โกโก้
เมื่อพูดถึงจังหวัดน่าน หลายคนจะนึกถึงภูเขาสูงเสียดฟ้าและสายหมอกยามเช้า พร้อมทั้งวิถีชีวิตเรียบง่ายของชุมชน แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังสร้างชื่อให้กับจังหวัดน่านในเวทีเกษตรกรรมไทย นั่นก็คือการปลูกโกโก้ที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่แห่งนี้ ด้วยสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ ที่นี่จึงกลายเป็นพื้นที่ที่ได้รับความสนใจในอุตสาหกรรมโกโก้ของไทย คุณพีช – คณาธิป ศรีรัตโนภาส เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่เห็นโอกาสและตัดสินใจเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรของครอบครัวบางส่วน ให้กลายเป็นแหล่งปลูกโกโก้ที่มีคุณภาพสูง ด้วยแนวคิดที่ต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้ไทยให้ก้าวไกลสู่ตลาดโลก คุณพีชได้นำแนวทางที่ได้จากการศึกษาดูงานจากหลายพื้นที่มาประยุกต์ใช้ในสวน เพื่อให้โกโก้ที่ปลูกในสวนของคุณพีช กลายเป็นที่รู้จักในฐานะสินค้าคุณภาพระดับพรีเมียม จุดเริ่มต้นของการทำสวนโกโก้สไตล์เกษตรกรรุ่นใหม้ไฟแรง คุณพีช เล่าให้ฟังว่า หลังจบการศึกษาได้มีมุมมองและอยากจะกลับมาพัฒนาสวนทางการเกษตรของครอบครัว โดยอยากให้มีกิจกรรมที่หลากหลายต้อนรับนักท่องเที่ยวในอนาคต จึงเริ่มต้นสนใจในพืชเศรษฐกิจที่มีอน
คุณมนูญ ทนะวัง เจ้าของสวนโกโก้ ตั้งอยู่ เลขที่ 141 หมู่ที่ 4 ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้นำโกโก้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ไอเอ็ม 1 พันธุ์เอิร์ทเซฟ เนวี 1 และพันธุ์ชุมพร มาทดลองปลูกภายในสวนจนประสบผลสำเร็จ สามารถเก็บผลผลิตนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดเป็นรายได้ให้กับคุณมนูญได้เป็นอย่างดี คุณมนูญ ทนะวัง และภรรยา คุณมนูญ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานบริษัทเอกชน แต่รู้สึกว่าการทำงานยังไม่มีความสุขตรงกับที่ใจชอบ จึงได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านเกิดที่จังหวัดน่าน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ของคุณมนูญมีสวนไม้ผลที่ทำเป็นอาชีพสร้างรายได้มานานแล้ว เมื่อมีโอกาสได้กลับมาอยู่บ้าน จึงมองหางานที่สามารถทำควบคู่ไปกับสวนไม้ผลของครอบครัว โดยประยุกต์เข้าด้วยกัน แต่มีรายได้เลี้ยงตนเองได้ จึงได้เริ่มลงมือทำสวนโกโก้ ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่เขาชื่นชอบ ต้นกล้าโกโก้ “พอคิดว่าต้องกลับมาอยู่บ้านแน่ๆ สิ่งที่ต้องยึดเป็นอาชีพ ก็มองเลยว่าเรารักเราชอบอะไร เพราะสิ่งที่เราชอบมันจะส่งผลให้ทำสิ่งนั้นออกมาได้ดี ก็เลยมองว่าเราชอบทานช็อกโกแลต หากได้ทำสวนโกโก้ สิ่งนี้ก็น่าจะอยู่กับเราไปได้นาน ในช่วงที่เราต้องมาอยู่บ้านเกิดอย่างเต็มตัว เพราะงาน
นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้รับเกียรติจาก สำนักงานเกษตรอำเภอท่าม่วง โดย นางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอท่าม่วง และ นางสาวสายชล พ่วงคำมี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ พาไปเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ตำบลท่าตะคร้อ อำเภอท่าม่วง ได้แก่ สวนไม้ตัดดอกเขตร้อน ของ คุณประเสริฐ ลมพัด ประธานกลุ่มไม้ตัดดอกเขตร้อนกาญจนบุรี และ สวนโกโก้ ของ คุณโอภาส เกษตรสวนเพชร ด้าน นางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษตรอำเภอท่าม่วง กล่าวว่า สำนักงานเกษตรอำเภอท่าม่วง ได้รับนโยบายจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่สนับสนุนให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยตามระบบการจัดการคุณภาพหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) แบบเดียวกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 ที่มุ่งใช้ทรัพยากรที่มีของตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูง คุ้มค่ากับการลงทุน โดยยึดหลักการตลาดนำการผลิต เช่น สวนไม้ตัดดอกเขตร้อนของ คุณประเสริฐ ลมพัด และ สวนโกโก้ ของ คุณโอภาส เกษตรสวนเพชร ซึ่งเกษตรกรทั้งสองรายกำลังดึงเรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เข้ามาเป็นรายได้เสริมเลี้ยงตัวเองและยังเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในชุม
“โกโก้” พืชเศรษฐกิจเขตร้อน ที่มักปรากฏตัวอยู่ในชีวิตประจำวันของเราในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม ของหวาน หรือแม้แต่สินค้าอุปโภคก็สามารถพบเจอส่วนผสมของโกโก้ได้ทั้งสิ้น โดยของแปรรูปที่ทำจากโกโก้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดก็เห็นจะหนีไม่พ้นนมหวานแสนอร่อยอย่าง “ช็อกโกแลต” อันเป็นที่โปรดปรานของใครหลายต่อหลายคน ซึ่งโดยมากเรามักจะคิดว่าช็อกโกแลตต้องมาจากต่างประเทศเท่านั้นจึงจะเป็นโกโก้ที่ดี แต่แท้จริงแล้ว โกโก้ที่มาจากประเทศไทยเองก็มีดีไม่แพ้โกโก้จากประเทศอื่นๆ เลย และไม่ว่าใครก็สามารถปลูกโกโก้ในพื้นที่ของตัวเองได้ ! วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมาดูวิธีและขั้นตอนการปลูกโกโก้อย่างง่ายๆ สำหรับผู้เริ่มต้น การปลูกโกโก้ สำหรับผู้ปลูกโกโก้เบื้องต้น จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าในประเทศไทยมีพันธุ์โกโก้ที่ปลูกเพื่อแปรรูปอยู่ 3 ชนิด คือ พันธุ์ชุมพร พันธุ์ IM1 และพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้ผ่านการตอน ติดตา ทาบกิ่ง และการเพาะเมล็ด โดยแบ่งลักษณะการปลูกออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ การปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยว สำหรับการปลูกโกโก้ในลักษณะของพืชเชิงเดี่ยว ควรปลูกในระยะห่าง 3×3 หรือ 3×4 เมตร และห
บริษัท ชิโน ไทย ซิงกวาง โกโก้ โปรดัก จำกัด และสหพัฒนาทองมี สร้างความเชื่อมโยงตลาดรวบรวมผลผลิตโกโก้ ผ่านสหกรรณ์และวิสาหกิจชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาไม่มีผู้รับซื้อโกโก้ของเกษตรกรในจังหวัดตรัง ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และสหกรณ์ เนื่องจากปัจจุบันตลาดโกโก้และช็อกโกแลตกำลังเติบโตอย่างมาก มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงกว่า 9 พันล้านบาท การรับซื้อโกโก้จากเกษตรกรสามารถลดการนำเข้าได้อย่างมาก และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง เมื่อเร็วๆ นี้ นายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานในการจัดประชุมสัมมนา “อนาคตโกโก้ประเทศไทย” จัดขึ้นโดย บริษัท ชิโน ไทย ซิงกวาง โกโก้ โปรดัก จำกัด และสหพัฒนาทองมี ณ โรงแรมเรือรัษฎา อ.เมืองตรัง จ.ตรัง การประชุมสัมมนาดังกล่าว เกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท ชิโน ไทย ซิงกวาง โกโก้ โปรดัก จำกัด, กลุ่มสหพัฒนาทองมี, กลุ่มสหกรณ์และวิสาหกิจ ชุมชนในจังหวัดตรัง และส่วนราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง พร้อมด้วยหน่วยงานสำคัญ ได้แก่ สภาเกษตรกรจังหวัดตรัง , สำนักงานสหกรณ์จังหวัดตรัง, สำนักงานเกษตรจังหวัดตรั
คุณมนูญ ทนะวัง เจ้าของสวนโกโก้ ตั้งอยู่ เลขที่ 141 หมู่ที่ 4 ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ได้นำโกโก้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ไอเอ็ม 1 พันธุ์เอิร์ทเซฟ เนวี 1 และพันธุ์ชุมพร มาทดลองปลูกภายในสวนจนประสบผลสำเร็จ สามารถเก็บผลผลิตนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม คุณมนูญ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนทำงานบริษัทเอกชน แต่รู้สึกว่าการทำงานยังไม่มีความสุขตรงกับที่ใจชอบ จึงได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านเกิดที่จังหวัดน่าน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ของคุณมนูญมีสวนไม้ผลที่ทำเป็นอาชีพสร้างรายได้มานานแล้ว เมื่อมีโอกาสได้กลับมาอยู่บ้าน จึงมองหางานที่สามารถทำควบคู่ไปกับสวนไม้ผลของครอบครัว จึงได้เริ่มลงมือทำสวนโกโก้ ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่เขาชื่นชอบ “พอคิดว่าต้องกลับมาอยู่บ้าน ก็มองเลยว่าเรารักเราชอบอะไร เพราะสิ่งที่เราชอบมันจะส่งผลให้ทำสิ่งนั้นออกมาได้ดี ก็เลยมองว่าเราชอบทานช็อกโกแลต หากได้ทำสวนโกโก้ สิ่งนี้ก็น่าจะอยู่กับเราไปได้นานเพราะงานสวนที่บ้านก็มีความชำนาญ ส่วนต้นโกโก้ก็มีความชอบส่วนตัว ดังนั้น ถ้านำมาปลูกและสามารถมีผลผลิตได้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่น่าจะทำออกมาได้ดี เพื่อเป็นอาชีพในระยะยาว” การทำสวนโกโก้ในครั้งนี้ คุณมนูญ บอกว่า ได้เลื
ราคาโกโก้ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 8,000 ดอลลาร์ต่อตันในตลาดโลก ทำให้เกษตรกรไทยผู้ปลูกโกโก้หลายคนตั้งความหวังว่า จะส่งผลดีต่อราคาโกโก้ไทย “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ “กนกเกศ ละอองศรี” กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาร์ค ริณ ฟาร์ม จำกัด และบริษัท มาร์ค ริณ ช็อกโกแลต จำกัด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ผลิตและแปรรูปช็อกโกแลตรายใหญ่ สัญชาติไทยแบรนด์แรก MarkRin Chocolate มาสะท้อนภาพตลาดโลกและตลาดไทย รวมถึงการดำเนินธุรกิจของมาร์ค ริณ 30 ปีพัฒนาพันธุ์ส่งเสริมปลูก มาร์ค ริณได้ใช้เวลากว่า 30 ปีในการปรับปรุงและพัฒนาโกโก้สายพันธุ์ไทยขึ้นมาในชื่อพันธุ์ I.M.1 (ไอ.เอ็ม.1) ซึ่งเป็นโกโก้ที่จัดอยู่กลุ่มพันธุ์ Trinitario และได้เริ่มส่งเสริมการปลูกให้กับกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศมาเกือบ 20 ปี มีสมาชิกภายใต้เกษตรพันธสัญญา 3,000 กว่าราย รวมพื้นที่ปลูกประมาณ 6,000 กว่าไร่ โดยทำสัญญาระยะยาวครอบคลุมถึง 30 ปี เนื่องจากโกโก้มีอายุ 50-60 ปี จึงต้องมีสัญญารับซื้อชัดเจน และครอบคลุมไปถึงการควบคุมคุณภาพในการรับซื้อผลผลิต ดังนั้น เรื่องพันธุ์ตามสัญญาจึงเป็นสิ่งสำคัญต้องควบคุมอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับการทำตลาดทั้งในปัจจุบันแ
ราคาโกโก้พุ่งทะลุเพดานตลาดโลกตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ราคาขายในตลาดล่วงหน้า (Cocoa Continuous Contract หรือ CCOO) มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าตัว จากราคา 4,275 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในช่วงวันที่ 2 มกราคม 2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในวันที่ 22 เมษายน 2567 เป็น 11,516 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งยังเป็นสถิติราคาที่สูงที่สุดในรอบ 47 ปี หลายคนมองว่าราคาพุ่งสูงขนาดนี้เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ในประเทศไทยที่ล้มลุกคลุกคลานมาเนิ่นนาน น่าจะสามารถลุกขึ้นลืมตาอ้าปากได้ “ประชาชาติธุรกิจ” ได้สำรวจมุมมองของเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ในภาคเหนือ ภาคใต้ รวมถึงผู้ประกอบการและตัวแทนภาครัฐ ว่าความร้อนแรงของทิศทางราคาโกโก้ในตลาดโลกจะมีผลสะท้อนต่อราคาโกโก้ไทยอย่างไร และจะผลักดันโกโก้ไทยไปสู่เวทีโลกได้หรือไม่ คุณภาพเทียบชั้นตลาดโลก นายภูริชญ์ ฐานะวุฑฒ์ เจ้าของร้าน “ภราดัย คราฟต์ ช็อกโกแลต & คาเฟ่” (PARADAi – Crafted Chocolate & Cafe) ซึ่งได้รับรางวัล “Overall Winner” Best Dark Chocolate 2022 จากงาน International Chocolate Awards – WORLD FINAL 2022 ด้วยคะแนนสูงถึง 91.80 คะแนน ถือเป็นรางวัลในการผลิต Craft choco
บริษัท เอกณรงค์ฯ ประกาศรับซื้อผลผลิตโกโก้ทั่วภาคใต้ไม่จำกัดจำนวน หลังได้ลูกค้ารายใหญ่ “โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปกาแฟ” และยักษ์ “อาลีบาบา” รับซื้อ ส่งผลราคา “โกโก้” ไซซ์ใหญ่ ราคาพุ่งเป็น 10-12 บาทต่อกิโลกรัม ผลแห้ง 250 บาทต่อกิโลกรัม ชี้ผลผลิตราคาดีต้องได้มาตรฐานที่กำหนด นายจีระวัฒน์ ภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอกณรงค์ หมากไทย จำกัด ผู้รับซื้อผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายชนิด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ทางบริษัทได้เปิดรับซื้อโกโก้ทั่วพื้นที่ภาคใต้ไม่จำกัดจำนวน เพื่อส่งเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปกาแฟ และบริษัทอาลีบาบา (Alibaba) ประเทศจีน ซึ่งมีความต้องการผลผลิตโกโก้ที่มีคุณภาพจำนวนมาก โดยมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนดต้องมีน้ำหนักลูกละ 500 กรัมขึ้นไป เพราะจะมีเมล็ดข้างในที่ได้ขนาดมาตรฐาน โดยโกโก้สดจะรับซื้อราคาประมาณ 10-12 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนโกโก้แห้งรับซื้อราคา 250 บาทต่อกิโลกรัม ที่ผ่านมามีตัวเลขการขายพันธุ์โกโก้ให้เกษตรกรเป็นหลักแสนต้นในแต่ละจังหวัด เช่น จังหวัดพัทลุง สตูล ตรัง และนครศรีธรรมราช แต่เมื่อผลผลิตออกจำนวนมากกลับไม่มีตลาดรองรับ ทำให้มีปล่อยทิ้งต้นโกโก้ไม่มีการดูแล บางรายโค่นต
ทุกวันนี้เกษตรกรทุกภาคต่างเริ่มช่วยเหลือตัวเองเพื่อความอยู่รอด เพื่อให้หลุดพ้นจากภาวะขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน พื้นที่ต่างๆ ที่มีช่องว่างต่างปลูกพืชแซมกันมาก ทั้งพืชไร่ พืชผัก ผลไม้ เอาไว้บริโภคในครัวเรือน ที่เหลือก็จะนำไปขายที่ตลาด หรือมีคนมาซื้อไปจากที่สวนเลยเพื่อสะดวกทั้งสองฝ่าย ด้วยเหตุเดียวกัน “ไร่ชวนฝัน” แห่งเมืองรถม้า นครเขลางค์ ที่มีพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ มีการปลูกพืช ผลไม้และต้นโกโก้นำมาทดลองปลูก และมีหลากหลายสายพันธุ์ของชนิดผลไม้ และต้นโกโก้ที่นำมาปลูกเป็นพืชแซมระหว่างต้นยางพาราที่เริ่มกรีดยางแล้ว ต้นโกโก้ก็เริ่มให้ผลผลิตบ้างแล้ว ลองมาฟังความคิดเห็นของ คุณสายัณห์ ปานพินิจ เจ้าของและผู้จัดการไร่ชวนฝัน “ต้นโกโก้ที่นำมาปลูกแซมกับต้นยางพารา ได้ศึกษาและเห็นว่าต้นโกโก้มีคุณสมบัติและให้ประโยชน์หลายอย่าง นำเอาเมล็ดมาทำขนมช็อกโกแลต เนย เครื่องสำอาง ล้วนมีราคาและดูแลง่าย ปลูกได้ 3 ปี ก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว เก็บทุก 15 วัน อายุยืน ปลูกครั้งเดียวอยู่ไปตลอดชีวิต ตามที่ศึกษาพบว่า ผลตอบแทนอาจจะได้ถึงไร่ละ 62,000 บาท ต่อปี ที่ไร่เริ่มเก็บเกี่ยวแล้ว ต้นโกโก้ชอบแสงแดดรำไร ชอบความชื้นสูง ฝนตกชุก ทาง