สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ.
BEDO ม.บูรพา ม.สวนสุนันทา จับมือสร้างต้นแบบการท่องเที่ยวกระแสใหม่ ภายใต้โครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ มุ่งขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีเขียวอย่างยั่งยืน นำร่อง 3 อำเภอ ใน จังหวัดประจวบฯคีรีขันธ์ เพิ่มขีดความสามารถด้านท่องเที่ยวให้ชุมชนควบคู่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้แท้จริง นายปรีดา สุขใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2565 ได้อนุมัติให้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ดำเนินการตามข้อนำเสนอของกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรอบระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2566-2569 โดยเลือกนำร่องโครงการฯที่ จ.ประจวบฯ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความแตกต่างและมีความหลากหลายทางภูมิประเทศและภูมินิเวศน์ โดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยบูรพาในการดำเนินการทำแผนแม่บท และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นที่ปรึกษาโครงการดังกล่าว ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในการดำรงชี
บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งค้าปลีก “แม็คโคร-โลตัส” นำโดยนางศิริพร เดชสิงห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานสื่อสารองค์กร ร่วมด้วยนางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพฯ หรือ BEDO เดินหน้าจัดโครงการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและใช้ประโยชน์แมลงโปรตีน BSF (Black Soldier Fly) ภายใต้โครงการ “เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” เสริมแกร่งให้เกษตรกรไทยทุกภูมิภาคทั่วไทย เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ รวมถึงปุ๋ยจากมูล BSF และซากแมลงโปรตีนยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยงานที่ภาคกลางได้รับเกียรติจากนายดุสิต ศิริวราศัย นายอำเภอบางปะอิน และนายยุทธนา ก้อนทอง นายกเทศมนตรีตำบลปราสาททอง ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม มีเกษตรกรจากหลายจังหวัดทั่วไทยเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ณ เทศบาลตำบอลปราสาททอง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและใช้ประโยชน์แมลงโปรตีน BSF โดย ซีพี แอ็กซ์ตร้า ปีนี้เดินสายไป 7 จังหวัด ใน 5 ภูมิภาคทั่วไทย เริ่มต้นภาคตะวันออกที่จังหวัดจันทบุรี ต่อด้วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สกลนครและร้อยเอ็ด จากนั้นภาคกลางที
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO จัดงาน BEDO CONNEXT 2024 “ต่อยอดธุรกิจ สร้างเศรษฐกิจชุมชน สู่ความยั่งยืน” สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน BEDO CONNEXT 2024 “ต่อยอดธุรกิจ สร้างเศรษฐกิจชุมชน สู่ความยั่งยืน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2567 ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ดร.เกษมสันต์ จิณณวาโส ประธานกรรมการ สพภ. กล่าวว่า “BEDO เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศ ที่มุ่งเน้นพัฒนา 3 ด้านหลัก คือ 1. จัดการข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ 2. ส่งเสริมชุมชนใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ 3. สร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย การจัดงาน BEDO CONNEXT 2024 “ต่อยอดธุรกิจ สร้างเศรษฐกิจชุมชน สู่ความยั่งยืน” ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งเครื่องตอกย้ำบทบาทสำคัญของ BEDO ตลอดระยะเวลา 17 ปี ที่มุ่งให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชีวภาพ
BEDO จัดกิจกรรม WORK SHOP (ครั้งที่ 2) กดไลก์ กดแชร์ Facebook : BEDO Thailand รับน้ำมันหอมระเหยปรับอากาศ ฟรี! สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO จัดกิจกรรม WORK SHOP ครั้งที่ 2 เพนต์สีขวดใส่น้ำมันหอมระเหย เชิญชวนร่วมกดไลก์ กดแชร์ Facebook : BEDO Thailand และรับน้ำมันหอมระเหยปรับอากาศขนาด 20 มิลลิลิตร ฟรี โดยมี ดร.ชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นางภาวินี ณ สายบุรี ผู้ตรวจราชการ ทส. นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรม โดยกิจกรรมในครั้งนี้ นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ BEDO พร้อมด้วย ดร.ธนิต ชังถาวร รองผู้อำนวยการ BEDO และเจ้าหน้าที่ BEDO ให้การต้อนรับ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ทส. เข้าร่วมกิจกรรม มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 150 คน ณ CO-Working Space อาคารกรมควบคุมมิลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ BEDO กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรื
“ป่าไม้” มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อวิถีชีวิตของชุมชนในสังคมชนบท ในฐานะเป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเห็ดป่า แต่เนื่องจากการให้ผลผลิตของเห็ดป่าในแต่ละปีไม่แน่นอนอยู่กับปัจจัยแวดล้อมตามธรรมชาติ อีกทั้งผลผลิตเห็ดป่าลดน้อยลงทุกปี เนื่องจากความผันแปรของสภาพภูมิอากาศ ความแห้งแล้ง และการทำลายระบบนิเวศป่าไม้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณา มังกิตะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ และ ดร.สุจิตรา โกศล สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าวและต้องการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างชาญฉลาดและยั่งยืนแก่ชุมชน ด้วยการสร้างแหล่งอาหารโดยการปลูกพืชเศรษฐกิจร่วมกับการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซากินได้ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อให้เกิดชุมชนไม้มีค่า ส่งผลให้ชาวบ้านเกิดความรักและดูแลต้นไม้ที่ปลูกอย่างประณีตแบบอินทรีย์ งดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ผลงานวิจัยนี้ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. คณะผู้วิจัยได้จัดทำพื้นที่แปลงทดลองต้นแบบ การปลูกไม้เศรษ
BEDO จับมือ มรภ.สวนสุนันทา หนุน ชุมชน และ ผู้ประกอบการ ร่วมลงนาม MOU ขับเคลื่อน“โครงการยกระดับสินค้าชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม” เมื่อ วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2566 ณ ห้องประชุมปีติพงศ์พึ่งบุญ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความ ระหว่างชุมชน และผู้ประกอบการ ภายใต้ “โครงการยกระดับสินค้าชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม” นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ BEDO กล่าวว่า “พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างชุมชน และผู้ประกอบการที่ร่วมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ภายใต้ “โครงการยกระดับสินค้าชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม” โดยปีงบประมาณ 2566 นี้ โดยร่วมจัดทำโครงการฯกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในการพัฒนาธุรกิจโดยการจับคู่นักธุรกิจหรือผู้ประกอบการกับชุมชน ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนที่อยู่ในเครือข่ายของ BEDO อยู่แล้ว โดยจะมีการพิจารณาจากคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งรับฟังข้อเส
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ จัดงา มหกรรมทรัพยากรชีวภาพและสร้างโอกาสทางการตลาด ภายใต้แนวคิด “BEDO-BCG Society Forum เศรษฐกิจชีวภาพ สร้างสรรค์ สร้างอนาคต” ระหว่างวันที่ 10-13 กรกฎาคม 2566 ณ ลานอเนกประสงค์ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “งานมหกรรมทรัพยากรชีวภาพและการสร้างโอกาสทางการตลาด ปี 2566 ของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ ภายใต้นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแนวคิดใหม่ BCG Model: Bio-Circular-Green Economy โดยเฉพาะการสนับสนุนส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ นำทรัพยากรชีวภาพที่มีในชุมชนร่วมกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอด สร้างเศรษฐกิจจากทรัพยากรชีวภาพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นฐานรากสำคั
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สทน. และมหาวิทยาลัยนเรศวร แก่โครงการ “การศึกษาผลของการฉายรังสีต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวมะม่วงมหาชนกและส้มโอเพื่อการส่งออกประเทศสหรัฐอเมริกา” เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมของโครงการวิจัยและช่วยเผยแพร่กิจกรรมฉายรังสีผลไม้เพื่อการส่งออกของประเทศไทยให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ทราบอย่างทั่วถึง จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อแนะนำและชิมส้มโอภายในงานประชุมระหว่างประเทศ International Meeting on Radiation Processing ครั้งที่ 20 (IMRP20) ขึ้น ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00-14.30 น. ณ ห้อง Air โรงแรมอวานี พลัส ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ หัวข้อหลักส่วนหนึ่งของการประชุมเป็นเรื่องเกี่ยวกับการฉายรังสีเพื่อสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Irradiation Forum) โดยเป็นงานประชุมชั้นนำที่จัดขึ้นเป็นเป็นประจำทุก 2-3 ปี เพื่อให้นักวิชาการและผู้ประกอบการในแวดวงเทคโนโลยีการฉายรังสีจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้มาพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านวิชาการและหารือในธุรกิจการฉายรังสี
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชวภาพ หรือ BEDO ชูธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน คือ กลยุทธสำคัญ สร้างความมั่งคั่งที่มั่นคง เป็นแนวทางเศรษฐกิจที่สร้างบน “จุดแข็งของประเทศ”ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ส่งผลทำให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยช์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ( Community Biodiversity Bank หรือ Community BioBank ) นับเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าของฐานทรัพยากร ที่กำหนดเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี จะเกิด “ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน” ทั้งประเทศและนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนในทุกตำบล ทั้งนี้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ยังคงยึดแนวทางพัฒนา
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ร่วมกับภาคประชาชน “บ้านปงไคร้” ปล่อยฟ้ามุ่ยคืนสู่ป่า เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ยบ้านปงไคร้ จัดทำโครงการธนาคารกล้วยไม้ระดับชุมชนบ้านปงไคร้ ภายใต้โครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน เพื่อการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์กล้วยไม้ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน กิจกรรมการปล่อยฟ้ามุ่ยคืนสู่ป่า ณ บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ของผู้บริหาร ประชาชนและสื่อมวลชในครั้งนี้เพราะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 “ฟ้ามุ่ย” เป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในบัญชี 1 ไซเตส บัญชีควบคุมทางการค้าระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมไม่ให้มีการนำต้นออกจากป่ามาจำหน่าย ต่อมาปี พ.ศ. 254