ปศุสัตว์
นายเชาวรัตน์ อ่ำโพธิ์ ประธานเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการสั่งซื้อแพะจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ลาว และเวียดนาม เข้ามาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในประเทศลาวนั้นได้เริ่มมีการส่งเสริมการเลี้ยงแพะจากภาครัฐ เช่น ที่แขวงอัตบือ ทางเจ้าแขวงได้มีนโยบายในการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแพะแก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อบริโภคในประเทศและส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม ในขณะที่ทางนครเวียงจันทน์มีนักลงทุนชาวไทยไปลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงแพะเพื่อป้องกันตลาดภายในของลาว และวางเป้าหมายที่จะส่งออกไปยังเวียดนามต่อไป “ในประเทศลาวนั้น ข้อมูลล่าสุดเท่าที่ติดต่อผ่านทางเครือข่ายผู้เลี้ยงแพะแห่งประเทศไทย แจ้งว่ามีความต้องการแพะเพื่อทั้งนำไปเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ และแพะขุน ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5,000 ตัว ในขณะที่ทางเวียดนามมีความต้องการสูงเช่นกัน ทั้งผลมาจากการเติบโตด้านการท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ เข้าไปเที่ยวมากขึ้น และจากสาเหตุที่กรมปศุสัตว์ของไทยมีความเข้มงวดในการป้องกันการลักลอบส่งสุนัขไปยังเวียดนาม ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการบริโภค จากสุนัขมาเป็นแพะ แกะ มากขึ้น ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาทางเวียด
“การทำฟาร์มนั้น เราต้องพัฒนาตัวเราขึ้นเรื่อยๆ พัฒนาโคพันธุ์ดี พัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงก็ดี เทคโนโลยีการผสมพันธุ์ก็ดี เจ้าของฟาร์มต้องศึกษาหาความรู้เอาวิทยาการใหม่ๆ เข้ามาเสริมด้วย” หนึ่งในมุมมองของการประกอบอาชีพการทำฟาร์มเลี้ยงโคที่จะทำให้สามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จของ คุณสัญญา สุภาพพรชัย กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรชัย อินเตอร์เทรด อดีตนายกสมาคมผู้บำรุงพันธุ์โคบราห์มันแห่งประเทศไทย ที่สำคัญ กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรชัย อินเตอร์เทรด ผู้นี้ เป็นหนึ่งในผู้นำการใช้เทคโนโลยีน้ำเชื้อที่ผลิตโดยเทคโนโลยีแยกเพศ (Sex Sourcing) ที่สามารถกำหนดเพศของลูกโคได้ผลสำเร็จถึงร้อยละ 90 จากต่างประเทศเข้ามาใช้เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย ด้วยคุณสัญญาได้เห็นว่า ปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคอย่างหนึ่งคือ การบริหารจัดการขยายตัวของฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นโคเนื้อหรือโคนม เจ้าของฟาร์มต่างตระหนักดีถึงปัญหาสำคัญนี้ ทั้งนี้ ฟาร์มโคเนื้อ โคนม ต่างล้วนมีความต้องการลูกโคตรงตามเพศที่ต้องการเพิ่มประชากรโคให้มีจำนวนที่ต้องการ แม้ว่าการผสมเทียมจะเป็นวิธีการที่สำคัญในการเพิ่มปริมาณโค แต่ก็ยังกำหนดเพศของลูกโคไม่ได้ผลตามเป้า
พูดถึงไก่เนื้อโคราช ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากพอสมควร แต่เชื่อว่ายังมีผู้คนบางส่วนที่ไม่รู้จัก ดังนั้น ก่อนจะไปเยี่ยมชมฟาร์มของเกษตรกร มาทำความรู้จักกับเจ้าไก่พันธุ์นี้กันก่อน ซึ่งคนที่ได้ลิ้มชิมรสชาติเมนูไก่โคราชแล้วต่างติดอกติดใจรสชาติกันเป็นแถว ผศ. ดร. อมรรัตน์ โมฬี อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เล่าว่าโครงการวิจัย การสร้างสายพันธุ์ไก่เนื้อโคราช เริ่มต้นเมื่อปี 2552 เป็นความร่วมมือระหว่าง มทส. กับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) และกรมปศุสัตว์ ตอนนี้ก็มีธนาคารเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้ามาร่วมด้วย โดยมีเกษตรกรในโครงการและได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัยดังกล่าวมากกว่า 100 คนแล้ว นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรอีก 100 คน ที่รอเข้าร่วม แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีข้อจำกัดเรื่องการผลิตลูกไก่ ที่ผลิตได้แค่ 44,000 ตัว ต่อเดือน จึงทำให้เกษตรกรไม่สามารถซื้อลูกไก่ไปเลี้ยงได้ ต้องการหาคนเพาะลูกเจี๊ยบ ผศ.ดร. อมรรัตน์ ให้ข้อมูลของไก่ชนิดนี้ว่าเป็นไก่ลูกผสมพื้นเมืองที่มีพ่อพันธุ์เป็นไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาว และแม่พันธุ์ไก่สายพันธุ์ มทส.เ
เมื่อกล่าวถึง ข .เอย ข. ไข่ …ไข่นับว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และประชาชนทั่วไปมักรู้จักไข่ดีเพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง ไข่ป็นแหล่งสร้างสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ในไข่แดงมีสาร Lutein และ Zeaxa เป็นสารจำพวกแคโรทีน จากงานวิจัยทางการแพทย์ระบุว่า สารอาหารทั้ง 2 ชนิด สามารถป้องกันการเสื่อมของจอรับภาพที่ตาได้ ในขณะที่ไข่ขาวเป็นโปรตีนชั้นดี ร่างกายสามารถนำไปใช้ทดแทนเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพได้ เมื่อเทียบคุณค่าสารอาหารระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่แล้ว จะมีส่วนแตกต่างกันบ้าง กล่าวคือ ไข่ไก่จะให้สารอาหารด้านโปรตีน แคลเซียม และเหล็ก แต่ในด้านพลังงานไข่เป็ดจะเป็นแหล่งให้พลังงาน ไขมัน วิตามินบี1 บี 2 ได้ดีกว่าไข่ไก่ แม้ว่าไข่เป็ดจะมีคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานมากมายเพียงใดแต่คนไทยกลับบริโภคไข่เป็ดน้อยลง เมื่อไม่นานมานี้ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้มีโอกาส ไปสัมภาษณ์คุณสายใจและคุณเสถียร ตระกูลพรายงาม ผู้ค้าไข่เป็ดระดับกลางในจังหวัดสุพรรณบุรี คุณเสถียร เล่าว่า ทางบ้านเลี้ยงเป็ดมานานแล้ว ไม่ต่ำกว่า 50ปี ทำมาตั้งแต่สมัยเตี่ย เลยยึดอาชีพนี้ทำมาหากิน ในสมัยก่อนไข่เป็ดราคาฟองละ 50 สตางค์ แต่ในปัจจุบ
ได้รับโอกาสดีได้ไปเยี่ยมชมและพูดคุยกับเจ้าของโรงเชือดวัวที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลคือ บริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด จึงนำความรู้และประสบการณ์ดีๆ มาแบ่งปันค่ะ ตามไปดูว่ามาตรฐานสากลของโรงเชือดที่ว่านี้เป็นอย่างไร เริ่มจากธุรกิจเขียงเนื้อวันนี้ได้รับรองมาตรฐานระดับสากล คุณไพฑูรย์ ฮึกหาญ เจ้าของบริษัท อิบรอฮีม แอนด์ บีฟ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 28/1 หมู่ที่ 11 ตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เริ่มเล่าให้ฟังว่า “เมื่อเรียนจบในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีจังหวัดราชบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2523 จึงเข้ากรุงเทพฯ เพื่อหางานทำ จนผมได้ไปเปิดเขียงจำหน่ายเนื้อวัวที่ตลาดศิริชัย บางบอน 1 เขตบางบอน แต่ในตลาดมีคู่แข่งเยอะ ผมจึงสร้างจุดเด่นโดยเอาชิ้นส่วนวัวมาเป็นชิ้นใหญ่ๆ เลย อย่างขา ซีกลำตัววัว เอามาแขวนโชว์ที่เขียง มีลูกค้าขาประจำอย่างมากมาย ต้องมีเนื้อโคไปวางจำหน่ายถึงวันละ 3 ตัน” จุดเปลี่ยนอีกครั้งในธุรกิจเนื้อวัวของคุณไพฑูรย์คือ “ในสมัยรัฐบาลหนึ่งภาครัฐส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจเนื้อวัวทำให้เป็นธุรกิจถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล ผมจึงรับเ
เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ช่วงนี้สภาพดินในพื้นที่เกิดความชุ่มชื้นและมีหญ้าชนิดต่างๆ ขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่ทุกที่ ซึ่งส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเนื้อในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นอย่างมาก โดยเกษตรกรหลายรายพากันมาตัดหญ้าตามริมถนนและคันนา เพื่อนำไปให้วัวของตนเองกินอย่างคึกคัก นายสนิท บ่มกลาง อายุ 60 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงวัว บ้านบุ หมู่ 4 ต.บิง อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ก่อนหน้านั้นในพื้นที่ อ.โนนสูง ประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง หลายพื้นที่ไม่มีหญ้าอ่อนขึ้นตามธรรมชาติ ขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่ก็นิยมจุดไฟเผาตอซังข้าว ทำให้วัวไม่มีหญ้ากิน เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เพราะต้องต้อนวัวไปหากินไกลถึงริมลำน้ำมูล เป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร อีกทั้งยังต้องไปหาซื้อฟางอัดก้อนมาให้วัวกินในช่วงไม่ได้ต้อนไปหากิน ซึ่งก็ทำให้วัวมีสภาพผอมโซ ขายไม่ค่อยได้ราคา อย่างเช่นตนเลี้ยงวัวพันธุ์บราซิลผสมบรามันไว้จำนวน 5 ตัว เพื่อหวังนำไปขายพอเป็นรายได้สำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงฤดูทำนา จึงต้องเสียเงินซื้ออาหารเสริมมาให้ ตกราคากระสอบละ 30
ย่านมีนบุรี หนองจอก เป็นที่รู้กันว่า เป็นแหล่งทำมาค้าส่ง โดยเพาะสัตว์เลี้ยงสวยงามในกลุ่มสัตว์ปีกหลายชนิด และเป็นแหล่งค้าส่งสัตว์ปีกมาเนิ่นนาน นับตั้งแต่ยุคตลาดนัดจตุจักรยังไม่เปิดทำการ ตลาดค้าขายเสื้อผ้าและสัตว์เลี้ยงเท่าที่มีในขณะนั้น เป็นตลาดที่เปิดขายในเวลากลางคืน บริเวณโดยรอบท้องสนามหลวง แม้กระทั่งปัจจุบัน มีตลาดนัดจตุจักร โซนสัตว์เลี้ยง แหล่งเพาะขยายพันธุ์ค้าปลีกและส่ง ย่านมีนบุรีและหนองจอก ก็ยังคงเป็นแหล่งใหญ่ที่พ่อค้าคนกลางรับมาขายต่อพ่อค้าแม่ค้าในตลาดนัดจตุจักรอีกทอด คุณวสันต์ สมานตระกูล เจ้าของสมานตระกูลฟาร์ม ให้ข้อมูลว่า สัตว์เลี้ยงสวยงามในกลุ่มสัตว์ปีก มีความต้องการสม่ำเสมอทุกปี มีเพียงปีที่ไข้หวัดนกระบาดเท่านั้นที่การซื้อขายสัตว์ปีกหยุดชะงักไปนาน 2-3 ปีให้หลัง แต่ก่อนหน้าและหลังจากหมดปัญหาไข้หวัดนกระบาด สัตว์ปีกทุกชนิดก็กลับมามีคุณภาพและขายได้ราคาตามเดิม สมานตระกูลฟาร์ม เป็นแหล่งซื้อขายสัตว์ปีกในกลุ่มของไก่สวยงามมากว่า 30 ปี คุณวสันต์ เล่าว่า ในอดีตคุณพ่อรับราชการครู คุณแม่เป็นแม่บ้าน เงินเดือนข้าราชการสมัยนั้นไม่มาก จึงต้องหารายได้เสริม คุณแม่จึงคิดเลี้ยงไก่สวยงามเพื่อส่งข
การส่งเสริมการผลิตอาหารผสมครบส่วน หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของอาหาร TMR สำหรับใช้เลี้ยงโคนม เป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาด้านอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ภายใต้โครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลพบุรี ปี 2559 ตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายภานุ แย้มศรี ที่เน้นการดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานราชการต่างๆ ในจังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลพบุรี และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ จังหวัดลพบุรีโดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรีได้จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การรับซื้อหญ้าอาหารสัตว์ โครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดลพบุรี ปี 2559 กิจกรรมส่งเสริมการผลิตอาหาร TMR สำหรับใช้เลี้ยงโคนมสหกรณ์ กับสหกรณ์โคนมพัฒนานิคมจำกัด โดยมี นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธาน พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานตามโครงการ เป็นการสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบการผลิตและการตลาดที่มีประสิทธิภาพ สมาชิกสหกรณ์ได้รับกา
วันที่ 26 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ต.แม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ชาวบ้านทั้งในและนอกพื้นที่ได้เอ่ยถึงนายประเสริฐ บุญมานิต อายุ 43 ปี อาศัยอยู่ภายในชุมชนหลังวัดเพชรสมุทรวรวิหาร ที่มักปั่นจักรยานคู่ใจกินลมโดยมีไก่แจ้ตัวหนึ่งเกาะแฮนด์รถจักรยานนั่งนิ่งเฉยไม่กระดุกกระดิกเหมือนตุ๊กตาไก่ไปตามถนนภายในวัดเพชรสมุทรวรวิหารเป็นประจำช่วงเช้าและช่วงเย็น จนชาวบ้านสงสัยคิดว่าเป็นตุ๊กตา สร้างแปลกตาให้กับผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวที่บริเวณตลาดร่มหุบ ที่ส่วนใหญ่จะนำกล้องขึ้นมาบันทึกภาพความน่ารักและแสนรู้ของเจ้าไก่แสนรู้ตัวนี้ นายประเสริฐ เจ้าของไก่แสนรู้ตัวนี้ กล่าวว่า ไก่ของตนชื่อเจ้าทอง เป็นไก่แจ้พันธุ์จากญี่ปุ่น อายุ 2 ปี โดยตนเองเปิดร้านขายอาหารตามสั่งและเลี้ยงไก่แจ้ไว้ประมาณ 40 ตัว ซึ่งไก่แจ้ตัวนี้มีลักษณะพิเศษ ที่มีสีโดดเด่น และมักจะชอบเดินมาหาตนเองและทำท่าจะจิกใส่เวลาเดินหนีเจ้าลูกเจี๊ยบก็จะวิ่งตาม ตนจึงเลี้ยงลูกเจี๊ยบตัวนี้เป็นอย่างดี และตั้งชื่อว่าเจ้าทอง และจัดหาห้องพักให้ไก่ตัวนี้ด้วย เวลาจะปั่นจักรยานไปไหนก็จะพาเจ้าลูกเจี๊ยบตัวนี้
ตอนนี้หลายคนหันมาสนใจทำการเกษตรเป็นรายได้เสริม และมีไม่น้อยที่ทำเงินได้จนกลายเป็นรายได้หลัก อย่างดาบตำรวจที่พะเยาที่หันมาเลี้ยงไก่งวงออกขาย ปรากฏว่าสร้างรายได้เดือนละหลายหมื่นบาท ตอนนี้กำลังพัฒนาเพื่อส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย ดาบตํารวจสมบูรณ์ นันทพิศ ตํารวจสังกัดกองบังคับการตํารวจภูธรจังหวัดพะเยา เล่าว่า ตนได้ใช้เวลาว่างจากงานรับราชการตำรวจในวันหยุด หันมาเพาะพันธุ์ไก่งวงออกจําหน่าย ภายในบริเวณบ้าน ในพื้นที่บ้านดอกบัว หมู่ที่ 4 ตําบลบ้านตุ่น อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อเป็นอาชีพเสริมให้กับตนเองและครอบครัว ซึ่งสามารถจําหน่ายได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เนื่องจากหากมีการเพาะพันธุ์ออกมาเสร็จแล้ว ลูกของไก่งวงอายุไม่เกิน 1-2 เดือน ก็จะมีคนมาสั่งจองซื้อกันจนหมด ดาบตํารวจสมบูรณ์ ยังกล่าวด้วยว่า ตนเองหันมาเลี้ยงไก่งวงเป็นอาชีพเสริม ได้ปีกว่าๆ แล้ว โดยเริ่มจากพ่อพันธุ์ 2 ตัว แม่พันธุ์ 5 ตัว นํามาเพาะขยายพันธุ์โดยเฉลี่ยแล้ว ภายในระยะเวลา 2-3 เดือน แม่พันธุ์แต่ละตัวจะให้ลูกประมาณ 15-20 ตัว และนํามาเลี้ยงประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็สามารถจําหน่ายได้แล้ว ในราคาเริ่มต้นที่ 200 บาท