หม่อน
ในยุคที่เกษตรกรไทยต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของตลาดและรายได้จากพืชผลเกษตร การแสวงหาพืชทางเลือกที่สามารถปลูกง่าย ดูแลง่าย และมีศักยภาพในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าจึงกลายเป็นแนวทางที่น่าสนใจ “หม่อน” หรือ “มัลเบอร์รี่” คือหนึ่งในพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่ตอบโจทย์ ด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ และสามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปได้หลากหลาย ตั้งแต่น้ำผลไม้ แยม ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม สร้างโอกาสใหม่ให้กับเกษตรกรในการพัฒนาธุรกิจจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ หนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จที่น่าสนใจ อย่างเช่น คุณเม-เมจิรา ชูประเสริฐ เจ้าของสวนชนาภัทร จังหวัดปราจีนบุรี ที่เริ่มต้นจากการปลูกหม่อนในพื้นที่เล็กๆ ด้วยแนวคิดเกษตรอินทรีย์ เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ก่อนจะพัฒนาไปสู่การแปรรูปมัลเบอร์รี่เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทั้งน้ำมัลเบอร์รี่เข้มข้น แยมโฮมเมด และผลอบแห้ง โดยเน้นความเป็นธรรมชาติและสุขภาพของผู้บริโภคเป็นสำคัญ คุณเม เล่าว่า การทำสวนเป็นอาชีพที่ทำมานานตั้งแต่คุณพ่อคุณแม่ แต่ในสมัยนั้นเรื่องเหล่านี้ยังไม่ได้มองว่าต้องการทำเป็นอาชีพเพราะเป็นงานที่หนัก และไม่น่าจะมีความสุขในสายงานนี้ จึงห
กว่า 10 ปีแล้ว ที่ คุณธงชัย ความเพียร และ คุณอรัญญา ความเพียร สองสามีภรรยา ปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน และทำรายได้เสริมจากต้นไม้ที่เขารัก คุณธงชัย เรียนจบมาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนคุณอรัญญา เรียนจบมาทางด้านนิเทศศาสตร์ ทั้งคู่รักธรรมชาติ ชอบการปลูกต้นไม้ เมื่อพื้นที่บ้านพอมีที่ว่าง ราว 20 ตารางวา ก็ไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่า โดยคุณธงชัย ได้ไอเดียจากการเดินห้างสรรพสินค้า แล้วพบ “มะเดื่อฝรั่ง” ผลแห้ง จึงลองซื้อมารับประทาน เห็นว่ารสชาติดี แต่ราคาค่อนข้างแพง จึงคิดที่จะซื้อพันธุ์มาปลูกเอง เพื่อรับประทานในครอบครัว และเริ่มปลูกมะเดื่อฝรั่งเพียง 5 ต้นก่อน “5 ต้นนั่นก็ยังไม่ได้ทำเงินอะไรนะครับ ก็คือคิดจะปลูกเอาผลไว้กิน ไม่อยากเสียเงินซื้อในราคาที่สูง แต่โชคดีในช่วงนั้นกระแสมะเดื่อฝรั่งมาแรง คนเริ่มพูดถึง เริ่มรู้จัก จึงคิดจะลองตอนกิ่งขาย ก็ลองทำดู ยุคนั้นมีแค่เว็บไซต์ที่เปิดพื้นที่ให้ขายของฟรี ลองลงไป ก็ขายได้” จริงๆ คุณธงชัย มีงานประจำอยู่แล้ว เป็นงานจำหน่ายอุปกรณ์สแตนเลสที่ใช้ในอุตสาหกรรมโรงงานและภายในบ้าน นอกจากนี้ ยังจำหน่ายแผ่นปูพื้นอเนกประสงค์กันลื่น กันไฟดูด สำหรับฟาร์มสัตว์ และโรงงาน
ชื่อสามัญ : mulberry ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morus alba วงศ์ : Moraceae หม่อน เป็นพืชอาหารชนิดเดียวของตัวไหม คุณภาพและปริมาณของเส้นใยที่ได้จากไหม ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพอาหาร คือ ใบหม่อน เท่านั้นจึงนับได้ว่า ใบหม่อนคือหัวใจหลักของการผลิตเส้นใยไหมนั่นเอง ใบหม่อน จึงกล่าวได้อีกว่าเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญยิ่งของเส้นทางวัฒนธรรมสายไหมของเอเชีย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : หม่อน เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ลำต้นมีเปลือกสีเทาจุดน้ำตาล แตกกิ่งกระโดงง่ายมาก เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ใบออกเรียงสลับกันบริเวณข้อ ผิวใบสากคายมือ ดอกเป็นกระจุกเล็กๆ สีขาวอมเหลือง ผลเป็นผลรวมประกอบด้วยรังไข่เล็กๆ หลายอัน รวมกันเป็น 1 ผล รสชาติอร่อยมาก อมหวาน อมเปรี้ยว เป็นผลไม้ประจำอีกชนิดหนึ่งสมัยที่ผู้เขียนยังเด็ก วิ่งเล่นกับเพื่อนๆ อยู่ในแปลงหม่อนของวิทยาลัยเกษตรกรรมสุรินทร์ เล่นไปกินไป จนปากคอกลายเป็นสีม่วงกันถ้วนหน้าทุกคน พอเหนื่อยก็ไปนั่งพักดู ป้าบล คนงานของพ่อ สาวไหม ประจบขอดักแด้มาโรยเกลือป่นหม่ำกันอีก เป็นความทรงจำที่ติดตาไม่ลืมเลือน สรรพคุณ และการใช้ประโยชน์ : ในสมัยก่อนเรานิยมปลูกต้นหม่อนเพื่อนำใบมาใช้เลี้ยงไหมเท่า
(ซินหัว) – เผยความสำเร็จของจีนในการเนรมิตไร่หม่อนหรือมัลเบอร์รีโปรตีนสูงกลางทะเลทรายอูหลานปู้เหอ (Ulan Buh) ซึ่งเป็นทะเลทรายที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของจีน ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ทางตอนเหนือของประเทศ ทะเลทรายอูหลานปู้มีพื้นที่รวมราว 15 ล้านหมู่ (ประมาณ 6.25 ล้านไร่) การปลูกต้นหม่อนในทะเลทรายไม่เพียงช่วยสร้างประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างรายได้ให้กับบรรดาเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย ต้นหม่อนโปรตีนสูงเป็นพืชที่มีรากแข็งแรง ซึ่งทนทานพายุทรายในทะเลทรายได้ ทั้งยังสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วในสภาพดินเค็มท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ร้อนและแห้ง ปริมาณโปรตีนในใบและกิ่งก้านของหม่อนมีอยู่ถึงร้อยละ 36 และร้อยละ 28 ตามลำดับ ปัจจุบันต้นหม่อนกว่า 1,000 หมู่ (ราว 416 ไร่) กำลังเติบโตงอกงามอยู่ทั่วฐานปลูกหม่อนในอำเภอกู่เติงโข่ว “เมื่อดูจากสถานการณ์การเพาะปลูกในปีนี้ เราคาดว่าผลผลิตของปีนี้จะสูงถึงเกือบ 4,000-5,000 กิโลกรัมต่อหมู่ (1 หมู่ = 0.416 ไร่) หม่อนโปรตีนเป็นพืชเศรษฐกิจที่ดีมาก มีโปรตีนสูง และยังมีคุณค่าทางโภชนาการอื่นๆ มากมาย และประสบการณ์การทำฟาร์มได้พิสูจน์แล้วว่าหม่อนเหมาะสำหรับใช้เลี
“ใบหม่อน ” นอกจากจะเป็นอาหารใช้เลี้ยงหนอนไหม แปรรูปทำเป็นชาเพื่อสุขภาพแล้ว วันนี้ใบหม่อนมีแนวโน้มสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสุกรได้ โดยกรมหม่อนไหม และกรมปศุสัตว์ได้ร่วมกันศึกษาวิจัย เพื่อเป็นอีกทางเลือกให้เกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง เป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ มีการนำหญ้าเนเปียร์ผสมกับอาหารข้น แต่การปลูกหญ้าเนเปียร์ ต้องใช้น้ำมาก ซึ่งช่วงหน้าแล้ง 2-3 ปี บ้านเราเจอวิกฤตแล้งขาดแคลนน้ำมาตลอด การทดลองเอาใบหม่อนที่ปลูก มาทดลองใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมูจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ จะเป็นอีกช่องทางที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อน และลดต้นทุนอาหารสัตว์ในช่วงฤดูแล้ง ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี ได้ทดสอบโดยใช้วิธีแบ่งสุกรขุน 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สุกรคอกที่ 1 ให้อาหารข้นล้วน สุกรคอกที่ 2 ใช้อาหารข้นผสมกับหญ้าเนเปียร์ และสุกรคอกที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารข้น ผสมใบหม่อนสับละเอียด 10 เปอร์เซ็นต์ ปรากฎว่า แม้เจอสภาพอากาศทั่วไปร้อนมากถึง 40 องศา แต่กลับพบว่าสุกรที่เลี้ยงด้วยใบหม่อนผสมอาหารข้น มีอาการเหนื่อยหอบน้อย ซึ่
เข้าสู่ฤดูหนาว ฤดูแห่งการท่องเที่ยวมาเยือน สำหรับท่านใดที่เบื่อแสงสี อยากหลีกหนีความวุ่นวายในเมืองหลวง นิตยสารเทคโนโลยีฉบับนี้ตอบโจทย์ทุกท่านแน่นอน โดยในฉบับนี้ผู้เขียนมีสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ภูมิใจนำเสนอมากๆ และอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ทุกท่านก็จะได้พบกับธรรมชาติสีเขียวขึ้นเต็มสองข้างทาง ที่นั่นก็คือ “วังน้ำเขียว” แหล่งโอโซนอันดับ 7 ของโลก นั่นเอง โดยสถานที่ที่ผู้เขียนภูมิใจนำเสนอก็คือ “สวนแม่หม่อน” ตั้งอยู่ที่ 201 หมู่ที่ 5 ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นสถานที่ตัวผู้เขียนเองเคยได้มีโอกาสไปแวะเยี่ยมเยือนสวนมาแล้วเมื่อ 4 ปีก่อน ก็ยังจำความรู้สึกอบอุ่นได้ไม่รู้ลืม จนมาถึงวันนี้ สวนแม่หม่อนได้มีการพัฒนาสำเร็จไปอีกขั้น จากที่เคยเป็นเพียงสวนมัลเบอร์รี่เล็กๆ ตอนนี้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีไฮไลต์เด็ดอยู่ที่แปลงวานิลลา ที่ปลูกสำเร็จเป็นที่แรกๆ ของอำเภอวังน้ำเขียว รับรองได้ว่ามาที่นี้แล้วทุกท่านจะสำลักความสุขกลับไปแน่นอน คุณนันทวัน โตอินทร์ หรือ ครูไก่ เจ้าของสวนแม่หม่อน อดีตแม่พิมพ์ของชาติ ลาออกจากรา
มัลเบอร์รี่ หรือ หม่อน ผลไม้หนึ่งในตระกูลเบอร์รี่ ปลูกง่าย แปรรูปเป็นผลิตภัณ์เพื่อสุขภาพสร้างมูลค่าได้หลากหลาย สามารถปลูกได้กับทุกสภาพพื้นที่ มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกัน หากปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน แดดจัด ผลจะดก โตเร็ว มีข้อเสียคือ ผลจะนิ่ม ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น ผลหม่อนจะออกไม่ดกมาก ข้อดีคือ ผลจะมีความหวาน กรอบ หากจะปลูกเชิงการค้าแนะให้เลือกพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศเย็นและมีแดดส่องถึงอย่างที่อำเภอวังน้ำเขียว คุณนันทวัน โตอินทร์ หรือ ครูไก่ เจ้าของสวนแม่หม่อน ตั้งอยู่ เลขที่ 201 หมู่ที่ 5 ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อดีตแม่พิมพ์ของชาติ ลาออกจากราชการก่อนครบอายุ ผันตัวทำงานเกษตรที่ตนเองรัก บนพื้นที่มรดกคุณพ่อทิ้งไว้ให้ที่อำเภอวังน้ำเขียว จำนวน 13 ไร่ ครูไก่ เล่าว่า ก่อนที่จะลาออกจากราชการได้มีการคิดวางแผนมาก่อนแล้วว่า หากลาออกจากราชการจะทำอะไรดี จึงได้ศึกษาหาความรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตรงนี้ให้ได้มากที่สุด มองดูรอบๆ พื้นที่แล้วน่าจะเหมาะกับการปลูกมัลเบอร์รี่ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในชื่อของ “ลูกหม่อน” เพราะพื้นที่ในอำเภอวังน้ำเขียวมีอากาศเย็น และมีแดดส
ต้นหม่อน หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า “มัลเบอร์รี่” (mulberry) เป็นไม้ยืนต้น ที่อยู่ในวงศ์เดียวกับต้นปอสา ขนุน และโพธิ์ ฯลฯ มีคุณค่าทางแร่ธาตุและวิตามินมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทุกวันนี้ใบและผลหม่อนจึงถูกนำมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะ “อาหาร และเครื่องดื่ม” หลากหลายรูปแบบ เช่น ชาวอีสานยังนิยมนำยอดหม่อนและใบหม่อนมาปรุงใส่อาหารเมนูพื้นบ้าน เช่น ต้มยำไก่ ฯลฯ นอกจากนี้ ใบหม่อน ยังสามารถแปรรูปเป็นชาชงดื่ม เพื่อลดความดันโลหิตสูง มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด หม่อนลูกผสมที่ให้ผลผลิตใบสูง และผลมีขนาดใหญ่น่ากินนั้นได้แก่ บุรีรัมย์ 60, นครราชสีมา 60, ศรีสะเกษ 33, จีน เบอร์ 44 และหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ บางบ้านปลูกหม่อนไว้ติดผลดีพอประมาณ แต่ไม่ถึงกับดก ได้ยินมาว่า “วิธีโน้มกิ่ง” บังคับให้ออกผลนอกฤดูนั้นมีทำให้หม่อนออกผลได้ดี แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เรามีวิธีมาฝากกัน หม่อนที่ติดผลดีที่สุดคือ พันธุ์เชียงใหม่ หรือนิยมเรียกว่า หม่อนผลสด หม่อนพันธุ์นี้จะให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 800-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ประโยชน์ของผลหม่อนใช้ทำแยม น้ำผลหม่อน และไวน์ หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่มีผู้นำมาจากจีน และปลูกท
ต้นหม่อน หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า “มัลเบอร์รี่” (mulberry) เป็นไม้ยืนต้น ที่อยู่ในวงศ์เดียวกับต้นปอสา ขนุน และโพธิ์ ฯลฯ มีคุณค่าทางแร่ธาตุและวิตามินมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทุกวันนี้ใบและผลหม่อนจึงถูกนำมาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะ “อาหาร และเครื่องดื่ม” หลากหลายรูปแบบ เช่น ชาวอีสานยังนิยมนำยอดหม่อนและใบหม่อนมาปรุงใส่อาหารเมนูพื้นบ้าน เช่น ต้มยำไก่ ฯลฯ นอกจากนี้ ใบหม่อน ยังสามารถแปรรูปเป็นชาชงดื่ม เพื่อลดความดันโลหิตสูง มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด หม่อนลูกผสมที่ให้ผลผลิตใบสูง และผลมีขนาดใหญ่น่ากินนั้นได้แก่ บุรีรัมย์ 60, นครราชสีมา 60, ศรีสะเกษ 33, จีน เบอร์ 44 และหม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ บางบ้านปลูกหม่อนไว้ติดผลดีพอประมาณ แต่ไม่ถึงกับดก ได้ยินมาว่า “วิธีโน้มกิ่ง” บังคับให้ออกผลนอกฤดูนั้นมีทำให้หม่อนออกผลได้ดี แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เรามีวิธีมาฝากกัน หม่อนที่ติดผลดีที่สุดคือ พันธุ์เชียงใหม่ หรือนิยมเรียกว่า หม่อนผลสด หม่อนพันธุ์นี้จะให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 800-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ประโยชน์ของผลหม่อนใช้ทำแยม น้ำผลหม่อน และไวน์ หม่อนผลสดพัน
หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ (Mulberry) เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ใบ ทำเป็นชาใบหม่อนสมุนไพรชั้นยอด และยังใช้เป็นอาหารของหนอนไหม หม่อน เป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเดี่ยวออกสลับ ดอกเป็นช่อ ดอกทรงกระบอก กลีบดอกสีขาวหม่น ผลเป็นช่อทรงกระบอก ผลหม่อน นอกจากกินสดแล้ว ยังนำไปแปรรูปได้อีก ในรูปแบบน้ำหม่อนพร้อมดื่ม แยมผลหม่อน โยเกิร์ต เยลลี่ เค้ก ใช้น้ำหม่อนเป็นส่วนผสมของขนมปังโฮลวีท ของใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งน้ำยาล้างจานจากหม่อน แชมพูสระผมจากหม่อน สบู่จากหม่อน ทั้งชนิดก้อนและเหลว คุณจารุวรรณ เอกบัว ชื่อเล่นว่า คุณเล็ก อยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ที่ 6 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ 098-446-6932 เป็นเกษตรกรผู้ประกอบกิจการผลิตผลสด แปรรูปเอง ทำการตลาดเพื่อขายเอง ต่อมาก็เปิดสวนหม่อนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร (Mulberry farm) และให้บริการเป็นที่พักแบบฟาร์มสเตย์ (Farm stay) สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ คุณเล็ก เป็นคนจังหวัดขอนแก่น พ่อแม่มีอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แต่ตนเองหันมาประกอบอาชีพรับจ้างเป็นมนุษย์เงินเดือนทำงานกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และได้ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ที่สาขาจังหว