Featured
หมอนทองเลิฟเวอร์ห้ามพลาด! “ไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท” พร้อมเสิร์ฟ “Durian Decadent Afternoon Tea” ชวนจิบอาฟเตอร์นูนทีระดับไฮเอนด์และลิ้มรสเมนูพิเศษที่รังสรรค์จาก “ราชาผลไม้” สัมผัสอาฟเตอร์นูนทีสุดพิเศษในธีมทุเรียนเฉพาะซัมเมอร์นี้เท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2568 เมื่อซัมเมอร์มาเยือนเมืองไทยอีกครั้ง หลายคนคงตั้งตารอคอย “ทุเรียน” ราชาแห่งผลไม้เมืองร้อนกับรสชาติหอมหวานมันเป็นเอกลักษณ์ที่ถูกอกถูกใจทั้งคนไทยและคนทั่วโลก และในปีนี้ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท กลับมาอีกครั้งกับแคมเปญ Durian Decadent Afternoon Tea หลังได้รับเสียงตอบรับอย่างยอดเยี่ยมเมื่อปีก่อน โดยจับมือกับ Toby’s Farm สวนทุเรียนคุณภาพระดับพรีเมียมจากจังหวัดจันทบุรี ต่อเนื่องเป็นปีที่สอง นำเสนอประสบการณ์การจิบน้ำชายามบ่ายที่ผสานความหรูหราเข้ากับรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของทุเรียนหมอนทอง พร้อมยกระดับ “ความโลคอล” ด้วยการนำเสนอแบบ “โกลบอล” ระดับห้าดาว โดยเซตอาฟเตอร์นูนทีในธีมทุเรียนหมอนทองสุดพิเศษนี้ พร้อมเสิร์ฟความอร่อยเฉพาะฤดูกาลทุเรียนตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน – 31 พฤษภา
กระแสรักสุขภาพยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง หากเกษตรกรท่านใดอยากจะสร้างรายได้และช่องทางการตลาดเพิ่ม การทำเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรปลอดสารพิษ ถือเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์ เพราะไม่เพียงแต่ดีต่อสุขภาพของตัวเอง แต่ยังดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค และที่สำคัญคือ สินค้าที่เป็นเกษตรอินทรีย์จะขายได้ราคาดี และเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถกำหนดราคาขายได้เอง ซึ่งการเกษตรที่ใช้สารเคมีไม่สามารถทำได้ โดยครั้งนี้จะพาทุกท่านมาทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอฮอลแลนด์ เป็นสูตรของ คุณสำราญ แคยิหวา เกษตรกรจังหวัดสตูล เกษตรกรตัวอย่าง ปลูกมะละกอฮอลแลนด์อินทรีย์ ส่งขายกลุ่มคนรักสุขภาพ ผลผลิตมีเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย ด้วยเคล็ดลับน้ำหมักจากมะละกอที่เสียหายจากการโดนแมลงกัดกิน คุณสำราญ บอกว่า สาเหตุที่ทำให้ผลผลิตดก เก็บขายได้ทุก 4 วัน ส่วนหนึ่งมาจากการใช้ปุ๋ยน้ำหมักที่ทำเอง ส่วนผสมมีดังนี้ 1. มะละกอที่ช้ำเสียหายจากการโดนแมลงกัดกิน 20 กิโลกรัม 2. พด.2 ที่ขอจากกรมพัฒนาที่ดิน 1 ห่อ 3. กากน้ำตาล 5 ลิตร 4. น้ำเปล่า ใส่ไม่มาก ปุ๋ยหมักต้องมีความข้น วิธีทำ ผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ใส่ถังหมักปิดฝา หมักทิ้งไว้ 45 วัน น้ำหมั
วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน รวมสูตรน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมักชนิดต่างๆ ที่สายเกษตรปลูกผักทำสวนไม่ควรพลาด สามารถนำไปทำตามกันได้ง่ายๆ วัตถุดิบหาได้ไม่ยาก แถมมีประโยชน์กับการปลูกพืชผักชนิดต่างๆ อีกด้วย จัดหนัก จัดเต็มทั้ง 13 สูตร สามารถนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่บอกหมดเปลือกตั้งแต่อุปกรณ์วัตถุดิบ ขั้นตอนการทำ รวมไปถึงวิธีการนำมาใช้ จะมีสูตรไหนกันบ้างไปดูกันเลย เคล็ดไม่ลับ “สูตรน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง” กำจัดแมลงที่ชอบมากัดกินใบทำให้เป็นรู และเหี่ยวแห้ง แต่ไม่อยากใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไร้สารตกค้าง เรียกได้ว่าวัตถุดิบวันนี้หาได้ง่ายๆ สมุนไพรล้วนๆ ที่มีรสเผ็ดร้อนและมีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย ไม่มีสารเคมีปลอดภัยแน่นอน ซึ่งแต่ละชนิดล้วนมีสรรพคุณช่วยขัดขวางการดูดกินอาหารและยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลงหลายชนิด และทำให้ไข่แมลงฝ่อ รวมถึงช่วยกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุโรคพืชได้ วิธีใช้ : นำน้ำสกัดสมุนไพรที่กรองได้ทั้งหมด มาผสมกับน้ำ 10 ลิตร ใช้ฉีดพ่นต้นผักในช่วงเย็นเมื่อไม่มีแสงแดดทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช แต่หากมีแมลงระบาดมากให้ฉีดพ่นทุก 3-5 วัน ข้อแนะนำ : น้ำหมักสูตรนี้ไม่ค
ปลากดเหลือง เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด ลักษณะลำตัวกลมยาวค่อนข้างแบนเรียว ลักษณะสีของลำตัวเปลี่ยนไปตามอายุและขนาดตัว ซึ่งปลาที่ตัวโตเต็มวัยลำตัวบริเวณหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ บริเวณข้างลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง และบริเวณท้องมีสีขาว ส่วนฐานครีบอกท้องก้นมีสีเทาเจือชมพู ดวงตามีขนาดปานกลาง เมื่อโตเต็มที่สามารถมีขนาดยาวได้ตั้งแต่ 20-25 เซนติเมตร หรือที่เคยพบมีขนาดใหญ่สุดได้มากกว่า 60 เซนติเมตร ซึ่งปลาชนิดนี้สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู จึงทำให้ได้รับความนิยมในการนำมาบริโภค โดย คุณอุดร อรัญโชติ ได้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการทำตลาดปลากดเหลือง จึงเพาะพันธุ์สร้างรายได้ส่งขายลูกปลาให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ คุณอุดร เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนพื้นที่ทางการเกษตรทั้งหมดเน้นการทำนาเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยผลผลิตสมัยก่อนได้ไม่มากและต่อปีทำได้ไม่ต่อเนื่อง จึงทำให้มองหาช่องทางการสร้างรายได้จากทางอื่น ได้หันมาเพาะพันธุ์ปลากดเหลืองและปลาอื่นๆ ขาย โดยมองว่าใช้เวลาไม่นานต่อรอบการผลิตไม่เกิน 30 วัน ก็ได้เงินมาใช้หมุนเวียน ได้ไวกว่าการทำนา “ช่วงนั้นก็ได้เปลี่ยนจากพื้นที่นามาเพาะพันธุ์ปลากด เพราะการเพาะพันธุ์
ในเรื่องของการส่งออกข้าวจำหน่ายตลาดต่างประเทศ ไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก เท่ากับปริมาณการส่งออกของเวียดนามที่ 7.5 ล้านตันเช่นกัน และอินเดียยังคงเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกที่ปริมาณ 16.5 ล้านตัน จึงเป็นความเสี่ยงของไทยที่จะต้องรักษาอันดับ การเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ เวียดนามยังมีโอกาสที่จะส่งออกข้าวแซงไทยที่เป็นไปได้สูง เพราะเริ่มเห็นตัวเลขการส่งออกข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้น จากปกติการส่งออกเฉลี่ยเพียง 6 ล้านตันต่อปีเท่านั้น แต่เห็นชัดเจนขึ้นจากปี 2566 เวียดนามสามารถส่งออกได้ถึง 8.1 ล้านตัน และประมาณต้นปี 2567 เวียดนามสามารถประมูลข้าวจากอินโดนีเซียได้ถึง 4 แสนตัน จากการประมูลทั้งสิ้น 5 แสนตัน ส่วนที่เหลือเป็นของปากีสถานและเมียนมา ส่วนประเทศไทยไม่ได้เพราะราคาข้าวแพงกว่า ข้าวคาร์บอนต่ำ ทางรอดของเกษตรไทย นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปรับตัวของผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันการผลิตและการค้าขายทางภาคการเกษตรข
มูดี โซลีแมน จากสหรัฐอเมริกา แนะนำ “สติ๊กเฟรช” สติ๊กเกอร์อัจฉริยะที่ยืดอายุผลไม้ให้สดใหม่ได้นานขึ้น ผลิตขึ้นจากส่วนประกอบธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อติดสติ๊กเฟรชบนผลไม้ สารประกอบในสติ๊กเกอร์จะสร้างชั้นปกป้องรอบๆ ผลไม้ ช่วยให้โครงสร้างส่วนประกอบของเซลล์ผลไม้คงความสดและเก็บรักษาความชุ่มชื้นเอาไว้ เพียงเท่านี้ผลไม้ก็จะคงความสดใหม่ได้ยาวนานเพิ่มอีก 2 สัปดาห์ แถมผลไม้ที่ติดสติ๊กเฟรชยังมีรสชาติหวานและชุ่มฉ่ำขึ้นอีกด้วย สติ๊กเฟรชใช้ได้กับผลไม้แทบจะทุกชนิด แต่ชนิดที่ได้ผลดีที่สุด ได้แก่ อะโวคาโด แอปเปิ้ล ส้ม และมะม่วง ส่วนชนิดที่ได้ผลน่าพอใจ ได้แก่ ลูกแพร์ แก้วมังกร กีวี มะนาว แอปริคอต มะละกอ มะเฟือง ทับทิม และมังคุด ด้าน ดร.ฟีบี ถิง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพืชไร่ จากมหาวิทยา ลัยปุจรามาเลเซีย ศึกษาผลการใช้สติ๊กเฟรชกับมะม่วง โดยตรวจสอบลึกลงในระดับโครงสร้างเซลล์ของมะม่วง พบว่าช่วยลดการเกิดโรคและเชื้อโรคในโครงสร้างเซลล์มะม่วงได้ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ยืดอายุความสดของผลไม้นั่นเอง
หน่อไม้ฝรั่ง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและปลูกได้ดีในประเทศไทย ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ และปริมาณความต้องการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเกษตรกรในหลายพื้นที่ปลูกเป็นอาชีพที่ทำเงิน พร้อมทั้งปลูกแบบอินทรีย์ นอกจากเป็นการผลิตที่มีความปลอดภัยแก่เกษตรกรเองแล้ว การปลูกในระบบอินทรีย์ยังช่วยให้ผลผลิตจำหน่ายได้ในราคาที่สูงตามไปด้วย คุณสันติภาพ จุลิวัลลี หรือ คุณอิ๊ เป็นเกษตรกรที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งในระบบอินทรีย์ที่มีคุณภาพ ในช่วงแรกยังไม่ได้เน้นในเรื่องของการทำแบบอินทรีย์มากนัก ต่อมาเมื่อรับรู้ถึงความต้องการของตลาดจึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนการปลูกหน่อไม้ฝรั่งให้เป็นระบบอินทรีย์อย่างเต็มตัว นอกจากได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพส่งจำหน่ายให้กับตลาดแล้ว ยังส่งต่อองค์ความรู้ให้กับเพื่อนเกษตรกรท่านอื่นๆ จนเกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งรวมกันผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่มีคุณภาพส่งสินค้าอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จากหนุ่มออฟฟิศ ผันตัวเป็นเกษตรกร ต่อยอดธุรกิจเกษตร ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ คุณอิ๊ เล่าให้ฟังว่า ในช่วงแรกทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศ ซึ่งในระหว่างนั้นเกิดความคิดอยู่เสมอว่าอยากทำการเกษตรก่อนที่จะมีอายุ 30 ปี ต่อมา
การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง เป็นการทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง สลับกับช่วงน้ำแห้งสลับกันไปในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับรากอากาศ เมื่อได้รับอากาศเสร็จแล้ว ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย เมื่อดูดธาตุอาหารได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง ลดการระบาดของโรคและแมลง ลดการใช้สารเคมี เป็นการลดต้นทุนการผลิตไปด้วย เมื่อต้นข้าวแข็งแรงก็จะแตกกอได้มากขึ้น รวงข้าวสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้รับก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะฉะนั้นการทำนาเปียกสลับแห้งนี้ เหมาะสำหรับพื้นที่ทำนาในเขตชลประทานที่ควบคุมการระบายน้ำได้ โดยใช้ปริมาณน้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าวิธีปลูกข้าวแบบทั่วไป 30-50% นอกจากนี้ ยังลดการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุแบบไร้อากาศ เมื่อปลูกข้าวแบบขังน้ำเป็นเวลานานอีกครั้ง คุณปกรณ์ สุพานิช นักวิเคราะห์แพลตฟอร์มเซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง งานพัฒนาพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายเชิงกลยุทธ์และประเมินผล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แ
ในยุคที่ภาคการเกษตรกำลังปรับตัวเข้าสู่ “เกษตรแม่นยำ” (Precision Agriculture) เทคโนโลยีการให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำ (Fertigation) กลายเป็นหนึ่งในแนวทางที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพผลผลิตได้อย่างชัดเจน การให้ปุ๋ยในระบบน้ำ (Fertigation) คือ วิธีการให้ปุ๋ยอีกวิธีหนึ่ง เป็นการให้ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำในระบบเดียวกัน โดยผสมปุ๋ยที่ละลายน้ำได้หมดลงไปในระบบน้ำ ตั้งแต่การให้น้ำในระบบน้ำหยด (Drip Irrigation) หรือ ระบบมินิสปริงเกลอร์ (Mini Sprinkler) เมื่อพืชได้รับน้ำก็จะเป็นตัวนำพาธาตุอาหารไปยังรากพืชโดยตรง จึงทำให้ต้นพืชได้รับทั้งน้ำและธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังสามารถใส่สารเคมีป้องกันศัตรูพืชลงไปในระบบนี้ได้ด้วยเช่นกัน การใหัปุ๋ยในระบบน้ำ (Fertigation) ดียังไง? คำตอบคือระบบนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการให้น้ำและการให้ปุ๋ยในคราวเดียวกัน ผ่านระบบน้ำหยดหรือมินิสปริงเกลอร์ ช่วยให้พืชได้รับน้ำและธาตุอาหารในปริมาณที่แม่นยำ สม่ำเสมอ และสอดคล้องกับช่วงการเจริญเติบโต ซึ่งไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภา
สมัยก่อน “กระจับเขาควาย” เป็นวัชพืชเท่านั้น แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้ให้ไม่น้อย ใช้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวเพียงแค่ 4 เดือนก็ได้ผลผลิตจำหน่าย สามารถเก็บขายได้ 2-3 รอบเลยทีเดียว กระจับเป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู มีอยู่ทั่วไป ลักษณะเป็นกอลอยน้ำ ชอบน้ำนิ่ง มีรากหยั่งยึดดินและมีไหล ใบเดี่ยวมี 2 แบบ ใบที่ลอยน้ำมีก้านยาว อวบน้ำและพองเป็นกระเปาะตรงกลาง ทำให้ลอยน้ำได้ดี แผ่นใบมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือรูปพัด ใบจะเรียงรอบลำต้นเวียนเป็นเกลียวถี่ๆ ทำให้ดูเหมือนใบแผ่เป็นวงรอบต้น ใบอีกแบบหนึ่งอยู่ในน้ำ เป็นเส้นฝอยๆ คล้ายราก ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว ออกที่โคนก้านใบ มีกลีบดอก 4 กลีบ บานอยู่เหนือน้ำ เมื่อติดผลแล้วก้านดอกจะงอกลับลงน้ำและผลจะเจริญอยู่ใต้น้ำ ผลอ่อนสีม่วงอมแดงจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ ส่วนที่เป็นเขาโค้ง 2 ข้าง เจริญมาจากกลีบเลี้ยง ผลหรือฝักกระจับมีสีดำขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็งงอโค้งคล้ายเขาควาย เมื่อกะเทาะเปลือกนอกที่แข็งออก จะได้เนื้อในสีขาว มีแป้งมาก สำหรับประโยชน์ของกระจับมีมากมาย ซึ่งส่วนมากและการใช้ประโยชน์จากกระจับจะนิยมนำฝักกระจับ มากิน เนื้อของฝักกระจับสามาร