ปศุสัตว์
“ไส้เดือน” เปรียบเสมือนเพื่อนในไร่ ที่ทำหน้าที่สร้างความอุดมสมบูรณ์ต่อระบบนิเวศ สร้างอินทรียสาร และมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น โดยการเคลื่อนที่ชอนไชในดินทำให้ดินร่วนซุย เกิดช่องว่าง และเพิ่มปริมาณออกซิเจน ทำให้การระบายน้ำและอากาศไปสู่ดินได้ดีขึ้น วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้รวบรวม ไส้เดือน 4 สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงในไทย ไปดูว่าแต่ละสายพันธุ์เหมาะสำหรับแบบไหน และข้อดีข้อเสียคืออะไรไปดูกันเลย✨ 🪱สายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ (African Night Crawler) หรือ AF ✨เป็นไส้เดือนขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทา สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว มีความสามารถในการย่อยสลายขยะในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว ผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีจากธรรมชาติ ปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย ช่วยเพิ่มและแพร่กระจายจุลินทรีย์ในดิน เป็นประโยชน์ต่อพืช ช่วยกำจัดขยะอินทรีย์ เหมาะเป็นอาหารสัตว์และเป็นเหยื่อสำหรับตกปลา 👍🏻ข้อดี กินเก่ง โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง ขยายพันธุ์เร็ว ลูกดก ตัวโต เหมาะในการนำไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารโปรตีน เช่น อาหารกบ หรือนก 👎🏻ข้อเสีย หากผู้เลี้ยงฝึกให้กินแต่โปรตีน หรืออาหารดีๆ ไส้เดือนพันธุ์นี้มักไม่กินขยะ ตัวมัก
“เฟอเรท” ไม่ใช่นาก นากทะเล มิงค์ เพียงพอน หรือเออร์มิน แต่เป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับวีเซล เลี้ยงลูกด้วยนม ตัวเพรียวยาว สี่ขาสั้น และกินเนื้อ สามารถเลี้ยงได้ ไม่ผิดกฎหมายในประเทศไทย คุณพรรณธิดา เนธิชัย หรือ คุณมะเหมี่ยว สาวสวยเจ้าของฟาร์ม “Ferret Story” ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่นำความชอบในการเลี้ยงสัตว์ประเภท Exotic จึงเริ่มเลี้ยงเฟอเรทและผันตัวเป็นผู้เพาะพันธุ์เฟอเรทอย่างเต็มตัวมากว่า 6 ปี ด้วยเป้าหมายที่จะทำให้เฟอเรทเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น จนปัจจุบันกลายเป็นที่รู้จักในวงการของผู้ที่เลี้ยงเฟอเรททั่วประทศ “เริ่มจากการที่เป็นผู้เลี้ยงทั่วไปค่ะ เห็นว่าน้องเป็นสัตว์ Exotic และยังไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยเยอะๆ ค่ะ เพราะจะรู้จักแค่กลุ่มคนที่เล่นสัตว์ Exotic เขาจะแตกต่างจากสุนัขและแมว จึงรับน้องมาเลี้ยงดูก่อนค่ะ ประมาณ 1 ปี ก่อนจะผันตัวมาเป็นผู้เพาะพันธุ์เฟอเรท เลี้ยงมาปีนี้เข้าปีที่ 7 และเริ่มทำฟาร์มจริงๆ เข้าปีที่ 6 ค่ะ” คุณพรรณธิดา เนธิชัย หรือ คุณมะเหมี่ยว สาวสวยเจ้าของฟาร์ม “Ferret Story” กลิ่นของเฟอเรท เฟอเรทกลิ่นคล้ายสุนัขหรือแมวไม่อาบน้ำ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงติดสัด (ฮีต) กลิ
เริ่มต้นจากเป็นคนรักสัตว์ ชอบสัตว์ จนเป็นที่มาของการทำฟาร์มสุนัขที่ทำมาร่วม 10 กว่าปี ตอนนั้นปี 2540 เป็นยุคฟองสบู่แตก เลยทำให้ต้องหยุดทำฟาร์มสุนัข เนื่องจากไม่ได้พักผ่อน การทำฟาร์มต้องดูแลใส่ใจสัตว์ทุกตัว ซึ่งตอนที่ทำฟาร์มสุนัขก็เรียกคนรับจับผสมสุนัขมาทำการผสมให้ฟาร์มตนเอง ซึ่งยุคนั้นการผสมพันธุ์สุนัขยังไม่มีการผสมเทียม มีเพียงผสมจริงอย่างเดียว คุณหนึ่ง-นิรันดร์ เจริญสุข อาชีพรับจับผสมสุนัขทุกสายพันธุ์ จุดเริ่มต้นของอาชีพนี้ต้องเกริ่นก่อนว่าไม่ใช่สัตวแพทย์ แต่มาจากการอาศัยประสบการณ์ ดูเขามาเรื่อยๆ เป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ซึ่งได้มีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม จนผันตัวเป็น “นักจับผสมพันธุ์สุนัข” มาจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์จนได้รับฉายาเป็นที่รู้จักในโซเชียล “ฉายากามเทพสุนัข” พี่หนึ่ง เล่าว่า “ที่มาของฉายานี้ได้มาจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งตอนได้รับฉายาตอนนั้นก็รู้สึกดี ไม่คิดว่าจะมีคนให้ความสำคัญกับเราขนาดนี้ เหมือนเป็นกามเทพให้น้องสุนัขได้มาพบรักกัน” ทุกคนมักจะเข้าใจว่าสุนัขก็สามารถผสมพันธุ์กันเองได้ แต่ต้องบอกก่อนว่า บางครั้งสุนัขบางสายพันธุ์ ส่วนใหญ่ผสมพันธุ์กันเอ
การเลี้ยงหมู มักประสบปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ เศษอาหารและน้ำที่ใช้ชำระล้างสิ่งขับถ่ายปฏิกูลต่างๆ ภายในคอก สร้างมลพิษทางกลิ่นภายในฟาร์มและชุมชนใกล้เคียง จึงมีการคิดค้นและปรับปรุงคอกสำหรับการเลี้ยงหมูเพื่อกำจัดกลิ่นดังกล่าวโดยการขุดหลุมและใส่วัสดุเพื่อซับและกำจัดกลิ่นเหม็น เรียกว่า การเลี้ยงหมูหลุมที่เวียงกาหลง คุณอ้าย เดชวงศ์ยา เกษตรกรแห่งเวียงกาหลง อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 103 หมู่ที่ 7 ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ได้รับการยกย่องว่า เป็นปราชญ์ชาวบ้าน และเป็นเกษตรกรดีเด่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2549 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย เปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริแบบเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย เดิมทีครอบครัวคุณอ้าย ทำนาปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว ได้ผลผลิตน้อย ขาดทุนอยู่เรื่อย ต่อมาปรับพื้นที่เข้าร่วมโครงการไร่นาสวนผสม ตามคำชักชวนของ สำนักงานเกษตรอำเภอเวียงป่าเป้า โดยผลิตพืชหลายชนิด มีทั้งข้าว พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร ไม้ใช้สอย ไม้เศรษฐกิจ และไม้ผล เช่น ลำไย มะม่วง ฝรั่ง พุทรา ชมพู่ กระท้อน มะละกอ ฯลฯ ควบคู่กับการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่พื้นเมือ
คุณชัยณรงค์ ปราบภัย หรือ คุณเดย์ อายุ 47 ปี อาศัยอยู่ในบ้านสไตล์ฟาร์มเฮาส์ย่านบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีความชื่นชอบในการเลี้ยงสัตว์และเพาะพันธุ์สัตว์ คุณเดย์เคยเลี้ยงสัตว์หลากหลายประเภท โดยเริ่มต้นจากความหลงใหล ต่อมาได้พัฒนาเป็นการเพาะพันธุ์ จึงทำให้เกิด “Daylight ไข่พาสเทล” คุณเดย์ เป็นบุคคลแรกๆ ในประเทศไทยที่สนใจไก่ไข่สี และนำมาขยายพันธุ์จนปัจจุบันเป็นที่รู้จักในนาม “Daylight ไข่พาสเทล” ทำให้หลายๆ คนในบ้านเราเรียกติดปากกันว่า “ไก่ไข่สี พาสเทล” และมีคนนำไปใช้อย่างแพร่หลาย Daylight ไข่พาสเทล ไม่ใช่ฟาร์มใหญ่โต ไม่ได้มุ่งเน้นธุรกิจเป็นจุดประสงค์หลัก จึงมีจุดเด่นด้วยการเลี้ยงและเพาะพันธุ์ไก่จำนวนที่พอดี เพื่อควบคุมคุณภาพ และง่ายต่อการบริหารจัดการให้ถูกสุขลักษณะมากที่สุด การเลี้ยงไก่ไข่ของคุณเดย์ เริ่มต้นจากความต้องการกินไข่ไก่ที่ดีมีคุณภาพ จึงเลือกที่จะเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อที่จะควบคุมคุณภาพอาหารและดูแลแม่ไก่ด้วยตนเอง เดิมทีเริ่มเลี้ยงลูกเจี๊ยบพันธุ์ไก่ไข่เพียง 9 ตัว และได้ศึกษาจนได้พบว่ามีสายพันธุ์ไก่ไข่ที่หลากหลาย รวมถึงไก่ไข่สีจากต่างประเทศ จึง
อย่างที่เกษตรกรทราบกันดี สัตว์เลี้ยงประเภทสัตว์ปีก อย่างไก่ เป็ด นกนั้น มักพบว่ามีโรคระบาดเกิดขึ้นเป็นประจำ จะเห็นได้จากข่าวการสูญเสียที่เกษตรกรจำเป็นต้องฆ่าเป็ด ไก่ นก ที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก H5N1 กันยกเล้า ที่ไม่เพียงจะติดต่อกันโดยสัตว์เท่านั้น ยังแพร่เชื้อสู่คนอีกด้วย การทำลายทิ้งจึงเป็นวิธีรับมือที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดได้ดีที่สุด นอกจากโรคไข้หวัดนก H5N1 แล้ว ยังมีโรคอหิวาต์ โรคนิวคาสเซิล โรคฝีดาษ โรคกล่องเสียงอักเสบ โรคมาเร็กส์ ฯลฯ ที่คอยสร้างความเจ็บป่วยให้สัตว์ปีกล้มตายได้อีก มากมาย ดังนั้น “การเสริมภูมิคุ้มกันให้สัตว์เลี้ยง” จึงเป็น วิธีที่เกษตรกรควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อเป็นการป้องกันไว้ดีกว่าแก้ ตามไปดูวัตถุดิบสูตรอาหารสร้างภูมิคุ้มกันสัตว์ปีก ด้วยวัตถุดิบธรรมชาติ สูตรนี้สามารถให้เป็ด-ไก่ กินได้ประมาณ 200 ตัว ถ้ามีน้อย หรือมากกว่านี้ให้ปรับลดเอาตามสัดส่วนได้เลย ขมิ้นชันสับ 1 กิโลกรัม หัวไพลสับ 1 กิโลกรัม ปลายข้าว 2 กิโลกรัม รำข้าว 3 กิโลกรัม ขั้นตอนการทำ เริ่มด้วยการเตรียมส่วนผสมทั้งหมด แล้วสับหัวขมิ้นชันและไพลให้ละเอียด ก่อนนำไปผสมกับปลายข้าว รำข้าว ตามสูตร ระหว่าง
เกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และประมง แต่อาชีพเหล่านี้มีความผันผวนทางรายได้เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงภายนอก เช่น ฤดูกาล ราคาตลาด ปริมาณผลผลิต ทำให้เกษตรกรขาดรายได้บางช่วง ขณะที่ราคาไก่พื้นเมืองมีชีวิตมีความผันผวนต่ำ โดยราคาไก่พื้นเมืองน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม ประมาณ 70-120 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคาขายไก่เนื้อประมาณ 35-40 บาทต่อกิโลกรัม “ไก่” นับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีแนวโน้มอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากปริมาณความต้องการบริโภคไก่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ “ไก่พื้นเมือง” หรือ “ไก่พื้นบ้าน” จึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญ ที่สร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนและท้องถิ่นมาโดยตลอด โดยครัวเรือนส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้เนื่องจากใช้เงินทุนน้อย ดูแลจัดการง่าย ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและทนต่อการเป็นโรคได้ดี ซึ่งการเลี้ยงไก่ไว้ทำให้ครัวเรือนมีความคล่องตัวในการขายหรือนำมาประกอบอาหารตามจังหวะโอกาสที่เหมาะสม ดังนั้น หากส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จะช่วยให้เกษตรกรภาคใต้มีรายได้ตลอดปี เพราะไก่พื้นเมือ
ในช่วงนี้ตลาดโคเนื้อเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากขึ้น ซึ่งเกษตรกรเองมีการปรับรูปแบบการเลี้ยงให้สอดคล้องกับตลาดด้วยเช่นกัน คือการสร้างตลาดที่หลากหลายโดยเพิ่มมูลค่าของเนื้อให้เข้าถึงลูกค้า คือนำเนื้อมาจำหน่ายที่หน้าฟาร์มควบคู่กับการเปิดร้านให้ลูกค้าได้เข้ามาสัมผัสการเลี้ยง ซึ่งโคลูกผสมชาโรเล่ส์และโคลูกผสมวากิวเป็นพันธุ์โคเนื้อที่นิยมนำมาเลี้ยงเพื่อขุนสร้างรายได้ของเกษตรกร เพราะค่อนข้างที่จะสร้างเนื้อที่มีไขมันแทรกหรือเนื้อพรีเมี่ยมที่สามารถนำไปทำเมนูอาหารได้หลากหลาย คุณยุทธรัตน์ ก๋งชิน หรือ คุณเจน อยู่บ้านเลขที่ 69/1 หมู่ที่ 4 ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร จบปริญญาตรีสาขาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร ได้นำองค์ความรู้จากสาขาที่เขาเรียนมาปรับเปลี่ยนการเลี้ยงโคเนื้อของครอบครัวให้ทันสมัยมากขึ้น พร้อมทั้งมีการจัดการระบบฟาร์มอย่างเป็นระบบช่วยให้ทำตลาดเนื้อได้อย่างมีคุณภาพ การเลี้ยงโคเนื้อ เป็นงานที่อยู่ในสายเลือด คุณเจน เล่าให้ฟังว่า ครอบครัวของเขาเลี้ยงโคเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวตั้งแต่
ผมเคยเขียนไปแล้วว่าผมมีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับเจ้าของธุรกิจนำเข้าน้ำเชื้อวัว นำเข้าอุปกรณ์หลากหลายชนิดที่เกี่ยวกับวัว รวมทั้งมีฟาร์มวัวเนื้อขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจมานานหลายสิบปี ท่านได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจวัวเนื้อ วัวนมในบ้านเราให้ฟังหลายต่อหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งที่สะกิดใจผมก็คือ เรื่องของธุรกิจวัวเนื้อของเมืองไทยในอนาคต ท่านฟันธงไว้ว่า การเลี้ยงวัวเนื้อไล่ทุ่งจะหายไป การเลี้ยงวัวเนื้อในระบบฟาร์มปิดจะทยอยเข้ามาแทนที่เหมือนกับที่เกิดขึ้นแล้วในธุรกิจหมู ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ในบ้านเรา ดังนั้น ในอนาคตท่านชี้ว่าเราจะไม่เห็นวัวฝูงใหญ่เดินหากินหญ้าตามข้างถนน อาจจะเห็นพี่น้องเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงวัวบ้านละ 2-3 ตัว ไว้เป็นอาชีพเสริม แต่เกษตรกรที่เลี้ยงวัวเป็นอาชีพหลัก เลี้ยงวัวจำนวนมากจะต้องทำเป็นฟาร์มระบบปิด เนื่องด้วยมาตรฐานการผลิตอาหาร มาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมายในอนาคต พื้นที่ที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำการเกษตรก็ปรับเปลี่ยนไป สิ่งเหล่านี้จะส่งผลถึงพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวอย่างเลี่ยงไม่ได้ ฉบับนี้ผมจึงอาสาพาท่านไปพบกับเกษตรกรที่เลี้ยงวัวในเมือง เล
หากพูดถึงไข่ที่ยอดนิยมสำหรับผู้บริโภค หลายคนคงนึกถึงไข่ไก่ บ้างก็เลี้ยงเพื่อบริโภคไข่ บ้างก็เลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อ เมนูจากไข่เป็นเมนูที่สร้างสรรค์ได้หลากหลายทั้งยากง่าย และเป็นแหล่งรวมโปรตีนชั้นดีที่หาบริโภคได้ง่ายที่สุด แต่สัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจากไก่ไข่ สามารถให้ได้ทั้งไข่และเนื้อนั่นก็คือ เป็ด ไข่เป็ดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยสีสันที่สดใสของไข่แดง มีรสชาติดี หอม มัน สามารถสร้างสรรค์เมนูที่หลากหลายไม่ต่างจากไข่ไก่ นอกจากนี้ ไข่เป็ดยังเป็นส่วนผสมที่ขาดไม่ได้เลยในขนมไทย และไข่เป็ดยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นไข่เค็มที่มีรสชาติดีถูกปากถูกใจผู้บริโภคอีกด้วย เป็ดเป็นสัตว์ปีกอีกประเภทหนึ่งที่เลี้ยงดูง่าย สามารถกินอาหารตามธรรมชาติได้ และให้ผลผลิตไข่จำนวนมาก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงรองมาจากไก่ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีพันธุ์เป็ดไข่เชิงการค้าและพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดีขึ้น คุณจิณห์จุฑา บุญมี อยู่บ้านเลขที่ 10 หมู่ที่ 15 ตำบลรางบัว อำเภอจองบึง จังหวัดราชบุรี ประกอบอาชีพรับราชการ และมีอาชีพเสริมเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดไข่ระบบอินทรีย์ โดยต่อยอดฟาร์มเป็