กรมชลประทาน
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า มาตรการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝน ปี 2563 เพื่อให้ปริมาณน้ำมีเพียงพอสำหรับการใช้ตลอดฤดูฝนและเก็บกักไว้ใช้ในหน้าแล้งปี 2563/64 แบ่งเป็น 5 มาตรการ คือ 1. การจัดสรรน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศให้เพียงพอตลอดทั้งปี 2. ส่งเสริมการปลูกพืชฤดูฝนให้ใช้น้ำฝนเป็นหลักและใช้น้ำชลประทานเสริมกรณีฝนทิ้งช่วง 3. บริหารจัดการน้ำท่าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยระบบชลประทาน 4. กักเก็บน้ำในเขื่อนให้มากที่สุด ไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักน้ำต่ำสุด ตามช่วงเวลา เพื่อความมั่นคงด้านอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศ 5. วางแผนป้องกันและบรรเทาอุทกภัย แผนการจัดสรรน้ำและการปลูกพืชในฤดูฝนปี 2563 กรมชลประทานได้วางแผนบริหารจัดการน้ำต้นทุนและความต้องการน้ำในการเพาะปลูกทั่วประเทศไว้ปริมาณ 31,351.50 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเพาะปลูก 27.61 ล้านไร่ แบ่งเป็นการทำนาปี 16.79 ล้านไร่ เพาะปลูกพืชไร่พืชผัก 0.54 ล้านไร่ และพืชอื่นๆ 10.29 ล้านไร่ ทั้งนี้ เป็นการใช้น้ำในการเพาะปลูกในลุ่มเจ้าพระยา 11,664.94 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการเพาะปลูกทั้งหมด 10.57 ล้านไร่ แบ่งเป็นการทำนาปี 8.1 ล
นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือน ระหว่าง พ.ค.-ต.ค.2563 กรมชลประทานประเมินจะเกิดสถานการณ์ลานีญาอ่อน ๆ หรือปริมาณฝนตกชุกในบางพื้นที่ แม้กรมอุตุนิยมวิทยา จะประเมินปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วประเทศจะต่ำกว่าค่าปกติ 5% โดยคาดว่าตลอดฤดูฝนปีนี้จะมีปริมาณน้ำต้นทุนในวันที่ 1 พ.ย.2563 ปริมาณมากกว่าปีก่อนหน้า 3,500-5,000 ล้าน ลบ.ม. คาดการณ์ฝนปี 2563 จะคล้ายปี 2538 ที่มีฝนตกทางตอนบนค่อนข้างมาก กรมชลประทานได้เตรียมแผนการบริหารจัดการน้ำหากมีฝนตกในพื้นที่ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุฯ ดังนี้ คือเดือน พ.ค.ปริมาณฝนปกติ เดือน มิ.ย.ภาคเหนือ ภาคตะวันออกและตะวันตก ปริมาณฝนปกติ ภาคอีสานและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ฝนต่ำกว่า ค่าปกติ ส่วนกรุงเทพ ฯ และปริมาณฑล ฝนตกสูงกว่าค่าปกติ เดือน ก.ค.ปริมาณฝนต่ำกว่าปกติและหลังจากนั้นปริมาณฝนก็ต่ำกว่าค่าปกติไปจนถึงสูงกว่าค่าปกติกระจายในทุกภาค ทั้งนี้ 1 พ.ย. มีเขื่อนเก็บน้ำที่มีน้ำน้อย 31-50% จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เขื่อนเก็บน้ำลำแชะ จังหวัดนครราชสีมาและเขื่อนเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่
โครงการฝายคลองท่าแพรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นโครงการในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำจังหวัดสตูล ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานพระราชดำริให้วางโครงการเพื่อช่วยเหลือราษฎรซึ่งขาดแคลนน้ำใช้ในการเกษตร โดยโครงการฝายคลองท่าแพรฯ เป็นฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาวสันฝาย 13.10 เมตร สูง 1.50 เมตร ควบคุมการทดน้ำและระบายน้ำโดยใช้บานระบาย ชนิดบานโค้ง มีคลองส่งน้ำ จำนวน 7 สาย ความยาวรวม 37.189 กิโลเมตร และมีคลองระบายน้ำ 2 สาย ความยาวรวม 18.840 กิโลเมตร โครงการฝายคลองท่าแพรฯ สามารถส่งน้ำเข้าช่วยพื้นที่การเกษตรให้แก่ราษฎรในเขต ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน ตำบลควนโพธิ์ ตำบลฉลุง ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง รวม 4 ตำบล 17 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตร ประมาณ 10,000 ไร่ และส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งประมาณ 600 ไร่ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ 18 -19 กันยายน 2520 ให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทั้งหมดในเขตจังหวัดสตูลไว้เป็นแผนแม่บท (Master Plan) และพระราชท
กรมชลประทาน ย้ำเมืองเชียงใหม่ มีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอตลอดแล้งนี้ พร้อมเดินหน้ามาตรการรับมือภัยแล้ง วอนหากทุกฝ่ายร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดน้ำที่สุด จะรอดพ้นวิกฤตขาดแคลนน้ำได้อย่างแน่นอน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ว่า สืบเนื่องจากในช่วงฤดูฝนปี 2562 ที่ผ่านมา มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งจังหวัดเพียง 911 มิลลิเมตร น้อยกว่าค่าเฉลี่ยถึง 22 % (ฝนเฉลี่ย 1,168 มิลลิเมตร) ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมไปถึงแม่น้ำสายต่างๆ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย กระทบต่อปริมาณน้ำดิบที่จะใช้ในการผลิตประปาหลายแห่ง นั้น กรมชลประทาน ได้ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคตลอดฤดูแล้งนี้ โดยใช้น้ำต้นทุนจาก 2 เขื่อนใหญ่ คือ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในอ่างฯ 46.56 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) หรือร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 60.60 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 23 ของความจุอ่าง
กรมส่งเสริมการเกษตรห่วงพื้นที่ปลูกข้าวรอบ 2 และไม้ผลเสี่ยงขาดแคลนน้ำช่วงฤดูแล้งหนักในรอบ 40 ปี พร้อมสร้างการรับรู้แนะเกษตรกรดูแลพืชผลอย่างถูกวิธี นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรมีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ โดยในรอบปี 2562 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งปีที่แล้วมีฝนตกทั้งปี 1,342.6 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับปีที่แล้งมากคือ ปี 2558 มีฝนตก 1,419.6 มิลลิเมตร จะเห็นได้ว่าปี 2562 ฝนตกน้อยกว่า ปี 2558 และจากข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยานับตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา ยังพบว่า ปี 2562 มีฝนตกน้อยที่สุดในรอบ 40 ปี โดยเฉพาะฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม ปีที่ผ่านมา มีฝนตกทั้งประเทศเพียง 1,114 มิลลิเมตร น้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 12 ทำให้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งมีน้ำใช้การเหลือน้อยไม่เกินร้อยละ 30 ของความจุอ่าง จำนวน 14 แห่ง เมื่อฝนตกน้อยน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติก็มีเหลืออยู่น้อยเช่นกัน จึงไม่สามารถส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกตามปกติได้ แม้ระยะนี้จะมีฝนตกลงมาบ้างก็ตามแต่ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย
พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคกลาง และพลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี รองประธานอนุกรรมการฯ พร้อมคณะอนุกรรมการฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี พร้อมกับรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงานและเยี่ยมชมผลผลิตของเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี กล่าวว่า โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และทำการเกษตร โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2530 อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีขนาดความจุ 4.3 ล้านลูกบาศก์เมตร มีระบบท่อส่งน้ำ จำนวน 2 ระบบ ได้แก่ ระบบ Pumping (ระบบส่งน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำ) ความยาวรวม 20.935 กิโลเมตร และระบบ Gravity (ระบบส่งน้ำแบบโดยแรงโน้มถ่วงของโลก) ความยาวรวม 5.952 กิโลเมตร ปัจจุบันอ
โครงข่ายน้ำเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ โดยในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้มีการวางโครงการต่อเนื่องมาเกือบ 20 ปี เพี่อให้ระบบบริหารน้ำสมบูรณ์ที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางผลิตผลไม้หรือฮับผลไม้และเขตอุตสาหกรรม ซึ่งช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา รัฐบาลยังได้มีนโยบายโครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นพื้นที่ภาคการผลิตสำคัญของประเทศ ปี 63 เมื่อแล้งติดลำดับ 2 ในรอบ 40 ปี โครงข่ายน้ำที่มีการพัฒนามาต่อเนื่องแม้จะยังไม่สมบูรณ์ 100% จากข้อจำกัดหลายด้าน จึงถูกใช้บริหารจัดการปัญหาขาดแคลนน้ำ ปีนี้จะได้เห็นการเวียนสลับหมุนวนน้ำในแต่ละอ่างเพื่อเติมเต็มกันและกัน ด้วยพันธกิจแล้งนี้ทุกฝ่ายต้องรอด ดร. ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลฯ ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้มีปัญหาขาดแคลนน้ำหรือแย่งน้ำระหว่างภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเหมือนในอดีต ในการทำงานจะมีการตกลงร่วมกันของผู้ใช้น้ำทั้งหมด มีการตั้งคณะทำงานใน KEY MAN WARROOM ซึ่งเป็นการบูรณาการทุกภาคส่วนประชุมทุก 15 วัน ดังนั้น การบริหารน้ำภาคตะวันออกจึงเป็นไปตามข้อห่วงใยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรั
เมื่อเร็ว ๆนี้ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมคณะที่ปรึกษา ได้เดินทางไปติดตามผลการดำเนินงานของโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร พร้อมเชิญสิ่งของพระราชทานไปมอบแก่ราษฎรและผู้ปฏิบัติงานในโครงการฯ จำนวน 300 ชุด และโอกาสนี้ได้พบปะเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขา บ้านป่าคา บ้านโละโคะ และบ้านป่าหมาก เพื่อรับทราบชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพ โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านป่าคา จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ โดยมุ่งส่งเสริมอาชีพด้านการทำเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ให้กับราษฎร ชาวไทยภูเขาบ้านป่าคาและหมู่บ้านบริวาร ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวได้น้อมนำพระราชดำริมาดำเนินการมีการดำเนินงานแบบบูรณา โดยมีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชรับผิดชอบหลัก โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระ
“เฉลิมชัย” นำทีมลงใต้ ติดตามสถานการณ์น้ำ สร้างความมั่นใจในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยใน อ.หาดใหญ่ ย้ำทุกจว.เตรียมแผนรับมือเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 62 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และความคืบหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา โดยมี นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน นายปริญญา สัคคะนายก ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 15 รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 16 และนายเสริมชัย เซียวศิริถาวร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องให้การต้อนรับและบรรยายสรุปความก้าวหน้าของโครงการฯ ณ สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก่อนลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบริเวณก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน คลองภูมินารถดำริ (คลองระบายน้ำ ร.1) รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่เป็นอย่างมาก จากการลงพื้นที่ติดตามงานก่อสร้างปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ
สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล RUN FOR HEALTH CHARITY MINI HALF MARATHON 2019 @ Khun Dan Prakarn Chon Dam ส่งเสริมสุขภาพสมาชิก พร้อมร่วมทำบุญจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์มอบศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะนายกสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง การกุศล RUN FOR HEALTH CHARITY MINI HALF MARATHON 2019 @Khun Dan Prakarn Chon Dam ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็น ครั้งที่ 2 หลังจากในปีแรกที่ได้มีการจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง ณ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลพบุรี ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก โดยในปีนี้สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง ขึ้นอีกครั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2562 ณ เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพให้แก่สมาชิกของสมาคมฯ ตลอดจนประชาชนที่สนใจ ด้วยการเดินหรือวิ่ง พร้อมชมทิวทัศน์ที่สวยงามบนเขื่อนฯ โดยแบ่งประเภทการวิ่ง ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก