ปศุสัตว์
จังหวัดลพบุรี เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ภูมิประเทศของจังหวัดลพบุรี แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ที่ราบลุ่ม และพื้นที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำป่าสัก มีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อกักเก็บน้ำ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับชาวจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งยังมีแม่น้ำลพบุรีไหลผ่านทางฝั่งตะวันตกของจังหวัด รวมทั้งมีระบบคลองชลประทานที่เป็นประโยชน์ในทางเกษตรกรรม สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปเป็นแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดลพบุรี ประกอบอาชีพด้านการเกษตรทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การผลิตปศุสัตว์ที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร โคนม โคเนื้อ ทั้ง 4 ชนิดสัตว์สามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดลพบุรีไม่น้อยกว่า 19,917 ล้านบาท ต่อปี และแม้ว่าที่ผ่านมา แพะ จะไม่ได้จัดอยู่ในปศุสัตว์ที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี แต่จากตัวเลขการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ พบว่า จำนวนแพะ
นายกฤษชนะ นิสสะ หัวหน้าโครงการศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ กรมป่าไม้ กล่าวว่า ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ศรีสะเกษ เป็นโครงการในสมเด็กพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องการทำกินในพื้นที่ป่าไม้ของราษฎร “ให้กรมป่าไม้พิจารณาจัดหาพื้นที่ทดลองทำโครงการ โดยส่งเสริมอาชีพเพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้โดยไม่ทำลายป่า” โครงการฯ จึงนำแนวพระราชดำริ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยได้จัดทำแปลงสาธิตแนวพระราชดำริด้วยการใช้ระบบวนเกษตรมาเป็นต้นแบบในการส่งเสริมอาชีพให้มีการปลูกไม้วงศ์ยาง และศึกษาวิจัยการเพาะเห็ดป่ากินได้กับไม้วงศ์ยาง เช่น ยางนา เต็ง รัง ควบคู่กันไป เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ทั้งยังจะได้ไม้ไปใช้สอยในการก่อสร้าง ซึ่งระหว่างที่รอต้นไม้วงศ์ยางเติบโตจนสามารถใช้ประโยชน์ได้นั้น ต้องใช้เวลา 5- 30 ปี ในช่วงระหว่างนี้จึงได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านหาประโยชน์จากพื้นที่ ซึ่งประชาชนในภาคอีสาน มีวิถีชีวิตด้วยการเก็บของป่ามาทาน อย่าง หน่อไม้ ผักหวาน และเห็ดป่า หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า หนึ่งในโครงการฯ คือ การผลิตเห็ดระโงกมีจุดเริ่มต้นในปี 2550 เมื่อโครงก
สำหรับผลการปฏิบัติงานจับกุมการลักลอบนำเข้าเนื้อเถื่อน ของกรมปศุสัตว์ ในปีงบประมาณ 2558-2559 คือตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557-4 พฤษภาคม 2559 นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้ให้ข้อมูลว่า ปีงบประมาณ 2558 ได้จับกุม/ยึด/อายัดของกลาง 51 ครั้ง ได้ของกลาง 685,895 กิโลกรัม มูลค่า 62,404,520 บาท ของกลางที่ทำลายไปแล้ว จำนวน 502,002 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 52,694,020 บาท ขณะที่ปีงบประมาณ 2559 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558-4 พฤษภาคม 2559 ได้จับกุม/ยึด/อายัดของกลาง 76 ครั้ง ได้ของกลาง 373,902.39 กิโลกรัม มูลค่า 38,826,311 บาท ของกลางที่ทำลายไปแล้ว จำนวน 285,759 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 30,687,521 บาท ทั้งนี้ เนื้อเถื่อนที่จับได้ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อที่นำเข้ามาจากประเทศอินเดีย โดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับการนำเนื้อเถื่อนเข้ามาจำหน่าย หรือที่เรียกว่า การสวมเนื้อว่า ทำได้โดยนำเนื้อโคอินเดียมารวมกับเนื้อวัวไทยที่เพิ่งเชือด แล้วนำเลือดมาสาดละเลงให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนนำออกขายตลาด โดยจะมีการลักลอบนำเนื้อโคเถื่อนประเทศอินเดียเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางชายแดนไทย-มาเลเซีย จากนั้นนำมาสวม
ไก่พื้นเมืองหรือ “ไก่บ้าน” เป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญในชุมชนและท้องถิ่น และเป็นแหล่งอาหารที่สร้างความมั่นคงทางอาหารให้คนไทยมาตลอด ขณะเดียวกัน การเลี้ยงไก่พื้นเมืองยังเป็นทางเลือกอาชีพสำหรับเกษตรกรรายย่อย เนื่องจากใช้เงินลงทุนน้อย ดูแลจัดการง่าย ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองกว่า 2.36 ล้านครัวเรือน และมีไก่พื้นเมืองไม่น้อยกว่า 72.5 ล้านตัว ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยพันธุ์ไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงมีหลายสายพันธุ์ เช่น ไก่พันธุ์ประดู่หางดำ ไก่พันธุ์เหลืองหางขาว ไก่พันธุ์แดง ไก่พันธุ์ชี และไก่พื้นเมืองลูกผสม เป็นต้น ซึ่งราคาซื้อขายไก่พื้นเมืองจะสูงกว่าไก่เนื้อ หากเกษตรกรมีระบบการผลิตไก่พื้นเมืองที่ได้มีมาตรฐาน คาดว่าจะทำให้มีโอกาสในการเข้าสู่ตลาดและมีช่องทางจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า ขณะนี้ มกอช. ได้ร่วมกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตรเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก
เนื่องจากขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝนทำให้สภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้สัตว์เกิดความเครียด ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคและเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคคอบวมหรือโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคติดต่อที่สำคัญในโค กระบือ แพะ แกะ และสุกร มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถติดต่อและแพร่กระจายได้โดยการกินหรือสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยตรง หรือเชื้อที่ปนเปื้อนจากคน ยานพาหนะ เป็นต้น เพราะเชื้อไวรัสจะถูกขับออกมาจากสัตว์ป่วยทางน้ำมูก น้ำลาย น้ำนม มูล ลมหายใจ และบาดแผล สัตว์ที่ป่วยจะซึม มีไข้ เบื่ออาหาร มีเม็ดตุ่มพองเกิดขึ้นที่ริมฝีปาก ช่องปากและไรกีบ ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเดินกะเผลก เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่มียารักษา แต่จะใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาม่วงลดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเท่านั้น ส่วนโรคคอบวมหรือโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย จะทำให้สัตว์มีอาการคอหรือหน้าบวมแข็ง หายใจเสียงดังหรือหอบ ยืดคอไปข้างหน้า ส่วนใหญ่มักมีอาการแบบเฉียบพลันคือ ไข้สูง น้ำลายฟูมปาก หยุดกินอา
Zero Waste เป็นแนวคิดในการที่จะทำให้ไม่เกิดของเหลือ หรือทำให้เกิดของเหลือน้อยที่สุดในกระบวนการผลิต แล้วจึงนำส่วนที่เหลือไม่สามารถใช้ประโยชน์แล้วไปกำจัด เริ่มมีการนำมาใช้ในช่วง ค.ศ. 1970 ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งภาคอุตสาหกรรมยังได้มีการแลกเปลี่ยนหรือขายของเหลือดังกล่าวให้กับโรงงานหรือสถานประกอบการอื่นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ทำให้ของเหลือเหล่านั้นมีจำนวนน้อยลงไปอีกด้วย ประชากรที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลาทำให้มีการผลิตที่ต้องตอบสนองความต้องการของประชากรจำนวนมาก ภาคอุตสาหกรรมจึงมีการเติบโตเป็นอย่างมาก ทำให้ปัจจุบันภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชากรโลกได้ถูกภาคอุตสาหกรรมและชุมชนเมืองเข้ามาใช้พื้นที่แทนเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะมีการรุกคืบหน้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่ในการทำการเกษตรมีน้อยลง อีกทั้งทรัพยากรที่จะนำมาใช้สำหรับการทำเกษตรกรรมก็ยังถูกแบ่งไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมและชุมชนเมือง เช่น ทรัพยากรน้ำ เป็นต้น การจัดการทรัพยากรทางด้านการเกษตรจึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการรุกเข้ามาของภาคอุตสาหกรรมและชุมชนเมือง รวมถึงการที่จะต้องปรับใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประ
นักศึกษาจากถิ่นไหน หากได้มีโอกาสลงมือจริงกับฟาร์ม นั่นถือเป็นโอกาสทองอันดีงาม และที่นี่ก็เช่นกัน หากมีโอกาสได้เข้ามาฝึกงานภายในคุณสุข ฟาร์ม ที่มีคุณเชาวรัตน์ อ่ำโพธิ์ หรือ ลุงเป้ง เจ้าของฟาร์มแพะครบวงจร เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ด้านปศุสัตว์แพะ แกะ ปี2552 ทั้งยังเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนามของปราชญ์เกษตร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโอกาสครบรอบ 72 ปี และทุกวันนี้ คุณสุข ฟาร์ม ยังตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ปศุสัตว์ประเภท แพะ-แกะ สระบุรี เปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจงานด้านเกษตร โดยเฉพาะการเลี้ยงแพะ-แกะ จากทุกมุมของประเทศ เข้ามาเรียนรู้และศึกษา โดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทน คุณเชาวรัตน์ ให้ข้อมูลว่า พื้นที่โดยรอบ “คุณสุข ฟาร์ม” มีพื้นที่ทั้งหมด 52 ไร่ เป็นฟาร์มแพะ-แกะ ปัจจุบัน มีแพะ ประมาณ 200 ตัว แกะ ประมาณ 80 ตัว แต่จำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นกับความต้องการของตลาดและการจัดการภายในฟาร์ม ซึ่งฟาร์มที่นี่ต้องเป็นที่พักให้กับสัตว์ที่เตรียมจะจัดส่งให้กับลูกค้า ทำให้จำนวนแพะและแกะ เพิ่มขึ้น ลดลง อยู่ตลอดเวลา เหตุผลที่คุณเชาวรัตน์ เปิดฟาร์มให้เป็นศูนย์เรียนรู้ปศุสัตว์ให้กับผู้สนใจ และเป็นสถานที่ฝึกงานให้ก