อ้อย
สระแก้ว ขาดแรงงานตัดอ้อย ปีที่ผ่านมาอ้อยค้างไร่กว่าหมื่นตัน โรงงานต้องจ่ายชดเชย ไร่ละ 2,000 บาท ยังไม่จ่ายให้ชาวไร่กว่า 10 ล้าน จนถึงบัดนี้โรงงานยังไม่จ่าย เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 20 มกราคม 256 นายมนตรี คำพล นายกสมาคมเกษตรกรชายแดนบูรพา พร้อมด้วยกรรมการสมาคม ได้จัดแถล่งข่าว ที่ห้องประชุมของสมาคม ถึงปัญหาเกี่ยวกับแรงงานตัดอ้อยเกิดขาดแคลนอย่างรุนแรง และหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยต่อไป ทางด้าน นายมนตรี คำพล นายกสมาคมเกษตรกรชายแดนบูรพา เผยว่า ขณะนี้อยู่ฤดูกาลหีบอ้อย และอ้อยต้องตัดส่งโรงงานให้ทันตามกำหนดการหีบอ้อย แต่ขณะนี้แรงงานตัดอ้อยมีไม่เพียงพอ โดยขณะนี้แรงงานตัดอ้อยชาวกัมพูชาที่มาแล้ว จำนวน 15,000 คน จากเดิมต้องใช้แรงงานตัดอ้อย ให้ทันฤดูกาล ถึง 22,000 คน สาเหตุทึ่แรงงานตัดอ้อยจากกัมพูชาลดน้อยลง เพราะว่าทางกัมพูชาเศรษฐกิจเขาค่อนข้างทึ่จะขยายตัวมากกว่าเดิม งานก่อสร้างในกัมพูชาก็เยอะ และแรงงานส่วนหนึ่งทางญี่ปุ่น เกาหลี เอาแรงงานเข้าไป ก็เลยมีแรงงานกรรมกรออกมาน้อย ทำให้เราขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก ในขณะที่แรงงานมีน้อย ส่งผลกระทบต่อการตัดอ้อย ถ้าตัดอ้อยสดจะช้ามาก และอ้อยของเราลำต้นค่อนข
สองสามี – ภรรยา ที่ชอบค้าขายและความท้าทาย เงินเดือนรวมกันเฉียดแสน ตัดสินใจโบกมือลาชีวิตมนุษย์เงินเดือนในเมืองกรุง ออกเดินทางตามความฝัน ด้วยการปักหมุดสร้างสวนไผ่แห่งความสุข 9 ไร่ ที่จังหวัดอุดรธานี เก็บหน่อไม้ขายวันละ 30 กิโลกรัม ขายกิ่งพันธุ์ร่วมด้วย รายได้เดือนละ 75,000 บาท ชีวิตแฮปปี้ ได้อยู่กับลูกชาย 2 คน ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ แถมได้กินหลากเมนูอร่อยๆ ทำจากหน่อไม้ตลอดทั้งปี คุณเพ็ญศิริ ลลิตวิภาส หรือ คุณโบว์ ภรรยาคุณสมเจตน์ หรือ คุณสิงห์ สองสามีภรรยาเจ้าของสวนไผ่ ณ บ้านทุ่ง ที่จังหวัดอุดรธานี เล่าว่า ฝ่ายสามีเคยทำงานด้านคอมพิวเตอร์ 14 ปี รับหน้าที่เป็นอาจารย์สอนระบบเซิร์ฟเวอร์ ณ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เงินเดือนราว 60,000 บาท ส่วนตัวเองจบบัญชี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทำธุรกิจส่วนตัว ขายงานศิลปะตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ระบายสี และกระเป๋าผ้าลดโลกร้อน รวมรายได้ 2 คน ต่อเดือนก็เกือบ 1 แสนบาท อย่างไรก็ตาม แม้รายได้จะดี แต่ภรรยาในวัย 37 ปี บอกว่า ไม่ได้ชื่นชอบวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ตรงกันข้ามวางแผนบั้นปลายชีวิตไว้ว่า อยากมีครอบครัวที่อบอุ่น อยากเลี้ยงลูกเอง และที่สำคัญอยากประกอบอาชีพอิสระ นี่คือ
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น พืชตระกูลข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ข้าว และผัก ให้เฝ้าระวังการระบาดของหนอนศัตรูพืช Fall Armyworm นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร รักษาราชการแทนอธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ขณะนี้พบหนอนศัตรูพืช Fall Armyworm กำลังแพร่ระบาดอย่างมากในทวีปแอฟริกาและกำลังแพร่ระบาดไปประเทศเยเมนและอินเดีย โดยประเทศสมาชิกได้เรียกร้องให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เร่งให้ความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ซึ่งหนอนศัตรูพืชชนิดนี้ เคยสร้างความเสียหายอย่างมากในพื้นที่เกษตรของสหรัฐอเมริกาและอเมริกาใต้ สำหรับหนอนศัตรูพืช Fall Armyworm (FAW) ที่พบการระบาดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spodoptera frugiperda เป็นหนอนศัตรูทำลายพืชเศรษฐกิจกว่า 80 ชนิด เช่น พืชตระกูลข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ข้าว และผัก ที่สร้างความเสียหายมาก ในระยะหนอนกัดกินใบ สามารถแพร่กระจายทางอากาศได้อย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสแพร่เข้ามาระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรจึงสั่งการให้สำ
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่าย น้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2560/2561 เป็น 2 ราคา ตามมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2561 ซึ่งได้ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เรื่อง การจัดทำประมาณการรายได้ การกำหนดและการชำระราคาอ้อยและค่าผลิตน้ำตาลทราย และอัตราส่วนของผลตอบแทนระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงาน พ.ศ. 2561 และตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ดังนี้ 1. กำหนดราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2560/2561 ในเขตคำนวณราคาอ้อยที่ 1 2 3 4 6 7 และ 9 ในอัตรา 880 บาท/ตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 52.80 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. ต่อเมตริกตัน และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิต ปี 2560/2561 เท่ากับ 377.14 บาท/ตันอ้อย 2. กาหนดราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2560/2561 ในเขตคำนวณราคาอ้อยที่ 5 ในอัตรา 830 บาท/ตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น/ลง
นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2559/60 อัตราเฉลี่ยทั่วประเทศในอัตรา 1,083.86 บาท/ตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 65.03 บาทต่อ 1 ซี.ซี.เอส.ต่อเมตริกตัน และอัตราผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายเท่ากับ 464.51 บาท/ตันอ้อย พร้อมกับให้คิดคำนวณผลตอบแทนการผลิตที่ 15.28% และให้หักเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ตามสัดส่วน 70 ต่อ 30 ในอัตราตันละ 5 บาท โดยเป็นส่วนของชาวไร่อ้อยที่ 3.50 บาทต่อตันอ้อย และส่วนของโรงงานน้ำตาล 1.50 บาทต่อตันอ้อย ทั้งนี้ ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายที่กำหนดครั้งนี้สูงกว่าราคาอ้อยขั้นต้นที่แยกตามเขต เขต 1,2,3,4,6,7,9 ที่ 1,050 บาทต่อตันอ้อย เขต 5 ที่ 980 บาทต่อตันอ้อย ทำให้โรงงานน้ำตาลจะต้องชำระค่าอ้อยเพิ่มให้แก่ชาวไร่จนครบตามราคาอ้อยขั้นสุดท้ายภายใน 15 วัน นับแต่ประกาศราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ซึ่งหลังครม. กำหนดราคาอ้อยครั้งสุดท้ายนี้แล้ว ชาวไร่จะได้รับค่าอ้อยสำหรับนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเพาะปลูกและบำรุงรักษา และการดำรงชีพต่อไป ซึ
วันก่อนได้ไปชิมน้ำอ้อยสดอินทรีย์ ที่ตลาดสุขใจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเจ้าของไร่อ้อยคือ คุณยุทธพงษ์ กอบกาญจนา วัย 51 ปี มาคั้นเองขายเอง จุดเด่นนอกจากจะเป็นน้ำอ้อยอินทรีย์แล้ว ยังให้ลูกค้าได้เลือกด้วยว่าจะใส่น้ำมะกรูด น้ำมะนาว หรือเป็นน้ำอ้อยล้วนๆ ลูกค้าหลายรายเลือกใส่มะกรูด พอดื่มแล้วต่างติดใจ เพราะมีรสเปรี้ยวผสมไปด้วย อีกทั้งมีกลิ่นหอมของมะกรูด ดื่มแล้วชื่นใจดี ปลูกแบบเคมี ค่าใช้จ่ายสูง ว่าไปแล้ว เจ้าของไร่อ้อยอินทรีย์รายนี้มีความน่าสนใจหลายอย่าง โดยเฉพาะการนำน้ำอ้อยมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยทำน้ำอ้อยคั้นน้ำเป็นหลัก และยังทำน้ำตาลทั้งแบบน้ำตาลปี๊บ และแบบน้ำตาลทราย รวมทั้งไซรัปด้วย ซึ่งคงมีชาวสวนน้อยรายที่สามารถทำแบบนี้ได้ คุณยุทธพงษ์ กอบกาญจนา ผู้เป็นเจ้าของไร่จอมยุทธ์ ในวัยหนุ่มหลังจบปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาพืชไร่นา เขาเคยทำงานกับ บริษัท คาร์กิลล์เมล็ดพันธุ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของ นักธุรกิจชาวอเมริกัน ทำหน้าที่ส่งเสริมการขายเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม ที่จังหวัดสระแก้ว และที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ทำอยู่ 3 ปีกว่า จากนั้นมาช่วยกิจการโต๊ะจีนของครอบค
“ผู้ใหญ่อี๊ด – อนันต์ อินทร” หนุ่มใหญ่ร่างบาง ผิวคล้ำ พูดจาสุขุม เกษตรกรยุคใหม่ที่ใช้หลักทฤษฎีเกษตรพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาพัฒนาบ้านเกิด จากนักกฎหมายผันตัวเองเป็นเกษตรกร เจ้าของไร่ธันยจิราพร ไร่อ้อยที่ใหญ่สุดในนครสวรรค์ ส่งต่อผลผลิตสู่กลุ่มโรงงานน้ำตาลมิตรผล “การทำอะไรก็ตาม อย่างแรกเราต้องมีใจรักก่อน แล้วมาศึกษา พร้อมกับวางแผน ซึ่งการทำงานของผมจะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง (ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี) 2 เงื่อนไข (ความรู้และคุณธรรม) ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้กับงานและการดำเนินชีวิตในประจำวัน” ผู้ใหญ่อี๊ด เล่าว่าหลังจากจบการศึกษาระดับม.6 แล้วเรียนต่อในด้านกฎหมาย จากนั้นหันมาทำไร่อ้อย เริ่มต้นลงมือทำเองทุกอย่าง โดยนำหลักต่างๆ มาประยุกต์ใช้ เน้นการคิดต่าง ผู้ใหญ่อี๊ดเล่าเพิ่มเติมว่าเริ่มทำไร่อ้อยตั้งแต่ปี 2529 จนถึงตอนนี้อายุ 49 ปีแล้ว ปัจจุบันมีไร่อ้อยที่เป็นของตัวเอง 400 ไร่ และมีลูกไร่อีก 3,000 กว่าไร่ การทำไร่อ้อย มีกระบวนการทำอย่างไรบ้าง? -สิ่งแรกคือเราต้องรู้เกี่ยวกับระบบดินก่อน แล้วนำเอาเรื่องของวิชาการเข้ามาปรับใช้ โดยการนำดิ
“น้ำ อุณหภูมิ และแสงแดด” นับเป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อผลผลิต คุณภาพ และการเก็บเกี่ยวของอ้อย ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกอ้อยส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ต้องอาศัยปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก หากเจอภัยแล้งอาจสร้างความเสียหายต่อตออ้อยและอ้อยปลูกได้ ดังนั้น การวางแผนปลูกอย่างถูกต้อง และปลูกในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม จะช่วยให้ต้นอ้อยได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอดช่วงการเจริญเติบโต ผลผลิตอ้อยจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น กลุ่มวังขนาย ผู้ผลิตน้ำตาลออร์แกนิก และบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้นำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ร่วมมือกันจัดทำ โครงการ วังขนาย-คูโบต้า พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เพื่อยกระดับศักยภาพเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ ให้ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ลดปัญหาด้านแรงงานไปพร้อมๆ กัน ปลูกอ้อยอินทรีย์ ที่มหาสารคาม คุณนธัญรักษ์ ณ วังขนาย ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มวังขนาย เปิดเผยว่า กลุ่มวังขนาย ร่วมมือกับสยามคูโบต้า จัดโครงการส่งเสริมการปลูกอ้อยอินทรีย์ที่มีต้นทุนต่ำ และให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันมีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการปลูกอ้อยอินทร
ผู้บริโภคเตรียมแบกรับราคาน้ำตาล 5 บาทต่อ หลัง “สูตรลอยตัวน้ำตาล” จบไม่ลง สอน.เล็งให้ยึดกฎหมายเดิมฤดูกาลนี้ไปก่อน เผยชาวไร่ชงบวกเพิ่มราคาขาย 3 บาทให้ผู้บริโภคแบกเหมือนเดิม แต่โรงงานหวั่นผิดกฎหมาย หลังจากที่กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เตรียมประกาศลอยตัวน้ำตาลที่ขายภายในประเทศในวันที่ 1 ธันวาคม 2560 และแจ้งว่าจะมีการยกเลิกระบบโควตา ก. (น้ำตาลบริโภคภายในประเทศ) โควตา ข. (ส่งออกโดยผ่านบริษัทอ้อยและนํ้าตาลไทย จำกัด (อนท.) จำนวน 8 แสนตัน) โควตา ค. (น้ำตาลส่งออกไปต่างประเทศ ส่วนที่เหลือโดยหักโควตา ก. และโควตา ข. ออกจากปริมาณน้ำตาลที่ผลิตได้ทั้งหมด) แต่ล่าสุดมีแนวโน้มว่าไม่สามารถประกาศลอยตัวได้ทันภายในวันที่ 1 ธันวาคมนั้น แหล่งข่าวจากวงการน้ำตาล เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้เรื่องการลอยตัวยังมีหลายประเด็นที่ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลไม่สามารถตกลงกันได้ ส่งผลให้ต้องมีการเลื่อนการประกาศลอยตัวออกไป โดยเฉพาะประเด็นที่ชาวไร่อ้อยมีความพยายามจะให้โรงงานบวกเงินเพิ่มเข้าไปในราคาขาย 2-3 บาท เหมือนกับโครงสร้างเดิมที่ผลักภาระให้ผู้บริโภคด้วยการบวกเงินเพิ่ม 5 บาทเข
มิตรผลจับมือโรงงานแม่รวย ศึกษากระบวนการปลูกถั่วลิสง หวังส่งเสริมชาวไร่อ้อยปลูกป้อนโรงงานถั่วโก๋แก่ หลังประสบปัญหาขาดวัตถุดิบอย่างหนัก พร้อมแจ้งเกิดศูนย์ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง นำร่อง 70 แห่ง 8 จังหวัดปีนี้ ก่อนขยายครบ 7,000 แห่งทั่วประเทศในอนาคต นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มธุรกิจ กลุ่มงานอ้อย กลุ่มมิตรผล เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ทางกลุ่มมิตรผลได้ร่วมกับบริษัท โรงงานแม่รวย จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายถั่วลิสงกรอบเคลือบกะทิ ภายใต้แบรนด์ “โก๋แก่” เพื่อศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตถั่วลิสงในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว และการดูแลรักษาหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ถั่วลิสงที่มีคุณภาพดี ปลอดภัยจากสารอะฟลาทอกซิน พร้อมส่งเป็นวัตถุดิบเข้าโรงงานแปรรูป หลังจากนั้นจะเตรียมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชาวไร่อ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปปลูกเสริมหลังการเก็บเกี่ยวอ้อยระหว่าง 4-5 เดือน เนื่องจากมีตลาดรองรับชัดเจน เพราะทางบริษัท โรงงานแม่รวยกำลังขาดแคลนวัตถุดิบถั่วลิสงอย่างมาก “ก่อนหน้านี้ มิตรผลให้นโยบายชาวไร่อ้อยไปปลูกพืชตระกูลถั่วบำรุงดิน แรก ๆ ให้ปลูกถั่วเหลืองอย่างเดียวสลับ