แปรรูปยางพารา
“มนัญญา” ลงพื้นที่จันทบุรี เดินหน้าหนุนสหกรณ์แปรรูปยางพารา เพื่อเพิ่มมูลค่าหลังกระทรวงคมนาคมจับมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐ ตั้งเป้าผลิตเสาหลักนำทาง 1,063,651 ต้น และที่ครอบกำแพงคอนกรีตจากแผ่นยางธรรมชาติ ความยาว 12,282 กิโลเมตร หวังช่วยดึงราคายางเสริมสร้างรายได้ที่มั่นคงให้สมาชิกสหกรณ์และเกษตรกร ชูสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จำกัด อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี มีศักยภาพพร้อมเดินเครื่องผลิตเสาหลักนำทางยางพาราป้อนกรมทางหลวงชนบทเต็มที่ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จำกัด อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ติดตามความก้าวหน้าโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐ ตามนโยบายรัฐบาล พร้อมทั้งเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตหลักนำทางยางธรรมชาติและการผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีตของสถาบันเกษตรกรโดยมี นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และคณะผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมในโอกาสนี้ด้วย ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระ
โครงการไทยนิยม ยั่งยืน สัมฤทธิ์ผล หลังรัฐบาลอุดหนุนงบกลางปี 2561ให้สถาบันเกษตรกร วงเงิน 1,786.781 ล้านบาท สร้างโกดัง ฉาง ลานตาก และจัดซื้ออุปกรณ์รวบรวมและแปรรูปผลผลิตการเกษตร ตั้งเป้าไม่น้อยกว่า 700,000 ตันต่อปี ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จทันรองรับผลผลิตในฤดูกาลปีนี้ สหกรณ์ใช้ประโยชน์เก็บชะลอและดูดซับสินค้าเกษตร ทั้งข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา ไม่ให้ทะลักล้นตลาด พร้อมนำเทคโนโลยีมาใช้แปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพและราคาผลผลิตให้เพิ่มสูงขึ้น นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบกลางปี 2561 วงเงิน 1,786.781 ล้านบาท อุดหนุนให้กับสถาบันเกษตรกรเพื่อนำไปสร้างอุปกรณ์การตลาด พร้อมเครื่องมือในการรวบรวมและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งประกอบด้วย 3 โครงการหลัก ได้แก่ 1. โครงการจัดเก็บพืชผลทางการเกษตร หรือแก้มลิง วงเงิน 1,074.98 ล้านบาท ใช้ก่อสร้างโกดัง ฉาง ลานตาก ไซโลและเครื่องอบลดความชื้น รวบรวมผลผลิตไม่น้อยกว่า 700,000 ตันต่อปี 2. โครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร วงเงิน 415.441 ล้านบาท ใช้สร้างอุปกรณ
สหกรณ์ยางพาราเนินดินแดง ตราด ปลื้มหมอนยางพารา ขายดีต่อเนื่อง เน้นผลิตหมอนคุณภาพ ส่งขายตลาดจีน หวังสร้างงานสร้างอาชีพให้กับเกษตรกร เตรียมออกผลิตภัณฑ์ยางพารารูปแบบใหม่ เน้นความทันสมัยและประโยชน์การใช้งานที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค หวังสร้างความแตกต่างทางการตลาดและเพิ่มทางเลือก นายเกรียงไกร เทพินทร์อารักษ์ ประธานสหกรณ์ยางพาราเนินดินแดง ตราด จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกรมส่งเสริมสหกรณ์ หอการค้าไทย และสหกรณ์ภาคการเกษตร ว่า เป็นโอกาสที่ดีที่จะเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจให้กับสหกรณ์ โดยใช้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และหอการค้าจังหวัด เข้ามาร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ เนื่องจากหอการค้าจังหวัด จะมีคณะกรรมการซึ่งประกอบไปด้วยนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ จึงคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่อาจจะได้บุคคลเหล่านี้เข้ามาดูแลแนะนำหรือในประสานงานเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าสหกรณ์ สำหรับ สหกรณ์ยางพาราเนินดินแดง ตราด จำกัด เป็นผู้ผลิตสินค้าแปรรูปจากยางพารา โดยผลิตเป็นหมอนยางพารา ภายใต้ชื่อ “เอราวัณ” ขณะนี้ต
เมื่อเร็วๆ นี้ การยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง สนับสนุนงบประมาณตาม มาตรา 49 (3) จัดตั้งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพน้ำยางที่มีมาตรฐาน แก่กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านนาปรังพัฒนา พร้อมร่วมทำพิธีเปิดใช้ห้องปฏิบัติการฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำยางสดของสถาบันเกษตรกร ให้ได้มาตรฐานเดียวกับโรงงานผู้รับซื้อ เน้นส่งขายโดยตรง เพิ่มมูลค่า ลดการกดราคา เกษตรยิ้มได้ นายพูลสุข อุเทนพันธ์ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขตภาคใต้ตอนล่าง กล่าวว่า กยท. ได้สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนายางพารา 49 (3) จำนวน 214,000 บาท ในการจัดหาอุปกรณ์ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำยางสดมาตรฐานเดียวกับที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการตลาดกลางน้ำยางสดของ กยท. เพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำยางสดของสถาบันเกษตรกร ให้ได้คุณภาพและสามารถส่งขายให้กับบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางสด สร้างความเข้มแข็อย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางต่อไป ด้าน นายศตวรรษ จันทร์ทอง ประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านนาปรังพัฒนา กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านนาปรัง มีสมาชิก จำน
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ นายไพรัช เจ้ยชุม ประชาสัมพันธ์คณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางกล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรและสถาบันยาง อาทิ สหกรณ์ยาง วิสาหกิจยาง กลุ่มยางที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนให้ได้รับอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อสามารถรับเหมางานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและกับภาครัฐได้ “ผลิตภัณฑ์ยางเมื่อได้รับ มอก. ทำให้หน่วยงานเกิดความเชื่อมั่นมาก รัฐบาลต้องสนับสนุนให้สถาบันยางฯได้รับ มอก. เร็วขึ้น และอีกทั้งต้องมีการส่งเสริมการทำการตลาด และทำ เอ็มโอยู เพื่อส่งเสริมการขาย” นายไพรัช กล่าว นายไพรัช กล่าวว่า เครือข่ายยางกำลังติดตามแผนของหน่วยงานรัฐ เกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ยางของภาครัฐ เพราะที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จ แม้กระทั่งกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งเป็นกระทรวงที่ดูแลเรื่องยาง ก็ยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจนในการจะใช้ยาง ที่มา : มติชนออนไลน์
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเด็นปาฐกถาในงาน “Thailand Take Off 2018” โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ว่า ตอนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใหม่ๆ หลายคนแปลกใจว่า ทาไมปลัดมหาดไทย ถึงได้มาเป็นรัฐมนตรีเกษตรฯ ตนเป็นลูกเกษตรกรเมืองแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา บ้านเกิดอยู่ภาคตะวันออก รับราชการในกระทรวงมหาดไทย เป็นนายอำเภออยู่ภาคเหนือ แล้วย้ายไปภาคกลาง ต่อมาก็ลงใต้ไปยะลา เรียกว่า เหนือจรดใต้ไปมาหมด เห็นถึงความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร นายกฤษฎากล่าวว่า ประชากรโลกกว่า 7,500 ล้านคน ตามตัวเลขของสหประชาชาติ ยังมีคนอดอยากกว่า 2,000 ล้านคน ขณะที่เศรษฐกิจโลก สหรัฐอเมริกาตลาดหุ้นดี ประเทศฟื้นตัว จีนผู้นำเก่ง นโยบายดี เช่น วันเบลท์ วันโรด เศรษฐกิจดี แค่ 2 ประเทศนี้ ก็เห็นเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ประกอบกับจีน อินเดีย จับมือกัน ทำให้ตลาดเอเชียมีผู้บริโภคกว่า 3,500 คน ขณะที่ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน ศูนย์กลางระบบคมนาคมขนส่ง พื้นฐานแข็งแกร่ง ไทยไม่เคยเป็นศัตรูกับใคร เป็นมิตรกับทุกประเทศ มีเกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ 1 ใน 3 ของประชากร หรือ
ข้อมูลจาก “สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร” (ปี 2559) รายงานว่า ประเทศไทยมีพื้นที่เปิดกรีดยางทั้งสิ้น 18,223,833 ไร่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (อุดรธานี, หนองคาย, เลย, หนองบัวลำภู และบึงกาฬ) มีพื้นที่เปิดกรีดรวมกันไม่น้อยกว่า 1,486,391 ไร่ จาก 2,752,031 ไร่ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ “จังหวัดบึงกาฬ” มีพื้นที่ปลูกไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 759,560 ตัน มูลค่ากว่า 17,565 ล้านบาท “จ.บึงกาฬ” จึงเป็นศูนย์กลางการปลูกยางพาราที่มีศักยภาพสูง และมีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาตั้งโรงงานแปรรูป โดยขณะนี้มีโรงงานรับซื้อยางพารารายใหญ่จากภาคใต้เข้ามาเปิดสาขา 4 ราย คือ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด, บริษัท รับเบอร์แลนด์ โปรดักส์ จำกัด ในเครือศรีตรัง, บริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น และล่าสุดเป็นกลุ่มทุนจากประเทศจีน ซึ่งพร้อมแล้วที่จะตั้งโรงงานแปรรูปยางเพิ่มอีก 1 ราย ขณะเดียวกัน นักลงทุนจีนยังเตรียมตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราที่บึงกาฬแล้ว โดยบริษัท จงเช่อ จำกัด
วันที่ 18 ม.ค. นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา รองผวจ.สตูล พร้อมนายวิโชค พรหมคงบุตร ผอ.การยางแห่งประเทศไทย จ.สตูล ร่วมกันประกอบพิธีเปิดตลาดเครือข่าย ตลาดกลางยางพารา จ.สงขลา ที่ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยาง จ.สตูล ต.ควนโพธิ์ อ.เมือง จ.สตูล นายจารุวัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันสตูลพื้นที่กรีดยางพารา 1,331,767 ไร่ มีผลผลิต 303,981 กิโลกรัมต่อปี ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรในจังหวัดสตูลส่วนใหญ่ จะเป็นเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในกระบวนการรับซื้อยางพาราจากเกษตรกร จะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อไม่มีราคาแน่นอนไม่มีการคัดชั้นยาง อาจทำให้เกษตรกรได้รับราคาที่ไม่ยุติธรรม เกษตรกรส่วนมากจะส่งขายในรูปของน้ำยางสดให้กับสหกรณ์กองทุนสวนยาง และรวบรวมแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควัน ซึ่งเป็นวัตถุดิบขั้นต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางเช่นแผ่นปูพื้นสนามกีฬา ยางล้อรถยนต์ เป็นต้น เครือข่ายตลาดกลางยางพารา จ.สงขลา ของการยางแห่งประเทศไทย จะช่วยลดปัญหาด้านราคาจากพ่อค้าคนกลาง มีราคาอ้างอิงชัดเจน ที่ถูกกำหนดโดยตลาดยางพาราแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการลดปัญหาเนื่องจากตลาดกลางยางพารามีเพียง 6 แห่งทั่วประเทศ ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ต้องการขายยางให้แก่ตลาดกลางยางพารา
เมื่อวันที่ 8 มกราคม นายนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา กล่าวว่า อบจ.สงขลาให้ความสำคัญในการนำยางพารามาเป็นส่วนผสมในการทำถนนมาหลายปีแล้ว พบว่าถนนมีความทนทานในการรับงานหนัก แม้การลงทุนจะมีต้นทุนสูงขึ้น ทางอบจ.ได้มีการตั้งงบประมาณการปรับปรุงหรือทำถนนสายใหม่ เน้นการใช้วัตถุดิบจากยางพาราเป็นส่วนผสมร่วมกับยางมะตอยเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องชาวสวนยาง และพบว่า อบจ.ในหลายจังหวัดให้ความสนใจ หันมาใช้ยางพาราทำถนนเพิ่มมากขึ้น สำหรับอบจ.สงขลา ตั้งเป้าก่อสร้างถนนที่มีส่วนผสมจากยางพาราในปี 2561 เพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา อีกอย่างน้อย 10 สาย ในพื้นที่ 6 อำเภอของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย คลองหอยโข่ง นาทวี หาดใหญ่ นาหม่อม สะเดา สะบ้าย้อย ใช้งบประมาณ ไม่น้อยกว่า 140 ล้านบาท ที่มา : มติชนออนไลน์
เกษตรฯ หนุนเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง แปรรูปหมอนยางพาราส่งขายในจีน เผยยอดสั่งซื้อ 2.4 แสนใบต่อปี เล็งขยายความร่วมมือไปยังประเทศอื่น พร้อมสั่งการยางฯ เร่งวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หมอนยางพาราให้มีคุณภาพสูงตรงตามความต้องการของผู้ใช้ นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาซื้อ-ขาย หมอนยางพาราเพื่อจำหน่ายในสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่าง เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง หมอนยางพารา “สิรี” ในฐานะผู้แทนจำหน่ายในไทย และบริษัท Sichuan Kennan Trading Co,.LTD. ผู้จัดจำหน่ายในสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า ยางพาราเป็นสินค้าเกษตรที่มีราคาผันผวน ส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรเป็นอย่างมาก กลุ่มสหกรณ์และวิสาหกิจชาวสวนยางพารา จึงได้นำน้ำยางพารามาแปรรูปเป็นสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะหมอนยางพารา ซึ่งได้มีการผลิตมาระยะหนึ่ง แต่หลายแห่งมีปัญหาด้านการตลาด สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้เกิดจากความตั้งใจของเกษตรกรชาวสวนยาง และเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง โดยมีนายธีระชัย แสนแก้ว ประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางพารา และ นายบัวสอน ประชามอญ ประธานที่ป