อาหารพื้นบ้าน
ผู้ประกอบการร้านอาหารและโรงแรมชื่อดังในจังหวัดตรัง นำกุ้งเคยที่ได้จากชาวประมงพื้นบ้าน มาทำเป็นกะปิลดความเค็ม เพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ชู 4 เมนูเด็ด น่ากิน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567 ที่ห้องอาหารลูกลม ในกะช่องฮิลล์ เต๊นท์ รีสอร์ท ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ได้นำกะปิที่ได้จากการนำกุ้งเคยที่ชาวประมงพื้นบ้านทำเป็นกะปิชั้นดี เค็มน้อย นำมาสังสรรค์เป็นเมนูต่างๆ ของร้านรวมกว่า 50 เมนู เพราะนอกจากจะเป็นการยกระดับกะปิจากกุ้งเคยของชาวประมงพื้นบ้าน สู่อาหารระดับโรงแรมและภัตตาคาร ดีต่อสุขภาพ เพราะปลอดจากการใช้สารปรุงแต่งทุกชนิด และยังเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มทำกะปิในจังหวัดตรัง หันมาทำกะปิ ความเค็มต่ำกันมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค และเมนูใหม่ล่าสุดคือ เมนูซีซ่าร์สลัด, ม้าฮ้อ, พาสต้าผัดพริกแห้งซอสกุ้งเคย เปาะเปี๊ยะข้าวยำสมุนไพรจากข้าวเบายอดม่วง ซึ่งเป็นข้าวเบายอดม่วง เป็นข้าวพื้นถิ่นที่ได้รับเครื่องหมาย GI ของจังหวัดตรัง เมนูที่ 1 เมนูซีซ่าร์สลัด เป็นการนำผักสลัดมาคลุกกับน้ำสลัด ที่นำเอากะปิ กระเทียม พริกแห้ง พริกไทยดำ ส้มจี๊ด น้ำตาล น้ำปลา มาปั่นก่อนจะนำคลุกให้เข้ากั
ช่วงฤดูร้อนแบบนี้ นอกจากผักตลาดจะหายาก ราคาแพง แถมสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ร้านรวงแผงผักในตลาดสดพลอยปิดไปเสียมากแล้ว ผักยืนต้นที่จะพอหาเก็บได้ตามข้างทางก็ไม่ค่อยแตกยอดแตกใบ ถ้าเราไม่ได้เตรียมไปตัดแต่งกิ่งไว้ก่อนหน้า อีกทั้งที่ดินรกร้างย่านชานเมืองและต่างจังหวัดก็ถูกหักล้างถางพงปลูกกล้วยปลูกมะนาวอย่างปัจจุบันทันด่วน พลอยทำให้พื้นที่ที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “ป่าอาหาร” ที่คนเก็บหาของป่ากิน (gatherer) เคยสามารถเก็บพืชผักยืนต้น หรือผักล้มลุกมากินได้ สูญหายไปมากเลยทีเดียว แต่ก็มีพืชบางชนิดนะครับ ที่พอจะออกดอกออกผลให้เก็บกินได้บ้าง โดยที่เราไม่ต้องไปจัดการอะไรกับมัน อย่างหนึ่งก็คือต้นกระถินข้างทาง ที่อยู่ในช่วงติดฝักแก่ฝักอ่อนให้เก็บได้ แล้วก็ต้นคูน หรือราชพฤกษ์ (Cassia fistula) ที่ทางราชการปลูกเรียงรายเป็นไม้ประดับไว้ริมถนน ออกดอกเป็นพวงระย้าสีเหลืองสดทั่วทุกมุมเมืองเวลานี้ ดอกคูนนั้นกินสดๆ หรือจะดอง ยำ แกงส้มก็ได้ครับ เฉพาะแกงส้มดอกคูนนั้น เราแกงเปล่าๆ เลย หรือจะเอาดอกคูนไปชุบไข่ทอดเสียก่อน เหมือนทำแกงส้มชะอมไข่ก็ยังได้ อีกอย่างหนึ่งที่อยากชวนไปหาเก็บ ชวนลองทำ ลองกิน เพราะว่าเป็นช่วงท
หอยเชอรี่ เดิมเป็นหอยน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยนำเข้ามาครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ในฐานะของหอยที่กำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายราวก่อนปี พ.ศ. 2530 ต่อมาได้มีผู้คิดจะเลี้ยงเพาะขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค แต่ยังไม่ได้รับความนิยมจึงปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ จนกลายเป็นปัญหาชนิดพันธุ์ต่างถิ่น แต่ในปัจจุบันนี้ หอยเชอรี่ได้กลับมาทวงบัลลังก์ความนิยมคืน จากกระแสอาหารรสแซ่บฉบับพี่น้องชาวอีสาน ที่ได้มีการนำเอาหอยเชอรี่ที่หลายคนไม่ต้องการมาปรุงใส่สรรค์สร้างในเมนูอาหารอย่างยำและส้มตำ จนทำให้ตอนนี้กระแสการเลี้ยงหอยเชอรี่ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจกลับมาอีกครั้ง และประสบความสำเร็จในการสร้างรายได้ด้วยการต่อยอดแปรรูปออกมาให้มีรูปแบบที่น่ากินมากยิ่งขึ้น คุณชฎาพร เบญมาศ หรือ คุณเวย์ อยู่บ้านเลขที่ 4/2 หมู่ที่ 6 ตำบลนิยมชัย อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี อดีตครูสอนดนตรี หันเอาดีด้านการเกษตร จากการปูพื้นฐานทำสวนผสมผสาน เลี้ยงหนูพุกสร้างรายได้เสริมควบคู่กับงานประจำมาก่อน จนเกิดความมั่นใจว่าอาชีพเสริมที่ทำอยู่จะสามารถต่อยอดสร้างรายได้หลั
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ชะมวงพืช ชะมวง ไม้ยืนต้นอยู่ในป่าเขตร้อนชื้นหรือพื้นที่ชื้นแถวเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ในเมืองไทยมีมากทางภาคใต้ ภาคตะวันออก โดยเฉพาะภาคตะวันออก เอาใบที่ให้รสเปรี้ยวปรุงลงในแกงเผ็ดโดยใส่หมูหรือกระดูกหมูอ่อน รู้จักกันทั่วไปว่า “แกงหมูชะมวง” จนเป็นเอกลักษณ์ของภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรี ทั้งที่จังหวัดระยองและจังหวัดตราดก็มีแกงชะมวงแบบเดียวกับที่จังหวัดจันทบุรีเหมือนกัน แต่ดูเหมือนว่าแกงหมูชะมวงเป็นแกงเฉพาะถิ่นจันทบุรีไปแล้ว ใครไปเที่ยวจันทบุรีก็เป็นต้องถามหาแกงหมูชะมวงกันทั้งนั้น อย่ากระนั้นเลย เข้าครัวไปด้วยกัน ทำแกงหมูชะมวงกันดีกว่าไหม เครื่องปรุงพริกแกง พริกชี้ฟ้าแห้งแกะเมล็ดออก 10 เมล็ด พริกขี้หนูแห้งแกะเมล็ดออก 8 เมล็ด ตะไคร้หั่นซอย 6 ช้อนโต๊ะ หอมแดงหั่นซอย 5 ช้อนโต๊ะ กระเทียมหั่นซอย 4 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่นซอย 2 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูดหั่นซอย 1 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ กะปิห่อใบตองลนไฟให้หอม 1.5 ช้อนโต๊ะ วิธีทำเครื่องพริกแกง นำเครื่องพริกแกงทั้ง 7 รายการลงกระทะ คั่วไฟอ่อนๆ จนได้กลิ่นหอม สังเกตที่พริกถ้าพริกเริ่มแห้งใกล้ไหม้ ให้ตักเครื่องพริกแกงทั้งหมดลงครก พร
ช้อป ชิม ชิล เรียกได้ว่า มีครบ สำหรับที่บ้านตลาดบางเสร่ หมู่ที่ 4 อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนชายทะเลสุดเก๋ ในสไตล์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่นักท่องเที่ยวลงมือปฏิบัติ หรือ D-HOPE ด้วยถิ่นฐานทำเลที่ตั้งของชุมชนเป็นที่อยู่อาศัยริมชายฝั่งอ่าวไทย ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำคุณภาพชั้นดี ชาวบ้านอยู่กันแบบพี่น้อง ประกอบอาชีพหลักคือ ทำประมงชายฝั่ง และเป็นชุมชนที่มีประวัติชุมชนอันยาวนาน เกิดเป็นเสน่ห์ที่นักท่องเที่ยวหลงใหล แม้บางเสร่จะเริ่มรายล้อมด้วยความเจริญ จากสิ่งปลูกสร้างความสะดวกมากมาย แต่ในส่วนของหมู่ที่ 4 ชุมชนเก่า บ้านตลาดบางเสร่ ยังมีเสน่ห์และคงร่วมสืบสานไว้ซึ่งวัฒนธรรมท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี และอัตลักษณ์ชุมชนประมงพื้นบ้าน โดยชาวบ้านในชุมชนได้ร่วมแรงสืบสาน วัฒนธรรมท้องถิ่น เปิดบ้านขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น รูปแบบคล้ายตลาดชุมชนเล็กๆ ขายของหน้าบ้าน ไม่ว่าจะเป็น อาหารพื้นบ้าน จัดแสดงหัตกรรมพื้นถิ่น เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตถิ่นประมง ชุมชนเก่า ฟังเรื่องเล่าประวัติชุมชน อุดหนุนผลิตภัณฑ์
เคยได้ยินชื่อ แกงรัญจวน มานานแล้วเมื่อตอนเด็กๆ และเคยเข้าครัวช่วยท่านแม่ทำกับข้าวอยู่เป็นประจำ มีอยู่วันหนึ่งท่านแม่ทำแกงรัญจวน และก็ช่วยทำเหมือนเดิม จำ (ได้ว่ามีน้ำพริกกะปิเหลืออยู่ก้นถ้วยอยู่พอประมาณ ซึ่งน้ำพริกกะปิก้นถ้วยที่เหลือกลายเป็นพริกแกงในเวลาต่อมา ท่านแม่หั่นเนื้อใส่ พร้อมตะไคร้ซอย หอมแดงบุพอแตก ตำพริกขี้หนูสวนใส่ไปหน่อย ละลายเข้ากับน้ำพริกกะปิก้นถ้วย พอเดือดใส่เนื้อหั่นลงไป เมื่อเนื้อเริ่มซึมซับน้ำแกง ใส่ตะไคร้ซอย พร้อมหอมแดง ใส่พริกขี้หนูโขลกหยาบๆ ลงไป คนให้เข้ากัน จบลงด้วยใส่โหระพาอีกกำมือ จากนั้นตักลงชามบีบมะนาวพอเปรี้ยวติดปลายลิ้น ได้แกงชามหนึ่งเรียกว่า “แกงรัญจวน” จำได้จากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ไม่ค่อยเห็นแกงรัญจวนอีกเลย โดยเฉพาะร้านข้าวแกง เพิ่งจะมีคนพูดถึงบ้างในเว็บไซต์บ้างเกี่ยวกับ กินๆ เที่ยวๆ และการทำอาหาร ซึ่งก็มีหลายเว็บไซต์และก็เหมือนกันกับครั้งที่เคยช่วยท่านแม่ทำ มาคราวนี้ทำน้ำพริกกะปิ กินกับผักจิ้ม และปลาทู และเหลืออยู่ก้นถ้วยราว 5 ช้อนโต๊ะมากพอสมควรค้างคืนอยู่ในตู้กับข้าว นึกเสียดายน้ำพริกก้นถ้วยที่ค้างคืน ก็เลยนึกถึงข้าวผัดน้ำพริกลงเรือ แต่ต้องทำเครื่องปรุงเพิ่
ชะอม ผักพื้นบ้านไทยปลูกกันทุกภาค คนไทยผูกพันกับชะอมมาช้านาน อย่างน้อยก็ปลูกไว้เป็นรั้วบ้าน ด้วยว่าเป็นไม้พุ่มขนาดกลางมีหนามแหลมคมทั้งกิ่งก้าน ป้องกันผู้บุกรุกเข้าบ้านยามวิกาลได้ดี เป็นไม้พุ่มแถมยอดอ่อนนำมาทำกับข้าวกินได้หลายอย่าง ทั้งทำแกงอ่อม แกงเปรอะ ชุบไข่ทอดแกงส้ม ชุบไข่ทอดเป็นผักจิ้มน้ำพริก ชะอมจึงผูกพันกับวิถีไทยมาช้านาน โดยเฉพาะนำมาประกอบอาหาร จนชะอมเป็นส่วนหนึ่งของของวัฒนธรรมอาหารไทย ชะอม ชื่อภาษาอังกฤษ Acacia Pennata อยู่ในวงศ์ Minosacae สำหรับชะอมคนไทยมองว่าเป็นพืชสวนครัว เพราะนำมาประกอบอาหารได้หลายรายการ มีคุณค่าทางโภชนาการที่น่าสนใจ จากกองโภชนาการ กรมอนามัย พบว่า ในพืชชะอม 100 กรัม ให้พลังงาน 57 กิโลแคลอรี มีโปรตีน 9.5 กรัม แคลเซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม ส่วนสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า พืชชะอม 100 กรัม มีวิตามินซี 65 มิลลิกรัม มีเบต้าแคโรทีน 280 ไมโครกรัม มีกากใยอาหารถึง 3.90 กรัม คุณสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่งของชะอมคือกากใยอาหารในยอดชะอมทำหน้าที่เป็นด่านป้องกันมะเร็งต่างๆ เอาไว้เพื่อให้ร่างกายลำเลียงทิ้งไปและจากกากใยของชะอมบวกเข้ากับกากใยของพืชอื่
ขั้นตอนกว่าจะมาเป็นข้าวเม่า ขนมพื้นบ้านที่พี่น้องเกษตรกรชาวนารู้จักกันดี ต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง โดยจุดเด่นข้าวเม่าแม่วิลัยอยู่ที่ความหอม หวาน อร่อย ทำสดใหม่ทุกวัน ด้วยขั้นตอนกระบวนการแปรรูปที่พิถีพิถันใส่ใจทุกรายละเอียด เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวสำหรับการนำมาทำข้าวเม่า ที่ต้องเป็นข้าวเหนียวเท่านั้น รวมถึงเทคนิคพิเศษในการทำแต่ละขั้นตอนที่ไม่ง่ายกว่าจะสำเร็จออกมาเป็นข้าวเม่าแม่วิลัย
มันสาคู หรือ สาคูไทย บางครั้งเรียกว่า สาคูขาว หรือ สาคูวิลาส เป็นไม้ล้มลุกมีอายุอยู่ได้หลายฤดู การปลูกมันสาคูส่วนใหญ่เพื่อสกัดแป้งจากเหง้า แป้งที่ได้มีสีขาว ไม่มีรส และไม่มีกลิ่นเมื่อแห้ง แป้งจากเหง้ามันสาคู ถือเป็นคาร์โบไฮเดรตบริสุทธิ์จากธรรมชาติแหล่งหนึ่งที่ปราศจากโปรตีนกลูเตนและคุณภาพดี ใช้ในการทำบิสกิต ขนมอบ เค้ก พุดดิ้ง และอาหารพื้นเมือง และจากคำบอกเล่าของเกษตรกรผู้ปลูกมันสาคูที่จังหวัดขอนแก่นเล่าให้ฟังว่า มันสาคูถือเป็นมันพื้นบ้านโบราณที่คนเฒ่าคนแก่นำมาต้มกินเป็นอาหารมานานแล้ว โดยในสมัยก่อนทุกบ้านจะมีปลูกติดบ้านไว้ บ้านละ 1-2 ต้น แต่ในปัจจุบันมันสาคูเริ่มหากินยาก มันสาคูจึงกลายเป็นพืชทางเลือกสร้างรายได้ที่น่าสนใจไม่น้อย คุณจุฑารัตน์ ปัสสา หรือ พี่จุ๊ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 206 หมู่ที่ 9 ตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น อดีตพนักงานประจำ ผันตัวสู่เกษตรกรปลูกมันสาคูสร้างรายได้ที่ตอนนี้ตลาดกำลังไปได้สวย พี่จุ๊ เล่าถึงจุดเริ่มต้นการปลูกมันสาคูให้ฟังว่า เมื่อก่อนทำงานเป็นพนักงานประจำอยู่ที่บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี พร้อมกับการขายของออนไลน์เป็นอาชีพ
น้ำปู เป็นการใช้ประโยชน์จากปู โดยเฉพาะการนำปูที่ดูไร้ค่า มาจัดการทำเป็นของกินที่อร่อยได้สุดวิเศษ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เรียกว่า “น้ำปู” เป็นของกินที่เป็นเอกลักษณ์ของคนทางเหนือ พอๆ กับ “ปลาร้า” เป็นของกินที่เป็นเอกลักษณ์ของเพื่อนพ้องชาวอีสาน หรือ “บูดู” ของชาวใต้ หลายคนคงเกิดความอยากรู้แล้วซิว่า ปูนาที่ดูไม่มีราคาอะไร จะมาเป็น “น้ำปู” ของกินแสนอร่อยของชาวเหนือได้อย่างไร ตำนานการทำน้ำปู ไม่เคยมีใครกล่าวถึงว่า ทำไมทำน้ำปู ทำยุคไหน เมื่อไร ไม่ปรากฏ แต่ในช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม ถือว่าช่วงนี้หากทำน้ำปูแล้วจะเลิศรสที่สุด ความอร่อยของน้ำปูช่วงนี้ถือว่าสุดยอดเลยทีเดียว พอหมดฤดูนี้ไปจะไม่มีการทำน้ำปูในภาคเหนือเลย น้ำปู 1 ปีทำได้เพียงครั้งเดียว หากเลยช่วงนี้ไปจะไม่อร่อย การทำน้ำปูไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ต้องอดทนพอสมควรจึงจะผลิตน้ำปูออกมาได้ ยิ่งไปกว่านั้น น้ำปูจะทำในหมู่บ้านไม่ได้ ต้องไปทำที่ห้างนา กลางทุ่งนา ตามป่าช้า เพราะเวลาต้มน้ำปูนั้นต้องใช้เวลาเป็นวันๆ และกลิ่นของน้ำปูจะแรงจัดมาก บางคนแพ้กลิ่นขนาดว่าเป็นลมเลยก็มี แต่คนที่แพ้น้ำปูจริงๆ มีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่เมื่อลิ้มลองไปแล้ว จะติดใ