ไก่
“บราห์มา” (Brahma) เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ไก่ที่นิยมเลี้ยงเพื่อความสวยงาม มีจุดเด่นเรื่องขนาดตัวที่ใหญ่และขนดก ตามข้อมูลพบว่าไก่บราห์มามีความสูงเต็มที่ถึง 1 เมตร และน้ำหนักมากสุดถึง 8 กิโลกรัม (ขนาดประมาณเด็ก 7-8 ขวบเลยทีเดียว) เรียกว่ายักษ์จริง การนำไก่บราห์มาที่เป็นสายพันธุ์จากต่างประเทศมาเลี้ยงในบ้านเราถูกพัฒนาและปรับปัจจัยสภาพแวดล้อม สภาพอากาศให้มีความเหมาะสมจนสามารถเลี้ยงได้อย่างไม่มีปัญหา แม้ขนาดตัวอาจไม่ใหญ่โตเท่าแหล่งกำเนิด แต่นับว่ามีความใหญ่และขนาดสวยแบบฉบับไทย ทั้งการเลี้ยงกินอยู่ไม่ได้ยุ่งยาก เป็นที่สนใจของนักเลงไก่หันมาเลี้ยงสร้างรายได้มากขึ้น ดังนั้น ในตลาดไก่สวยงามจึงมีไก่บราห์มาขึ้นติดอันดับอยู่ด้วย คุณกิตติธัช แผ้วประสงค์ หรือ คุณโอ๊ต เป็นหนึ่งในนั้น และเป็นเจ้าของฟาร์มไก่บราห์มาที่ชื่อ “อาร์มี่ฟาร์ม” ตั้งอยู่เลขที่ 269/10 หมู่ที่ 2 ตำบลเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ ฟาร์มเพาะ-ขายพันธุ์ที่ยืนยันคุณภาพไก่ด้วยรางวัลชนะเลิศมากมาย คุณโอ๊ตมีอาชีพประกอบธุรกิจเปิดร้านขายของเบ็ดเตล็ด แล้วเลี้ยงไก่เป็นงานอดิเรกก่อนที่จะเพาะขายจริงจังเป็นอาชีพได้ประมาณ 5 ปี เหตุผลที่ม
ไก่พื้นเมือง เป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง หากผู้ที่เลี้ยงได้ทำการศึกษาถึงอุปนิสัยและวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้ถ่องแท้ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองก็จะไม่ใช่เรื่องยาก เพราะหาอาหารกินเองได้ โดยเฉพาะแมลง ไก่พื้นเมืองก็กินได้ จึงทำให้สามารถปล่อยเลี้ยงแบบธรรมชาติได้ ในเรื่องของการตลาดนั้นผู้บริโภคยังมีความต้องการ เพราะเนื้อไก่พื้นเมืองมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เมื่อนำมาประกอบอาหารมีความอร่อย แต่เมื่อเทียบจำนวนผู้เลี้ยงเพื่อจำหน่ายแล้ว ยังถือว่ามีอยู่จำนวนน้อยและตลาดยังมีความต้องการ จึงทำให้ราคาจำหน่ายของไก่พื้นเมืองมีราคาที่ดีตามไปด้วย ผู้ใหญ่ณรงค์ กิ่งแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 14 ตำบลซับสนุ่น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นอาชีพเสริม โดยที่การเลี้ยงไม่ได้ลงทุนอะไรมาก จึงทำให้การจำหน่ายมีกำไรและสามารถมีรายได้ใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี อาชีพหลักเลี้ยงโคนม เลี้ยงไก่พื้นเมืองเสริมรายได้ ผู้ใหญ่ณรงค์ เล่าให้ฟังว่า มีโอกาสได้มาอยู่ในจังหวัดสระบุรี เพราะเมื่อประมาณปี 2530 ทางรัฐบาลได้เปิดรับสมัครนักศึกษาที่จบทางด้านการเกษตร เข้าโครงการเกษตรกรก้
ใจประสงค์สร้างกลางดงกะว่าทง…ใจขี้คร้านกลางบ้านกะว่าดง… เกษตรกรรุ่นใหม่หรือยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เป็นคนหนุ่มสาวที่มีอายุ 17-45 ปี เป็นผู้ที่มีความรู้ในหลายๆ ด้าน หากช่วยให้คนเหล่านี้ประสบผลสำเร็จก็จะเป็นต้นแบบและขยายผลให้แก่เกษตรกรในชุมชนได้เป็นอย่างดี คุณวัชระ เพ็งปอพาน หรือ ครูโก้ อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 183 หมู่ที่ 2 บ้านโนนตาล ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู โทรศัพท์ 093-332-8944 เป็นครูอัตราจ้างของโรงเรียนบ้านห้วยบง หมู่ที่ 5 ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู และยังเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่หนองบัวลำภูด้วย คุณวัชระ เล่าให้ฟังว่า จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ปัจจุบันอาชีพหลักก็คือครูอัตราจ้างของโรงเรียนบ้านห้วยบง หมู่ที่ 5 ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง เป็นจิตอาสาขออนุญาตสอนและสมัครเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ เนื่องจากเกษตรอำเภอชักชวนและเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้านการเกษตรและได้เครือข่ายเพื่อนเกษตรกรรุ่นใหม่ด้วยกัน แรงบันดาลใจที่หันมาสนใจการเลี้ยงไก่ชน เริ่มจากครอบครัวประกอบอาชีพการเกษตรอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่
ไก่พันธุ์ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างไก่พื้นเมืองของไทยพันธุ์หนึ่งที่เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว คือไก่พันธุ์ตะเภาทองกับไก่พื้นเมืองของจีน ชื่อว่าไก่สามเหลือง (ซาอึ้ง) ซึ่งไก่ทั้งสองสายพันธุ์นี้มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่เมื่อนำทั้งสองสายพันธุ์มาผสมกันคือ พ่อพันธุ์ตะเภาทอง แม่พันธุ์สามเหลือง จึงได้เกิดเป็นไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ขึ้นมา ซึ่งลักษณะทั่วไปของไก่ตะเภาทองเกษตรศาสตร์ จะมีรูปร่างสมส่วน สวยงามทั้งเพศผู้และเพศเมีย มีลักษณะหงอนหินประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ และอีก 15 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะหงอนหนอนจักร ขนออกเป็นสีเหลืองทอง แข็งสีเหลือง จะงอยปากเหลือง นอกจากนี้ ยังมีความแข็งแรง ทนโรค ถือได้ว่าเป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย เพราะสามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมที่แปรปรวนได้ดี จึงทำให้ คุณ ณ นพชัย ผิวเกลี้ยง เห็นถึงลักษณะพิเศษของไก่สายพันธุ์นี้ จึงได้มาเลี้ยงเป็นอาชีพและช่วยส่งเสริมต่อยอดให้กับเกษตรกรที่สนใจอยากเลี้ยงสร้างรายได้ต่อไป ฟาร์มไก่ตะเภาทองของเขาตั้งอยู่บ้านเลขที่ 328 หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่ง คุณ ณ นพชัย เล่าให้ฟังว่า เหตุผลที่มาเลือกเลี้ยงไ
กระแสเลี้ยงไก่สวยงาม สายพันธุ์ต่างประเทศกำลังเป็นที่นิยม และตลาดยังมีความสนใจอีกมาก ทำให้ผู้เลี้ยงไก่สวยงามสายพันธุ์ต่างประเทศ ได้รับออเดอร์สั่งจองกันข้ามปี แถมยังผลิตเพื่อส่งขายกันแทบไม่ทัน คุณสุทธิชัย ผลิรัตน์ หรือ คุณต้อย วัย 45 ปี อดีตกุ๊ก ร้านอาหารไทย ประเทศเยอรมัน ที่ลาออกจากงานกุ๊กและผันอาชีพมาเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ เริ่มต้นเรื่องราวของคุณต้อยด้วยการทำงานที่ต่างประเทศว่า “ทำงานเป็นกุ๊ก อยู่ร้านอาหารไทย ประเทศเยอรมัน กว่า 18 ปีแล้ว จนตอนนี้ได้สัญชาติเยอรมันแล้วด้วย แต่ปัจจุบันนี้ได้ลาออกจากงานกุ๊กแล้ว เพราะอยากมาสานต่อความคิดที่อยากทำฟาร์ม และเอาดีด้านการเลี้ยงไก่อย่างจริงจังที่บ้านเกิด อำเภอทุ่งศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช สมัยก่อนตอนเด็กๆ บ้านของผมเคยได้เลี้ยงไก่แจ้ พื้นฐานบ้านเราเป็นเกษตรกร ชาวนา ชาวสวนทั่วไป แต่ที่ให้ความสนใจเรื่องการเลี้ยงไก่ เพราะสมัยที่ยังทำงานอยู่ที่เยอรมัน ได้มีโอกาสไปดูพันธุ์ไก่ต่างประเทศ สายพันธุ์ต่างๆ มาพอสมควร ทั้งได้มีโอกาสพบเจอกับคนเลี้ยงไก่ คนที่พัฒนาสายพันธุ์ไก่ที่เยอรมัน ยิ่งทำให้สนใจการเลี้ยงไก่มากขึ้น” คุณต้อย บอกว่า เรานำเข้าไข่ไก่มาจากเมืองนอ
ไก่ชนเป็นไก่พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเลี้ยงไว้เพื่อประกวด เพื่อความสวยงาม และเลี้ยงไว้เพื่อการบริโภคเป็นอาหาร ไก่ชนเป็นสัตว์เลี้ยงที่ผูกพันกับสังคมทุกชนชั้นมาแต่โบราณ ปัจจุบันมีการเลี้ยงไก่ชนเป็นอุตสาหกรรมการทำฟาร์มขนาดใหญ่ และมีการทำธุรกิจส่งออกด้วย คุณภาสกร จิระวัฒนผลิน หรือ ผู้ใหญ่ไก่ อยู่บ้านเลขที่ 86 หมู่ที่ 3 ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ผู้ใหญ่ไก่ เล่าว่า ตนเป็นผู้ใหญ่บ้านมาเป็นระยะเวลา 8 ปี แต่ด้วยความที่คลุกคลี อยู่ใกล้ชิดกับไก่มาตั้งแต่สมัยเด็ก และคนแถวบ้านส่วนใหญ่เลี้ยงไก่เป็นอาชีพ ทำให้ตนซึมซับ ผูกพัน จนเกิดเป็นความชอบอยากเลี้ยง ถือเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับตนเองและคนในชุมชน จึงตัดสินใจใช้เวลาว่างหลังจากงานประจำมาทำฟาร์มเลี้ยงไก่ ผู้ใหญ่ไก่ เริ่มทำฟาร์มจริงจังมาเป็นเวลา 2 ปี ที่นี่ไม่ได้เลี้ยงไก่พื้นเมืองแค่เอาไว้ประกวด แต่ยังเลี้ยงไว้เพื่อบริโภค และส่งออก เรียกได้ว่ากำลังไปได้สวย แต่ก็ต้องใช้เงินลงทุนเยอะเช่นกันถึงมาได้ไกลขนาดนี้ ตอนนี้การเลี้ยงไก่ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ของชุมชน คนบางแพส่วนใ
คุณธีรชัย ใจช่วย (พี่ต้น) อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรหัวก้าวหน้ากลับมาพัฒนาและขยายธุรกิจผลิตภัณฑ์ไก่ประดู่หางดำแปรรูปของคุณแม่ เป้าหมายเพื่อต่อยอดสินค้าให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ พี่ต้น เล่าความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ไก่ประดู่หางดำแปรรูปแบรนด์ป้าหล้าว่า คุณแม่ของตนเองก็คือ ป้าหล้า เป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ป้าหล้าขึ้นมา เนื่องจากในสมัยแรกเริ่มทำเป็นกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนมีการส่งเสริมให้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำ ให้กับสมาชิกที่ไม่มีอาชีพ และมีการกระจายความรู้ มีผู้เลี้ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เนื่องจากในสมัยนั้นไก่ประดู่หางดำยังเป็นไก่สายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีตลาดรองรับเท่าที่ควรคุณแม่จึงได้มีการเข้าไปปรึกษากับทางกรมปศุสัตว์ ก็ได้รับโอกาสและความรู้ในด้านต่างๆ หลังจากนั้น คุณแม่จึงผันตัวจากเป็นผู้เลี้ยงมาเป็นผู้แปรรูป สร้างโรงงานแปรรูปไก่เล็กๆ เป็นของตัวเอง ซึ่งหลังจากที่ตนเองได้ลาออกจากพนักงานประจำก็เข้ามาช่วยสานต่อธุรกิจที่แม่สร้างไว้ มีการทำมาตรฐานโรงงาน สินค้าทุกตัวมีมาตรฐาน อย. และพัฒนามาตรฐานเพิ่มขึ้นเข้าสู่มาตรฐานโอท็อปตั้งแต่ 3-5 ดาว เป้าหมาย
ไก่ชน หรือไก่พื้นเมือง เป็นสัตว์ที่อาจเรียกได้ว่าอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน จะเห็นได้จากวรรณกรรมหรือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้คนในสังคมไทยสมัยนั้นก็จะมีการเลี้ยงไก่ชนหรือการละเล่นที่มีไก่ชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน จนทำให้ไก่ชนยังอยู่คือสังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน การเลี้ยงขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงว่าต้องการเลี้ยงไปในทิศทางไหน บางคนก็อาจจะเลี้ยงเพื่อไว้ประกอบอาหารภายในครัวเรือน หรืออาจจะเลี้ยงเป็นไก่สวยงามใช้สำหรับชนแข่งขันเป็นเกมกีฬาของชุมชน ก็ทำให้ไก่ชนเป็นสัตว์ที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ไม่น้อย คุณน้ำ รพีภัทร นักแสดงหนุ่มที่หลายๆ คนรู้จักกันดี ก็มีความชื่นชอบในการเลี้ยงไก่ชนด้วยเช่นกัน คุณน้ำ มีความหลงใหลและชื่นชอบไก่ชนมาก จนถึงขนาดไปสร้างฟาร์มไก่ชนอยู่ที่ ตำบลบ้านพริก อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยใช้เวลาที่ว่างจากงานการแสดงมาดูแลและพัฒนาสายพันธุ์ไก่ชนที่เขารัก จนเวลานี้การเลี้ยงไก่ชนเป็นอาชีพเสริมที่ทำแล้วมีความสุขในยามว่าง พร้อมทั้งให้ความเพลิดเพลินกับเขาได้เป็นอย่างดี ชอบเลี้ยงไก่ชน มาตั้งแต่เด็ก คุณน้ำ เล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยที่เขายังเป็นเด็กมีความชื่นชอบที่จ
ปัจจุบัน กระแสสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นสำหรับผู้ที่ใส่ใจในการดูแลตัวเอง โดยเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การกินอาหารคลีน หรืออาจจะเป็นอาหารที่ปรุงจากวัตถุดิบที่ปลูกแบบระบบอินทรีย์ก็เป็นความมั่นใจของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งเดี๋ยวนี้นอกจากพืชที่ปลูกในระบบอินทรีย์แล้ว แม้แต่สัตว์บางชนิดก็สามารถนำมาเลี้ยงในระบบอินทรีย์ได้อีกด้วย โดยปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติมีการเลี้ยงด้วยอาหารที่ได้จากพืช ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง จึงส่งผลให้สัตว์ที่เลี้ยงด้วยระบบนี้สามารถทำราคาทางด้านการตลาดที่สูงกว่าการเลี้ยงแบบทั่วไปเป็นเท่าตัว อย่างเช่น ไข่ไก่ที่ผ่านการเลี้ยงในระบบอินทรีย์เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่กำลังได้รับความนิยม เพราะสามารถหาซื้อเองได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าที่ขายสินค้าอินทรีย์ หรือถ้าหากอยากมีกิจกรรมยามว่างก็สามารถหาไก่ไข่มาเลี้ยงแล้วเก็บไข่ไว้กินภายในครัวเรือนเองก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประหยัดรายจ่าย คุณณธรา แย้มพิกุล อยู่ที่บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 19 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเกษตรกรผู้มีความชอบการกินอาหารที่ปลูกในระบบอินทรีย์ โดยผลไม้และผักสวนครัวต่างๆ ที่ปลูกใ
ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เพราะมีเนื้อแน่น และรสชาติอร่อย เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไปจนมีแนวโน้มว่าปริมาณไก่บ้านอาจไม่เพียงพอต่อความของผู้บริโภค เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของเกษตรกรมักเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบแบบปล่อยตามธรรมชาติ สำหรับไว้ใช้บริโภคในครัวเรือน จึงทำให้ ขาดการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจังทั้งการสร้างโรงเรือน อาหาร การป้องกันโรค ตลอดจนสภาพแวดล้อมโดยรอบ จึงส่งผลให้เกิดความเสียหายตามมา แต่ถ้าเกษตรกรหรือชาวบ้านที่สนใจการเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบอาชีพ ควรปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบโรงเรือนมาผสมผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้าน พร้อมกับการเพิ่มคุณภาพไก่ด้วยการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่พันธุ์แท้ เอาใจใส่ดูแลการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์และครบวงจร ย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูง มีคุณภาพ และได้ราคาตามที่ต้องการอย่างแน่นอน คุณชัชวาล วงศ์รา ชายหนุ่มแห่งตำบลท่ากูบ จังหวัดชัยภูมิ เป็นอีกคนที่มีความสนใจเรื่องการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน เหตุผลที่ทำให้สนใจเป็นผลมาจากราคาไก่ที่ซื้อตามตลาดเกินจริง เพราะถูกควบคุมราคาตามกลไกตลาดของพ่อค้า แ