เศรษฐกิจพอเพียง
หากพูดถึง “สวนผักบ้านคุณตา” ที่สุขุมวิท 62 กรุงเทพมหานคร ในสายกรีนจะรู้จักว่าเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรคนเมือง ซึ่งวันนี้เราพาท่านผู้อ่านไปรู้จักเจ้าของสวนผักบ้านคุณตาซึ่งก้าวสู่ความเป็นเจ้าของพื้นที่เกษตรคนเมืองใจกลางเมืองหลวงของไทย นั่นคือ คุณกรชชนก หุตะแพทย์ หรือ “น้องฝ้าย” ซึ่งคลุกคลีกับวิถีชีวิตความพอเพียงตั้งแต่วัยเยาว์ จนมาถึงวัย 36 ปี ที่เปรียบชีวิตของเธอได้กับเป็น “ต้นไม้” ที่เติบโตด้วยการมีต้นแบบที่ดีให้เรียนรู้ถึงความพอเพียง ต้นแบบนั้น คือ คุณพ่อคมสัน หุตะแพทย์ ผู้อำนวยการ มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา (Media Center for Development Foundation : MCDF) ซึ่งมีบทบาทขับเคลื่อนงานด้านเกษตรกรรมธรรมชาติมาไม่ต่ำกว่า 30 ปี โดยเน้นงานด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการอบรม เพื่อส่งเสริมด้านเกษตรอินทรีย์ และเกษตรยั่งยืน ซึมซับต้นแบบที่ดี ตามรอยพ่อสู่เกษตรพอเพียง การซึมซับต้นแบบที่ดี ทำให้คุณกรชชนกเรียนต่อปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และไปต่อยอดเรียนต่อปริญญาโทที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ สาขาสิ่งแวดล้อม โดยตรง เรียกว่า เอาจริงเอาจังกับงานด้านสิ่งแวดล้อมก่อน
หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ “โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ บางเบิด” เนื้อที่ 448 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านน้ำพุ ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้อยู่ติดทะเล มีสภาพเป็นดินทรายชายทะเลที่ถูกคลื่นทับถมกันเป็นเวลานานจนกลายสภาพเป็นเนินทราย (Sand Dune) กระจายอยู่ทั่วไป เดิมสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการวิจัยปลูกต้นไม้โตเร็วชนิดต่างๆ เป็นจำนวนมากเพื่อศึกษาผลกระทบที่ดินดังกล่าว ต่อมาสำนักงานจัดการทรัพยากรที่ดินส่วนพระองค์ ซึ่งดูแลรับผิดชอบดูแลที่ดินแปลงนี้อยู่ได้นำกลับมาเพื่อพัฒนา หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9 ) เสด็จพระราชดำเนินกลับจากจังหวัดชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2541 มีพระราชกระแสรับสั่งให้โครงการพัฒนาส่วนพระองค์รับผิดชอบ โครงการพัฒนาที่ดินแปลงนี้ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ โดยให้อนุรักษ์สภาพแวดล้อมเดิมซึ่งมีสภาพเป็นสันทรายป่าชายหาด พัฒนาพื้นที่เพื่อการเกษตร โดยการปรับปรุงดินตามความเหมาะสม เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาวิจัยและพัฒนาส่งเสริมอาชีพและแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดชุมพร เนื่องจากพื้นท
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี เตรียมจัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “จากราก สู่รุ่น” สืบสานและส่งต่อภูมิปัญญาไทยด้านการเกษตรจากอดีตสู่ปัจจุบัน นำเสนอภูมิปัญญาดั้งเดิมสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมใหม่ ให้สอดคล้องกับยุคสมัย ภายในงานจะได้พบกับนิทรรศการและกิจกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาพื้นบ้านและวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย พร้อมอบรมวิชาของแผ่นดิน และ Workshop โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online ชม ช้อป ผลผลิตเกษตรปลอดภัยจากร้านค้าเกษตรกรเครือข่ายกว่า 100 ร้าน ระหว่างวันที่ 2 – 3 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี นางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ และโฆษกสำนักงานพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “จากราก สู่รุ่น” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยนำเสนอพัฒนาการของเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่
ในยุคที่เศรษฐกิจอย่างทุกวันนี้ มีผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าอาชีพการงานจะสร้างกำไรได้มากแค่ไหน ก็มีอันต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ดั่งการโดนต้องคำสาปเลยทีเดียว แต่สำหรับเขาคนนี้ คุณอภิศักดิ์ พันธุ์ไชย ที่เล็งเห็นถึงทางออก โดยเปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ให้เป็นเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางงานเกษตร และเป็นการเพิ่มรายได้ไปในตัว “เกษตรนี่มันไม่ใช่ทางเลือก แต่มันเป็นทางรอดของเรา” นี่คือคำกล่าวของคุณอภิศักดิ์ เกษตรกรหนุ่มชาวโคราช ที่อยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ที่ 4 ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผู้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน คุณอภิศักดิ์ พันธุ์ไชย จากนักเรียนนอก สู่การเป็นเกษตรกรพื้นบ้าน คุณอภิศักดิ์ เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนเคยทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ และปริญญาโทเอกภาษาญี่ปุ่น ทำให้มีโอกาสได้โควต้าไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ก็เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้รู้จักกับอาจารย์ที่สอนภาษาญี่ปุ่น ท่านก็มีความรู้ความเข้าใจและค่อนข้างสนใจเรื่องของสหกรณ์การเกษตร ท่านก็มักจะพาไปดูการทำเกษตรในพื้นที่ต่า
ลุงนิล ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้กำเนิดแนวคิด ‘เกษตรคอนโดฯ 9 ชั้น’ ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ คุณสมบูรณ์ ศรีสุบัติ หรือ ลุงนิล เป็นเกษตรกรต้นแบบ อยู่ที่ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ซึ่งพืชผลทางการเกษตรที่ปลูกส่วนใหญ่จะเป็นทุเรียน มีมากกว่า 700 ต้น อยู่ในสวนลุงนิล เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดชุมพรค่อนข้างมาก ลุงนิล เป็นที่รู้จักในนามของเกษตรกรผู้คิดค้น “เกษตรคอนโดฯ 9 ชั้น” ซึ่งจุดเด่นของลุงนิลคือ การได้รับความสนใจจากผู้ไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเกษตรผสมผสานและเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่เน้นใช้พื้นที่ของตนเองที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ และพืชแซม พร้อมกับการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจไปในตัว และนอกจากจุดเด่นของลุงนิลจะอยู่ที่การทำสวนแล้ว ลุงนิลยังเป็นหนึ่งในผู้ที่ดูแลโครงการธนาคารต้นไม้ของจังหวัดชุมพรอีกด้วย เศรษฐกิจพอเพียง กู้วิกฤตชีวิตลุงนิล ลุงนิล เผยถึงแนวคิดการทำเกษตรแบบผสมผสาน 9 ชั้น ว่า ในอดีตลุงนิลเคยทำอาชีพค้าขายมาเป็นเวลานาน แล้วก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ด้วยความที่ลุงนิลในตอนนั้น ต้องการที่จะมีรายได้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ด้วยความอยากรวย จึงมี
การทำสวนยางพารา มีข้อดีหลายประการ เนื่องจากเป็นพืชที่เปิดกรีดน้ำยางได้เกือบทุกวัน สร้างรายได้สม่ำเสมอ มีตลาดรองรับที่แน่นอนเพราะเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมแปรรูปยาง เมื่อครบอายุการตัดโค่น เกษตรกรมีรายได้จากการขายไม้ยางอีกด้วย แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศผู้ผลิตยางพาราอันดับหนึ่งของโลก แต่ไม่สามารถกำหนดราคายางพาราเองได้ ทำให้เกษตรกรต้องเผชิญกับความผันผวนของราคา ส่งผลให้รายได้ไม่แน่นอน ดังนั้น หากใครทำสวนยางพาราในลักษณะพืชเชิงเดี่ยว ถือว่ามีความเสี่ยงสูงมาก การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จึงพยายามปรับแนวคิดเกษตรกรจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว สู่การทำเกษตรผสมผสาน ตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยเลี้ยงสัตว์และมีพืชอื่นปลูกร่วมและปลูกแซมในสวนยางพารา ช่วยให้เกษตรกรมีผลผลิตทั้งพืชและสัตว์หมุนเวียนเข้าตลาดได้ตลอดปี ทำให้ชีวิตมีความมั่นคงและเกิดรายได้อย่างยั่งยืน แนะปลูกพืชผสมผสาน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดร.สุรศักดิ์ ชูทอง อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช กล่าวในฐานะนักวิชาการ และเป็นเกษตรกรชาวสวนยางพาราในช่วงวันหยุดว่า ปัจจุบั
การเปลี่ยนไปทำเกษตรกรรมแบบใช้น้ำน้อยเนื่องจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ทำให้วีระชัย ศรีสด หาทางออกด้วยการทำเกษตรกรรมผสมผสานที่รวมเอาด้านประมง ด้านเกษตรปลูกพืชไม้ผลและปศุสัตว์ไว้ในแปลงเดียวกัน เพราะมองว่าแนวทางนี้ช่วยให้มีอาชีพและสร้างรายได้ที่มั่นคง คุณวีระชัย ศรีสด อยู่บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 8 บ้านโนนแดง ตำบลยาว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันทำเกษตรผสมผสานด้วยการเพาะขายพันธุ์ปลาและกบ ปลูกพืชไม้ผล และเลี้ยงสัตว์ พร้อมนำมูลสัตว์และเศษพืชผักมาผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กลับมาใช้ทุกกิจกรรม ทั้งยังแปรรูปปลาและกบเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสร้างมูลค่า เสริมรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน กิจกรรมด้านประมง เจ้าของฟาร์มรายนี้เริ่มต้นจากการเพาะพันธุ์ปลาขายก่อน เพราะมองว่าใช้เวลาเลี้ยงไม่นานก็มีรายได้แล้ว พันธุ์ปลาที่เพาะ-ขาย ได้แก่ ปลาหมอชุมพร ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาตะเพียน ปลานิลแปลงเพศ (จิตรลดา 4) และกบ พันธุ์ปลาที่เพาะขายจะเน้นชนิดที่คนอีสานตอนล่างรู้จักและนิยมกินเพราะตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง โดยพันธุ์ที่นิยมมากที่สุดคือปลาดุก ปลาหมอ และปลานิล จะเพาะในบ่อซีเมนต์ก่อนแล้วย้ายไปอนุบาลในบ่อดิน ตอนนี้มีบ่อทั
ชื่อตำบลสรรพยา และอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาทนั้น มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอนกุมภกรรณพุ่งหอกโมกขศักดิ์ถูกพระลักษมณ์ พระรามมีพระบัญชาให้หนุมานไปเก็บสังกรณีตรีชวา ซึ่งอยู่ที่เขาสรรพยามารักษาพระลักษมณ์ ปัจจุบันพบว่า บนเขาสรรพยา มีต้นสังกรณีตรีชวาอยู่จริง และพบสมุนไพรที่หายากอื่นๆ เป็นจำนวนมาก จึงเชื่อกันว่าเขาสรรพยาในวรรณคดีดังกล่าว คือ เขาสรรพยาที่ตำบลสรรพยา โดยมีการเล่าขานเป็นตำนานเขาสาปยา (เขาสรรพยา) สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จึงยกย่อง ตำนานเขาสาปยา (เขาสรรพยา) เป็นหนึ่งในมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยนาท พร้อมขึ้นทะเบียน “ตำนานเขาสาปยา (เขาสรรพยา)” ใน บัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม มาตั้งแต่ปี 2562 เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณะได้มีส่วนร่วมสืบสาน ตำนานเขาสาปยา (เขาสรรพยา) ในระยะยาว ศสกร.อำเภอสรรพยา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตำบล(ศสกร.ตำบลสรรพยา) และศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสรรพยา( ศสกร.อำเภอสรรพยา ) มีส่วนร่วมในการสืบสานตำนานเขาสรรพยาแล้ว ยังส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช การปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน สังกรณี
จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนั้น การทำเกษตรเพียงด้านเดียวนั้นไม่สามารถที่จะสร้างรายได้ที่มั่นคงได้ เกษตรกรหลายคนจึงเปลี่ยนมาทำการเกษตรแบบผสมผสานเป็นระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่ได้รับการยืนยันว่าสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นในครัวเรือน เพราะมีผลผลิตออกจำหน่ายที่หลากหลาย ลดปัจจัยการผลิตจากภายนอกสวน ช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร ไม้ใช้สอย และเกิดประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม จึงทำให้เกิดรายได้หลากหลายช่องทาง สร้างเป็นอาชีพที่ยั่งยืนให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี เกษตรผสมผสานเป็นการทำการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป เช่น การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง เพื่อลดความเสี่ยง มีการวางแผนการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิตที่ผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรแบบผสมผสานจะไม่มีคำจำกัดความ ไม่มีกติกาหรือกฎตายตัว ว่าต้องเป็นพืชชนิดใด เลี้ยงสัตว์ชนิดใด เพราะแต่ละพื้นที่และท้องถิ่นมีสภาพทางธรรมชาติที่แตกต่างกัน การเกษตรแบบผสมผสานเป็นการสร้างความร่มรื่นให้พืชหลายชนิดที่ปลูกอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มีการเกื้อกูลกันทางธรรมชาติให้มากที่สุด และสำคัญที่สุดคือผู้ปลูกต้องได้ประโยชน์มากที่สุด แล้วยังสามารถพึ่งพาตน
พื้นที่ที่เกือบไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร และเป็นเกาะแก่งกลางน้ำ เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ถูกทิ้งไว้มาหลายปี เพราะเจ้าของต้องไปทำไร่อ้อยและไร่ข้าวโพดอีกที่หนึ่ง ไม่มีเวลาดูแล กระทั่งเมื่อ 6 ปีก่อน พื้นที่นี้ได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง คุณวิทยา โพธิลำเนา เกษตรกรชาวตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ 6 ไร่ แต่เพราะพื้นที่นี้ถูกน้ำท่วมหลากเป็นประจำทุกปี ทำให้คุณวิทยาไม่คิดปลูกพืชอะไรไว้ เพราะเกรงว่าจะไม่รอด แต่มีตัวอย่างเกษตรกรในพื้นที่ปลูกไม้ผลจนประสบความสำเร็จ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คุณวิทยาคิดทำตามแบบอย่าง เกษตรกรตัวอย่าง ปลูกเงาะ ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ คุณวิทยาจึงเอาแบบอย่าง ซื้อกิ่งพันธุ์เงาะมาบ้าง ลงปลูกเต็มพื้นที่ 6 ไร่ จำนวน 160 ต้น แต่เห็นพื้นที่ระหว่างต้นเงาะยังว่าง จึงนำกิ่งพันธุ์ฝรั่งกิมจูมาลงปลูกระหว่างเงาะแต่ละต้น ทำให้ได้จำนวนฝรั่งอีก 400 ต้น หลังปลูกก็ปล่อยไว้อย่างนั้น แล้วออกไปทำไร่ตามปกติ แต่หลังจากนั้น 6 เดือน เข้ามาดูเห็นฝรั่งเริ่มติดดอก หลังจากนั้นอีก 2 เดือน เข้ามาดู ก็พบว่า ฝรั่งให้ผลผลิตแล้ว “พอเข้ามาดูก็เห็นฝรั่งดกเต็มต้น แต่ห่อไม่ทัน ผลฝรั่งเน่าคาต้นเยอะมาก เห็นผล