อาชีพเกษตร
ลุงเสงี่ยม สีสันต์ อยู่บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 6 ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อาชีพหลักสมัยก่อนโน้น ที่ลุ่มแบ่งทำนา สูงขึ้นมาหน่อยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก่อนปี 2535 มีคนชวนลุงเสงี่ยมไปเป็นเพื่อนเพื่อซื้อเงาะจากจังหวัดจันทบุรีมาขาย ลุงชอบ เพราะได้เห็นสิ่งแปลกใหม่ เรื่องเงินทองรายได้ไม่ได้คิด หลายครั้งหลายหนที่ไปเห็นต้นเงาะของชาวสวนเมืองจันท์สุกแดงเต็มต้น จึงอยากปลูก ที่อยากปลูกเนื่องจากท้องถิ่นอำเภอน้ำยืน อยู่ชายแดนติดกับกัมพูชา ดินดี ฝนตกดี ที่สำคัญ ลุงมีความขยันหมั่นเพียร ความรู้ และวิธีการปลูกน่าจะหาทางศึกษาได้ ลุงเสงี่ยม มีประสบการณ์เรื่องราคาข้าวโพด ช่วงเก็บผลผลิตขาย บางปีพออยู่ได้ แต่บางปีขาดทุน เมื่อไปเห็นเขาปลูกเงาะที่เมืองจันท์ จึงตัดสินใจปลูกเงาะโรงเรียนบนที่เนินใกล้บ้าน ทางเจ้าหน้าที่เกษตรแนะนำว่า งานปลูกไม้ผลควรขุดหลุมให้ลึก แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ขี้วัว ขี้ควายเก่าๆ ลุงตัดสินใจปลูกเมื่อปี 2535 ช่วงนั้นการทำนายังใช้ควายตัวเป็นๆ ยังไม่ใช้ควายเหล็ก ปุ๋ยคอกจึงหาได้ง่าย สำหรับระยะปลูก ระหว่างต้นระหว่างแถว 8 คูณ 8 เมตร พื้นที่ไร่หนึ่งจึงปลูกได้ 25 ต้น พืชอื่นที่ปลู
นายบุญคอย สำราญรส อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) หมู่ที่ 5 บ้านนาน้อย ตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำเกษตรในลักษณะไร่นาสวนผสมเกษตรทฤษฎีใหม่สร้างรายได้ทุกวัน โดดเด่น เรื่องการอนุรักษ์ควายด่อน ไร่นาสวนผสมแห่งนี้ มีพื้นที่ทำนาข้าว 60 ไร่ ได้ผลผลิตปีละ 30,000 กิโลกรัม แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ 10 ไร่ ไก่พื้นเมือง รุ่นละ 100-150 ตัว สุกรพ่อแม่พันธุ์ 10 ตัว สุกรป่าเลี้ยงแบบปล่อย รุ่นละ 20-30 ตัว ไว้เก็บเศษพืช ต้นกล้วย ไก่ไข่ 10 ตัว พื้นที่หนองน้ำเลี้ยงปลากินพืช หลากหลายชนิด ไว้บริโภคในครัวเรือน กิจกรรมที่มีอยู่ ทำให้เกิดรายได้รายวัน 200-500 บาท รายสัปดาห์ 3,000-5,000 บาท รายเดือน 15,000-20,000 บาท นายบุญคอย บอกว่า เขาได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน เกษตรอำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ และเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลม่วงนา ให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาแบบเดิมเข้าสู่ “เกษตรทฤษฎีใหม่” มีนาข้าว แหล่งน้ำ พื้นที่ปศุสัตว์ ไม้ผล ไม้ยืนต้น ฟาร์มแห่งนี้ เลี้ยงกระบือเผือกจำนวนมาก เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์กระบือเผือก ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง เป็นไร่นาสวนผสมแบบเปิด “เพื่อเกษตรกร” ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในอนาคต เป็นศูนย์เครือ
วันนี้ มีโอกาสแวะเยี่ยมเกษตรกรคนรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ คุณอรณี สำราญรื่น วัย 42 ปี บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 8 บ้านมอดินแดง ตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 โทร. 084-409-6115 เจ้าของหยกฟาร์ม เธอจบการศึกษาปริญญาตรี ด้านการเงินและการบัญชี จากมาหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2545 เข้าทำงานราชการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 3 ปี ย้ายมาแขวงทางหลวงกาฬสินธุ์ 2 ปีครึ่ง ลาออก ไปทำงานประเทศไต้หวัน 6 ปี ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน ห่าง คุณแม่คำพันธ์ คุณพ่อสนาม สำราญรื่น คุณวิรัตน์ สำราญรื่น พี่ชายจบเทคโนฯ สัตวบาล วิทยาเขตกาฬสินธุ์ คุณกิตติศักดิ์ สำราญรื่น น้องชาย เธอเป็นลูกสาวคนกลาง ห่างครอบครัวไปแสนไกล ทางเลือกคือ “เกษตรกร” จะได้อยู่กับครอบครัว คุณพ่อปลูกหญ้าเลี้ยงวัว และสามารถขายได้ แสดงให้เห็นว่า “หญ้ามีตลาด” จึงกลับมาวางแผนต่อยอดจากครอบครัว จึงเกิด “หยกฟาร์มปี 2553” เป้าหมายของตนเองคือ การสร้างตนเองให้เข้มแข็ง พร้อมสร้างสังคมให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในอาชีพเกษตรกรรม “ขอบคุณ ท่านอาจารย์บวร เทพธานี อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกาฬสินธุ์ ที่
ระยะเวลาปีเศษที่ผ่านมา สินค้าเกษตรหลายชนิดที่เคยเป็นสินค้าดาวรุ่ง ขายดี ทำกำไรสูง เช่น มะม่วง มะนาว มะพร้าวน้ำหอม กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ฯลฯ กลับตกอยู่ในทิศทางตลาดขาลง ทำให้หลายคนรู้สึกกังวลและงวยงงกับสถานการณ์ราคาตลาดว่า จะปลูกต่อดีหรือถอยไปปลูกพืชชนิดอื่นดี แม้หลายคนจะมองว่า ตลาดกล้วยน้ำว้า อยู่ในทิศทางขาลง แต่ อาจารย์พัชนี ตุษยะเดช เจ้าของไร่พัชชา กลับยืนยันว่า ตลาดกล้วยน้ำว้ายักษ์ยังเติบโตต่อเนื่อง ขายดิบขายดี จนผลิตหน่อพันธุ์ไม่ทันกับความต้องการของตลาด ดังนั้น ในฉบับนี้ ขอพาท่านผู้อ่านไปค้นหาเสน่ห์ของ กล้วยน้ำว้ายักษ์ ที่ทำให้ขายดี ติดลมบนตลอดทั้งปีกันสักหน่อย กล้วยน้ำว้ายักษ์ มาจากไหน อาจารย์พัชนี ตุษยะเดช ปัจจุบัน ได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 10 โหรหญิงดังยอดนิยม ผู้เชี่ยวชาญด้านลายมือ ที่แบ่งเวลามาทำสวนเกษตร ชื่อว่า ไร่พัชชา ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลหนองปรือ อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เบอร์โทร. 084-548-9000 และ 086-128-8000 อาจารย์พัชนี เล่าว่า การทำอาชีพเกษตรกรรมในวันนี้ มีจุดเริ่มต้นจากความชอบสะสมที่ดิน ที่ดินแปลงหนึ่งในจังหวัดราชบุรีที่ซื้อไว้ มีดินดี น้ำสมบูรณ์ จึงสนใจปลูกกล้วยน
สองสามีภรรยาลาออกจากพนักงานบริษัท หันมาปลูกมะเขือเทศกินผลสดเนื้อที่แค่ 1 ไร่ ในโรงเรือน ปลอดภัยจากสารเคมี ทำลูกค้าสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้ 20,000-30,000 บาท ต่อเดือน ฟาร์มสวนผักข้างบ้าน ณ บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 3 ตำบลนาบินหลา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง สองสามีภรรยาอดีตพนักงานบริษัทในกรุงเทพฯ ตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อเดินทางกลับบ้านที่จังหวัดตรัง โดยใช้พื้นที่ว่างข้างบ้านเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ทำโรงเรือนขนาดความกว้าง 5 เมตรครึ่ง และยาว 7 เมตร ปลูกมะเขือเทศกินผลสดทั้งลูกสีแดงและสีเหลืองหลากสายพันธุ์ จำนวน 160 ต้น โดยใช้เวลาปลูกประมาณ 2 เดือนครึ่ง ก็สามารถเก็บมะเขือเทศขายได้ในราคากิโลกรัมละ 250 บาท ขายทั้งที่บ้านและทางออนไลน์ สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 20-25 กิโลกรัม สร้างรายได้ตั้งแต่ 20,000-30,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากลูกค้ากินแล้วติดใจเพราะมีรสชาติดี เนื้อแน่น ผลใหญ่ ผิวสวย และยังปลอดภัยจากการใช้สารเคมี แถมยังเปิดโรงเรือนให้ลูกค้าเข้ามาเที่ยวชม เลือกเก็บ และกินมะเขือเทศผลสดกันได้ทุกวัน โดยปลูกมาประมาณ 8-9 เดือนแล้ว และเก็บลูกมะเขือเทศขายเป็นรุ่นที่ 2 แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะขายคู่กับผ
“เศษขยะ” จากอาหารสด คือ “ขุมทรัพย์” อันล้ำค่า “ชารีย์ บุญญวินิจ” ศิษย์เก่าคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อดีตเชฟที่สหรัฐอเมริกา ที่ปิ๊งไอเดียนำเศษอาหารไร้ค่ามาเลี้ยงไส้เดือน ผันชีวิตจากเด็กหนุ่มปกติ สู่วิถีชีวิตเกษตรกร จนได้รับฉายา ลุงรีย์ไส้เดือนเงินล้าน หลังจบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณชารีย์มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำงานเป็นผู้ช่วยพ่อครัว ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่งนาน 4 เดือน ทุกๆ วันต้องพบเจอกับเศษอาหารที่เหลือทิ้งจำนวนมหาศาล แต่ขณะนั้นยังหาวิธีกำจัดเศษขยะเหล่านั้นไม่ได้ จนกระทั่งกลับมาเมืองไทย ไปบวชเป็นพระ ได้เจอกับพระนักพัฒนาที่มีทักษะการเกษตรสูงเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีเกษตร จึงเกิดความคิดอยากทำเกษตรที่สามารถเลี้ยงชีพได้ หลังจากสึกพระออกมา คุณชารีย์ทำงานออฟฟิศด้านการออกแบบ กระทั่งปี 2553 เริ่มเลี้ยง “ไส้เดือน” เป็นอาชีพเสริม เพราะมองว่าไส้เดือนเป็นสัตว์ที่ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่เยอะ ไม่มีโรค ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ลงทุนครั้งเดียว ที่สำคัญไม่รบกวนงานประจำ “ผมใช้ที่จอดรถ ประมาณ 6×3 เมตร เพื่อเลี้ยงไส้เดือน ลงทุนครั้งแรก 1,000 บาท เลี
อยู่เดชอุดม มองไปทางไหนเห็นแต่ทุ่งนาเวิ้งว้าง เมื่อครอบครัวชวนออกสำรวจที่ทำกินใหม่ เรืองศักดิ์ พรมกอง มองว่า ท้าทายดี จึงมาลงหลักปักฐานอยู่บ้านเลขที่ 294 หมู่ที่ 1 ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี 2505 สภาพทั่วไป มีป่าสมบูรณ์ ฝนฟ้าตกดี การดำรงชีวิตประจำวันเมื่อก่อน ยามค่ำคืนต้องระวังสัตว์ร้าย “ตอนเย็นจะไปอาบน้ำลำห้วย ต้องกระแอมให้มีเสียง ให้หมูป่าที่มีอยู่มาก เดินห่างไปไกลๆ หากไม่ส่งสัญญาณก่อน ไปจ๊ะเอ๋กัน จะตกใจทั้งสองฝ่าย เวลาผ่านมานานแล้ว เมื่อก่อนสัตว์ป่ามีมาก คนกลัวหมูป่า หลังๆ หมูป่ากลัวคน” คุณเรืองศักดิ์ เล่า เริ่มเลี้ยงชีพด้วยพืชไร่ ตามด้วยไม้ผลหลากหลายชนิด เมื่อเข้าอยู่อาศัย ทำกินในที่ดินจำนวน 30 ไร่ คุณเรืองศักดิ์ ทำพืชไร่ จำพวกมันสำปะหลัง ยุคแรกๆ ดินดำน้ำดี ไม่ต้องใส่ปุ๋ย เจ้าของสามารถเก็บเกี่ยวไปขายได้เงินทองไม่น้อย เพราะต้นทุนต่ำ เวลาผ่านไป ดินจืดลง ผลผลิตลด ราคาพืชไร่หลายชนิดไม่แน่นอน เพื่อนเกษตรกรหลายคน เริ่มปลูกไม้ผล คุณเรืองศักดิ์ เล็งเห็นว่า ราคาพืชไร่ไม่แน่นอน ในปี 2532 จึงทดลองปลูกน้อยหน่า ถึงแม้การซื้อขายไม่มากนัก แต่ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้หลายปี ไม่
การปลูกพริกไทย หากเทียบกับผลตอบแทนที่ได้ในแต่ละปีจะดีกว่าผลไม้หลายๆ ชนิด ที่ใช้พื้นที่ปลูกเท่าๆ กัน ดังนั้น การปลูกพริกไทยในพื้นที่น้อยก็สามารถสร้างรายได้หลักแสนให้แก่เกษตรกรได้ไม่ยากนัก ราคาพริกไทยสดค่อนข้างสูงเกือบตลอดทั้งปี หรือแม้แต่ราคาพริกไทยแห้ง คือ พริกไทยดำ พริกไทยขาว ก็เช่นกัน นอกจากจำหน่ายในประเทศแล้วยังส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย เป็นเครื่องเทศที่เป็นสากล พริกไทย เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี แม้ในพื้นที่ซึ่งมีความชื้นสูง ไม่มีน้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเล 0-1,200 เมตร สภาพเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี ค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ที่ 6.0-6.5 ความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร พื้นที่อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 20 องศาเหนือและใต้ อุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200-2,500 มิลลิเมตร มีแหล่งน้ำที่สะอาดปราศจากสารพิษเจือปน มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.5 สรุปว่าปลูกได้ทั่วไป เนื่องจากสร้างโรงเรือน มุงซาแรนพรางแสงช่วย และมีระบบน้ำ เช่น ระบบพ่นหมอก เพื่อช่วยลดความร้อน สร้างความชื้นให้เกิดความเหมาะสมต่อการเ
คงไม่มีกรอบหรือข้อจำกัดใดๆ สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่ต้องการมาทำเกษตรอินทรีย์ว่าจะต้องมี ความรู้ ร่ำเรียนมาเฉพาะสายเกษตร เดี๋ยวนี้หากสนใจสามารถหาข้อมูล ทั้งเนื้อหา ภาพ เสียง จากสื่อออนไลน์จำนวนมาก ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มีความรู้ระดับไหน ก็สามารถเข้าถึงวงการเกษตรได้ไม่ยาก ขอเพียงใส่ใจให้เต็มที่เท่านั้น อย่างเรื่องราวการทำเกษตรอินทรีย์ของหญิงสาวชาวราชบุรีท่านนี้ ที่ร่ำเรียนจนมีดีกรีปริญญาตรี ด้านบัญชีแล้วเบื่ออยู่กับตัวเลขที่นั่งทำงานในห้องแอร์ แต่กลับมาชอบเข้าสวนตากแดดปลูกผักอินทรีย์ ส่งขายกลุ่มลูกค้ารักสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น พร้อมจับมือกับกลุ่มสมาชิกขยายผลส่งพืชผักผลไม้เข้าโมเดิร์นเทรด คุณผกามาศ เพิ่มแสงสุวรรณ หรือ คุณนก เจ้าของไร่ทรงสุวรรณ อยู่เลขที่ 48/1 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เล่าที่มาของความชอบทำเกษตรว่า แต่เดิมทำงานด้านบัญชีอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยนิสัยที่ชื่นชอบปลูกต้นไม้ จึงใช้เวลาในวันหยุดกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด แล้วทำสวนปลูกพืชไว้เป็นงานอดิเรก เนื่องจากที่บ้านมีพื้นที่ในการเลี้ยงวัวนมอยู่ ภายหลังลงมือปลูกพืชผักหลายชนิดจนประสบความสำเร็จ ทำให้ยิ่งมีความรู้สึกส
มะเดื่อฝรั่ง (Fig) มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตก ตะวันออกกลาง ประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำเมดิเตอร์เรเนียนของยุโรปและแอฟริกาเหนือ พบมากในประเทศตุรกีและกรีซ เป็นพืชสกุลเดียวกับต้นโพธิ์ ต้นไทร มะเดื่อไทย อยู่ในวงศ์เดียวกับหม่อน (มัลเบอร์รี่) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะลำต้นและใบต่างจากมะเดื่อไทย มะเดื่อฝรั่งมีขอบใบหยักลึก 3-5 หยัก ใบเดี่ยวหนาค่อนข้างแข็ง ด้านหนึ่งมีขนอ่อน ส่วนผิวด้านบนหยาบ ผลใหญ่ และมีรสชาติดีกว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิโครงการหลวง ได้นำมะเดื่อฝรั่งเข้ามาปลูกและทำการศึกษาวิจัยมากว่า 25 ปี เพื่อจะให้มะเดื่อฝรั่งเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับชาวไทยภูเขา ทดแทนการปลูกฝิ่น ปัจจุบัน มะเดื่อฝรั่ง กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจ มีผู้สั่งกิ่งพันธุ์มะเดื่อฝรั่งเข้ามา พื้นที่เพาะปลูกเริ่มเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ละรายมีวิธีการเพาะปลูก การดูแลรักษาแตกต่างกันออกไป ที่เซฟตี้ ฟาร์ม (Safety Farm) จังหวัดลำปาง มีวิธีการเพาะปลูกมะเดื่อฝรั่ง การดูแลรักษาที่เป็นรูปแบบเฉพาะ โดยเน้นการปลูกที่ปลอดสารพิษปราศจากสารเคมีที่ใช้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เซฟตี้ ฟาร์ม (Safety Farm) ดำเนินการและบริหารงานโดย คุณปิยะ