หมู
ปศุสัตว์ลำปาง ชูเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน-CP Pork Shop ต้นแบบปศุสัตว์ OK ตรวจเข้มเนื้อสัตว์ช่วงสงกรานต์ แนะเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากผู้ผลิตมาตรฐาน นายเพิ่มศักดิ์ วิทยากรณ์ปศุสัตว์จังหวัดลำปาง เปิดเผยภายหลังจากมอบใบประกาศและตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” ให้กับเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน จำนวน 10 รายนำร่อง ใน 6 อำเภอ ทั้งอ.เมือง อ.เสริมงาม อ.แม่เมาะ อ.แม่ทะ อ.ห้างฉัตร และอ.เถิน ว่าเป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการรายย่อย ที่ร่วมกันยกระดับมาตรฐานร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ได้มาตรฐานตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ฟาร์ม โรงฆ่าสัตว์ จนถึงสถานที่จำหน่าย เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สะอาดและปลอดภัย โดยถือว่าเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชน-CP Pork Shop ที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ส่งเสริมให้ประชาชนชาวลำปางมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ช่วยตอบสนองนโยบายของภาครัฐ ที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการมุ่งเน้นการผลิตสินค้าที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ด้วยการพัฒนาจุดจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ปลอดภัย ปลอดโรค และปลอดสารเร่งเนื้อแดง “ขอชื่นชมเถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชนทั้ง 10 รายและซีพีเอฟ ท
อธิบดีกรมปศุสัตว์เอาจริง ปีนี้ไทยต้องปลอดสารเร่งเนื้อแดงในสุกรและโคขุน หลังจับกุมดำเนินคดีมากกว่า 600 คดี ชี้ ล่าสุดมีการใช้สุกรเหลือเพียง 1.06% แต่การใช้ในโคขุนยังสูงถึง 30% นสพ. อภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคสินค้าเกษตรและอาหาร ว่า เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นการสนับสนุนการส่งออกในส่วนของสารเร่งเนื้อแดงที่มีการใช้ในการเลี้ยงสุกรและโคขุน กรมปศุสัตว์ได้ปราบปรามดำเนินคดีผู้กระทำผิดอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ซึ่งมีการดำเนินการตรวจสอบการใช้สารเร่งเนื้อแดงในฟาร์มระหว่างการเคลื่อนย้ายสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ และร้านขายอาหารสัตว์ หากพบมีการกระทำผิดจะดำเนินคดีอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ ได้มีการรับรองฟาร์มสุกรปลอดสารเร่งเนื้อแดงอีกด้วย โดยผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2546 จากที่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงในสุกรมากกว่า 80% ปัจจุบัน ตรวจพบลดลงเหลือ 1.06% และตลอดระยะเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมามีการจับกุมดำเนินคดีมากกว่า 600 คดี แต่ในปีงบประมาณ 2
ทุกวันนี้ คนไทยใช้ชีวิตกันลำบากขึ้นเพราะต้นทุนค่าใช้จ่ายปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำมัน ค่าไฟ ค่าน้ำ ทำเอาหลายคนบ่นอุบ “ไม่คุ้มเลย” กับต้นทุนค่าแรงวันละ 300 บาท เจอหน้าเกษตรกรที่คุ้นเคยก็มีเสียงบ่นเกี่ยวกับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตที่สูงขึ้นไม่แพ้กัน ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน เพื่อช่วยลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายของเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงหมู จึงขอแนะนำเคล็ดลับการผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำจากทั่วประเทศมาฝากกัน ซึ่งเป็นเทคนิคการผลิตอาหารสัตว์ที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก และเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เริ่มต้นที่ ผู้ใหญ่สงบ หาญกล้า แห่งบ้านดอนตะหนิน 18 หมู่ 5 ตำบลหนองค่าย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันลุงสงบ เป็นเจ้าของศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่นี่ทำการเกษตรแบบไม่พึ่งพาสารเคมีและมีการศึกษาเรียนรู้วิธีการนำเอาวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการลดต้นทุนอย่างได้ผล การลดต้นทุนค่าอาหารในการเลี้ยง ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ลุงสงบเลี้ยงหมูหลุมรุ่นละ 10 ตัว ระยะเวลาเลี้ยง 4 – 5 เดือน/ร
ส.สัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มฯ แนะเลือกบริโภคหมูจากฟาร์มมาตรฐาน ด้วยมีสัตวแพทย์กำกับดูแลทั้งอาหารสัตว์และการใช้ยาอย่างเข้มงวด น.สพ.ปราโมทย์ ตาฬวัฒน์ นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย เปิดเผยว่าปัจจุบันในฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ จะเน้นใช้วิธี “ป้องกัน” และวางระบบการบริหารจัดการฟาร์ม ในระดับไบโอซีเคียวริตี้ ตลอดจน การให้วัคซีนแก่ลูกสุกรตามระยะเวลาที่สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเป็นผู้กำหนด ขณะที่การใช้ยาจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุในกรณีที่ลูกหมูป่วยแล้วเท่านั้น สำหรับยา “โคลิสติน” ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะตัวเลือกสุดท้ายนั้น สัตวแพทย์จะเลือกใช้เฉพาะในกรณีที่ลูกหมูที่มีอาการท้องเสียรุนแรง ซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบคุมโดยสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการตกค้างหรือส่งผลกระทบใดๆต่อการบริโภค ดังนั้น การเลือกบริโภคเนื้อหมูอย่างปลอดภัย จึงควรพิจารณาว่าเป็นสุกรจากฟาร์มระบบปิด ของบริษัทที่ดำเนินการด้านอาหารปลอดภัย (Food Safety) และมีมาตรฐานฟาร์มในระดับสูง มีการกำกับดูแลตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ฟาร์ม โรงชำแหละ และจุดจำหน่าย โดยทั้งหมดสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เท่านี้ก็สา
สินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นพืชไร่หรือปศุสัตว์ ล้วนต้องเผชิญปัญหาภาวะราคาขึ้นลงอยู่เป็นนิตย์ ด้วยการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ มีปัจจัยในแง่ของสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ ความร้อน ความชื้น ตลอดจนภัยธรรมชาติต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลต่อปริมาณผลผลิตที่จะเข้าสู่ตลาด หากสอดคล้องกับปริมาณความต้องการของผู้บริโภค ย่อมทำให้ระดับราคาสินค้าเกษตรเหล่านั้นมีความเหมาะสม เกษตรกรอยู่ได้ ในขณะที่ผู้บริโภคซื้อในราคาที่รับได้ แต่หากไม่สอดคล้อง เช่น ของน้อยความต้องการมาก หรือผลผลิตมากความต้องการน้อย กรณีแบบนี้ระดับราคาที่สูงขึ้นหรือต่ำลง ย่อมกระทบต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแน่นอน ตามหลักการอุปสงค์-อุปทาน ราคาหมูกับไข่ไก่ ก็อยู่ในวังวนเช่นนี้ โดยหมูขุนมีชีวิต มักจะมีราคาสูงติดต่อกัน 3-4 ปีและราคาตกต่ำ 1 ปี เป็นวงจรเช่นนี้มาอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักของปัญหา นอกเหนือไปจากสภาวะอากาศที่ส่งผลให้หมูสดชื่น กินอาหารได้มากผลผลิตจึงมาก ส่งผลให้ราคาตกลงแล้ว ยังมีเหตุผลของการที่ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่จะขยายกำลังการผลิตในช่วงหมูราคาดี ด้วยคิดว่า “เมื่อหมูราคาดี ก็ต้องเร่งผลิต เพื่อสร้างกำไรให้ได้มากๆ” ดังนั้น เมื่อผู้ประ
นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปีนี้อุตสาหกรรมการเลี้ยงหมูทั่วโลกต่างประสบปัญหาภาวะราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาตลอด โดยเฉพาะผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มลดลงต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี มาอยู่ที่ 31 บาทต่อกิโลกรัม จากที่ราคาเคยสูงถึงกว่า 46 บาทต่อกิโลกรัมในช่วงต้นปี เนื่องจากสหรัฐฯ เพิ่มปริมาณการเลี้ยงหมูมากขึ้่นตลอดปีนี้ ขณะที่ราคาหมูของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเวียดนาม กัมพูชา ลาว และฟิลิปปินส์ ต่างเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยราคาเริ่มปรับตัวลดลงมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปัจจุบันราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 57, 65, 72 และ 80 บาท ตามลำดับ “สถานการณ์ราคาหมูของไทยไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ปัจจุบันราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มลดลงมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 56-63 บาท ซื้อขายจริงอยู่ที่กิโลกรัมละ 54-61 บาทเท่านั้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงถึง 64-68 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว เท่ากับว่าผู้เลี้ยงบางส่วนโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่แบกรับภาระขาดทุนไม่ไหวและต้องชะลอการเลี้ยงไปแล้ว ซึ่งเราเกรงว่าจะส่งผลต่อปริมาณหมูขุนที่จะเข้าสู่ตลาดในช่วง 6 เดือนข้างหน้า” นายสุรชัยกล่า
เพจChina Xinhua News รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย. งานประมูลหมูดำครั้งแรกจัดขึ้นที่เมืองเติงเฟิง มณฑลเหอหนาน ท่ามกลางผู้ร่วมงานนับพันคน ซึ่งการประมูลหมูตัวแรกจบลงที่ราคา 125,000 หยวน (ราว 650,000 บาท) เหตุผลที่มีราคาแพงเช่นนี้ เนื่องจากหมูดำตัวนี้ถูกเลี้ยงแบบปล่อยในป่าโอ๊คใต้เขาซงซาน โดยกินลูกโอ๊ค ดื่มน้ำบ่อ และป้องกันโรคด้วยยาสมุนไพร นอกจากนี้ ภายในงานยังจัดกิจกรรม “หมูใครหมูมัน” คือให้ผู้ซื้อเลือกหมูดำมาหนึ่งตัว ติดเครื่องหมายแล้วปล่อยเลี้ยงในป่าโอ๊คต่อไป หลังจากโตแล้ว ผู้ดูแลก็จะฆ่าและนำเนื้อของหมูตัวนี้ไปส่งให้ที่บ้านของผู้ซื้อนั่นเอง (ขอบคุณข่าวและรูปจาก thai.cri.cn)
คุณอภิศักดิ์ พันธุ์ไชย อยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 4 ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เล่าย้อนความหลังให้ฟังว่า เดิมเขาทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งช่วงนั้นได้ศึกษาต่อปริญญาโท สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น จึงทำให้เวลาต่อมาเขาได้เดินทางไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น “ช่วงที่เราเรียนช่วงนั้น ก็ถือว่าโชคดี ที่ได้โควต้าไปทำงานที่ญี่ปุ่น ซึ่งอาจารย์ที่สอนเราเขาก็ทำหน้าที่เกี่ยวกับสหกรณ์การเกษตรด้วย ท่านก็จะพาเราไปดูงานที่เกี่ยวกับเกษตร ทั่วประเทศญี่ปุ่น เราก็ได้มาเกิดแนวคิดว่า เกษตรบ้านเรานี่นับว่าโชคดีกว่าที่นั่น เพราะที่เขามีฤดูหนาวด้วย ผักที่เขาปลูกนี่จะตายหมดเลย หลังจากกลับมาอยู่บ้านที่โคราช ก็เลยมาทดลองเลี้ยงสัตว์บ้าง ปลูกผักแบบผสมผสานตั้งแต่นั้นมา” คุณอภิศักดิ์ กล่าว สัตว์ที่เขาเลี้ยงเริ่มแรกจะเป็นเป็ดไข่นับหมื่นตัว แต่ต้องมีเหตุให้เลิกเลี้ยงไป เพราะอาหารที่จะให้เป็ดไข่กินนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอ ต่อมาก็เริ่มทำสวนผักแบบผสนผสานไปด้วย ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง “แรกๆ ที่ผมทำสวนใหม่ๆ ปลูกแต่ถั่วฝักยาว พอผลผลิตออกมามาก สรุปมันขายไม่ได้เท่าที่ควร ต่อมาก็เลยปรับเปลี่ยนมาปลูกแตงกวาบ้าง ผักชี พริก ชะอม สรุปว่า
พื้นที่ภาคใต้ที่เรียกกันว่าเป็นพื้นที่ ฝนแปด แดดสี่ เห็นท่าจะจริง เพราะระหว่างฤดูหนาวที่มีโอกาสไปเยือนจังหวัดตรัง ไม่ได้สัมผัสอากาศหนาวเลยแม้แต่น้อย แต่กลับมีลมเย็นเป็นระลอก ทั้งยังมีฝนปรอยให้เห็นเป็นช่วงๆ ผู้ประสบพบเจอก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่พบ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการป่วยที่อาจมาเยือน เช่นเดียวกับ โรงเรียนบ้านควนยาง หมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ที่ดินมีสภาพเป็นดินเปรี้ยว ไม่เหมาะแก่การปลูกพืช แต่กลุ่มยุวเกษตรที่มีอยู่เกือบ 70 ชีวิต ก็ร่วมแรงลงสมอง หาวิธีแก้ปัญหาดินเปรี้ยว เพื่อให้ปลูกพืช โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาเสริม ซึ่งได้ผลอย่างดี อาจารย์ภูนารถ จันทร์ย่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนยาง เล่าความเป็นมาของโรงเรียนให้ฟังอย่างละเอียด เริ่มจากที่ตั้งของโรงเรียนที่ไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณปัจจุบัน แต่ต้องย้ายมาโดยได้รับที่ดินบริจาคจากชาวบ้าน 5 ไร่ เพราะสถานที่ตั้งเดิมไม่สะดวกต่อการเดินทางของนักเรียน เมื่อนักเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้น โรงเรียนจึงจัดสรรงบประมาณซื้อเพิ่ม ทำให้ปัจจุบันมีที่ดินของโรงเรียนกว่า 8 ไร่ มีอาคารเรียนชั้นเดียว 3 หลัง อาจารย์ภูนารถ ไม่ถึงกับเป็นผู