โรคพิษสุนัขบ้า
การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นภารกิจที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ เพื่อกำจัดให้หมดไปจากประเทศไทย ซึ่งถือเป็นพันธกิจหลักของ “วันเฮลท์มหิดลนครสวรรค์” (MUNA One Health Center) ในฐานะเป็นส่วนงานหนึ่งของโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์มหาวิทยาลัยมหิดล นายสัตวแพทย์เอกสิทธิ์ ติยานันต์ แห่งวันเฮลท์มหิดลนครสวรรค์ ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าของ “โครงการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า” ที่ วันเฮลท์มหิดลนครสวรรค์ ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 9 ปีแล้วที่ได้ให้บริการทำหมันสุนัขและแมวแก่ชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ รวมแล้วกว่า 900 ตัว ด้วยระบบที่ได้รับการออกแบบให้คล้ายกับโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค” ของคน เพื่อให้เจ้าของสุนัขและแมวที่อยู่ในชุมชนสามารถเข้าถึงได้ ด้วยการจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมวส่วนหนึ่ง และให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงรับผิดชอบในส่วนหนึ่งพร้อมทั้งได้มี “จิตอาสา” ที่เป็นคณาจารย์และนักศึกษาจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางมาร่วมผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมวให้กับประชาชนในชุมชนตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีร
น.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร กรมปศุสัตว์ได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จัดทำโครงการป้องกันกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ประจำปี 2561 เพื่อควบคุมประชากรสัตว์พาหะนำโรคพิษสุนัขบ้าและป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ในพื้นที่ของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัด ระหว่างวันที่ 15-31 กรกฎาคม โดยกำหนดจัดพิธีเปิดโครงการในพื้นที่ของสำนักงานปศุสัตว์เขตทุกเขต ในวันที่ 16 กรกฎาคม น.สพ.สรวิศ กล่าวว่า สำหรับการดำเนินงานเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าตามแผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เพื่อเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2562 นั้น มีความคืบหน้าสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ ปี 2561มีการประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ในพื้นที่ 53 จังหวัด ปัจจุบันยังคงเหลือพื้นที่ที่มีการประกาศเขตโรค ระบาดสัตว์เพียง 27 จังหวัด มีส่งตัวอย่างท
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า ในปี 2561 นี้ มีผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกรมควบคุมโรคได้รับรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มอีก 1 ราย จากรายงานการสอบสวนโรคของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร พบว่าผู้เสียชีวิตรายนี้ เป็นชาย อายุ 26 ปี ในจังหวัดมุกดาหาร โดยก่อนเข้าโรงพยาบาลมีประวัติถูกสุนัขกัด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2560 เป็นลูกสุนัขไม่มีเจ้าของ อายุ 2-3 เดือน กัดบริเวณหลังมือซ้ายมีเลือดออก ไม่ได้ล้างแผลและไม่ได้ไปหาหมอเพื่อฉีดวัคซีน ครั้งที่สอง เมื่อเดือนมกราคม 2561 ถูกสุนัขในหมู่บ้านกัดที่น่องซ้ายมีเลือดออก ไม่ได้ไปหาหมอและไม่ได้ฉีดวัคซีนเช่นกัน ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าในปีนี้รวมเป็นจำนวน 12 ราย (จากสุรินทร์ สงขลา ตรัง นครราชสีมา บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง หนองคาย ยโสธร ระยอง กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร) นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า จากข้อมูล ในปี 2561 พบว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ถูกลูกสุนัขกัดหรือข่วน แล้วไม่ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเกิดจากความชะล่าใจในการป้องกันหลังสั
พิษหมาบ้า-หวัดนก ถึงเวลายกเครื่อง สะสางปัญหา จากปัญหาโรคระบาดจากสัตว์ ทั้งโรคพิษสุนัขบ้าที่ชัดเจนว่าปีนี้หนักกว่าปีก่อน เริ่มตั้งแต่พบสุนัขตายจากโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น จนมีผู้ถูกกัด ข่วน หรือสัมผัสโรค และพบผู้เสียชีวิตที่มีการยืนยันเชื้อตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม รวม 7 คน ขณะที่ปี 2560 ทั้งปีมีคนเสียชีวิต 11 คน แน่นอนว่าจากสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าที่พบมากมาย นั่นเป็นเพราะปัญหาถูกสะสมมากว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั้งเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่สามารถจัดซื้อวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าในสัตว์ เพราะถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทักท้วง เนื่องจากเข้าข่ายทำงานซ้ำซ้อนภารกิจกับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะเดียวกันก็พบปัญหาการจัดซื้อวัคซีนอีก รวมไปถึงการบริหารจัดการต่างๆ กระทั่งต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ไม่วายเรื่องพิษสุนัขบ้ายังไม่ทันคลี่คลาย ล่าสุด อาจารย์แพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ออกมาเปิดเผยถึงกรณีการตายผิดปกติของสัตว์บก อย่างชะมด อีเห็น เสือปลา ฯลฯ ในสวนสัตว์ จ.นครราชสีมา ซึ่งระบุว่าเป็นการตายผิดปกติจากเชื้อไข้หวัดนกเอช 5 เอ็น 1 (H5N1) กลายเป็นกระ
แพทย์หญิงกิจจาวรรณ เฮงคราวิทย์ อาจารย์แพทย์สาขาวิชากุมารเวชกรรม ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เผยว่า โรคพิษสุนัขบ้า (rabies) หรือที่รู้จักกันว่าโรคกลัวน้ำเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการติดเชื้อไวรัส rabies โรคนี้มีความรุนแรงผู้ติดเชื้อเมื่อมีอาการจะเสียชีวิตเกือบทุกราย ยังไม่มียารักษาแต่สามารถป้องกันได้โดยวัคซีน องค์การอนามัยโลก รายงานผู้เสียชีวิตทั่วโลก ประมาณ 60,000 ราย ต่อปี ร้อยละ 40 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี สถานการณ์ในประเทศไทยข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555–2559 พบว่า มีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้ามากถึง 35 ราย เฉลี่ย 5-7 ราย ต่อปี ร้อยละ 95 ของผู้ที่เสียชีวิตติดโรคจากสุนัขรองลงมาคือ แมว ข้อมูลในสัตว์ จาก Thai Rabies Net (8 มีนาคม 2560 – 8 มีนาคม 2561) ตรวจพบสุนัขติดเชื้อ ร้อยละ 88.38 มากที่สุด ร้อยละ 51.80 มีเจ้าของ โดยพบว่าเป็นสัตว์ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน ร้อยละ 50.71 ไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน ร้อยละ 36.34 และมีมากถึง ร้อยละ 12.95 มีประวัติฉีดวัคซีนแล้ว นอกจากสุนัขและแมวยังพบได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น เช่น ชะนี ลิง
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย นางเพ็ญจันทร์ เจียมกรกต รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย สพ.ญ. เบ็ญจวรรณ สิชฌนาสัย ผู้อำนวยการสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย กทม. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจติดตามงานที่ศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด เขตประเวศ นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า ศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด ไม่ใช่สถานที่จับสัตว์มาทารุณหรืออื่นใดอย่างที่บางกลุ่มเข้าใจคลาดเคลื่อน ทั้งนี้ กทม. มีวิธีจัดการสัตว์อย่างถูกต้อง ตั้งแต่การนำสุนัขแรกเข้า ประมาณวันละ 30 ตัว จากการออกตรวจตราสุนัขจรจัดของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ และสุนัขจรจัดตามที่ประชาชนร้องเรียน โดยในจำนวนนี้มีสุนัขที่มีเจ้าของมาติดตามเพื่อนำกลับบ้าน ประมาณ 7-8 ตัว หรือ ร้อยละ 25 ของสัตว์ “ขณะเดียวกัน เมื่อเจ้าหน้าที่จับสัตว์มาแล้วจะดำเนินการกักกันโรคก่อน เพื่อสังเกตอาการสัตว์ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า โดยจะจับสุนัขกลุ่มต้องเฝ้าดูอาการแยกกับสุนัขอีกกลุ่ม เพื่อควบคุมการระบาดไม่ให้ไปติดสัตว์ตัวอื่น จากนั้นจะรอดูอาการจนกว่าจะมั่นใจว่าสัตว์ดังกล่าวปลอดเชื้อ ก่อนนำไปปล่อยและเลี้ยงร่วมกับตัวอ
นายชาติชาย ยิ้มเครือ ปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า จากกรณีที่ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2561 มีข่าวสุนัขดุร้ายกำลังไล่กัดสุนัขที่มีเจ้าของ บริเวณสี่แยกสถานีขนส่งรถโดยสาร (สถานี บ.ข.ส.) ซึ่งปัจจุบันเป็นคิวรถตู้แห่งหนึ่ง อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม กระทั่งเจ้าของได้คว้าวัตถุคล้ายมีดดาบฟันลงไปที่หลังเจ็บสาหัส ถูกนำส่งโรงพยาบาลสัตว์นั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 สุนัขตัวดังกล่าวได้ตายลง จึงถูกส่งชันสูตรโรคพิษสุนัขบ้า ที่สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ผลปรากฏว่าสุนัขตัวดังกล่าว เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ถือเป็นตัวที่ 3 ในรอบ 2 ปี เนื่องจากที่ผ่านมาพบเชื้อพิษสุนัขบ้า 2 ตัว ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ต. ลาดใหญ่ อ.เมืองสมุทรสงคราม ในปี 2560 และ 2561 นายชาติชาย กล่าวว่า ดังนั้น สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จึงใช้อำนาจตาม มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ประกาศเขตโรคพิษสุนัขบ้าระบาดชั่วคราว ในพื้นที่เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม ตั้งแต่ วันที่ 20 มีนาคม-21 เมษายน 2561 เพื่อให้มีอำนาจในการป้องกันและควบคุมการเคลื่อนย้าย ในรัศมี 5 กิโลเมตร อีกทั้งจะปูพรมฉีดวัคซีนทั้งสุนัขมีเจ้าของและสุนัขจรจั
เมื่อวันที่ 12มีนาคม นายแพทย์บรรเจิด สุขพิพัฒปานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง กล่าวว่า จากกรณีการพบสุนัขป่วยด้วยโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดตรัง ประกอบด้วย อ.ปะเหลียน , อ.ห้วยยอด , อ.รัษฎา และ อ.วังวิเศษ โดยทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตรัง ได้ประกาศกำหนดเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราว ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ครบทั้ง 4 อำเภอ พร้อมประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ลงควบคุมพื้นที่ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่ญาติ คนในครอบครัว รวมทั้งคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับเชื้อ และระดมฉีดวัคซีนให้แก่สุนัขและแมวในรัศมี 1-5 กม.เป็นการเร่งด่วน นายแพทย์บรรเจิด กล่าวอีกว่า ล่าสุดพบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 1 ราย เป็นเพศชาย อายุ 44 ปี ชาว ต.อ่าวตง อ.วังวิเศษ ที่ได้รับเชื้อจากการถูกลูกสุนัขวัย 2 เดือน ที่เลี้ยงไว้กัด และข่วน โดยลูกสุนัขตัวดังกล่าวถูกสุนัขตัวใหญ่กัดขณะพาไปเลี้ยงบริเวณจุดรับซื้อน้ำยาง ทำให้ได้รับเชื้อ และโชคร้ายที่ลูกสุนัขที่เลี้ยงไว้ตกรถตาย จึงไม่ทันได้แสดงอาการ จนเวลาผ่านไปชายคนดังกล่าวมีอาการป่วย จนต้องเข้ารักษาที่
นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผย ว่าได้เดินทางมาเปิดโครงการสัตวแพทย์พระราชทาน ในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ซึ่งกิจกรรมในโครงการ นอกจากจะมีการให้ความรู้กับพี่น้องเกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ใน จ.สุรินทร์ แล้ว ก็ยังมีการผ่าตัดทำหมันฉีดวัคซีนให้กับสุนัขและแมว พร้อมทั้งมีการออกตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ฉีดยาบำรุงสุขภาพ รักษาโคนม และได้เดินทางมาดูกิจกรรมการดูแลสุขภาพช้างที่ศูนย์คชศึกษา ในหมู่บ้านช้าง ซึ่งที่นี่ก็มีช้างประมาณ 250 เชือก เป็นช้างคู่บ้านคู่เมืองของ จ.สุรินทร์ มาดูว่าช้างเลี้ยงกันอย่างไร เพื่อให้คนสุรินทร์อนุรักษ์ช้าง และดูแลช้างอย่างมีความสุข นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า กรมปศุสัตว์ก็ได้มีการเข้มงวดกวดขันให้ มีการส่งตัวอย่างตรวจให้มากที่สุด เพื่อให้รู้ว่าพื้นที่ใดมีปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า ทำให้มีการส่งผลตัวอย่างจำนวนมาก พบว่ามีผลบวกจำนวนมาก การที่เรารู้มาก ก็จะรู้เร็ว และสามารถควบคุมได้เร็ว ถ้าเกิดเราไม่รู้ว่าที่ไหน และไม่เร่งรัด จะทำให้เกิดปัญหาความล่าช้า แก้ไขปัญหาไม่ทันท่วงที
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล (รพ.) จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยถึงการรับมือการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในหลายจังหวัดของประเทศไทย ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการด้านวิชาการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ที่มี ศ.นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธานการประชุมที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทั้งนี้ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า และพิจารณาถึงการรับมือสถานการณ์การระบาดของโรคที่ประเมินว่ารุนแรง “เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่แพร่จากสัตว์สู่คน มีการประเมินว่าโรคนี้ระบาดรุนแรงและกระจายหลายจังหวัด จึงเป็นห่วงเรื่องการสำรองวัคซีนและสารสกัดน้ำหลือง (เซรุ่ม) สำหรับคนที่ถูกกัดและกลุ่มเสี่ยง หากยังใช้วิธีการฉีดวัคซีนและเซรุ่มให้คนแบบเดิมๆ เกรงว่าอาจไม่เพียงพอ และหากต้องการใช้ให้เพียงพอต่อสถานการณ์การระบาดอาจต้องใช้งบประมาณสูงมาก และทำให้การควบคุมโรคไม่ได้ประสิทธิผล องค์การอนามัยโลกมีคำแนะนำสำหรับประเทศไทยให้พิจารณาถึงการปรับเปลี่ยนแผนการฉีดวัคซีนและเซรุ่มในคนมาแล้ว 2 ครั้ง คือช่วงปลายปี 2560 และต้นปี