แปรรูปมะพร้าว
กรมส่งเสริมการเกษตรยกสวนลุงสงค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้นแบบการแปรรูปมะพร้าวอินทรีย์เป็นผลิตภัณฑ์เด่น น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น สำหรับคนรักสุขภาพ พร้อมเปิดสวนเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สามารถดึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าพื้นที่ได้จำนวนมาก นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า “สวนลุงสงค์” ของนายสมประสงค์ ศรีเทพ เจ้าของสวนมะพร้าวอินทรีย์ ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นสวนต้นแบบในการนำผลผลิตมะพร้าวจากชุมชนมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปัจจุบันมีนายศุภชาติ ศรีเทพ บุตรชายของลุงสงค์ Smart Farmer และเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวนระดับจังหวัด เป็นผู้บริหารสวน โดยนำมะพร้าวอินทรีย์ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ซึ่งมีทั้งแบบเป็นน้ำมัน และแคปซูล เป็นไขมันดี หรือ HDL หากบริโภคเป็นประจำจะทำให้ร่างกายแข็งแรง มีไขมันดีเพิ่มขึ้น โดยตั้งราคาขายอยู่ที่ขวดละ 100-600 บาท ส่วนน้ำมันปรุงอาหาร ขายขวดละ 130-250 บาท นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดเป็นผลิ
กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนแปลงใหญ่มะพร้าวตำบลบางใบไม้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำกำไรจากวัสดุมะพร้าวเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม หรือ BCG Model และแปรรูปวัสดุจนหมดหรือ Zero Waste เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชนอย่างยั่งยืน นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวตำบลบางใบไม้อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดขึ้นจากการส่งเสริมของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ในปี 2562 เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลบางใบไม้ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพืชหลักคือมะพร้าวที่ปลูกมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เกษตรกรมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยขาดการดูแลบำรุงรักษา ทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ ราคาตกต่ำ จึงเกิดการรวมตัวจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่มะพร้าวตำบลบางใบไม้ขึ้น โดยการจำหน่ายผลผลิตมะพร้าวของเกษตรกร ส่วนใหญ่นิยมจำหน่ายมะพร้าวทั้งผล และบางส่วนนำไปแปรรูป จนกระทั่งในปี 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด มีการจัดสร้างโรงเรือน และจัดซื้อเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์สำหรับผลิตขุยและใยมะพร้าว นำไปสู่การใช้นวัตกรรมพัฒนาผลิตสินค้าใหม่ ๆ สร้า
เมื่อนึกถึงต้นมะพร้าวถ้าเป็นภาคใต้เราต้องนึกถึงเกาะสมุยเพราะเกาะสมุยมะพร้าวเยอะมาก ต่อมาเกาะสมุยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว มะพร้าวกลายเป็นวัชพืชสำหรับที่เกาะไป ต้นมะพร้าวถูกตัดทิ้งไปเอาสวนมะพร้าวมาทำโรงแรม รีสอร์ต และราคาที่ดินมีราคาสูงไร่ละสิบล้าน การปลูกมะพร้าวเป็นเรื่องน่าขำ แต่แถบประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรก็เป็นแหล่งปลูกมะพร้าวในภาคใต้ ทั้งหมดนี้เราหมายถึงมะพร้าวแกง ส่วนในเรื่องมะพร้าวอ่อนเราต้องนึกถึงสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ราชบุรี และนครปฐม ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวอ่อนในภาคกลาง ส่วนในภาคเหนือและภาคอีสาน การปลูกมะพร้าวอ่อนน้อยมาก อาจเป็นเพราะมะพร้าวต้องการน้ำมาก ทางภาคเหนือและอีสานมีฝนทิ้งช่วงค่อนข้างนานกว่าภาคอื่น จึงไม่ค่อยเหมาะกับการปลูกมะพร้าวอ่อน ถ้าเราคิดว่าจะปลูกมะพร้าวอ่อนทางภาคเหนือ น่าจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้เลย แต่ก็ยังมีเกษตรกรอีกครอบครัวหนึ่งที่บุกเบิกการปลูกมะพร้าวอ่อนจนมีชื่อเสียง คือสวนลุงอินทร์ ดำเนินงานโดย คุณจุลรัฐ และ คุณสิดาพร สมคะเน หรือ พี่ดำ และ พี่อ้อน จากสวนลุงอินทร์ แห่งหมู่บ้านป่าตาลเหนือ ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย จากความคิดที่ว่าข้าวและลำไยที่
มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว เมื่อพูดถึงชื่อนี้ก็คงต้องนึกถึงมะพร้าวผลโต น้ำหวาน กลิ่นหอมคล้ายใบเตย อีกหนึ่งผลไม้ขึ้นชื่อของอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร คุณประเสริฐ ไพลสีม่วง พ่อค้าขายมะพร้าวน้ำหอมที่ไม่ได้ขายเพียงแค่มะพร้าวผลสดเท่านั้น แต่ยังแปรรูปจากมะพร้าวสดเป็นมะพร้าวเผาเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัวอีกด้วย จุดเริ่มต้นในการเผามะพร้าวขาย “เริ่มแรกผมรับตัดมะพร้าวตามสวนของชาวบ้านมา 20 กว่าปี แต่เพราะว่าเศรษฐกิจมันแย่ลง มะพร้าวขายไม่ค่อยออกก็เลยต้องเอามะพร้าวที่มีมาเผาเพื่อระบายออก” นี่คือเหตุผลที่คุณประเสริฐเล่าถึงการเริ่มเผามะพร้าวขาย คุณประเสริฐ เล่าว่า เมื่อก่อนรับจ้างตัดมะพร้าววันละ 3,000-4,000 ผล ที่ตัดได้เยอะเพราะมีคนงานมาช่วยตัด 4 คน ค่าแรงตกคนละ 500-600 บาท ต่อวัน โดยรับตัดมะพร้าวตามสวน ตกแล้วได้กำไรผลละ 3 บาท มะพร้าวที่ไปรับจ้างตัดมาก็ส่งขายให้กับเหล่าแม่ค้าคนกลาง รวมๆ แล้วกำไรทั้งหมดก็จะได้ไม่เกิน 2,500 บาท ถ้าช่วงไหนมะพร้าวราคาดีก็จะได้กำไรเยอะหน่อย ตกกำไรผลละ 5 บาทเลยทีเดียว แต่ถ้าช่วงไหนมะพร้าวถูกกำไรก็จะลดตามไปด้วย ส่วนที่ตกเกรดจะนำมาขายแยกและเผาขาย มะพร้าวที่นำมาแ
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวถึงสถานการณ์การผลิตและความต้องการใช้มะพร้าวของไทย ปี 2564 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนมีนาคม 2564) ซึ่งคาดการณ์ว่า จะมีผลผลิตมะพร้าวรวม 0.876 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีผลผลิต 0.827 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6) โดยผลผลิตปีนี้ ทยอยออกสู่ตลาดมาตั้งแต่เดือนมกราคม และจะออกมากไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2564 คิดเป็นปริมาณรวม 0.644 ล้านตัน (ร้อยละ 73 ของผลผลิตทั้งประเทศ) ในขณะที่ความต้องการใช้ยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ประมาณ 1.269 ล้านตัน จึงคาดว่า ในปีนี้จะมีการนำเข้ามะพร้าวและผลิตภัณฑ์ 0.418 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ความต้องการใช้ในช่วงครึ่งปีแรกยังคงชะลอตัว ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มลดลง โดยพบว่า ราคามะพร้าวที่เกษตรกรขายได้ในเดือนมิถุนายน 2564 เฉลี่ย 10.67 บาท/ผล ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีราคาผลละ 12.98 บาท หรือลดลงร้อยละ 18 สำหรับการบริหารจัดการนำเข้ามะพร้าว คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ได้มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 เ
นับเป็นหนึ่งในนักธุรกิจหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงที่พลิกธุรกิจส่งออก “มะพร้าวน้ำหอม” มาต่อยอดสู่ธุรกิจรักษ์โลกได้อย่างสวยงาม สำหรับ “สุดเขต นราธิปภัทร” กรรมการผู้จัดการ บริษัท Organ Thai จำกัด และสมาชิก YEC หอการค้าจังหวัดนนทบุรี ล่าสุดเพิ่งคว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันระดับประเทศในโครงการประกวด YEC Pitching ปี 4 ซึ่งจัดขึ้นในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 37 เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่จังหวัดลำปาง “ประชาชาติธุรกิจ” มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ แรงบันดาลใจของจุดเริ่มต้น สุดเขตเล่าว่า เริ่มแรกที่สนใจทำธุรกิจส่งออกน้ำมะพร้าว เกิดแรงบันดาลใจจากการที่เป็นคนชอบดื่มน้ำมะพร้าว ตอนเรียนปริญญาตรีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้สึกว่า หาน้ำมะพร้าวแท้ 100% ดื่มยากมาก จนไปเรียนต่อปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา ไปเจอกับน้ำมะพร้าวยี่ห้อหนึ่ง ลองชิมแล้วรู้สึกว่าอร่อย จึงได้รู้ว่าเป็นมะพร้าวน้ำหอมที่นำเข้ามาจากประเทศไทย พอเรียนจบกลับมาเริ่มหาข้อมูลและได้ไปพบสวนมะพร้าวน้ำหอมเกรดส่งออกที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จึงได้จัดตั้งบริษัท Organ Thai จำกัด เพื่อส่งออกน้ำมะพร้าวมาครบ 1 ปีแล้ว โดยน้ำมะพร้าวของบริษัท มีจุดเด่นอยู่ 3 อย
ถึงแม้ “มะพร้าว” จะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ แต่ที่ผ่านมามักประสบปัญหาทางด้านโรคแมลงและราคามาตลอดอย่างยาวนานและต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาภายในและภายนอกที่บุกเข้าโจมตีสร้างความเดือดร้อนต่อสภาวะการยึดอาชีพปลูกมะพร้าวของชาวสวนทั่วประเทศ ส่งผลให้ต้องหาแนวทางออกด้วยวิธีสร้างมูลค่ามะพร้าวแทนการขายผล สวนมะพร้าวอินทรีย์ พันธุ์พื้นเมืองเก่าแก่ “สวนลุงสงค์” เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำมันมะพร้าวบางใบไม้ ส่งเสริมการปลูกมะพร้าวแบบอินทรีย์ที่มีมาตรฐาน เพื่อนำผลผลิตมะพร้าวมาสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผ่านการวิจัย พัฒนา พร้อมดึงเทคโนโลยีเข้ามาใช้ร่วมกับภูมิปัญญาดั้งเดิมผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นผลสำเร็จ นำมาสู่การแตกไลน์ผลิตเป็นเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพเกือบ 20 ชนิด โดยให้ความสำคัญกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล กระทั่งสามารถนำไปจำหน่ายบนเครื่องการบินไทย ตลอดจนในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ นอกจากนั้น ยังนำวัสดุเหลือใช้จากมะพร้าวมารังสรรค์เป็นชิ้นงานของใช้ เครื่องประดับตกแต่ง เป็นการสร้างมูลค่า สร้างรายได้มิให้สูญเปล่า สวนลุงสงค์ เป็นที่มาของชื่อ คุณสมประสงค์ ศรีเทพ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 9
นายภาสันต์ นุพาสันต์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการนำปฏิรูปภาคการเกษตรของสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยให้เกษตรกรแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แล้วจึงขาย เป้าหมายต่อไปคือการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่แปรรูป ซึ่งเห็นว่าการทำให้พื้นที่การเกษตรเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นการตลาดที่ดีช่องทางหนึ่งจึงประสานงานกับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดชลบุรีเพื่อเรียนรู้การบูรณาการร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)(อพท.) ณ วิสาหกิจชุมชนตะเคียนเตี้ย (บ้านร้อยเสา) อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในอดีตชุมชนตะเคียนเตี้ยมีอาชีพทำนา น้ำสมบูรณ์ตลอดทั้งปี แต่ต่อมาน้ำที่ใช้ทำนาเริ่มไม่เพียงพอ ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงหันไปปลูกมะพร้าวเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว จนปัจจุบันมีการทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น แต่มะพร้าวยังถือเป็นพืชหลักของชุมชนโดยสามารถใช้ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวได้หลากหลายและที่สร้างชื่อให้กับชุมชนคือ “แกงไก่กะลา” โดย นางอภิญญา ทิพนาค (ป้าแป๊ด) อายุ 54 ปี ชาวบ้านตะเคียนเตี้ย ผู้ปลูกมะพร้าวพันธุ์หมูสี ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเม
แต่ไหน แต่ไร วิถีชีวิตคนไทยกับมะพร้าวดูเหมือนจะแยกกันไม่ออก เพราะมะพร้าวมีความสำคัญในแง่การบริโภคจึงเข้าไปอยู่ในทุกครัวเรือน โดยเฉพาะการปรุงอาหารที่นิยมใช้น้ำตาลมะพร้าวเนื่องจากมีความหอม หวาน จนทำให้รสอาหารมีความอร่อย น้ำตาลมะพร้าวหรือที่ทุกคนรู้จักว่าเป็นน้ำตาลปี๊บหรือน้ำตาลก้อน ถือเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ผลิตโดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านมาเป็นเวลาช้านาน มีการผลิตกันอย่างแพร่หลายในหลายจังหวัด เช่น สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี เป็นต้น สามารถนำมาประกอบอาหารไทยได้ทั้งคาวและหวาน เป็นที่โปรดปรานของทั้งคนไทยและคนต่างชาติ แต่สำหรับในยุคไทยแลนด์ 4.0 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความเจริญทางอุตสาหกรรมส่งผลให้ความสำคัญของน้ำตาลมะพร้าวถูกแทนที่ด้วยน้ำตาลทราย พร้อมๆ ไปกับภูมิปัญญาดั้งเดิมที่กำลังถูกลืม อย่างไรก็ตาม คุณปรีชา เจี๊ยบหยู ในฐานะผู้นำชุมชนบ้านลมทวนจังหวัดสมุทรสงคราม คงไม่ยอมให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น จึงชักชวนชาวบ้านช่วยกันสานภูมิปัญญาไทยสู่ผลิตภัณฑ์น้ำตาลมะพร้าว นำกลับมาสร้างประโยชน์ พร้อมทั้งรวมกลุ่มภายในชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม ปลูกมะพร้าวแบบยกร่องสวน เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศให้ก
เมื่อวันที่ 3 มกราคม นายคันฉัตร ตันเสถียร ผวจ.สมุทรสงคราม ได้ลงพื้นที่สวนมะพร้าวน้ำหอมในต.นางตะเคียน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม และ ต.ดอนมะโนรา อ.บางคนที เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวอ่อน หลังมีข่าวลือว่ามีสารตกค้างทำให้มะพร้าวที่ส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศ ถูกตีกลับ ส่งผลต่อราคามะพร้าวน้ำหอมตกต่ำเหลือเพียงลูกละ 6 บาทจากที่เคยจำหน่ายได้ในราคาสูงสุดถึงลูกละ 35 บาท นางวันดี ยอดพินิจ ผู้ผลิตมะพร้าวน้ำหอมส่งออกต่างประเทศรายใหญ่ใน ต.ดอนมะโนรา อ.บางคนที กล่าวว่า ตนประกอบกิจการส่งมะพร้าวน้ำหอมจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศมานานกว่า 10 ปี เฉลี่ยวันละ 15,000 ลูกต่อวัน ขอยืนยันว่ามะพร้าวน้ำหอมของตนไม่เคยถูกตีกลับ จึงเชื่อว่ากระแสข่าวดังกล่าวไม่มีแหล่งที่มา ส่งผลให้ราคามะพร้าวน้ำหอมตกต่ำลงอยู่ที่ลูกละ 6 บาทเท่านั้น ด้านนายคันฉัตร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มะพร้าวถูกหนอนหัวดำและด้วงแรดคุกคาม โดยเฉพาะมะพร้าวใหญ่และมะพร้าวห้าว ซึ่งมีความสูงประมาณ 12 เมตรขึ้นไป เกษตรกรชาวสวนจึงต้องฉีดสารเคมีเข้าไปในลำต้นเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชทำลายต้นมะพร้าว โดยไม่มีการใช้สารเคมีดังกล่าวกับมะพร้าวน้ำหอมซึ่งมีพื้นที่ปลู