กรมวิชาการเกษตร
ระยะนี้เข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมะม่วงเฝ้าระวังช่วงที่อากาศร้อน และมีแดดจัด ในช่วงที่มะม่วงผลใหญ่ใกล้เก็บเกี่ยว ให้สังเกตการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ มักพบแมลงวันผลไม้เพศเมียใช้อวัยวะแทงเข้าไปวางไข่ในผลมะม่วง พบรอยช้ำใต้ผิวเปลือก ตัวหนอนจะฟักจากไข่และอาศัยชอนไชอยู่ภายในผล ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่นลงพื้น เมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะเจาะรูออกมาจากผลมะม่วงเพื่อเข้าดักแด้ในดิน และกลายเป็นแมลงวันผลไม้ตัวเต็มวัย ส่วนผลที่หนอนเจาะเป็นรูจะมีน้ำไหลเยิ้ม ผลเละ เน่าเสีย และร่วงหล่น ผลที่ถูกทำลายมักมีโรคและแมลงชนิดอื่นๆ เข้าทำลายซ้ำ เกษตรกรควรหมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเก็บผลที่เน่าเสียออกจากแปลงและนำไปฝังกลบให้หน้าดินหนาอย่างน้อย 15 เซนติเมตร จากนั้น ให้ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาลหรือถุงกระดาษที่ภายใน เคลือบด้วยกระดาษคาร์บอน โดยเริ่มห่อเมื่อมะม่วงติดผลได้ประมาณ 60 วัน และใช้กับดักที่ภายในแขวนก้อนสำลีชุบสารเมทธิลยูจินอลผสมสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 83% อีซี ในอัตรา 4 :1 นำไปแขวนไว้ในทรงพุ่มที่ระดับความสูง 1-1.5 เมตร จำนวน 1 กับดักต่อพื้นที่ 1 ไร่ ให้เกษตรกร
กรมวิชาการเกษตร ส่งสัญญาณเฝ้าระวังหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศ ชี้ติดอันดับศัตรูพืชรุกรานร้ายแรงระดับโลก ชี้เป้าโฉบเข้าประเทศเพื่อนบ้านของไทยแล้ว สั่งด่านตรวจพืชชายแดนเข้มงวดตรวจสอบหวั่นเล็ดลอดติดเข้ามากับผลผลิต พร้อมสร้างการรับรู้ทุกภาคส่วนร่วมสกัดศัตรูพืชรุกรานเข้าประเทศ นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับรายงานว่าหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศซึ่งเป็นศัตรูพืชที่มีความร้ายแรงระดับโลก เนื่องจากสามารถทำลายและสร้างความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจหลายชนิดได้แพร่ระบาดเข้ามาแถวประเทศเพื่อนบ้านของไทยแล้ว จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร สร้างการรับรู้และเฝ้าระวังการระบาดของหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศให้แก่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันมิให้แมลงศัตรูพืชต่างถิ่นดังกล่าวเข้ามาแพร่ระบาดสร้างความเสียหายให้กับพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย หนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเปรู ต่อมาพบการระบาดและสร้างความเสียหายอย่างมากในแหล่งปลูกมะเขือเทศหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้ รวมทั้งหลายพื้นที่ของทวีปยุโรป สำหรับในทวีปเอเชี
กรมวิชาการเกษตร แจง สภาพอากาศร้อนสลับฝนส่งผลมังคุดสุกแก่เร็ว ผลผลิตล้น ผู้ประกอบการตั้งรับไม่ทัน ขาดแรงงานคัดแยกผลผลิต ส่งผลราคาตกต่ำ ยันมาตรการตรวจสอบก่อนปล่อยผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นไปตามเงื่อนไขคู่ค้า เอื้อส่งออกทั้งลดขั้นตอนตรวจสอบ สะดวก และรวดเร็ว นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่มีการโพสต์ข้อความในสื่อโซเซียลมีเดียว่า กรมวิชาการเกษตร ดำเนินงานล่าช้าเป็นเหตุให้ราคามังคุดตกต่ำนั้น ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่เกี่ยวข้องของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จันทบุรี และด่านตรวจพืชจันทบุรี เข้าไปตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ราคามังคุดตกต่ำ พบว่า ในปีนี้มังคุดภาคตะวันออกมีปริมาณผลผลิตมากและมีหลายรุ่น ซึ่งจะเริ่มทยอยสุกและเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม และจะมีปริมาณผลผลิตออกตลาดมากในช่วงเดือนพฤษภาคม แต่ในปีนี้จากสภาพอากาศร้อนสลับกับฝนตกเป็นบางช่วง ทำให้มังคุดสุกแก่เร็วกว่าปกติ ผลผลิตมังคุดรุ่นแรกทะลักออกสู่ตลาดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้ผู้ประกอบการบางรายจัดเตรียมแรงงานไว้สำหรับคัดแยกมังคุดไม่เพียงพอ ประกอบกับมีการกวดข
เมื่อเร็วๆนี้ นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร และ นายนพดล แดงพวง ผู้อำนวยการกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมกับ คณะทำงานชุดเฉพาะกิจตามมาตรการป้องกันผลผลิตทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด จังหวัดจันทบุรี นำโดย นายปิยะ สมัครพงศ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี นายสุชาติ จันทร์เหลือง หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต และนายสุเทพ สินชัย เกษตรอำเภอท่าใหม่ ลงพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ร่วมกันตรวจสอบคุณภาพทุเรียนภายใต้สถานประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ทั้งเปลือก (ล้ง) และในตลาดค้าผลไม้เนินสูง โดยเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบคุณภาพของทุเรียนของโรงคัดบรรจุแห่งหนึ่งในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ พบทุเรียนด้อยคุณภาพ ซึ่งเสียหายหลุดร่วงจากพายุฤดูร้อน เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง น้ำหนักรวม 3,500 กิโลกรัม จึงได้แจ้งเจ้าของโรงคัดบรรจุคัดแยกและคณะชุดปฏิบัติการได้ทำสัญลักษณ์/ตำหนิ เพื่อมิให้นำไปจำหน่าย โดยได้มีการบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้มีทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาดทั้งในและนอกประเทศต่อไป
อากาศร้อนและแดดจัดในระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวังการระบาดของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน มักพบการเข้าทำลายในช่วงที่ทุเรียนมีผล รุ่นที่ 2 อายุ 65-70 วัน หลังดอกบาน เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนทุเรียนในระยะนี้ จะพบตัวเต็มวัยหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนวางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนผลทุเรียนช่วงที่ผลยังอ่อน จากนั้น ตัวหนอนที่เพิ่งฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผล และไม่สามารถสังเกตเห็นร่องรอยการเข้าทำลายจากผิวผลภายนอกได้ เนื่องจากหนอนมีขนาดเล็กมากและเปลือกทุเรียนที่กำลังขยายจะปิดรูเจาะของหนอน สำหรับทุเรียนที่ถูกทำลายส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่เมล็ดแข็งแล้ว การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะเจาะเข้าไปในเมล็ดกัดกินและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนจะอาศัยอยู่ภายในผลทุเรียนจนกระทั่งผลทุเรียนแก่ เมื่อหนอนโตเต็มที่ขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร หรือถ้าผลร่วงก่อนหนอนจะเจาะผลทุเรียนเป็นรูกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ออกมาภายนอกเพื่อเข้าสู่ระยะดักแด้ในดินที่ชื้นนาน 1-9 เดือน (กรณีที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมหนอนอาจอยู่ในดักแด้นานกว่านั้น) จึงฟักเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งตรงกับช่ว
ระยะนี้ต้นมะม่วงหิมพานต์เริ่มเข้าสู่ช่วงต้นแทงช่อดอก กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วงหิมพานต์เฝ้าระวังในช่วงที่มีสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิลดต่ำลง และมีแดดแรงในเวลากลางวัน ให้สังเกตการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ และเพลี้ยแป้ง สำหรับเพลี้ยไฟ มักพบการเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงต้นมะม่วงหิมพานต์ในระยะแตกยอดอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ยอดอ่อนหงิกงอหรือแห้งตาย หากระบาดรุนแรง จะส่งผลให้ช่อดอกไหม้เป็นสีดำ และไม่ติดผล กรณีติดผลแล้วจะทำให้ผลร่วงหล่นได้ เมื่อพบการระบาดในช่วงที่ต้นมะม่วงหิมพานต์เริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนดอกบาน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา–ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วนการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ช่อดอก และช่อผล ส่งผลให้ราดำมาเจริญอยู่บริเวณนั้น ทำให้ใบร่วง ช่อดอกไม่ติดผล และผลแคระแกร็น กรณีที่มีปริมาณมาก มักพบเพลี้ยแป้งเกาะเป็นกระจุกที่ลำต้น และอยู่ร่วมกันกับมด โดยมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งเคลื
“เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สับปะรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ” เป็นคำขวัญประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ที่มีเขตแดนติดกับภาคใต้ ประจวบคีรีขันธ์จัดอยู่ในกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวเมืองรองในแอ่งทะเลตะวันตก มีสถานที่ท่องเที่ยวให้เลือกมากมาย ทั้งโซนขุนเขา ป่าไม้ น้ำตก และท้องทะเล แหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตที่ถูกใจของใครหลายๆ คน ได้แก่ หัวหิน ปราณบุรี เขาตะเกียบ อ่าวมะนาว อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ฯลฯ ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งพักผ่อนวันหยุดของคนที่รักธรรมชาติและชื่นชมการบริโภคผลไม้รสอร่อยต้องแวะเวียนมาท่องเที่ยวเป็นประจำทุกปี ทำเลทองปลูกทุเรียนคุณภาพดี คนไทยจำนวนมากรู้จักเพียงว่า แหล่งปลูกทุเรียนคุณภาพดี อยู่ในภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง ตราด ฯลฯ แต่ความจริงแล้ว “จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” ก็เป็นอีกหนึ่งทำเลทองของการปลูกทุเรียนคุณภาพดี เช่น “ทุเรียนป่าละอู” ซึ่งเป็นผลไม้ของดีประจำหมู่บ้านห้วยสัตว์ใหญ่ป่าเด็ง-ป่าละอู อำเภอหัวหิน โดยทั่วไปทุเรียนป่าละอูมักติดดอกในเดือนเมษายน และเริ่มมีผลผลิตออกจำหน่ายสู่ตลาดในช่วงปลายเดือนมิถุนายน และมีผลผลิตทยอยเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องจนถ
เฝ้าระวังสวนองุ่นในช่วงที่มีความชื้นต่ำ กลางวันร้อน และกลางคืนอากาศเย็น กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นให้สังเกตการระบาดของโรคราแป้ง มักพบอาการของโรคได้ในระยะที่องุ่นพัฒนาผล ซึ่งจะพบอาการของโรคได้กับทุกส่วนของพืช โดยจะพบเชื้อราลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดกระจายเป็นหย่อมๆ ต่อมาผงสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเทา อาการที่กิ่งอ่อนและยอด จะพบผงสีขาวของเชื้อราตามกิ่งอ่อนและยอด โดยในระยะแรกบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายจะมีสีเทาและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หากโรคระบาดรุนแรง จะพบผงสีขาวของเชื้อราขึ้นคลุมเต็ม ทำให้แคระแกร็นและแห้งตาย อาการที่ช่อดอก จะพบผงสีขาวของเชื้อราตามช่อดอก ทำให้ดอกเหี่ยวแห้งและดอกร่วงไม่ติดผล อาการที่ผล จะพบผงสีขาวของเชื้อราบนผลองุ่น ทำให้ผิวของผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ผลองุ่นบิดเบี้ยว บางครั้งทำให้ผลแตก อาการที่ใบ จะพบผงสีขาวของเชื้อราทั้งด้านบนใบและใต้ใบ โดยในระยะแรกบริเวณใบที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายจะมีสีเหลืองอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หากอาการรุนแรง จะทำให้ใบม้วนงอ เสียรูป ใบจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ตัดแต่งกิ่งองุ่นให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเท