สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่มังคุดตำบลแสลง เกิดจากการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด จำนวน 53 ราย เมื่อปี 2561 มีพื้นที่ปลูกมังคุดรวม 663 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 13 ไร่ต่อครัวเรือน โดยมี นายเด่น หลิวอ๋ง เป็นประธานแปลงใหญ่ จากการดำเนินงานของกลุ่มในระยะที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาแปลงใหญ่ 5 ด้าน ได้แก่ 1. กลุ่มนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้บริหารจัดการภายในสวน ประหยัดเวลาและลดต้นทุนจากการจ้างแรงงาน รวมถึงผสมปุ๋ยใช้เองตามค่าวิเคราะห์ดิน สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ร้อยละ 5 คือ 11,980 บาทต่อไร่ต่อปี จากเดิมที่มีต้นทุนเฉลี่ย 12,650 บาทต่อไร่ต่อปี 2. ทางกลุ่มได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์มาบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมกับพื้นที่ปลูก สามารถเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 6 คือ 478 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี จากเดิมที่มีผลผลิตเฉลี่ย 450 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 3. ยกระดับคุณภาพสินค้า สมาชิกกลุ่มทุกคนผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP และต่ออายุใบรับรองเพื่อเป็นมาตรฐานรับรองผลผลิตของแปลงใหญ่ยกระดับ โดยกลุ่มได้ให้ความสำคัญและปฏิบัติเพื่อรักษามาตรฐานผลผลิตตามความต้องการของตลาด 4. ด้านการตลาด กลุ่มเป็นผู้รวบรวมผลผลิตจากสมาชิกและเ
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และประเทศเจ้าภาพ เป็นประธานการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านความร่วมมือทางการเกษตร ภายใต้กรอบ BIMSTEC ครั้งที่ 11 (The 11th Meeting of BIMSTEC Expert Group on Agricultural Cooperation: EGMAC) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ณ โรงแรม ดีวาน่า พลาซ่า ภูเก็ต ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต และผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยถือเป็นการประชุม EGMAC แบบพบหน้า (In person) เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิก BIMSTEC ทั้ง 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย รวมถึงผู้แทนจากสำนักเลขาธิการ BIMSTEC พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอ
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในโอกาสครบรอบ 46 ปี วันคล้ายวันสถาปนา สศก. ประจำปี 2568 สศก. ได้จัดงานและกิจกรรมต่างๆ ตามประเพณี ประกอบด้วย พิธีการทางศาสนา พิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิ ดร.สมนึก ศรีปลั่ง ประจำปี 2568 ให้แก่ บุตร-ธิดา ของบุคลากรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จำนวน 18 ทุน และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวปาฐกถา เรื่อง การเกษตรไทยบนเส้นทางของการพัฒนาสุขภาวะที่ยั่งยืน เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบถึงแนวคิดในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรไทยบนเส้นทางของการพัฒนาสุขภาวะที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นปัจจัยองค์รวมที่จะเสริมสร้างทั้งด้านองค์ความรู้ กำลังกาย กำลังใจในการปฏิบัติงาน เพื่อร่วมกันพัฒนาภาคเกษตรอันเป็นรากฐานของประเทศ รวมทั้งพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเข็มเชิดชูเกียรติประกาศเกียรติคุณ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการดีเด่นของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ เป็นประจำทุกปี สศก. ได้จัดพิธีมอบรางวัลและประกาศเกียรติค
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 13 [The 13th Meeting of ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve (APTERR) Council] ระหว่างวันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ว่าการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของสำนักเลขานุการ APTERR ได้แก่ แผนงานการดำเนินงานระบายข้าวเพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิก สถานะทางการเงินของกองทุน APTERR และแนวทางปรับปรุงกลไกการดำเนินงานของ APTERR ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเห็นชอบการต่ออายุสัญญาจ้างของ นายชุมเจธว์ กาญจนเกสร ผู้จัดการทั่วไปสำนักเลขานุการ APTERR วาระที่ 2 เป็นระยะเวลา 3 ปี (ปี 2568-2571) สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย คณะมนตรีจากประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศบวกสาม (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ธนาคารพัฒนาเอเชีย โครงการอาหารโลก สำนักเลขานุการ AFSIS และสำนักเลขานุการ AFSRB ท
นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ด้านปศุสัตว์และประมง โดยภาพรวมการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2567 พบว่าดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีสถานประกอบการสินค้าปศุสัตว์และอุตสาหกรรมฮาลาลด้านปศุสัตว์ได้รับการตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์แล้ว 72,137 แห่ง (ร้อยละ 136.15 ของเป้าหมาย 52,985 แห่ง) ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับการตรวจประเมิน 15,724 แห่ง (ร้อยละ 102.18 ของเป้าหมาย 15,388 แห่ง) รวมทั้งตรวจประเมินสถานที่ผลิต/แปรรูปสัตว์น้ำ และสถานประกอบการอื่นๆ 1,790 แห่ง (ร้อยละ 108.09 ของเป้าหมาย 1,656 แห่ง) สำหรับปีงบประมาณ 2568 สศก. ยังคงติดตามผลการดำเนินงานด้านปศุสัตว์และประมงอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายภาพรวมทั้งประเทศ ในการตรวจสอบรับรองประเมินฟาร์มโรงงาน และร้านค้าจำหน่ายสินค้าปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์กำหนด 52,958 แห่ง รวมทั้งมีเป้าหมายตรวจประเมินฟาร์มสัตว์น้ำมาตรฐานและสุขอนามัยฟาร์ม ตรวจประเมินสถานที่ผลิต/แหล่งแปรรูป/ห้องปฏิบัติการ รวม 17,005 แห่ง เบื้องต้นจากการลงพื้นที่ติดตาม
นายวินิต อธิสุข รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ซึ่ง สศก. โดย กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2568 ณ โรงแรม Best Western Plus Wanda Grand จังหวัดนนทบุรี สำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาไว้จำนวน 17 เป้าหมาย 169 เป้าหมายย่อย 264 ตัวชี้วัด เพื่อให้เป็นกรอบการพัฒนาของโลกในการบรรลุการพัฒนาทางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังภายในปี 2573 ภายใต้ 5 มิติการพัฒนา (5P) ได้แก่ การพัฒนาคน (People) สิ่งแวดล้อม (Planet) เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง (Prosperity) สันติภาพและความยุติธรรม (Peace) และความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน พร้อมกำหนดให้การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย เชื่อมโยงกับแผน 3 ระดับของประเทศ รวมถึงมีกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงา
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก. ได้รับประกาศเกียรติคุณการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในฐานะหน่วยงานที่มีศักยภาพด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประเมินการประกันและการปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐจากภายนอกองค์กรที่กรมบัญชีกลางกำหนด ซึ่ง สศก. มอบให้ นางสาวจิราวรรณ สมัคร ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบภายใน เป็นผู้แทนรับมอบประกาศเกียรติคุณ โดยมี นางแพตริเซีย มงคลวนิช อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นผู้มอบประกาศเกียรติคุณ ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมกราฟ โฮเทล กรุงเทพฯ จากที่กรมบัญชีกลางได้กำหนดให้มีการประเมินการประกันและการปรับปรุงคุณภาพ งานตรวจสอบภายในภาครัฐจากภายนอกองค์กรทุกปี โดยประเมินตามกรอบมาตรฐาน และหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงแนวทางการนำมาตรฐานไปใช้ปฏิบัติ (Implementation Guidance) และแนวทางเสริม (Supplemental Guidance) ของ The Institute of Internal Auditors (IIA) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ผลักดันให้มีการรักษาคุณภาพของงานตรวจ
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน (MOU) ระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมลงนามกับเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และมี ดร.นพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ เพื่อบูรณาการฐานข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร และเสริมสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่และนักวิชาการของทั้งสองหน่วยงาน ในการศึกษาวิเคราะห์และวิจัย ที่จะนำไปสู่การวางแผน และกำหนดทิศทางการพัฒนาการเกษตรของไทย ความร่วมมือครั้งนี้ มุ่งพัฒนาศักยภาพทางวิชาการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจการเกษตรของไทย ซึ่ง สศก. มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาและบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร การวิจัย การวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายของประเทศ นอกจากนี้ สศก. ยังมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ปัญญาป
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศก. ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ ASEAN Food and Beverage Alliance’s Paper Launch and Discussion Event ภายใต้หัวข้อ “Climate Change and Food Prices in Southeast Asia” ซึ่งจัดโดยสมาพันธ์ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มของอาเซียน (ASEAN Food and Beverage Alliance: AFBA) ร่วมกับสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Oxford Economics เพื่อหารือและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร ต้นทุนการผลิต อุปทานอาหาร และเสถียรภาพราคาอาหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 10-11 ธันวาคม 2567 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมนอกจากได้มีการแลกเปลี่ยนสถานการณ์ นโยบาย การดำเนินงานในปัจจุบัน และมุมมองด้านอุตสาหกรรมอาหารแล้ว ทางผู้แทนสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ Oxford Economics ยังได้นำเสนอผลการศึกษา เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและราคาอาหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฉบับปี 2024 (Climate Change and Food Prices in Southeast Asia: 2024 Update) ล
ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษงานสัมมนาใหญ่ประจำปีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) “ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2567 และแนวโน้มปี 2568 Unbox & Unlock Thai Agriculture : ปลดล็อกเกษตรไทย ทุกปัจจัยคือโอกาส” ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก กรุงเทพฯ โดย เลขาธิการ สศก. แถลงตัวเลข GDP ภาคเกษตรไทย ปี 2567 หดตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับปี 2566 โดยสาขาพืช สาขาประมง และสาขาบริการทางการเกษตร หดตัว ขณะที่สาขาปศุสัตว์ และสาขาป่าไม้ ยังคงขยายตัวได้ ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 1.8-2.8 ปัจจุบันไทยมีเนื้อที่ทางการเกษตรรวม 147.73 ล้านไร่ หรือร้อยละ 46.7 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ มีประชากรอยู่ในภาคเกษตรกว่า 30 ล้านคน เป็นแรงงานเกษตร 19.72 ล้านคน และมีจำนวนครัวเรือนเกษตรประมาณ 7.9 ล้านครัวเรือนในปี 2566 GDP ภาคเกษตร มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 8.58 ของ GDP ทั้งประเทศ ลดลงจาก 10 ปีที่แล้ว ซึ่ง GDP ภาคเกษตรมีสัดส่วนที่ร้อยละ 11.32 แม้ว่าสัดส่วนของภาคเกษตรจะลดลง แต่มูลค่า GDP ภาคเกษตรยังคงเพิ่มขึ้นจาก 660,365 ล้า