ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นหนึ่งในโครงการที่ภาครัฐต้องการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกในช่วงหน้าแล้ง เพื่อลดพื้นที่การทำนาปรัง ทั้งนี้ ได้มีการประสานงานพร้อมกับได้รับความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเปิดตลาดรับซื้อข้าวโพดจากชาวบ้านที่ปลูกมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด คุณแสวง ทองท่อน อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ที่ 6 ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นชาวบ้านที่ยึดอาชีพเกษตรกรรมด้วยการปลูกข้าว สลับกับการปลูกพืชอายุสั้นอย่างมะเขือลาย แต่ต้องใช้สารเคมีมากจนทนไม่ไหวจึงเลิกเพราะเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อตัวเองและผู้บริโภค จากนั้นจึงหันมาปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์แทนเพราะไม่ต้องใช้สารเคมี แถมยังทำให้ต้นทุนต่ำ คุณแสวงใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดทั้งหมด 8 ไร่ แล้วใช้เมล็ดพันธุ์จำนวน 22 กิโลกรัม เป็นข้าวโพดพันธุ์แปซิฟิก 99 เหตุผลที่เลือกใช้พันธุ์นี้เพราะได้รับการแนะนำจากเพื่อนบ้านหลายราย เนื่องจากมีข้อดีคือให้ความเข้มข้นของแป้งสูง อีกทั้งยังให้ผลผลิตมากด้วย การเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวโพด คุณแสวง บอกว่า หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้วจะไถกลบ แล้วปั่นดินให้ละเอียด จากนั้นจึงยกร่องกว้างสัก 75 เซนติเมตร
จากที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยแล้งอย่างรุนแรงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้การทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งของเกษตรกรในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูง ทำให้รัฐบาลใช้มาตรการความช่วยเหลือด้วยการส่งเสริมการปลูกพืชอายุสั้น ทนแล้ง ทดแทนการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างข้าว โดยพืชที่รัฐบาลเข้ามาส่งเสริมมีด้วยกันหลายชนิด ซึ่งมีความเหมาะสมปลูกแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ อาทิ ปอเทือง พืชตระกูลถั่วต่างๆ และข้าวโพด นายเสน่ห์ แทนรอด ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10 บ้านหัวเด่น อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เกษตรกรต้นแบบการปลูกข้าวโพดที่ประสบความสำเร็จจากการส่งเสริมของภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชัยนาท กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จังหวัดชัยนาทเป็นหนึ่งในหลายจังหวัดที่ต้องประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก ทำให้เกษตรกรไม่มีน้ำเพียงพอที่จะเพาะปลูกข้าว เนื่องจากเกษตรกรในจังหวัดชัยนาทมีการทำนาปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักที่สำคัญ จึงทำให้เกษตรกรมีความป็นอยู่ที่แย่ลง เนื่องจากขาดรายได้จากการทำนาไป ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงมีนโยบายการลดพื้นที่การทำนาในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง พร้อมกับส่งเสริมการปลูกพืชอายุสั้นทนแล้งทดแทน โดยในพื้นที่จังหวัดชัยนาท
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีออสเตรเลียแสดงความกังวลที่ไทยแก้ปัญหาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ำด้วยการกำหนดสัดส่วนให้ผู้นำเข้าข้าวสาลีต้องซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 1 ต่อ 3 อาจขัดกับหลักการขององค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) ว่า มาตรการฯที่ไทยนำมาใช้นั้น เป็นมาตรการแก้ปัญหาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศตกต่ำ และใช้แบบชั่วคราว เมื่อสถานการณ์คลี่คลายจะพิจารณายกเลิก ซึ่งในเร็วๆ นี้ กระทรวงพาณิชย์ จะประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศปีการผลิต 2560/61 หากสถานการณ์ราคาไม่ตกต่ำเหมือนปี 2559/60 อาจพิจารณายกเลิกการใช้มาตรการฯ “ยืนยันว่า การกำหนดสัดส่วน 1 ต่อ 3 เป็นมาตรการดีที่สุด ที่ใช้แก้ปัญหาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศตกต่ำ เพราะเหมือนเป็นการบังคับให้ผู้นำเข้าข้าวสาลี ต้องซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ เช่น นำเข้าข้าวสาลี 1 ตัน ต้องซื้อข้าวโพด 3 ตัน ทำให้เกษตรกรสามารถขายข้าวโพดได้ ราคาจะขยับขึ้น เรื่องนี้ได้คุยกับออสเตรเลียแล้วซึ่งเขาเข้าใจไทย”นางอภิรดีกล่าว
เมื่อวันที่ 12 มกราคม น.ส.จิตตานันท์ กิจวรสวัสดิ์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน เปิดเผยว่า หลังจากท้องฟ้าครึ้มและมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องใน จ.น่าน ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ฤดูหนาวกลับไม่หนาวแต่มีฝนตกลงมาคล้ายฤดูฝน จากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าวทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไป แม้ข้อดีคือ โอกาสแล้งจะน้อยลง แต่ก็ทำให้คนน่านและนักท่องเที่ยวต่างพากันผิดหวัง รวมทั้งยังทำให้ข้าวโพดอาหารสัตว์ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวอยู่บนภูเขา เมื่อเจอน้ำฝนอย่างต่อเนื่องจะมีความชื้นสูง เกิดเชื้อราและรากงอก เก็บมาขายก็จะไม่ได้ราคา รวมถึงพืชผักสวนครัวหรือสวนผลไม้ต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบลักษณะเดียวกัน “หรือถ้าฝนหยุดตกอุณหภูมิสูงขึ้น อากาศร้อนชื้น เชื้อราจะชอบมาก เพราะฉะนั้นเกษตรกรต้องดูแลพืชผลของตนเอง” นางสาวจิตตานันท์กล่าว และว่า ประการที่สองผลกระทบที่เห็นชัดเจน นอกจากข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวไม่ทันคือ พริก มะขามหวาน เมื่อเจอฝนช่วงนี้ทำให้เกิดเชื้อรา ประการที่สามผู้ปลูกถั่วเหลืองสำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์ จำหน่ายให้เกษตรกรปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ก็จะเกิดเชื้อราอีกเช่นเดียวกัน รวมพื
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แม่แจ่ม เชียงใหม่ 1 แสนตันเคว้ง ทุนใหญ่ไม่รับซื้อ เหตุพื้นที่ปลูกมากกว่า 95% ไม่มีเอกสารสิทธิ เผยมีใบ สทก.ให้สิทธิทำกินในป่าสงวนฯไม่ถึง 5,000 ไร่ เกษตรกรจำใจขายขาดทุนยับ 4.50 บาท/กก. วอนรัฐบาลช่วยเหลือด้านตลาด พร้อมยอมปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีตลาดรองรับแน่นอน ชี้เศรษฐกิจแม่แจ่มตกต่ำสุดในรอบ 20 ปี 95% ไม่มีเอกสารสิทธิ นายอุทัย บุญเทียม เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของจังหวัดเชียงใหม่ในฤดูกาลผลิตปี 2559 ถือว่าประสบปัญหาหนักมาก โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม เนื่องจากผลผลิตในปีนี้ประมาณ 100,000 ตัน ยังไม่มีตลาดรับซื้อที่แน่นอน และมีปัญหาเรื่องราคาตกต่ำมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา แม้ปัจจุบันเกษตรกรได้เริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตไปบ้างแล้วราว 20% โดยขายผ่านพ่อค้าคนกลางที่มีตลาดรับซื้อเป็นกิจการฟาร์มเลี้ยงไก่และเลี้ยงสุกรในพื้นที่เชียงใหม่-ลำพูน ซึ่งเกษตรกรจำใจขายและจำเป็นต้องขายในภาวะขาดทุน ขณะที่ผลผลิตที่ยังรอการเก็บเกี่ยวนับจากนี้จนถึงเดือนกุมภาพันธ์อีกกว่า 70-80% ยังไม่ม
รัฐ-เอกชนผนึกพลัง 4 ภาคส่วน พัฒนา “บัลลังก์โมเดล” ต้นแบบการรวมกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่แห่งแรกของไทยที่โคราช เพื่อผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยั่งยืน เผยกลุ่มซีพีรับซื้อผลผลิตในราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 7.90 บาท รายงานข่าวจากจังหวัดนครราชสีมาเปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลบัลลังก์ อ.โนนไทย เกษตรอำเภอโนนไทย จ.นครราชสีมา และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ร่วมกับบริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ดำเนินโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” ในรูปแบบ “บัลลังก์โมเดล” เพื่อพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมบริหารจัดการแบบแปลงใหญ่แห่งแรกของประเทศ นำไปสู่ต้นแบบการรวมกลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เข้มแข็ง และยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานตรวจสอบย้อนกลับได้ พิธีร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือได้จัดขึ้นระหว่าง 4 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคการเกษตร ประกอบด้วย สำนักงานเทศบาลตำบลบัลลังก์ สำนักงานเกษตรอำเภอโนนไทย สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.)นครราชสีมา และ บ.กรุงเทพโปรดิ
สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยส่งหนังสือเวียนสมาชิก หลังหารือกระทรวงพาณิชย์ กำหนด 3 แนวทางหลักแก้ปัญหาราคาข้าวโพดในประเทศตกต่ำ นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า 3 แนวทางดังกล่าวประกอบด้วย 1.)ให้สมาชิกกลุ่มที่มีการนำเข้าข้าวสาลี ทำการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงเดือน ต.ค-ธ.ค. ในจำนวนสัดส่วนเทียบเคียงการนำเข้าเฉลี่ยในอัตรา 1: 1.5 คือนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต้องซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1.5 ส่วน เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนเดิมที่ 1 : 1 ทั้งนี้เพื่อช่วยระบายข้าวโพดและผ่อนคลายสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ล้นตลาดในปัจจุบัน 2)กรมการค้าภายในจะเชิญบริษัทที่ไม่ให้ความร่วมมือ มาพูดคุยถึงข้อเท็จจริงของสถานการณ์ปัจจุบันและจะวางมาตรการเป็นรายบริษัทต่อไป 3.)ทางสมาคมได้เสนอให้รัฐพิจารณาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับจัดเก็บสต็อกข้าวโพดให้นานขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์รับจะนำไปพิจารณาต่อไป กรมการค้าภายในทราบดีว่ามีผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใดบ้างที่ให้ความร่วมมืออย่างดีโดยเฉพาะรายใหญ่ๆอย่าง ซีพี, เบทาโกร, แหลมทอง, ไทยฟู้ดส์, คาร์กิลล์ มีทส์ ก็ปฏิบัติตามด้วยดีมาโดยตลอดและไม่เคยรับซื้อข้าวโพดที่ความชื้น 1
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินงานโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ทดแทนการปลูกข้าว รอบ 2 ปีการผลิต 2559/60 หรือ ข้าวนาปรัง) โดยมีเป้าหมายปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น หรือกิจกรรมอื่นจำนวน 3 ล้านไร่ ประกอบกับปัจจุบันข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่มีความต้องการใช้ในประเทศกว่า 7.2 ล้านตัน ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่น ๆ เข้ามาเสริมชดเชยส่วนที่ขาด ดังนั้น โครงการดังกล่าวจึงได้จัดทำขึ้นและมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้ในช่วงฤดูแล้ง คือ ๑. ลดปริมาณผลผลิตข้าวที่มากเกินความต้องการ เพื่อปรับระบบให้เกิดความสมดุลระหว่างปริมาณการผลิตและความต้องการของตลาดของผลผลิตทั้ง 2 ชนิด จากข้าวมาเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปัจจุบันผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากต่างประเทศเข้ามาคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท อีกทั้งการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา ยังเป็นการปรับระบบการผลิตข้าวที่ถูกต้องในการให้ชาวนาปรับระบบ
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ส่งหนังสือเวียนสมาชิก หลังหารือกระทรวงพาณิชย์ กำหนด 3 แนวทางหลักแก้ปัญหาราคาข้าวโพดในประเทศตกต่ำ 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1.ให้สมาชิกกลุ่มที่มีการนำเข้าข้าวสาลี ทำการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงเดือน ต.ค-ธ.ค.จำนวนสัดส่วนเทียบเคียงการนำเข้าเฉลี่ยในอัตรา 1: 1.5 คือนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต้องซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1.5 ส่วน เพิ่มขึ้นจากสัดส่วนเดิมที่ 1 : 1 ทั้งนี้ เพื่อช่วยระบายข้าวโพดและผ่อนคลายสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ล้นตลาดในปัจจุบัน แนวทางที่2 กรมการค้าภายใน จะเชิญบริษัทที่ไม่ให้ความร่วมมือ มาพูดคุยถึงข้อเท็จจริงของสถานการณ์ปัจจุบันและจะวางมาตรการเป็นรายบริษัทต่อไป และ แนวทางที่ 3.ทางสมาคมได้เสนอให้รัฐพิจารณาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับจัดเก็บสต็อกข้าวโพดให้นานขึ้น ซึ่งกระทรวงพาณิชย์รับจะนำไปพิจารณาต่อไป “กรมการค้าภายใน ทราบดีว่ามีผู้ผลิตอาหารสัตว์รายใดบ้าง ที่ให้ความร่วมมืออย่างดี โดยเฉพาะรายใหญ่ๆอย่าง ซีพี เบทาโกร แหลมทอง ไทยฟู้ดส์ คาร์กิลล์ มีทส์ ก็ปฏิบัติตามด้วยดีมาโดยตลอด และไม่เคยรับซื้อข้าวโ
กระทรวงเกษตรฯ ชวนภาคเอกชนทำ MOU สานพลังประชารัฐส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ปี 2559/60 ตั้งเป้าปรับลดพื้นที่ 2 ล้านไร่ ใน 31 จังหวัด เพื่อให้ชาวนาปรับระบบการผลิตในช่วงฤดูแล้งและมีรายได้เพิ่มขึ้นทดแทนการปลูกข้าวนาปรังที่ให้ผลตอบแทนน้อยกว่า พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่ภาครัฐได้มีนโยบายจัดระบบการปรับโครงสร้างการผลิตข้าวของเกษตรกรเพื่อการแก้ไขปัญหาข้าวมีสภาวะเกินความต้องการของตลาด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 รอบที่ 2 หรือข้าวนาปรัง จำนวน 6.86 ล้านไร่ ผลผลิต 4.38 ล้านตันข้าวเปลือก และมีเป้าหมายปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น หรือกิจกรรมอื่นจำนวน 3 ล้านไร่ ประกอบกับปัจจุบันข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่มีความต้องการใช้ในประเทศกว่า 7.2 ล้านตัน ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่น ๆ เข้ามาเสริมชดเชยส่วนที่ขาด ดังนั้น จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมกันจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสั