เศรษฐกิจพอเพียง
จังหวัดตรัง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยเกษตรกรมีการปลูกยางพาราเป็นพืชหลัก รองลงมาคือการปลูกปาล์มน้ำมัน ไม้ผล พืชผัก และพืชอื่นๆ แต่เกษตรกรมักประสบปัญหาความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรหรือราคาตกต่ำในช่วงเวลาที่สินค้าเกษตรทยอยออกสู่ตลาดปริมาณมาก อีกทั้งยังมีต้นทุนการผลิตสูง จากปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมีที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ไม่มั่นคง นอกจากนี้ การที่เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นเวลานานอาจจะทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในดินถูกทำลาย ดินเสื่อมสภาพ กลายเป็นดินที่แข็งแน่นทึบ การระบายถ่ายเทอากาศและนํ้าลดลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของรากพืช การดูดกินน้ำ และธาตุอาหารจากดิน ถึงแม้จะมีธาตุอาหารอยู่ในดินเป็นจํานวนมาก รากพืชก็ดูดกินได้ไม่เต็มที่ เกิดการสูญเสียธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ใส่ไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ โดยทั่วไปเกษตรกรไม่ทราบ จึงไม่ได้ให้ความสําคัญเต็มที่ในการปรับปรุงสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดินร่วมไปกับการใช้ปุ๋ยเคมี จึงทําให้ผลที่ได้จากการใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้ผลเต็มที่อย่างที่เคยได้รับอีกต่อไป เสมือนว่าเมื่อใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานปีเข้า ผลผลิตที่เพิ
วิธีลดความเสี่ยงด้วยการปรับเปลี่ยนจากไม้ผลเชิงเดี่ยวมาเป็นแบบผสมผสาน ถือเป็นแนวทางประกอบอาชีพของเกษตรกรยุคใหม่ที่นับวันจะประสบความสำเร็จกันมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น “ไร่คุณชาย” ที่ไทรโยค เมืองกาญจน์ ที่ประสบความสำเร็จจากการปลูกไม้ผลหลายชนิดแบบผสมผสานด้วยวิธีทางธรรมชาติ ควบคู่กับหลักวิชาการ ผนวกกับภูมิปัญญาดั้งเดิม จึงช่วยลดโรค/แมลง ลดต้นทุน สร้างคุณภาพผลไม้เกรดพรีเมี่ยมเน้นส่งขายตลาดนอก พร้อมเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงชาวต่างชาติเข้ามาอุดหนุนสินค้ากันอย่างคึกคัก คุณสมชาย แซ่ตัน เจ้าของ “ไร่คุณชาย” ที่ตั้งอยู่เลขที่ 296 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เล่าว่า เดิมครอบครัวยึดอาชีพทำสวนอยู่แล้ว ส่วนตัวเขากลับออกไปตระเวนหางานตามรีสอร์ตและโรงแรมในละแวกบ้าน เมื่อมีเวลาว่างจะมาช่วยดูแลสวนมะม่วงของคุณพ่อ กระทั่งเกิดความคิดทดลองทำมะม่วงนอกฤดูด้วยการศึกษาหาความรู้จากแผ่นพับที่ได้รับแจก จนประสบความสำเร็จได้ผลดีมาก แล้วยังต่อยอดด้วยการผลิตมะม่วงนอกฤดูส่งขายให้กับญี่ปุ่นสร้างรายได้อย่างงดงาม แต่ภายหลังต้องหยุดชะงัก เพราะจากผลของมาตรการเข้มงวดเรื่องคุณภาพผลไม้ส่งออก คุณสมชาย แซ่ตัน เ
“ที่โรงเรียนมี “ศูนย์การเรียนรู้เรื่องของพ่อ” ที่รวบรวมพระราชประวัติและงานในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในด้านต่างๆ รวมถึงกิจกรรมภายในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การประหยัดน้ำและพลังงาน ส่งเสริมและฝึกอาชีพให้แก่นักเรียนเพื่อสร้างรายได้ภายใต้แนวคิดการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ” เด็กหญิงสุนันทา อมรเลิศ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันป่าไร่ ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ ตำบลสามหมื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก กล่าว นายพิทักษ์ ฉิมสุด ครูโรงเรียนบ้านสันป่าไร่ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่รอยต่อของป่าอุทยานขุนพะวอ ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำจึงมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ปี 2542 ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การจัดการขยะ การประหยัดพลังงาน “ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง โรงเรียนจึงมีแนวคิดในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้
‘ประเทศไทย’ เดินหน้า เศรษฐกิจพอเพียง-ESG-ตั้งเป้าลดโลกร้อนใน 17 ปี เปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เร่งเปลี่ยนประเทศไทยเติบโตแบบ Low Carbon ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-นโยบายเศรษฐกิจ BCG” แนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน-ขับเคลื่อน SDGs ประเทศไทย นายกฯ เศรษฐา ประกาศ ณ SDG Summit 2023 นิวยอร์ก ตั้งเป้าลดโลกร้อน “ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 40% และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ใน 17 ปี ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 0 ใน 42 ปี จากการที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศ คำแถลงแรก ณ Trusteeship Council Chamber สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปี 2023 (Sustainable Development Goals (SDG) Summit 2023) เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นของไทยในการบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ใจความระบุว่า “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง-นโยบายเศรษฐกิจ BCG” คือแนวทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน-ขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย BlackRock ตอบรับร่วมมือธุรกิจ BCG ไทย ความสำเร็จแรก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในการเยือนสหรัฐฯ คือ กา
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เตรียมจัดงานมหกรรมใหญ่ “แรงบันดาลใจ” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 ตุลาคม 2566 ตั้งแต่เวลา08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “13 ตุลาคม เวียนมาบรรจบครบ 7 ปีแห่งการเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย หากแต่พระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวง ยังคงจารึกอยู่ในหัวใจและความทรงจำของพสกนิกรชาวไทย ผ่านหลักคำสอน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ หลักการทรงงานที่พระองค์พระราชทานไว้ เปรียบดั่งเข็มทิศนำทางเป็นต้นแบบ และสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตของคนไทยเสมอมา สำหรับการจัดงานมหกรรมแรงบันดาลใจในครั้งนี้ เ
“โคก หนอง นา โมเดล” คือ รูปแบบหรือแบบแผนการพัฒนาจัดการพื้นที่ทางการเกษตรที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติของแต่ละพื้นที่ให้เป็นระบบมากขึ้น เน้นแนวทางการทำเกษตรแบบอินทรีย์ และการสร้างชีวิตที่มีความยั่งยืนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประโยชน์ของโคก หนอง นา โมเดล มีส่วนช่วยเรื่องการประหยัด ช่วยในเรื่องการพึ่งพาตนเองจากกิจกรรมเกษตรที่มีความหลากหลายครอบคลุมทุกปัจจัย บรรเทาปัญหาด้านเศรษฐกิจครัวเรือน ที่สำคัญยังลดปัญหาน้ำท่วมหรือน้ำแล้งภายในพื้นที่ในช่วงเกิดวิกฤตทางธรรมชาติ ขนาดพื้นที่ทำโครงการโคก หนอง นา มักเริ่มจาก 1 ไร่ เพื่อสร้างกรอบการเรียนรู้ตามลักษณะองค์ประกอบที่กำหนดเป็นพื้นฐานแต่ละอย่างให้เข้าใจและปฏิบัติถูกต้องตามวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนเสียก่อน จากนั้นผู้ดำเนินโครงการจะขยายพื้นที่ออกไปตามศักยภาพเป็นจำนวนเท่าไรก็ได้ ที่ท่าม่วง กาญจนบุรี มีอดีตสจ๊วตใช้พื้นที่ตัวเองจำนวน 1 ไร่ ทำโครงการโคก หนอง นา ได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาเพียง 6 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรทุกชนิดนำไปใช้ในธุรกิจโฮมสเตย์ของตัวเองได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถือเป็นการพึ่งพาตัวเองช่วยลดต้นทุนได้อย่
6 เกษตรกรดีเด่นระดับประเทศปี 2566 จากศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เตรียมเข้ารับรางวัล หลังกรมส่งเสริมการเกษตร ประกาศผลการประกวด โดยรางวัลชนะเลิศเป็น ศพก. จากจังหวัดนครราชสีมา โดดเด่นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ จนมีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปสนใจเข้าเรียนรู้จำนวนมาก พร้อมสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างต่อเนื่อง นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรระดับประเทศ ได้ประกาศผลการประกวดศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ดีเด่นระดับประเทศ ปี 2566 โดยคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบที่มีผลงานดีเด่นในการบริหารจัดการศูนย์ฯ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นตัวอย่างในการขยายผลส่งเสริมการเกษตร การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร โดยผลการประกวดมีดังนี้ 1.รางวัลชนะเลิศ ได้แก่นายอรุณ ขันโคกสูง เกษตรกรต้นแบบ ศพก.อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 2.รางวัลรองชนะเลิศอัน 1 ได้แก่นายวีรวัฒน์ จีรวงส์ เกษตรกรต้นแบบ ศพก.อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 3.รางวัลร
กรมส่งเสริมการเกษตร คัดเลือกกลุ่มส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนต้นแบบดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2566 กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงบ้านเปือย จ.อำนาจเจริญ คว้ารางวัลชนะเลิศ มีผลิตภัณฑ์เด่นทั้ง ผ้าไหม ข้าวฮาง แจ่วบอง ปลาร้า และปลาส้ม ขณะที่กลุ่มบ้านดอนใหญ่ จ.อุบลราชธานี และบ้านโพธิ์ศรีสำราญ จ.หนองบัวลำภู รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินงานโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนฯ ขึ้นในปี 2556 เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตของตนและครอบครัวในยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างดี และมีความปกติสุข โดยน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยสามารถพึ่งตนเอง มีอาชีพมีรายได้ ทำให้สามารถปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ในครอบครัวได้ดีขึ้น มีกำลังสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลาน ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างมั่นคงและยั่งยืน นับเป็นเวลากว่า 10 ปีที่ กรมส่งเสริมการเกษตรได้สนองพระราชดำร
“ถ้าที่ดินที่น้ำท่วมทุกปี และไม่มีน้ำใช้ในฤดูแล้ง จะทำเกษตรได้ไหม” นี่คือคำถามของผู้เข้ามาเรียนรู้การทำเกษตรที่ คุณสุพจน์ โคมณี ชาวอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับฟังมาจากผู้เข้าอบรมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ 20 ไร่ ที่หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกระเจา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมที่คุณสุพจน์ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ด้านการทำเกษตรกรรมจนมาพบความสำเร็จด้วยการนำองค์ความรู้ “เกษตรทฤษฎีใหม่” มาใช้อย่างครบเครื่อง แต่สำหรับผู้ที่สงสัยในเกษตรทฤษฎีใหม่ว่าจะตอบโจทย์เรื่องการแก้ปัญหาที่ดินที่มีปัญหามากๆ หรือไม่ กลายเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้คุณสุพจน์ตัดสินใจซื้อที่ดิน 32 ไร่ เลขที่ 9 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองกระเจา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อปั้นเป็น “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง คุณสุพจน์ โคมณี” ของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ถึงใจเกษตรคนเมืองและเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่อาจมีข้อสงสัยว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะทำ
อาชีพเกษตรหลังเกษียณ เป็นความใฝ่ฝันของคนวัยทำงานจำนวนมาก แต่งานเกษตรเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความรู้ ความอดทน และต้องใช้ระยะเวลานาน กว่าพืชที่ปลูกจะให้ผลผลิตและมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ หากรอลงมือทำสวนเกษตรในวันที่เกษียณอายุ บางคนอาจไม่มีเรี่ยวแรงที่จะลุยทำสวนเสียแล้ว หากใครไม่อยากพลาดความสนุก เพลิดเพลินใจกับการทำงานเกษตร ขอแนะนำให้เริ่มลงมือทำเกษตรก่อนเกษียณเหมือนกับ “อาจารย์ธีระพล จันทวงษ์” ที่หันมาทำสวนเกษตรผสมผสาน ในชื่อ “คุ้มจันทวงษ์” เนื้อที่ 38 ไร่ ควบคู่กับอาชีพข้าราชการครู ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเนินสูง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สวนเกษตรผสมผสาน อาจารย์ธีระพล จันทวงษ์ เล่าให้ฟังว่า น้องชายผมก็ทำอาชีพเกษตรกรรม โดยปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ยูคาลิปตัส ส่งขายโรงงาน แต่ถูกกดราคารับซื้อผลผลิต หักค่าใช้จ่ายแล้วแทบไม่เหลือผลกำไร ทำให้ผมไม่สนใจปลูกพืชส่งขายโรงงาน และตัดสินใจทำสวนเกษตรผสมผสานแทน โดยวางแผนทำสวนเกษตรล่วงหน้าก่อนเกษียณถึง 10 ปีเต็ม อาจารย์ธีระพล เน้นลงทุนปลูกพืชอาหารเป็นหลัก เช่น ลำไย ไผ่ เพกาต้นเตี้ย กล้วย พลู มะนาว ปัจจุบันรายได้หลักมาจากสวนม