ชันโรง
ชันโรง เป็นผึ้งจิ๋วขนาดเล็กไม่มีเหล็กใน ชอบตอมเกสรดอกไม้ ระยะหาอาหารประมาณ 300 เมตร มีพฤติกรรมเก็บน้ำหวานจากดอกไม้และละอองเกสรของพืชที่ใช้เป็นอาหารแตกต่างจากผึ้ง โดยจะเก็บเกสรดอกไม้ ร้อยละ 80 เก็บน้ำหวาน ร้อยละ 20 ในขณะที่ผึ้งเก็บเกสรดอกไม้ ร้อยละ 50 และน้ำหวานร้อยละ 50 น้ำผึ้งชันโรง โดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม รสอร่อยเปรี้ยวอมหวาน เป็นน้ำผึ้งที่มีคุณภาพสูงจากการผสมผสานจากดอกไม้นานาพันธุ์รวมไปถึงน้ำหวานจากพืชสมุนไพร รังผึ้งชันโรง 1 รังสามารถผลิตน้ำผึ้งได้ประมาณ 500-750 มิลลิลิตร จำหน่ายน้ำผึ้งชันโรงในราคาลิตรละ 1,000-1,600 บาท ชันโรงสามารถผลิตน้ำผึ้งได้ 2-3 ครั้งต่อปี ผลการศึกษาวิจัยพบว่า น้ำผึ้งชันโรงและรังของชันโรงมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ สร้างภูมิคุ้มกันยับยั้งเชื้อราหรือจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง หรือแผลอักเสบ ดังนั้น น้ำผึ้งชันโรงและรังของชันโรงจึงถูกใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเสริม ยาและเวชสำอาง สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม รักษาเหงือกอับเสบ และแก้อักเสบผิวหนัง ฯลฯ จังหวัดสตูลมีการเลี้ยงชันโรงอย่างแพร่หลาย มีการจัดตั้งกลุ่มที่ชัดเจนและมีการจำหน่ายน้ำผึ้งจากผึ้งชันโรง โดยเฉพา
“ชันโรง” เป็นแมลงขนาดเล็กที่หลายคนอาจยังไม่รู้จัก มีอุปนิสัยชอบเก็บน้ำหวานและละอองเกสรดอกไม้เป็นอาหารคล้ายๆ กับผึ้ง ซึ่งชันโรงจะไม่เหมือนกับผึ้งตรงที่ไม่มีเหล็กในจึงไม่สามารถต่อยได้ หลายภูมิภาคของประเทศไทยสามารถพบชันโรงได้และมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ภาคใต้เรียกชันโรงขนาดเล็กว่า อุงหรือแมลงโลม และชันโรงขนาดใหญ่ว่า อุงหมี ส่วนทางภาคตะวันตกเรียกว่า ตัวตุ้งติ้งหรือตัวติ้ง ภาคเหนือเรียกชันโรงที่มีขนาดเล็กว่า แมลงขี้ตึงหรือตัวขี้ตังนี แต่ถ้าเป็นชันโรงที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า ขี้ย้าด้าหรือขี้ย้าแดง เรียกตามสีของลำตัว โครงสร้างภายในรังของชันโรงจะประกอบไปด้วย ปากทางเข้ารังที่หลายลักษณะ เช่น เป็นหลอดหรือปล่อง รูปปากแตรหรือมีรูเล็กๆ และมียางเหนียวๆ อยู่บริเวณปากทางเข้าออกรัง ชันโรงสามารถสร้างรังได้หลากหลายที่ ตั้งแต่โพรงลำต้นไม้ใหญ่ ในดินจอมปลวกหรือแม้แต่รอยแยกของบ้าน ซอกตึก กล่องไม้ต่างๆ ก็สามารถทำรังได้ด้วยเช่นกัน ภายในรังมีการสร้างห้องหรือที่เรียกอีกอย่างว่ากระเปาะ แบ่งแยกกันตามประโยชน์ใช้สอยคือ การสร้างกระเปาะเก็บเกสร กระเปาะสำหรับวางไข่และเลี้ยงตัวอ่อน กระเปาะเก็บน้ำหวาน ซึ่งการสร้างในลักษณะน
• 3 กิจการเพื่อสังคม สร้างอิมแพคให้ชุมชนเติบโตยั่งยืน “สร้างรายได้จากสัตว์เศรษฐกิจ-ฟื้นฟูทะเลด้วยการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์-ภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงแก้ปัญหาปากท้อง” บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย พร้อมด้วย สถาบัน ChangeFusion ประกาศผล 3 ผู้ชนะสุดยอดโมเดลกิจการเพื่อสังคมภายใต้แนวคิด “ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง” (Impactful Locals, National Boost) ในโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม (Banpu Champions for Change: BC4C) ปีที่ 13 โดยไม่เรียงลำดับ ได้แก่ “ชันโรง” กิจการที่สร้างรายได้ให้ชุมชนจากสัตว์เศรษฐกิจพร้อมฟื้นป่าชายเลน จังหวัดกระบี่ “คนทะเล” กิจการที่เน้นฟื้นฟูทะเลประจวบฯ ด้วยแพ็กเกจเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ “Karen Design” กิจการที่ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงแก้ปัญหาปากท้องชุมชนในพื้นที่แม่ฮ่องสอน โดยผู้ชนะทั้ง 3 ทีมจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 250,000 บาทเพื่อเป็นทุนดำเนินกิจการ นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ในปีนี้เราเห็นแนวโน้มผู้ประกอบการมีความเข้าใจการทำกิจการเพื่อสังคมมากขึ้น มีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อโปรโมตส
ชาวเกาะลันตา รวมกลุ่มเลี้ยงชันโรง ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ชูน้ำผึ้งชันโรงคุณภาพ จากป่าที่มีความหลากหลายทางพันธุ์พืชและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับ การผสมเกสร ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากมีประโยชน์ต่อการผลิตทางการเกษตรแล้ว ชันโรง ยังสามารถเลี้ยงเพื่อเก็บเกี่ยวน้ำผึ้ง สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย ดังเช่น เกษตรกรตำบลคลองยาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ที่เลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพเสริม ขยายจากกลุ่มผู้เลี้ยงรายย่อยกลุ่มแปลงใหญ่ที่เข้มแข็ง ก้าวสู่ตลาดท้องถิ่นและทั่วประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี 2567 สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ได้สนับสนุนให้เกษตรกรที่เลี้ยงชันโรงในตำบลคลองยาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ชันโรงตำบลคลองยาง ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงชันโรงรายย่อยในพื้นที่ตำบลคลองยาง จำนวน 34 ราย เข้าร่วมโครงการ พื้นที่ดำเนินการครอบคลุม 320.75 ไร่ โดยมีกา
ดร.เดือนรุ่ง เบญจมาศ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหารภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี ให้ข้อมูลว่า คอมบูชา (KOMBUCHA) คือ น้ำหมักจากชาดำหรือชาเขียว กับหัวเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งมีแบคทีเรียชนิดดีและยีสต์ดี มีมาตั้งแต่ราวๆ 2,000 ปี ในกลุ่มผู้รักสุขภาพ ในประเทศจีนและแพร่มาญี่ปุ่น บางคนจึงออกเสียง “คอมบูชะ” ตามภาษาญี่ปุ่น และยังเป็นที่นิยม แถบรัสเซีย ยุโรป อเมริกา มีประโยชน์ ช่วยปรับสมดุลลำไส้ เสริมภูมิคุ้มกัน มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดน้ำหนัก ดีต่อสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และอาจช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ แต่ทางการตลาดฟังดูชื่อยังไม่คุ้นหูและยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากนัก เปิดตัว ชาหมัก คอมบูชะ แบรนด์ “อนันตดา” ดร.เดือนรุ่ง เล่าถึงที่มาของคอมบูชะ แบรนด์ “อนันตดา” ที่จังหวัดตราดว่า เริ่มจากสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด โดย คุณชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราดและนายกสมาคมคนเลี้ยงผึ้งภาคตะวันออก (Eastern Beekeepers Ass0ciation) ต้องการให้มีงานวิจัยส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ดีๆ มีคุณค่าของจังหวัดตราด เช่น สับปะรดตราดสีทองที่ได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศา
ในรอบปีฤดูกาลที่นิยมเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำผึ้งจากผึ้งและชันโรง จะดำเนินการในช่วงที่มีดอกไม้บานคือตั้งแต่ปลายปีไปจนเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนในเดือนเมษายน ซึ่งจะได้น้ำผึ้งจากดอกไม้และผลไม้ที่ออกดอกในเดือนที่แตกต่างกัน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งหลากหลายชนิด ได้แก่ น้ำผึ้งจากดอกไม้ป่าหรือดอกสาบเสือ น้ำผึ้งดอกลิ้นจี่ น้ำผึ้งดอกลำไย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของประชากรผึ้งและชันโรงที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส แต่หากอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อพัฒนาของดักแด้จนไปถึงตัวเต็มวัยไม่แข็งแรงได้ ทำให้ประชากรภายในรังน้อยลง เกิดการล่มสลายของรังผึ้งและชันโรงได้ ดังนั้น ในช่วงมกราคม-มีนาคม เป็นช่วงที่อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้น เกษตรกรจึงควรติดตามตรวจสอบสภาพอากาศ คาดการณ์การเกิดภัยในพื้นที่วางรังผึ้ง และบันทึกน้ำหนักรัง เพื่อวางแผนการตั้งรัง สถานที่ตั้ง การเคลื่อนย้ายรัง การดูแล และเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งให้ได้ประสิทธิภาพ วิธีการดูแลผึ้งและชันโรงในช่วงฤดูแล้ง จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลักสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านก
“น้ำผึ้ง” ที่รู้จัก หลักๆ มาจากผึ้ง 3 ชนิด คือ ผึ้งชันโรง (แมงโลม) ส่วนใหญ่คนยังไม่ค่อยรู้จักอยู่ตามธรรมชาติ ตามบ้าน โรงเรียน วัด เป็นผึ้งที่ไม่มีเหล็กใน ผึ้งโพรงทำรังอยู่ตามบ้าน สวน และผึ้งพันธุ์ที่คัดสายพันธุ์ดีนำมาเลี้ยงกันแพร่หลาย ที่จังหวัดตราดมีการเลี้ยงผึ้งทั้ง 3 ชนิดมานานแล้ว แต่ไม่จริงจัง จนกระทั่ง คุณชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ให้ความสนใจส่งเสริมการเลี้ยงตั้งแต่ปี 2565 ได้เริ่มเห็นความสนใจการเลี้ยงผึ้งกันมากขึ้น และเมื่อเดือนกันยายน 2566 มีการรวมตัวกันในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน จัดตั้ง “สมาคมคนเลี้ยงผึ้งภาคตะวันออก” (Eastern Beekeepers Asssociation) ส่งเสริมการเลี้ยง ผึ้งชันโรง ผึ้งโพรง ผึ้งพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและสร้างมูลค่า เพราะสภาพแวดล้อมของจังหวัดตราดมีความเหมาะสม ทั้งแหล่งเกสร แหล่งอาหาร และความต้องการภาคเกษตรกรรมที่ต้องการใช้ผึ้งผสมเกสร และสมาคมฯ เตรียมชู น้ำผึ้งดอกเสม็ดขาว อัตลักษณ์น้ำผึ้งจังหวัดตราด เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เมตตาธรรมชวนเลี้ยงผึ้งชันโรง คนต้นแบบ “มานพ ทองศรีสมบูรณ์” คนต้นแบบเลี้ยงผึ้งชันโรง คุณมานพ ทองศรีสมบูรณ
หากใครอยากเลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพเสริม สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ปลูกพืชผัก ผลไม้ ดอกไม้ที่ปลูกดูแลแบบเกษตรอินทรีย์ หรืออยู่ใกล้ป่าธรรมชาติ ที่มีต้นไม้นานาชนิดให้เป็นแหล่งอาหารของชันโรง ทั้งนี้ จากการศึกษาของศูนย์วิจัยฯ พบว่า พืชอาหารที่ถูกใจชันโรง ถือเป็นอาหารเกรด เอ ที่มีคุณค่าทางยามากที่สุดคือ “ดอกดาวกระจาย” เพราะมีสรรพคุณทางยาสูง โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านการอักเสบสูงถึง 97-98 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ “ดอกเสี้ยวป่า” ซึ่งมีสรรพคุณทางยา ให้สารต้านการอักเสบสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ นอกจากพืชอาหารจะมีความสำคัญต่อคุณภาพน้ำผึ้งชันโรงแล้ว เรื่องการเก็บผลผลิตและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ก่อนเก็บน้ำผึ้งควรปล่อยให้จุลินทรีย์และเอนไซม์ทำงานเต็มที่ เพราะน้ำผึ้งที่มีคุณภาพสูงจะต้องมีความชื้นเหลืออยู่ที่ 22-21 เปอร์เซ็นต์ หลังชันโรงเก็บน้ำหวานจากดอกไม้ที่มีคุณสมบัติทางยา เมื่อเป็นน้ำผึ้งจะเข้มข้นขึ้น ตั้งแต่ 10-100 เท่า เมื่อผสานกับนวัตกรรมการบ่มน้ำผึ้งที่ให้จุลินทรีย์และเอนไซม์ของศูนย์วิจัยฯ ยิ่งทำให้น้ำผึ้งมีความเป็นยามากขึ้น #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban #ชันโรง #ผึ้
คุณอานนท์ ชูโชติ หรือ คุณกัน ได้เห็นถึงความสำคัญในการเลี้ยงชันโรงเพื่อมาไว้ในสวนลิ้นจี่ จากที่มีเพียงไม่กี่รังไว้ภายในสวน เขาไม่คาดคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะสร้างรายได้ให้กับเขาได้ดีไม่น้อย เพราะการเลี้ยงชันโรงถือว่าประหยัดต้นทุนอาหารเป็นอย่างมาก โดยทผู้เลี้ยงไม่มีต้นทุนเหล่านี้เลย โดยทุก 1 ปี จะแยกรังชันโรง 2 ครั้ง หรือถ้ามองว่าในรังมีขนาดที่แคบเกินไป สามารถแยกรังไปใส่ในกล่องใหม่ได้ทันที เป็นการขยายรังจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 ช่วงที่เวลาที่เหมาะต่อการแยกรังจะเป็นช่วงฤดูร้อน เพราะค่อนข้างที่จะมีดอกไม้ออกมาจำนวนมาก เพียงพอที่จะเป็นอาหารให้กับชันโรง
ศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร (Native Honeybee and Pollinator Research Center) เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานการเรียนรู้เรื่องผึ้ง หรือ “Bee Park” ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี มี รศ.ดร.อรวรรณ ดวงภักดี อาจารย์ประจำ มจธ.ราชบุรี เป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยฯ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมผึ้งและภาษาผึ้งคนแรกของไทย ล่าสุด ยังเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “Regional President of Asia” ของสภาบริหารของสมาคมผึ้งโลก Apimondia (Apimondia: International Federation of Beekeepers’ Associations) รศ.ดร.อรวรรณ กล่าวว่า บทบาทหน้าที่ของศูนย์คือ การศึกษาวิจัยด้านผึ้งใน 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. ศึกษาพฤติกรรมผึ้ง ความหลากหลายของผึ้งและปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผึ้งทางการเกษตรและการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ (climate change) 2. สร้างเครื่องมือที่ชื่อว่า รังผึ้งฉลาด (smart hives) เพื่อศึกษาภาษาผึ้งผ่านแอปพลิเคชั่น beeconnex โดยทำร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. 3. ใช้ประโยชน์จากผึ้งเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และ 4. สร้า