ไก่พื้นเมือง
เพราะเป็นไก่ที่มีขนสีขาวตลอดทั้งตัว เสมือนแม่ชี จึงเรียกชื่อให้จำง่ายติดปากว่า “ไก่ชี” สีขาวสวยงาม แตกต่างจากไก่พื้นบ้านของไทยทั่วไป พินิจดูเหมือนไก่นำเข้าจากต่างประเทศ แท้ที่จริงเป็นไก่พันธุ์ไทยแท้ ที่พัฒนามาจากไก่พันธุ์พื้นเมืองจนสายพันธุ์นิ่ง และมีจุดเด่นหลายประการ ไก่ชี ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาตั้งแต่ปี 2545 โดยศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ จังหวัดขอนแก่น ด้วยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับกรมปศุสัตว์ นำไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ไทยแท้มาคัดปรับปรุงพันธุ์จนได้สายพันธุ์แท้ เมื่อปี 2550 จนเกิดความนิ่ง ทั้งสี การเจริญเติบโต การไข่ และอัตราการแลกเนื้อ มีจุดเด่นคือ รสชาติ มีเนื้อนุ่มตามธรรมชาติของสายพันธุ์ มีคอเลสเตอรอลต่ำ มีโอเมก้า 3 สูง เลี้ยงง่าย ทนโรค เหมาะแก่การเลี้ยงเพื่ออุตสาหกรรม ปี 2555 กรมปศุสัตว์ นำไก่ชีออกมาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก และส่งเสริมให้เกษตรกรพื้นที่ภาคอีสานมีการเพาะเลี้ยง ได้แก่ อำเภอเขาสวนกลาง จังหวัดขอนแก่น อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งหลังจากนั้น ก็มีเกษตรกรที่สนใจเลี้ยงไก่ เข้าไปขอสนับสนุนพันธุ์ไก่ชีอี
ชุมชนคลองน้อย ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นชุมชนที่ใช้ชีวิตริมสองฝั่งคลอง เพราะเป็นพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ มีแม่น้ำและลำคลองตามธรรมชาติล้อมรอบหลายสาย “สวนมะพร้าว” คืออาชีพหลักของชาวชุมชนคลองน้อย ชาวบ้านส่วนใหญ่จะปลูกมะพร้าวกันแทบทุกครัวเรือน อาชีพรองคือ การปลูกไม้ผล ได้แก่ กระท้อน มังคุด ส้มโอ มะนาว ชมพู่ทูลเกล้า กล้วย พืชผักต่างๆ และสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2560 ชาวสวนปาล์มน้ำมันตำบลคลองน้อย จำนวน 68 ราย รวมตัวกันเป็นแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันตำบลคลองน้อย เนื้อที่ 771 ไร่ ภายใต้การนำของ คุณสุมาตร อินทรมณี ในฐานะผู้จัดการเกษตรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันตำบลคลองน้อยและเป็นนายกสมาคมชาวสวนปาล์ม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากในอดีตชาวชุมชนคลองน้อย ทำสวนมะพร้าวเป็นอาชีพหลัก หลังประสบปัญหาราคามะพร้าวตกต่ำก็หันมาทำสวนปาล์มน้ำมันกันมากขึ้น แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้เรื่องการปลูก การบำรุงรักษาสวนปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเกิดการรวมกลุ่มแปลงใหญ่มีการสนับสนุนให้สมาชิกเรียนรู้วิธีการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน ผสมปุ๋ยใช้เอง และใช้ปุ๋ยหมักจากทะลายปาล์ม และแนะนำให้สมาชิกใส่ปุ๋ยตามผลกา
หากกล่าวถึงไก่พื้นเมืองที่นำมาประกอบอาหารอร่อย และใช้เวลาการพัฒนาสายพันธุ์มาหลายทศวรรษนั้น หลายๆ ท่านคงจะนึกถึงไก่บ้านตะนาวศรี ซึ่งเป็นผลงานของ คุณลิขิต สูจิฆระ ที่ได้ใช้เวลาในการพัฒนามามากกว่า 20 ปี โดยใช้การผสมข้ามสายพันธุ์ของไก่พื้นเมืองสายพันธุ์อื่นๆ หลายสายพันธุ์ เช่น ไก่พันธุ์เหลืองหางขาว ไก่ชีท่าพระ ไก่แดงสุราษฎร์ และไก่ประดู่หางดำ ฯลฯ จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนี้เองจนสามารถได้พ่อแม่พันธุ์ไก่ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่คือ พ่อพันธุ์ไก่ชนตะนาวศรีและแม่พันธุ์ไก่แดงตะนาวศรี ไก่บ้านตะนาวศรี จึงได้เป็นการรวบรวมลักษณะเด่นของพ่อและแม่พันธุ์มาอย่างครบถ้วน ทำให้ไก่ชนิดนี้มีโครงสร้างตัวที่ดี แม่พันธุ์สามารถผลิตไข่ได้ดีและใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงไม่นาน ซึ่งในเรื่องของการนำไปประกอบอาหาร เนื้อไก่มีรสชาติที่อร่อย เนื้อนุ่ม ไม่เหนียว เนื้อไม่ยุ่ย ไม่มีกลิ่นคาว และกลิ่นสาบ มีโปรตีนสูง พร้อมทั้งมีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำเมื่อเทียบกับไก่ทั่วไป การเลี้ยงไก่ตะนาวศรี เกษตรกรหลายพื้นที่ให้ความสนใจนำมาเลี้ยงแบบอินทรีย์มากขึ้น พร้อมทั้งไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง โดยนำสมุนไพรอย่างฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และไพลเข้ามาช่
หลักสูตรธุรกิจเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ร่วมจัดนิทรรศการในงานทุ่งใหญ่เกษตรแฟร์’66 ระหว่างวันที่ 4-13 กุมภาพันธ์ 2566 ภายใต้ธีมงาน นวัตกรรมการเกษตร สู่เศรษฐกิจมูลค่าสูง ในส่วนของบูธนิทรรศการมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรหลากหลายชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์ด้านพืชและสัตว์ ทั้งนี้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ^^ ไก่ขาวดอกแค ^^ ประกอบด้วย ไก่ขาวดอกแคพร้อมปรุง ข้าวมันไก่ขาวดอกแค ไก่ขาวดอกแคนึ่งพร้อมน้ำจิ้ม และไก่ย่างขาวดอกแค โดยไก่ขาวดอกแค คือไก่ที่พัฒนาปรับปรุงพันธุ์จากไก่ศรีวิชัย ซึ่งเป็นไก่พื้นเมืองอัตลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยดร.ณปภัช ช่วยชูหนู อาจารย์ประจำหลักสูตรสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย และทีมนักวิจัยต้องการให้ไก่มีอกใหญ่ เนื้อแน่น ไม่เหนียว โตไว และยังคงรสชาติแบบไก่พื้นเมือง พร้อมทั้งมีการโชว์การทำเมนูอาหารสารพัดไก่พื้นเมือง ให้ผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการได้ลิ้มชิ้มรสชาติ สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่คณะเกษตรศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย 108 ม.2 ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110 โทร.075-329936
ไก่พื้นเมือง เป็นไก่ที่เลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง หากผู้ที่เลี้ยงได้ทำการศึกษาถึงอุปนิสัยและวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้ถ่องแท้ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองก็จะไม่ใช่เรื่องยาก เพราะหาอาหารกินเองได้ โดยเฉพาะแมลง ไก่พื้นเมืองก็กินได้ จึงทำให้สามารถปล่อยเลี้ยงแบบธรรมชาติได้ ในเรื่องของการตลาดนั้นผู้บริโภคยังมีความต้องการ เพราะเนื้อไก่พื้นเมืองมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เมื่อนำมาประกอบอาหารมีความอร่อย แต่เมื่อเทียบจำนวนผู้เลี้ยงเพื่อจำหน่ายแล้ว ยังถือว่ามีอยู่จำนวนน้อยและตลาดยังมีความต้องการ จึงทำให้ราคาจำหน่ายของไก่พื้นเมืองมีราคาที่ดีตามไปด้วย ผู้ใหญ่ณรงค์ กิ่งแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 44 หมู่ที่ 14 ตำบลซับสนุ่น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นอาชีพเสริม โดยที่การเลี้ยงไม่ได้ลงทุนอะไรมาก จึงทำให้การจำหน่ายมีกำไรและสามารถมีรายได้ใช้จ่ายภายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี อาชีพหลักเลี้ยงโคนม เลี้ยงไก่พื้นเมืองเสริมรายได้ ผู้ใหญ่ณรงค์ เล่าให้ฟังว่า มีโอกาสได้มาอยู่ในจังหวัดสระบุรี เพราะเมื่อประมาณปี 2530 ทางรัฐบาลได้เปิดรับสมัครนักศึกษาที่จบทางด้านการเกษตร เข้าโครงการเกษตรกรก้
ไก่แจ้เป็นไก่พื้นบ้านที่มีขาสั้น แต่ด้วยลักษณะฉะเพราะของไก่แจ้ที่สวยงาม จึงเป็นที่นิยมนำไปเลี้ยง เกษตรกรหลายคนก็หันมาเลี้ยงไก่แจ้ ทั้งเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เพราะว่าไก่แจ้นั้นมีราคาขาย ที่สูงกว่าพันธุ์ไข่หรือพันธุ์เนื้อมาก โดยราคาที่ซื้อขายกันอยู่ที่หลักพันบาทจนถึงหลักหมื่นบาท คุณณรงค์ฤทธิ์ ยำบ๊ะ (หรือบังลิก) อายุ 40 ปี อาศัยอยู่ คลอง 12 ลำลูกกา ถ.ลำไทร ซอย 2 จังหวัดปทุมธานี เป็นเกษตรกรเลี้ยงไก่แจ้ เจ้าของเพจไก่แจ้บ้านบังลิก ปัจจุบันบังลิกเป็นเกษตรกรเลี้ยงไก่แจ้ อาชีพเกษตรกรเลี้ยงไก่แจ้เป็นเพียงอาชีพเสริม ของบังลิก เนื่องด้วยปัจจุบัน บังลิก เป็นพนักงานประจำอยู่ของบริษัทแห่งหนึ่ง บังลิก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งคนที่นำความชื่นชอบ มาเป็นอาชีพเสริมที่หารายได้เพิ่มให้กับครอบครัว จุดเริ่มต้น ในการเข้ามาสู้วงการไก่แจ้ของบังลิกเริ่มจาก ครอบครัวทำอาชีพเลี้ยงไก่กินเนื้อ แต่ด้วยความชอบส่วนตัว ชื่นชอบ ในลักษณ์พิเศษของไก่แจ้ที่ขาสั้น ตัวอ้วนกลม และสีขนที่สวยงามอย่างเป็นเอกลักษณ์ มีเสน่ห์ในตัวเอง ทำให้บังลิกหลงไหลในเสน่ห์ของไก่แจ้อย่างปฏิเสธไม่ได้ บังลิก กล่าวว่า ตนเองได้ศึกษาข้อมูลและอยู่ในเเวดวงไก่
การเลี้ยงกบและการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จัดเป็นอีกอาชีพที่นิยมเลี้ยงกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นชุมชนหรือหมู่บ้าน จะมีโครงการส่งเสริมให้เลี้ยงกบและไก่พื้นเมืองเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน และเหลือจากการบริโภคสามารถจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทาง ซึ่งสุพรรณฟาร์ม ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกฟาร์มหนึ่งที่เริ่มต้นจากการเลี้ยงเพื่อนำมาบริโภคในครัวเรือนสู่การเลี้ยงเป็นอาชีพที่สร้างได้ให้กับครอบครัว โดยได้ พลิกผันจากชีวิตข้าราชการครูมาประกอบอาชีพเกษตรกรอย่างพอเพียง คุณสุพรรณ คำเถิง เจ้าของสุพรรณฟาร์ม เปิดเผยว่า เริ่มเลี้ยงกบเมื่อปี พ.ศ.2549 ขณะนั้นยังรับราชการครู โดยจะใช้พื้นที่ภายในบริเวณบ้านสร้างบ่อซีเมนต์ จำนวน 10 บ่อสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร พื้นเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำตรงส่วนที่ลาดที่สุด ก่อนนำกบลงเลี้ยงจะทำการล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาดด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ ใส่ทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกล้างให้สะอาด ตากบ่อทิ้งไว้ให้แห้ง 1-2 วัน นำกบมาลงเลี้ยง โดยในปีแรกกบที่เลี้ยงได้ซื้อลูกกบมาในราคาตัวละ 3 บาท ในปีที่สองสามารถทำการเพาะพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์เองได้ จึงลดต้
กระผม คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ ผู้เขียน เดินทางผ่านจากบ้านค่ายลูกเสือ ถึงบ้านหนองแวง หมู่ที่ 5 ตำบลภูปอ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนถึงเทศบาลตำบลภูปอ เห็นป้ายขนาดใหญ่เชิญชวนท่องเที่ยว ริมอ่างเก็บน้ำฝายน้ำล้นห้วยแก่งน้อย คุณวิจิตรา สารปรัง ให้การต้อนรับด้วยไมตรีจิตร คุณนิยม สารปรัง อดีตข้าราชการครู ลาออกเมื่ออายุ 55 ปี ปัจจุบันอายุ 58 ปี กำลังทำความสะอาดโรงเรือนสุกรขุน อยู่ 2 คน อย่างมีความสุข ลูกสาว และลูกชาย จบการศึกษาไปทำงานมีฐานะที่มั่นคงแล้ว กลับมาเยี่ยมพ่อแม่บ้างเมื่อถึงวันหยุด “การเริ่มต้นที่ดีเท่ากับสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง” พื้นที่บริเวณนี้ 7 ไร่เศษ ตอนใต้ฝายน้ำล้น เริ่มต้นทำไร่นาสวนผสมตามแนวพระราชดำริฯ ได้รับการประสานงานจากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เลี้ยงโคขุน 10 ตัว ไปได้ดีและพอมีกำไรสวยงามมาก เพราะเป็นการออมเงินที่ดี วัวมีอาหารคือหญ้า หากเอาเงินหมื่นไปฝากธนาคาร ดอกเบี้ยไม่กี่บาท ซื้อวัวแม่พันธุ์ 1 ตัว ผ่านไป 1 ปีคลอดลูกได้ 5-6 พันบาท หรือขุนแบบซื้อมาขายไป ได้กำไรดีมาก คุณนิยม เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นคนบ้านนาจารย์ หมู่ที่ 2 ต
ไก่ประดู่หางดำ ถือเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองยอดนิยมที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะมีลักษณะเด่นตรงกับความต้องการของตลาด เป็นไก่พันธ์เนื้อที่มีอัตราการเจริญเติบโตดี มีรสชาติอร่อย ทำให้ไก่ประดู่หางดำเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นโครงการ ”จากจมูกถึงหาง” ละเอียด ละเมียด ละมุน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย คณะเกษตรศาสตร์ ในงานวิจัยยกระดับไก่พื้นเมืองสู่วัตถุดิบเมนูสากลระดับโลก กว่าจะได้ไก่ที่มีรสชาติอร่อย เป็นเมนูขึ้นโต๊ะอาหารได้อย่างสวยงามนั้น ต้องอาศัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่ประดู่หางดำ จากทีมอาจารย์นักวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้แผนงานวิจัย นวัตกรรมและการพัฒนากระบวนการผลิตไก่พื้นเมือง (ประดู่หางดำ) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2564 ในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาปรับใช้ในกระบวนการเลี้ยงไก่ ควบคู่กับการให้ความรู้เกษตรกร ตั้งแต่การฟักไข่ การดูแลพ่อแม่พันธุ์ การนำงานวิจัยเข้ามาช่วยในเรื่องการลดต้นทุนอาหารเพื่อให้ขายไก่มีกำไรมากขึ้น หลังจากเมื่อได้ไก่ที่สมบูรณ์แล้ว ในโครงการยังช่วยเรื่องกา
ไก่เบตง สัญลักษณ์ใต้สุดแดนสยาม หลายท่านคงรู้จักไก่เบตงในเรื่องของรสชาติ ความอร่อย จุดเด่นของไก่สายพันธุ์นี้คือ เนื้อนุ่ม หนังกรอบ ไม่มีมันผสม กินแล้วอาจทำให้ลืมไก่เนื้อสายพันธุ์อื่นได้ และนอกจากความอร่อยแล้ว ไก่เบตงยังติดอันดับไก่เนื้อที่มีราคาแพงที่สุดในประเทศไทย คิดราคาแบบปรุงสำเร็จแล้ว ตกตัวละ 1,200 บาท แต่อย่าเพิ่งตกใจกับราคา ขอบอกเลยว่าไก่เบตงคุ้มค่าคุ้มราคาแน่นอน เพราะกว่าจะเป็นเนื้อไก่ที่อร่อยขนาดนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงเขาต้องใช้เวลาเลี้ยงถึง 6 เดือน เทียบกับไก่ทั่วไปแล้วใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนานกว่ากันถึงเท่าตัว จึงไม่แปลกที่ไก่เบตงจะมีรสชาติอร่อย และกำลังเป็นของหายากในขณะนี้ คุณธนันท์รัฐ อุดมธันยรัตน์ หรือ โกช้าง อยู่บ้านเลขที่ 54 ถนนรัตนเสถียร ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เกษตรกรมืออาชีพชื่อเสียงโด่งดังในวงการคนเลี้ยงไก่เบตง เล่าว่า ไก่เบตง เข้ามาในประเทศไทยโดยชาวจีนอพยพมาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้ว แต่ค่อนข้างหาคนเลี้ยงได้ยากเต็มที สาเหตุเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เลี้ยงยาก ต้นทุนสูง ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนานถึง 6 เดือน เลี้ยงแล้วขาดทุน อีกส่วนหนึ่งคือคนรุ่นใหม่ไม่สานต่อ เข้าไปทำงานป