาขึ้นมาก่อน พอปี 2563 ได้งบจาก ปตท. สนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชนให้ชุมชนได้ใช้ ตอนนั้นมีผ้าแล้ว ก็นำผ้านี้ไปถ่ายทอดให้เขาเพื่อเป็นอีกทางเลือกที่นอกจากผ้าไทยที่เขาจะหาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ให้เขาสามารถใช้ผ้าผักตบไปผลิตเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนของเขาได้ ดร.ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พูดถึงจุดเริ่มต้นของการพัฒนา “นวัตกรรมเส้นใยจากผักตบชวา” โดยทีมวิจัยได้มีการต่อยอดองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชน เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันมีชุมชนต่างๆ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อไปประยุกต์ใช้แล้ว อาทิ ชุมชนผลิตเสื้อผ้า ชุมชนผลิตพวกเก้าอี้ (เคหะสิ่งทอ) ผลิตพรมจากผักตบชวา โดยการผลิตพรมจะมีทีมนักวิจัยจากคณะวิศวะ คอยช่วยดูแลเรื่องของเทคนิคการผลิตที่ไม่เกิดปัญหาเชื้อรา ส่วนผ้าทอที่ใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้าทั่วไปการผลิตจะทำในเชิงอุตสาหกรรม โดยมีบริษัท ก้องเกียรติเท็กซ์ไทล์ จำกัด เข้ามาช่วยในเรื่องของการ
กลับมาอีกครั้ง กับงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 หรือ Thailand Research Expo 2021 งานเวทีระดับชาติที่นำเสนอผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อเชื่อมโยงการบูรณาการองค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศทั้งมิติเชิงวิชาการ นโยบาย สังคม/ชุมชน และพาณิชย์/อุตสาหกรรม จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายระบบวิจัยทั่วประเทศ คัดผลงานวิจัยและนวัตกรรมกว่า 500 ผลงาน มาให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ได้มาเรียนรู้อย่างใกล้ชิดขึ้น ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 ระหว่างวันที่ 22 – 26 พ.ย.นี้ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “พลังงานวิจัย สู่ยุคใหม่แห่งอนาคต” เพื่อแสดงถึงพลังของงานวิจัยที่เป็นกลไกเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลและการวางแผนปฏิบัติทำให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยี ในปีนี้ วช. ได้มีการบริหารจัดการตามแนวปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งเป็นไปตามมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์ก
“เอนก” ลงพื้นที่ภูเก็ต ชู “โครงการทะเลไทยไร้ขยะ” นำงานวิจัยสู่การปฏิบัติ ดึงเอกชน-คนพื้นที่มีส่วนร่วม ปลื้ม U2T สร้างงานสร้างรายได้ ทำให้ชาวบ้านพอใจ สั่ง อว. เร่งนำงานวิจัยยกระดับผลิตภัณฑ์เพิ่มช่องทางทำเงิน เมื่อวันที่15 พ.ย. 64 ณ อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศ.นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. และคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยม “โครงการทะเลไทยไร้ขยะ” ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ที่ดำเนินกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการที่ประสบผลสำเร็จในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิต และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ : แปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลิตภัณฑ์สารสกัดโปรตีน และผลิตภัณฑ์สารสกัดคอลลาเจนจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงหอยมุก และผลิตภัณฑ์กะเพราแปรรูป ภายใต้แผนงาน “ครัวไทยสู่ตลาดโลก” โดยก
วันนี้ 31 ตุลาคม 2564 ที่ชุมชนบ้านบุญแจ่ม ต.น้ำเลา อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรม การปลูกพืชเศรษฐกิจร่วมกับการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา พร้อมเปิดศูนย์เรียนรู้พื้นที่ต้นแบบ “ชุมชนไม้มีค่า” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลัก รับโจทย์และสนับสนุนการบูรณาการการขับเคลื่อน โครงการชุมชนไม้มีค่า ตามมติคณะรัฐมนตรี ในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้มีค่า เพื่อสร้างแหล่งอาหารและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดย วช. ได้นำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยสนับสนุน และขยายผลให้นักวิจัยทำงานร่วมกับพื้นที่ และหน่วยงานอื่น ๆ ดำเนินการในรูปแบบให้เกิดกล้าไม้ ขยายผลให้มีพืชทางเลือกภายใต้ร่มเงาไม้มีค่า ซึ่งการเพาะเห็ด
วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ส่งมอบแพลตฟอร์มการจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยว “มาตะ เมืองลุง” ผลงานจากการจัดการความรู้การจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุงเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน แก่นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ZOOM Cloud Meeting ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้วางเป้าหมายการวิจัยและพัฒนา ให้ตอบโจทย์ตามแผนพัฒนาประเทศที่ตอบโจทย์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจ วช. ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย เป็นเครื่องมือสนับสนุนเศรษฐกิจได้เดินหน้า ไปสู่ “นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยมีหลักคิด คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า ไปสู่ “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และ เปลี่ยนจากภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น ซึ่งแพลตฟอร์มการจัดการโลจิสตกิส์ท่องเที่ยว “มาตะ เมืองลุง” เป็นผลงานของโครงการเรื่อง “การจัดการความรู้การจัดการโลจิสต