วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 17.30 น. นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน “พันธุ์ไม้งาม อร่ามชล 2566” โดยมีเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับเขต (ภาคตะวันออก) ร่วมจัดกิจกรรม 10 ปี Young Smart Farmer ภาคตะวันออกภายในงานดังกล่าว ภายใต้แนวคิด “Proud to be”
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลงานและเรื่องราวของ Young Smart Farmer ภาคตะวันออกใน 10 ปีที่ผ่านมา โดยมี นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดงาน และลงนามร่วมกันบนผ้าบาติกโลโก้ 10 ปี Young Smart Farmer และมอบรางวัลยอดเยี่ยมให้แก่ผู้ชนะการประกวดโชคเก้าชั้นประเภทลูกผสมใหม่ ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
MOST POPULAR
ใครจะคิดว่า “กะปิ” ของที่อยู่คู่ครัวไทย จะกลายเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำ ไคโตซาน ธรรมชาติที่ใช้บำรุงพืช บำรุงดินได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ต้องเสียเงินซื้อไคโตซานราคาแพงอีกต่อไป วันนี้เราจะพาไปรู้จัก “ไคโตซานจากกะปิ” พร้อมสูตรทำเองง่ายๆ และวิธีใช้งานที่เห็นผลจริงในแปลงเกษตร ไคโตซาน (Chitosan) เป็นสารธรรมชาติที่ได้จากการสกัด “ไคติน” ซึ่งพบมากในเปลือกกุ้ง เปลือกปู หรือแม้แต่ใน “เคย” ที่ใช้ทำกะปิ เมื่อสกัดออกมาแล้วจะได้สารไคโตซานที่มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของพืช ทำให้พืชแข็งแรง ต้านโรค ต้านแมลง และยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยอีกด้วย ประโยชน์ของไคโตซานจากกะปิ วิธีผลิตไคโตซานจากกะปิ ใช้ง่าย ทำเองได้ที่บ้าน วัสดุที่ต้องเตรียม ขั้นตอนการทำ วิธีใช้ไคโตซานจากกะปิ
คนที่ชอบกินผลไม้ หรือใครมีที่ข้างบ้าน ข้างสวน อยากแนะนำปลูกผลไม้ 8 ชนิดนี้มีติดบ้านไม่อดตาย มีกินทั้งปี แถมยังขายเสริมรายได้ได้อีกด้วย หรือตอนนี้บ้านไหน มีผลไม้เหล่านี้อยู่บ้าง มาเล่าสู่กันฟังหน่อยว่าปลูกแล้วเป็นยังไงกันบ้าง อีกอย่างไม้ผลบางชนิดอายุยืนมากๆ เหมาะกับสภาพอากาศแบบบ้านเรา และบางชนิดแตกหน่อออกผลผลิตได้เรื่อยๆ โดยไม่สนใจฤดูกาลให้ผลผลิตทั้งปี 🟡ส้มโอ ส้มโอจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุ 3-4 ปีขึ้นไป จากนั้นจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี และจะให้ผลผลิตดีคงที่ตราบเท่าที่ต้นยังสมบูรณ์ อยู่จนอายุประมาณ 20-30 ปี นิสัยส้มโอทุกสายพันธุ์จะออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคม-กันยายน (ดกมาก) รุ่นสองออกดอกเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคมถึงเมษายน (ดกน้อยกว่ารุ่นแรก) แต่ผลรุ่นสองมีคุณภาพดีกว่ารุ่นแรกเพราะผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง ถ้าต้องการทำให้ผลรุ่นแรกดีเหมือนรุ่นสองจะต้องควบคุมปริมาณน้ำ โดยเฉพาะน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้เท่านั้น เคล็ดลับ : การใส่ปุ๋ย ในช่วงแรกปลูกไป 1 เดือน จะใส่ปุ๋ยคอก ขี้หมู ขี้วัว ห
วานิลลา (Vanilla) เป็นหนึ่งในเครื่องเทศที่มีความหอมหวานและได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการผลิตน้ำหอมและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว แม้ว่าในอดีตวานิลลาจะเป็นพืชที่พบมากในพื้นที่เขตร้อนของทวีปอเมริกา แต่ปัจจุบันวานิลลาสามารถปลูกได้ในประเทศไทย ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในสินค้าการเกษตรที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงและสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างมหาศาล เห็นฝักเล็กๆ แบบนี้ราคากิโลกรัมละ 20,000 บาท วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน จะพาไปทำความรู้จัก “เจ้าวานิลลา” ฝักจิ๋ว แต่ราคาไม่จิ๋ว เผลอๆ บางคนอาจจะไม่เคยเห็นด้วยซ้ำว่าแท้จริงแล้วหน้าตาของวานิลลานั้นเป็นยังไง ตามไปดูเรื่องราวกันได้เลย วานิลลาเป็นพืชในสกุลวานิลลา (Vanilla) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับกล้วยไม้ (Orchidaceae) การได้ฝักวานิลลาต้องผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้เวลานานเกือบหนึ่งปี ตั้งแต่ขั้นตอนการผสมเกสรไปจนถึงการบ่มฝักวานิลลา เพื่อให้เกิดสารวานิลลิน (Vanillin) ที่ให้กลิ่นหอม ซึ่งสารนี้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม ความพิเศษของวานิลลาทำให้ราคาสูง ราคาของวานิลลาในท้องตลาดมักจะสูงกว่าพืชผลเกษตรอื่นๆ หลายเท่า ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยส
การปลูกวานิลลาให้โตเร็วและเก็บเกี่ยวผลผลิตใน 2 ปีต้องอาศัยการดูแลอย่างพิถีพิถันในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกพันธุ์ การจัดการพื้นที่ การให้น้ำ ปุ๋ย และการตัดแต่งต้นให้เหมาะสม หากทำได้ตามนี้ จะสามารถเพลิดเพลินกับผลผลิตวานิลลาคุณภาพเยี่ยมที่ทั้งหอมและมีมูลค่าสูงได้อย่างแน่นอน การเก็บเกี่ยวผลผลิตของวานิลลา อย่างเร็วที่สุดประมาณ 1 ปี จะเริ่มออกดอก ถ้าโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 ปี ขึ้นอยู่กับต้นพันธุ์ที่นำมาปลูก ควบคู่กับการดูแลจัดการที่ดี เพราะพอวานิลลาเริ่มออกดอกจะไม่สามารถติดฝักได้เองโดยธรรมชาติ ต้องผสมเกสรด้วยมือเองทุกดอกทุกฝัก จากนั้นหลังจากติดฝักก็ต้องรอจนกว่าฝักจะสุก สังเกตได้จากฝักวานิลลาที่เปลี่ยนจากสีเขียวสดเป็นสีเหลืองอ่อนที่ปลายฝัก ราคาของ “วานิลลา” ที่สูง เนื่องจากเมื่อได้ผลผลิตแล้ว ยังไม่สามารถนำมาขายได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการ “บ่ม” ซึ่งใช้เวลารวมหลายเดือน จนถึง 1 ปี การบ่มฝักวานิลลา 1. หลังจากเก็บฝักวานิลลามาแล้ว นำฝักวานิลลาไปลวกน้ำร้อนในอุณหภูมิ 63-65 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที 2. นำฝักวานิลลาไปตากแดด ช่วงที่แดดจัด วันละ 2-3 ชั่วโมง ประมาณ 10 วัน 3. จากนั้นนำมาผึ่งลมในที่ร่ม หรือเรียกว