กรมหม่อนไหม
กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นประจำทุกปี เพื่อประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานให้ปรากฏต่อสาธารณะ โดยปีนี้ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกคือ นายพินิจ แก้วพิมาย ซึ่งจะเข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประจำปี พ.ศ. 2567 ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง สืบสานอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจากบรรพบุรุษชาวไทคอนสาร นายพินิจสนใจอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพราะต้องการสืบทอดภูมิปัญญาคนไทคอนสาร และสืบทอดอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาจากบรรพบุรุษ และมีแนวคิดว่าการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทำให้ครอบครัวไม่ต้องไปทำงานที่อื่น และเป็นการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง นายพินิจช่วยมารดาเลี้ยงไหมตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนกระทั่งอายุ 20 ปี หลังแต่งงานก็หันมาปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหม ทอผ้าเองมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเป็นคนชอบงานลักษณะนี้ จึงหาวิธีการสาวไหมให้ได้เส้นไหมสวยที่มีขนาดสม่ำเสมอ เรียบ สะอาด มีสีสดใส เพื่อพัฒนาต่อยอดในการผลิตผ้าไหมที่มีคุณภาพ ผลิตผ้าไหมด้วยไหมพันธุ์ไทยพื้น
กรมหม่อนไหม ร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ลงนาม MOU คัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุก ด้วย HPV Self-sampling มุ่งเป้า “บุคลากรของกรมหม่อนไหมปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก” วันที่ 2 กันยายน 2567 กรมหม่อนไหม โดย พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย นายยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมมือ ในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุกด้วย HPV Self-sampling เพื่อลดการเกิดมะเร็งปากมดลูก เป้าหมายสูงสุดให้ “บุคลากรของกรมหม่อนไหมปลอดภัยจากมะเร็งปากมดลูก” โดยมี นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม นายวัชรพงษ์ แก้วหอม รองอธิบดีกรมหม่อนไหม นายแพทย์บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงานเข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ณ ห้องประชุมนกยูงสีทอง อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กรมหม่อนไหม อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า “ความร่วมมือนี้ จะช่วยให้บุคลากรของกรมหม่อนไหมที่เป็นสุภาพสตรีอายุ 30
กรมหม่อนไหม จับมือ อ.ส.ค. กรมวิทย์ฯ และ ศูนย์ภูฟ้าฯ วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนและไหม เพิ่มมูลค่าสินค้า ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค วันที่ 2 กันยายน 2567 กรมหม่อนไหม ร่วมด้วย องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนและไหม โดยมีผู้ร่วมลงนาม ได้แก่ พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม นายสมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย นายแพทย์ ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ นายชูเกียรติ วินยพงศ์พันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์ภูฟ้าพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ พร้อมด้วย สักขีพยานจากทั้ง 4 หน่วยงาน ได้แก่ นายวัชรพงษ์ แก้วหอม รองอธิบดีกรมหม่อนไหม นางสาวนุชจรี วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม นายเทอดไชย ระลึกมูล รองผู้อำนวยการ อ.ส.ค. นายสมชาติ อ้อนอุบล หัวหน้าสำนักงาน อ.ส.ค. ภาคกลาง นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร
กรมหม่อนไหมแนะนำเกษตรกรดูแลแปลงหม่อนในสถานการณ์น้ำท่วม ทั้งระหว่างน้ำท่วมขังและหลังน้ำลด เพื่อบรรเทาความเสียหายและการฟื้นฟูแปลงหม่อนให้เจริญเติบโตเหมือนเดิม พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ในช่วงนี้ประเทศไทยมีสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ รวมทั้งแปลงหม่อนของเกษตรกรหม่อนไหมด้วย ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นในแปลงหม่อนที่ถูกน้ำท่วม จะมีผลทำให้ดินขาดการระบายอากาศ ส่งผลให้รากหม่อนขาดออกซิเจน ทำให้รากไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารไปเลี้ยงต้นได้ นอกจากนี้ ยังทำให้รากเปลี่ยนกลไกไปใช้ระบบการหายใจ โดยไม่ใช้ออกซิเจน และก่อให้เกิดสารพิษกับต้น ทำให้หม่อนหยุดการเจริญเติบโต หากท่วมนานเกิน 7 วัน ทำให้เกิดอาการหลุดร่วงของใบดอกและผล ต้นหม่อนจะอ่อนแอ ง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง สำหรับการจัดการแปลงหม่อนขณะที่มีน้ำท่วมขัง ต้องเร่งระบายน้ำออกจากแปลงหม่อน และบริเวณที่มีน้ำท่วมขังโดยเร็ว เช่น ใช้เครื่องสูบน้ำออกจากแปลงหม่อน เป็นต้น พร้อมทั้งทำทางระบายน้ำหรือขุดร่องระบายน้ำระหว่างแถวเพื่อให้การระบายน้ำเร็วขึ้น ส่วนการจัดการแปลงหม่อนหลังน้ำลดนั้นคือ 1. ไม่ควรนำเครื่องจักรกลเข้าไปดำเนินการในแ
สานศิลป์ ภูมิปัญญา ล้ำค่ามหัศจรรย์หม่อนไหม MIRACLE OF SILK AND MULBERRY ส่งเสริมโชว์ศักยภาพการตลาดผ้าไหมและผลิตภัณฑ์หม่อนไหมดี 4 ภาค สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 1 กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำขบวนเกษตรกร ผู้ประกอบการด้านหม่อนไหมร่วมส่งเสริมช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านหม่อนไหมสู่ตลาดยุคใหม่ด้านหม่อนไหม ในงานมหัศจรรย์หม่อนไหม MIRACLE OF SILK AND MULBERRY วันที่ 21-25 สิงหาคม 2567 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า กรมหม่อนไหม ได้นำนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในเรื่อง “การตลาดนำการผลิต” มาใช้ในการขับเคลื่อนงานหม่อนไหม โดยมุ่งเน้นสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร และเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน จึงได้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการจำหน่ายผ้าไหมและผลิตภัณฑ์หม่อนไหมดี 4 ภาค โดยรวมร้านค้าของเกษตรกรหม่อนไหม กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการหม่อนไหมจากทั่วประเทศมาจำหน่ายในงาน เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคในการเพิ่มช่องทางและพื้นที่การจำหน่ายสินค้า รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายการผลิตและการตลา
กรมหม่อนไหมจับมือกรมราชทัณฑ์ ลงนาม MOU ส่งเสริมอาชีพหม่อนไหมในเรือนจำ มุ่งพัฒนาทักษะผู้ต้องขัง จาก “นักโทษ” สู่ “นักทอ” วันที่ 21 สิงหาคม 2567 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการส่งเสริมการประกอบอาชีพด้านหม่อนไหม ระหว่างกรมหม่อนไหมและกรมราชทัณฑ์ ณ ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยในนามของกรมราชทัณฑ์ นายชาญ วชิรเดช รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ด้วย ในโอกาสนี้ นายพิชัย เชื้องาม ผู้อำนวยการสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 1 นางสาวลำแพน สารจันทึก ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง นางสาวเสาวนีย์ อภิญญานุวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ คุณธัญญาลักษณ์ พรหมมณี ที่ปรึกษากรมหม่อนไหม พร้อมด้วยผู้บริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนเจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหมและกรมราชทัณฑ์ ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี โดยข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ต้องขังให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพด้านหม่อนไหม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเลี้ยงชีพหลังพ้นโทษ ทั้งนี้ กรมหม่อนไหม
กรมหม่อนไหม จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 92 พรรษา 12 สิงหาคม 2567 วันที่ 13 สิงหาคม 2567 เวลา 08.45 น. พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม พร้อมด้วย นายศรัญูญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม ตลอดจน ผู้บริหารข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมหม่อนทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 92 พรรษา 12 สิงหาคม 2567 พร้อมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และร่วมลงนามถวายพระพรฯ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์ที่มีต่อวงการหม่อนไหมไทย รวมทั้งทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งกรมหม่อนไหม เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านหม่อนไหมของประเทศไทยทั้งระบบ และให้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมคงอยู่คู่ประเทศไทยสืบไป ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารกรมหม่อนไหม และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting จากส่วนภูมิภาค โดยพร้อมเพรียงกัน
กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานใหญ่ “งานตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 19 ประจำปี 2567 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงสืบสานและทรงให้ความสำคัญกับผ้าไหมไทย พร้อมผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไหมไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สร้างรายได้ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ 4 วัน รวมกว่า 30 ล้านบาท พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า “การจัดงาน “ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 19 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “มหัศจรรย์หม่อนไหม ภูมิปัญญาผ้าไทย เทิดไท้องค์ราชัน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงสืบสานและทรงให้ความสำคัญกับผ้าไหมไทย และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมุ่งเน้นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ้าไหมไทยคุณภาพ และผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหมของเกษตรกรให้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรง รวมถึงสนับสนุนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และเกษตรกรผ
วันที่ 1 สิงหาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเปิดงาน “ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” ครั้งที่ 19 ประจำปี 2567 โดยมีผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารกรมหม่อนไหม ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหม ส่วนราชการและเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ฮอลล์ 6-7 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า กรมหม่อนไหมมีภารกิจเกี่ยวกับหม่อนไหมทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และมีเป้าหมายในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตามพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งมั่นสืบสานวัฒนธรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้คงอยู่กับปวงชนชาวไทย และเพื่อให้ผ้าไหมไทยได้รับการยอมรับในตลาดโลก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชน
วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 นายวัชรพงษ์ แก้วหอม รองอธิบดีกรมหม่อนไหม ร่วมเป็นเกียรติในงานโครงการผลักดันไหมอุตสาหกรรมรังเหลือง (พะเยาโมเดล) ภายใต้แนวคิด (ไหมเหลืองภาคเหนือ : ทางเลือกใหม่ รายได้ดี มีตลาดนำ) โดยมี ว่าที่ร้อยตรี กรกฎ ประเสริฐวงษ์ ปลัดจังหวัดพะเยา เป็นประธานในพิธี โดยมี นายพิชัย เชื้องาม ผู้อำนวยการสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ เขต 1 เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นางสาวลำแพน สารทึก ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมฯ เครือข่ายในพื้นที่ เขต 1 หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้แทนในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชน ตลอดจนเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เข้าร่วม ณ บ้านภูเงิน ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้แก่เกษตรกรหน่วยงานและผู้สนใจทั่วไปตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านหม่อนไหม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด ตลอดจนเป็นช่องทางในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของเกษตรกร กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การซื้อขายรังไหม โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การซื้อขายรัง