หญ้าเนเปียร์
“หญ้าเนเปียร์” หรือ “หญ้าบาน่า” เป็นหญ้าที่ถูกนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายและไม่เป็นพิษต่อสัตว์อีกด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงวัว แพะ แกะ ปลา ไก่ นิยมนำมาปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารหยาบเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม เพื่อช่วยลดต้นทุน มีคุณค่างทางอาหารสัตว์สูง เป็นหญ้าที่มีโปรตีนสูงอีกด้วย รวมถึงสามารถเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตต่อไร่สูง สามารถเก็บเกี่ยวต้นได้ตลอดทั้งปี และเก็บเกี่ยวได้นาน 5-7 ปีต่อการปลูก 1 ครั้ง ช่วงหน้าแล้งหญ้าเนเปียร์จะโตช้า การนำหญ้าเนเปียร์สดมาบด ปั่น ตากแห้งเก็บไว้ในช่วงหน้าแล้ง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่ส่วนใหญ่ทำกัน โดยใช้เทคนิคเดียวกันกับการปลูกอ้อย เป็นพืชที่ดูแลง่าย ใช้ระยะเวลาให้ผลผลิตประมาณ 45 วัน ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่โดยทั่วไปควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม สายพันธุ์หญ้าเนเปียร์ หญ้าเนเปียร์ยักษ์ ชื่อสามัญ : King grass ชื่อวิทยาศาสตร์ : P. purpureum King grass ต้นประเทศที่นำเข้า : ประเทศอินโดนีเซีย ปีที่นำเข้า : มกราคม 2533 ผู้นำเข้า : นายชาญชัย มณีดุล ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นสูง แตกกอ
เชียงใหม่หนุนเกษตรกร อำเภอแม่แจ่ม ปลูกหญ้าเนเปียร์แทนข้าวโพด ลดการเผาป่า ชี้เป็นพืชเศรษฐกิจให้พลังงาน ด้าน SCG เตรียมรับซื้อตันละ 1,800-2,200 บาท นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (SCG) ดำเนินโครงการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานระบบนิเวศการลงทุนพืชพลังงาน เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (ข้าวโพด) ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการขยายผลงานวิจัยที่ได้ดำเนินการร่วมกันจนประสบผลสำเร็จที่จังหวัดสระบุรี และขยายผลมายังอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกร ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่ ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกหญ้าเนเปียร์เป็นทางเลือกแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาในเรื่องต้นทุนค่าขนส่ง แต่ทาง SCG ยินดีให้การสนับสนุนตามนโยบายขององค์กรที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อน โดยรับซื้อหญ้าเนเปียร์ที่มีอัตราความชื้นไม่เกิน 35% ในราคาตันละ 1,800-2,200 บาท นอกจากนี้ จังหว
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 นายกฤษฎา บุญราช ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เป็นประธานการจัดกิจกรรมเก็บเกี่ยวข้าวแปลงนาทดลองและปลูกพืชทางเลือกสร้างรายได้ทดแทนการทำนาปรัง ณ บ้านจานเหนือ ม.13 ต.กำปัง อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อยอดจากโครงการซ่อมแซมเสริมศักยภาพระบบกระจายน้ำคลองลุง ที่ได้รับงบประมาณในการจัดทำระบบชักน้ำขึ้นที่สูง เพื่อดึงน้ำจากแหล่งน้ำที่อยู่ต่ำกว่าพื้นที่ของเกษตรกร จากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยกิจกรรมเริ่มต้นด้วยการลงแขกเกี่ยวข้าวแบบวิถีดั้งเดิม การหาบข้าวขึ้นลาน การตีข้าว การสีข้าว การสับหญ้าเนเปียร์เลี้ยงสัตว์ การหว่านเมล็ดปอเทือง 2 ไร่ การหว่านเมล็ดถั่วเขียว 1 ไร่ การจับปลาในร่องนาข้าว การมอบเมล็ดปอเทือง 300 กก. ถั่วเขียว 100 กก. และการมอบโคพื้นเมือง จำนวน 2 ตัว นายกฤษฎา บุญราช กล่าวว่า “กำปังโมเดล ต้นแบบการบูรณาการเพื่อการบริหารจัดการน้ำและเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น” ต้องสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรให้ได้ โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงตลาดให้กับเกษตรกร และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่ตลาดต้องการ เพื่อข
สวัสดีครับ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน พบกันเป็นประจำ ในคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” กับผม ธนากร เที่ยงน้อย ผมเคยเขียนถึงเรื่องวัฏจักรราคาของสินค้าเกษตรบ่อยครั้ง เมื่อมีราคาขึ้น ก็มีช่วงที่ราคาจะลง เหมือนกับราคาของวัวเนื้อ วัวขุน ในบ้านเราที่เคยร้อนแรงเมื่อเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา และร้อนแรงมาเรื่อยๆ ตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ แต่ในช่วงนี้ราคาวัวเริ่มอืดหรืออาจจะเป็นช่วงขาลงของราคาวัวเนื้อในประเทศจากหลายๆ เหตุผลประกอบกัน แต่ไม่ว่าราคาจะเป็นอย่างไรก็ตาม ยังมีเกษตรกรรายย่อยหลายคนยืนหยัดอยู่ได้ในวงการวัวขุน เขาทำอย่างไร ประสบการณ์นี้จะช่วยบอกเล่าอะไรให้เราได้บ้าง ผมจะพาท่านตามไปชมกันครับ ประสบการณ์กว่า 10 ปี เริ่มต้นจากวัวฝูง พาท่านไปพบกับ คุณนิภาพักตร์ ขำกุศล ที่บ้านเลขที่ 270 หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คุณนิภาพักตร์ เล่าว่า เริ่มต้นจากเลี้ยงวัวฝูง พันธุ์ลูกผสมไทยบราห์มัน เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาจนปัจจุบันเลิกเลี้ยงวัวฝูงและหันมาเลี้ยงวัวขุนเป็นหลัก “เลี้ยงวัวฝูงมา 10 กว่าปี เมื่อเห็นว่าราคาวัวขุนดีขึ้นเรื่อยๆ จึงสนใจอยากจะขุ
สวัสดีครับ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน พบกันเป็นประจำ ในคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” กับผม ธนากร เที่ยงน้อย ผมเคยเขียนถึงเรื่องวัฏจักรราคาของสินค้าเกษตรบ่อยครั้ง เมื่อมีราคาขึ้น ก็มีช่วงที่ราคาจะลง เหมือนกับราคาของวัวเนื้อ วัวขุน ในบ้านเราที่เคยร้อนแรงเมื่อเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา และร้อนแรงมาเรื่อยๆ ตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ แต่ในช่วงนี้ราคาวัวเริ่มอืดหรืออาจจะเป็นช่วงขาลงของราคาวัวเนื้อในประเทศจากหลายๆ เหตุผลประกอบกัน แต่ไม่ว่าราคาจะเป็นอย่างไรก็ตาม ยังมีเกษตรกรรายย่อยหลายคนยืนหยัดอยู่ได้ในวงการวัวขุน เขาทำอย่างไร ประสบการณ์นี้จะช่วยบอกเล่าอะไรให้เราได้บ้าง ผมจะพาท่านตามไปชมกันครับ ประสบการณ์กว่า 10 ปี เริ่มต้นจากวัวฝูง พาท่านไปพบกับ คุณนิภาพักตร์ ขำกุศล ที่บ้านเลขที่ 270 หมู่ที่ 4 ตำบลเกาะสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คุณนิภาพักตร์ เล่าว่า เริ่มต้นจากเลี้ยงวัวฝูง พันธุ์ลูกผสมไทยบราห์มัน เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาจนปัจจุบันเลิกเลี้ยงวัวฝูงและหันมาเลี้ยงวัวขุนเป็นหลัก “เลี้ยงวัวฝูงมา 10 กว่าปี เมื่อเห็นว่าราคาวัวขุนดีขึ้นเรื่อยๆ จึงสนใจอยากจะขุ
คุณรัชนีกร เงินแย้ม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสินค้าเกษตรทางเลือกที่มีอนาคต (Future Crop) ที่น่าสนใจ 4 สินค้า ได้แก่ จิ้งหรีด แพะเนื้อ โคขุน และหญ้าเนเปียร์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้สูงกว่าการผลิตข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) ของ 4 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง คือ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ตามแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) สศท.4 ได้ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนสินค้าเกษตร Future Crop ทั้ง 4 ชนิด พบว่า สามารถเลี้ยงหรือปลูกเสริมทดแทนข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N) ของพื้นที่เป้าหมายทั้ง 4 จังหวัด ได้เป็นอย่างดี โดยหากจำแนกเป็นรายชนิด พบว่า จิ้งหรีด ต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 276 บาทต่อตารางเมตร ในระยะเวลา 1 ปี เลี้ยงได้ 6-7 รุ่น ให้ผลผลิตประมาณ 7 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ราคาขายเฉลี่ย 104.06 บาทต่อกิโลกรัม ผลตอบแทนเฉลี่ย 701 บาทต่อตารางเมตร ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 426 บาทต่อตารางเมตร หรือ 63 บาทต่อกิโลกรั
ปัจจุบัน กลุ่มผู้เลี้ยงปลาในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย หันมาใช้หญ้าเลี้ยงปลาแทนการใช้อาหารปลาบรรจุกระสอบที่วางจำหน่ายตามตลาดกันอย่างแพร่หลาย โดยชาวบ้านปลูกและซื้อขายหญ้าด้วยกันเอง ซึ่งจะนำต้นและใบมาปั่น บด รวมถึงปรุงเป็นส่วนผสมพิเศษก่อนนำไปให้ปลา นอกจากนี้ ยังนำหญ้าวางซ้อนในบ่อปลาสลับกับมูลวัว ซึ่งพบว่าปลาเข้าไปตอดกินหญ้าดังกล่าว โดยวิธีการนี้ช่วยให้ต้นทุนลดต่ำลงอย่างมาก ปัจจุบันหญ้าจึงกลายอาหารหลักที่ผู้เลี้ยงปลาในจังหวัดเชียงราย ใช้เลี้ยงปลาในบ่อของตัวเองแล้ว หญ้าที่ใช้เลี้ยงปลาคือ เนเปียร์ ปากช่อง 1 ซึ่งได้คิดสูตรขึ้นเพื่อให้นำมาเลี้ยงปลาได้ โดยใช้สูตร 6 : 4 : 1 คือ หญ้า 6 ส่วน รำข้าว 4 ส่วน และหัวอาหาร 1 ส่วน เมื่อนำมาผสมและบดแล้วให้ปลา พบว่าปลากินดีมาก ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลาได้อย่างมาก เพราะในปัจจุบันอาหารปลามีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26 บาท แต่ถ้าใช้หญ้า ต้นทุนจะลดเหลือเพียงกิโลกรัมละ 6 บาท นอกจากนี้ ผลพลอยได้ยังพบว่าน้ำในบ่อปลาไม่เน่าเสีย ซึ่งแตกต่างจากการให้อาหารปลาทั่วไปที่มักประสบปัญหาน้ำเสียหรือมีกลิ่น โดยน้ำที่เลี้ยงด้วยหญ้าจะมีสีเขียวอ่อนๆ ตามธรรมชาติ ขณะเดียวกันปล
ปัจจุบันกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในหลายพื้นที่ของ จ.เชียงราย หันมาใช้หญ้าเลี้ยงปลาแทนการใช้อาหารปลาบรรจุกระสอบที่วางจำหน่ายตามตลาดกันอย่างแพร่หลาย โดยชาวบ้านปลูกและซื้อขายหญ้าด้วยกันเอง ซึ่งจะนำต้นและใบมาปั่น บด รวมถึงปรุงเป็นส่วนผสมพิเศษก่อนนำไปให้ปลา นอกจากนี้ยังนำหญ้าวางซ้อนในบ่อปลาสลับกับมูลวัว ซึ่งพบว่าปลาเข้าไปตอดกินหญ้าดังกล่าว โดยวิธีการนี้ช่วยให้ต้นทุนลดต่ำลงอย่างมาก ปัจจุบันหญ้าจึงกลายอาหารหลักที่ผู้เลี้ยงปลาใน จ.เชียงราย ใช้เลี้ยงปลาในบ่อของตัวเองแล้ว หญ้าที่ใช้เลี้ยงปลาคือ เนเปียร์ ปากช่อง 1 ซึ่งได้คิดสูตรขึ้นเพื่อให้นำมาเลี้ยงปลาได้ โดยใช้สูตร 6 : 4 : 1 คือ หญ้า 6 ส่วน รำข้าว 4 ส่วน และหัวอาหาร 1 ส่วน เมื่อนำมาผสมและบดแล้วให้ปลา พบว่าปลากินดีมาก ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลาได้อย่างมาก เพราะในปัจจุบันอาหารปลามีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26 บาท แต่ถ้าใช้หญ้า ต้นทุนจะลดเหลือเพียงกิโลกรัมละ 6 บาท นอกจากนี้ผลพลอยได้ยังพบว่าน้ำในบ่อปลาไม่เน่าเสีย ซึ่งแตกต่างจากการให้อาหารปลาทั่วไปที่มักประสบปัญหาน้ำเสียหรือมีกลิ่น โดยน้ำที่เลี้ยงด้วยหญ้าจะมีสีเขียวอ่อนๆ ตามธรรมชาติ ขณะเดียวกันปลาเลี้ยงยังเ
การเลี้ยงแพะนับเป็นอาชีพที่ชาวบ้านทุกพื้นที่ให้ความสนใจกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ อาจเป็นผลมาจากวิธี และการดูแลที่ไม่ยุ่งยาก รวมถึงต้นทุนไม่สูง ประกอบกับยังสามารถเลือกเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้หลักหรือรองก็ได้ เพราะมีตลาดรองรับอย่างชัดเจน หากอนาคตจำนวนแพะในตลาดเพิ่มมากขึ้น ขณะที่กำลังซื้อไม่เพิ่มตามหรือเพิ่มอย่างช้าๆ ก็อาจทำให้ราคาซื้อ-ขายไม่สูงอย่างในอดีต ฉะนั้น ผู้เลี้ยงแพะรายใหม่จึงอาจต้องทบทวนวิธีการเลี้ยงแพะให้รัดกุม หาตลาดหรือผู้รับซื้อที่ชัดเจนเสียก่อนการตัดสินใจ แต่สำหรับชาวบ้านอำเภอขามสะแกแสง อย่าง คุณจารุ จารุชัยสิริ หรือ ลุงจารุ วัย 72 ปี พักอยู่บ้านเลขที่ 87 หมู่ที่ 1 บ้านโนนเมือง ตำบลโนนเมือง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ที่เพิ่งหันมาเลี้ยงแพะรายนี้ดูจะไม่ธรรมดา เพราะไม่ตั้งใจเลี้ยงแพะขายเพียงอย่างเดียว เนื่องจากอาจประสบปัญหาราคาในอนาคต แต่ยังนำมูลแพะมาใส่ถุงขาย แถมยังนำไม้กระถินที่แพะกินมาเผาเป็นถ่านขาย มีรายได้เพิ่มขึ้นแบบคู่ขนานอีกด้วย เดิมลุงจารุมีอาชีพเกษตรด้วยการทำนากับพืชอื่นๆ แต่ประสบปัญหาฟ้าฝนไม่ตกตามฤดูสร้างความเสียหายแล้วยังมีผลกระทบต่อรายได้ตามมา ด้วยเหตุนี้จึ
ไฟฟ้าชุมชน : หญ้าเนเปียร์ยักษ์ พืชพลังงาน สร้างอนาคต รายได้ ต่อกลุ่มเกษตรกร อย่างมั่นคงและยั่งยืน ก่อนที่จะพาท่านผู้อ่านไปรู้จักกับไฟฟ้าชุมชน โครงการบริษัทในเครือบางจาก จับมือกับเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน ฐานราก พลังสีเขียว ของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่อาสามาฟื้นฟูช่วยเหลือเกษตรกรไทยในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รายได้ของเกษตรกรหดหายไปเพราะราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำมาหลายปี เรียกว่า “ยากจนกันถ้วนหน้า ยากแค้นทั่วทั้งพารา” ว่างั้นเถอะ ผู้เขียนจะพาท่านไปรู้จักพืชพลังงานที่เคยได้ยินกันมานานว่า หญ้าเนเปียร์ ที่กรมปศุสัตว์แนะนำให้เกษตรกรมาปลูกเลี้ยงเป็นอาหารสัตว์ พวก โค กระบือ โคนม โคเนื้อ เป็นอาหารหยาบ รู้จัก หญ้าเนเปียร์ยักษ์พอสังเขป ที่มาใช้กับไฟฟ้าชุมชน ชื่อสามัญ : King grass ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pennisetum purpurreum ต้นประเทศที่นำเข้า : ประเทศอินโดนีเซีย ปีที่นำเข้า : มกราคม 2533 ผู้นำเข้า : คุณชาญชัย มณีดุล ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นสูง แตกกอง่าย ใบและลำต้นมีขน ให้ผลผลิตต่อไร่สูง 10-60 ตัน ต่อไร่ ต่อปี หรือมากกว่านั้น (ตัดหลายรุ่นต่อปี) ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ คุณค่าพลังงาน : 175.40 แคลอรีของหญ้าเนเ