เศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 มีความว่า “…สิ่งสำคัญที่เราพอกิน อุ้มชูตัวเราได้ ให้มีความพอเพียงแก่ตัวเอง พึ่งตนเองได้ หมายความว่า ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน มีกินมีใช้ตามอัตภาพ แล้วที่เหลือจึงจะขายเป็นรายได้ต่อไป…” การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงร่วมสืบสานพระราชปณิธานด้วยการจัดตั้ง “โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในพื้นที่ป่าดงนาทามอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดอุบลราชธานี มีการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการนำจุลินทรีย์ หรือ EM มาใช้ทางด้านการเกษตรและปศุสัตว์ อาทิ การทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยแห้ง การเลี้ยงปลาในบ่อพลาสติก การเพาะปลูก การเลี้ยงไก่ ฯลฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้จึงมีการขยายผลไปสู่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ วัด และชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นต่อไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม กระทั่งในปี 2546 โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงถูก
ศ.พิเศษ จอมจิน จันทรสกุล นายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดเผยถึงงานมหกรรมเกษตรอีสานใต้ ซึ่งจะมีขึ้นไปจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นี้ ภายใต้แนวคิด “สร้างสรรค์แผ่นดินพ่อ สานต่อเกษตรพอเพียง” ว่า วัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงความอาลัยถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับองค์กรภาครัฐในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันการศึกษา กระทรวงสาธารณสุข และภาคเอกชน ร่วมสร้างสรรค์นิทรรศการน้อมรำลึกถึงปราชญ์แห่งการพัฒนาการเกษตร โดยแสดงพระราชกรณียกิจในโครงการพระราชดำริการจัดแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งแสดงถึงการบริหารจัดการดิน น้ำ พืช อย่างยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสานต่อในพระราชปณิธาน เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งให้แก่ประชาชนและเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาอาชีพ และเพื่อร่วมสืบสานพระราชปณิธานการเกษตรตามแนวพระราชดำริและเผยแพร่แก่เกษตรกรและผู้สนใจให้เข้าถึง เข้าใจความพอมี พอกิน พอใช้ และไม่เบียดเบียนกันในการประกอบอาชีพทางการเกษตรให้มีความมั่นคง พอเพียง ทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน ขยายผลสู่กลุ่มประเทศอาเซียนในอนา
คณะผู้จัดงานฮอร์ติ เอเชีย และวารสารเคหการเกษตร พาสื่อมวลชนเข้าชม หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านหนองสามพราน ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี คุณพิเชษฐ์ เจริญพร ผู้ใหญ่บ้านหนองสามพราน ผู้รับผิดชอบโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ให้การต้อนรับคณะ นับได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นตัวอย่างของเกษตรกรในการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ใหญ่พิเชษฐ์ เล่าว่า เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นไร่อ้อย ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่บ้านหนองสามพราน โดยมีเนื้อที่ทำศูนย์เรียนรู้แห่งนี้มี 20 ไร่ ซึ่งเป็นนโยบายที่ได้รับมาจากหน่วยงานของจังหวัดกาญจนบุรี เนื่องจากพื้นที่ตรงนี้มีองค์ประกอบที่หลากหลาย ที่เหมาะแก่การทำพืชสวนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญในการทำการเกษตร โดยโครงการนี้เริ่มจัดทำเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา “พื้นที่นี้อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นพื้นที่จัดสรรคนละ 10 ไร่ เลยดูคับแคบไปหน่อย ก็เลยทำให้ทางผู้ใหญ่บ้านอย่างผมเลือกที่จะรับโครงการมา เพื่อทำไว้เป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านของผมได้ดู และเกิดการจดจำเ
คอลัมน์ CSR Talk โดย มนตรี บุญจรัส M.D. บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ) มนุษย์เรานั้นมีร่างกายเพียง กว้างคืบ ยาววา หนาศอก โดยประมาณนั้น สามารถสร้างความสุขได้อย่างแท้จริงทุกวินาทีได้โดยไม่ต้องใช้เงินเป็นตัวตั้ง แต่เพียงอย่างเดียว เพราะพื้นฐานของการที่จะมีความสุขคือจะต้องเพียบพร้อมไปด้วยปัจจัย 4 ได้แก่ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร และยารักษาโรค เพื่อเป็นปัจจัยให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และมีความสุข แต่ชีวิตของผู้คนชนส่วนใหญ่มักจะไหลเลี้ยวลด คดโค้ง ดิ้นรน ขวนขวาย ออกนอกลู่นอกทางไปเสียไกล เพื่อไปค้นหาคำตอบให้กับชีวิตตนเองว่า พอจะมีความสามารถที่จะพอทำให้ชีวิตมีความสุข และมีความทัดเทียมทางสังคมกับคนอื่นได้หรือไม่ ซึ่งก็มีทั้งประสบความสำเร็จ และล้มเหลว คละเคล้ากันไป แต่ส่วนใหญ่ มักจะล้มเหลว !!! โดยเฉพาะแนวทางทุนนิยม (Capitalism) ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับแนวทางทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ของพ่อหลวงปวงชนชาวไทย ทฤษฎีนี้สามารถช่วยให้ประชาชนคนไทยทุกคนประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก และได้ผลรับด้วยการมี “ความสุขอย่างแท้จริง” แนวทาง “เศรษฐก
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้ส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรและประชาชน มีการทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือนมาอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างครูบัญชีอาสาหรือ“อาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี”ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในการเป็นวิทยากร วิทยากรผู้ช่วย เพื่อสอนแนะ กระตุ้นการเรียนรู้ และติดตามผลการทำบัญชีของเกษตรกร รวมถึงการสร้างเครือข่ายถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในชุมชนของตนและพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกันระหว่างกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และครูบัญชี ได้ช่วยเสริมสร้างให้เกษตรกรได้ใช้บัญชีไปใช้วิเคราะห์ต้นทุนการประกอบอาชีพ เพื่อวางแผนธุรกิจในครัวเรือนของตนได้ คุณบริสุทธิ์ เปรมประพันธ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่า กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้ดำเนินการส่งเสริมองค์ความรู้ทางบัญชีสู่เกษตรกรโดยผ่านสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ทั่วประเทศและเครือข่ายครูบัญชีอาสา เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และเข้าใจในการนำระบบบัญชีไปใช้ในการบริหารจัดการภาคการเกษตรได้อย่างเหมาะสม สมดุล และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำการเกษตรได้มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน โด
ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณคำพันธ์ เหล่าวงษี อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 บ้านดอนแดง ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ (089) 618-4075 ประกอบอาชีพรับจ้างตามโรงงานและยังทำนา ทำการเกษตร และทำกิจการเล็กๆ ในครัวเรือน จากการประกอบอาชีพที่ผ่านมาหลากหลายอย่าง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จและไม่มั่นคง มีต้นทุนสูง ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพสูง พึ่งพาปัจจัยภายนอกหลายอย่าง จึงได้เกิดแนวความคิดในการทำการเกษตรผสมผสานบนวิถีพอเพียงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง พึ่งพาปัจจัยภายในมากกว่าปัจจัยภายนอก ปรับเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นการดำเนินวิถีชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ลดต้นทุนการผลิต ลดรายจ่ายในครัวเรือน ทำบัญชีครัวเรือน และทำเกษตรอินทรีย์ ส่งผลให้ครอบครัวมีอยู่มีกิน พึ่งพาตนเองได้ จากการต้องดิ้นรนออกไปรับจ้างหาเงิน ปรับเปลี่ยนเป็นการสร้างรายได้ให้เกิดในพื้นที่การเกษตรของตนเอง ปลูกพืชผักสวนครัวหลากหลายชนิดไว้บริโภค แลกเปลี่ยนในชุมชน แจกจ่าย เมื่อเหลือจึงนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และทุกคนในครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน ไม่ต้องออ
กรมส่งเสริมการเกษตรจัดกิจกรรม “วันยุวเกษตรกรโลก” ภายใต้ Theme 4-H ยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมติวเข้มสอนเยาวชนเกษตรฝึกหัดการขยายพันธุ์พืช และจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านสื่อ Social Network ในยุค Thailand 4.0 ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 ณ ศูนย์ส่งเสริมเยาวชนเกษตรอาเซียน อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีภารกิจในการพัฒนาเกษตรกร และองค์กรเกษตรกร โดยการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพการเกษตร ซึ่งส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน คือ การสนับสนุนสมาชิกครอบครัวเกษตรกรให้รวมตัวเป็นกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และกลุ่มยุวเกษตรกร เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้ต่อให้เกษตรกรทั่วไป สำหรับกลุ่มยุวเกษตรกรจะได้รับการบ่มเพาะความรู้และฝึกหัดการเกษตรพื้นฐาน สร้างทัศนคติที่ดีมีใจรักอาชีพการเกษตร รวมทั้งการทำงานในรูปแบบกลุ่ม เพื่อให้มีความพร้อมที่จะเข้ารับการพัฒนาขึ้นไปเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ในการรับบริการความรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างเครือข่าย เริ่มต้นประกอบอาชีพการเกษตรเป็น Young Smart Famer แล
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 พื้นที่ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ได้มีชาวบ้านที่อาศัยอยู่ภายในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีการดำรงชีวิตที่ยึดหลักพอเพียง ตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอลุยเดช โดยได้มีการจัดสรรพื้นที่ในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวหลากหลายชนิด รวมทั้งการเพาะปลูกข้าว เพื่อใช้เอาไว้ในการอุปโภคบริโภค และหรือจากการอุปโภคบริโภคก็จะทำการแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน และเมื่อเหลือจากเพื่อนบ้านก็จะนำไปจำหน่ายในชุมชนข้างเคียง จนทำให้ชุมชนแห่งนี้นั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง นายทองเพชร สูงชัยยา หนึ่งในชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง เปิดเผยว่า ถึงสถานการณ์ราคาข้าวที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้ทางชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว เนื่องจากทางชุมชนได้มีการเพาะปลูกข้าวไว้เพื่อนในการอุปโภคบริโภคให้เพียงพอต่อชุมชน และเมื่อเหลือแล้วจึงจะนำไปจำหน่าย ซึ่งทำแบบนี้มาโดยตลอดโดยยึดหลักพออยู่พอกิน ทำเท่าที่กิน และพื้นที่โดยรอบก็จะมีการช่วยกันปลูกผักสวนครัวและพืชผลิตชนิดอื่นๆไปควบคู่กัน เพราะว่าเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะได้ไม่ต้องรอการเก็บเกี่ยวผ
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน นายอรุณ ขันโคกสูง อายุ 42 ปี ชาวบ้านโพนสูง หมู่ 4 ต.หมื่นไวย อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้พาผู้สื่อข่าวเดินชมสวนเกษตรหลังบ้านของตนเอง ซึ่งมีพื้นที่อยู่ประมาณ 2 ไร่ โดยได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปรับใช้ทำการเกษตรปลูกพืชผสมผสานหลายชนิด อาทิ มะนาวในบ่อซีเมนต์, พริกไทย, ฟาร์มเห็ด, ผักสะระแหน่ไร้ดิน, มะเดื่อฝรั่ง และสะเดามัน เป็นต้น สร้างรายได้ให้กับครอบครัวจนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว และยกระดับให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ในปัจจุบัน นายอรุณเล่าให้ฟังว่า ในอดีตนั้นตนเป็นเพียงลูกจ้างอยู่ในอู่ซ่อมรถจักรยานยนต์แห่งหนึ่ง ใน จ.นครราชสีมา ซึ่งขณะนั้นมีความรู้แค่ชั้น ป.6 จึงต้องทนทำงานอยู่ตามความสามารถที่จะทำได้ ต่อมาก็ได้สมัครเข้าเรียนใน กศน.เพื่อเติมความรู้ให้กับตนเอง ซึ่งก็บังเอิญไปได้เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 จึงได้นำมาทดลองใช้ในพื้นที่หลังบ้านประมาณ 2 ไร่ โดยช่วงแรกๆ ก็ลองผิดลองถูกอยู่ประมาณ 1 ปี หลังจา
นายวิรัตน์ กาญจนพรหม อาจารย์วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง และปราชญ์แห่งบ้านหนำควาย ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ได้พลิกฟื้นพื้นที่สวนยางพารา กว่า 6 ไร่ สร้างเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นับตั้งแต่ปี 2547 ด้วยใจรักส่วนตัวและความตั้งใจที่จะเผยแพร่ความรู้ หรือประสบการณ์ด้านการเกษตรออกไปสู่สังคม กระทั่งประสบความสำเร็จและกลายเป็นต้นแบบของบุคคลที่ต่อสู้ชีวิต โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ นายวิรัตน์ กล่าวว่า สิ่งที่ตนคิดทำมิใช่แค่การเรียนรู้ภาคทฤษฎี แต่สามารถนำทุกอย่างมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริงจนเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาให้ใช้เกิดประโยชน์สูงสุด นับตั้งแต่การปลูกพืชผักเสริมลงไปจนเต็มพื้นที่สวนยางพารา ควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์นานาชนิด ส่งผลให้มีอาหารในการดำรงชีวิตประจำวัน และเหลือส่งขายเป็นอาชีพเสริม โดยไม่ต้องง้อรายได้จากยางพาราอย่างเดียว จนเป็นแบบอย่างที่ดีให้เกษตรกรที่สนใจมาเยี่ยมชมดูงานไม่ขาดสายในแต่ละวัน “พืชผักพื้นบ้านที่ปลูกแซมระหว่างต้นยางพาราจะเน้นชนิดที่รับประทานได้ทุกวัน ส่วนสัต