นวัตกรรมเกษตร
ผลกระทบจากภาวะโลกรวน ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ลมฟ้าอากาศและฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ปีนี้ผลไม้หลายชนิด เช่น ลิ้นจี่ มะม่วง ลำไย มะละกอ เงาะ มังคุดฯลฯ ออกมาพร้อมกันทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการรับประทานผลไม้อื่นๆ ประกอบกับปีนี้ มะม่วงออกลูกดกมากจนล้นตลาด ส่งผลให้ มะม่วงน้ำดอกไม้ ที่เคยขายได้ในราคาสูง ก็ปรับราคาลดลง บางแผงในตลาดไท ตั้งราคาขายถูกมาก เฉลี่ย กก.ละ 1-2 บาทเท่านั้น ทำให้เกษตรกรต่างขาดทุนกันทั่วหน้า เพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม “ เจลลี่มะม่วงมหาชนก ” ท่ามกลางวิกฤตผลไม้ล้นตลาด ราคาตกต่ำ มะม่วงส่วนใหญ่แทบขายไม่ได้ราคา แต่ มะม่วงมหาชนกกลับรอดได้เพราะมีนวัตกรรม“ เจลลี่มะม่วงมหาชนก ” หรือกัมมี่มะม่วง เป็นตัวช่วยยกระดับราคา “ ย้อนกลับไปเมื่อ 4-5ปีก่อน มะม่วงมหาชนกเป็นมะม่วงที่ไม่มีใครสนใจเลย ราคาต่ำมากแค่กก.ละ5-10 บาท แต่ราคาหน้าโรงงานในปีนี้ อยู่ที่ กก ละ 50 บาท เพราะมีนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มมะม่วงในรูปแบบ “ เจลลี่มะม่วงมหาชนก ” เราถ่ายทอดนวัตกรรมให้บริษัทคันนา จำกัด นำไปผลิตและจำหน่าย ปรากฎว่า สินค้าขายดีทั้งในไทยและต่างประเทศ จนต้องเพิ่มกำลังการผลิตอย่างต
อาจารย์สุพิทย์ ขุนเพชร อดีตหัวหน้าสถานีวิจัยกาญจนบุรี ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะเกษตร กำแพงแสน ผันตัวเองทำไร่ทำสวนหลังเกษียณด้วยความสุข ในชื่อสวน “KP FRAM” โดยปลูกฝรั่ง มะม่วง ปาล์มน้ำมันเป็นหลัก อาจารย์สุพิทย์ดูแลบริหารจัดการแปลงเกษตรเนื้อที่ 30 ไร่ด้วยตัวเอง โดยอาศัยนวัตกรรมเป็นตัวช่วย สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี ทำเกษตรหลังเกษียณแบบพอเพียง มีความสุข อาจารย์สุพิทย์บอกว่า ทุกวันนี้ ผมทำเกษตร โดยใช้ชีวิตแบบพอเพียง ไม่ได้เน้นสร้างรายได้เป็นหลัก ผมเริ่มทำสวนเกษตรก่อนเกษียณประมาณ 10 ปี บนเนื้อที่ 7 ไร่ อยู่ห่างจาก ตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ 4กม. ที่นี่เน้นทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชใช้สอยกับพืชกินได้ ทุกสิ่งทุกอย่าง พอปลูกไปแล้วจริงๆ มันกลายเป็นป่าที่มีสัตว์ป่าเช่น พวกกระรอก กระแต ไก่ป่าเต็มไปหมด พืชที่ปลูกกลายเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์มากกว่าเลี้ยงคน พืชตัวแรกที่ปลูกคือ มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ โดยลงทุนซื้อพันธุ์มะขามเปรี้ยวถึงต้นละ 1 พันบาท พอเริ่มมีผลผลิตออกขาย ปรากฎว่า ขายได้ราคาถูกมากๆ แถมไม่มีคนซื้ออีกต่างหาก นับเป็นความล้มเหลวบทเรียนแรกในเส้นทางการทำเกษตรของอาจารย์สุพิทย์ ปาล์มน้ำมันป
เนื่องจาก “ข้าวฮางงอก” เป็นภูมิปัญญาชาวอีสานมาแต่ดั้งเดิม โดยเป็นข้าวที่เพาะงอกจากข้าวเปลือก มีสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และมีกลิ่นหอมจากเปลือกมาเคลือบที่เมล็ดข้าวเพิ่มขึ้น จึงทำให้ข้าวฮางมีสารอาหารมากและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงช่วยให้สุขภาพแข็งแรงและสมดุล ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ช่วยป้องกันเชื้อโรคหรือโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคได้ดี เช่น ความดัน เบาหวาน ไขมันสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน ไขข้ออักเสบ โรคไต โรคเกี่ยวกับประสาทและสมอง ความจำเสื่อม การแก่เกินวัย โรคมะเร็งชนิดต่างๆ ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง หรือได้รับสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ปุ๋ยเคมี สารเร่ง การเจริญเติบโต สารกันบูด สารสังเคราะห์ และอากาศที่เป็นพิษ กรรมวิธีการทำข้าวฮางงอก เริ่มจากการนำเอาข้าวเปลือกมาแช่น้ำไว้ เพื่อกระตุ้นการงอกของข้าวเปลือก ทำให้เกิดการทำงานของสารเอนไซม์และสารอาหารต่างๆ เมื่อข้าวเปลือกเริ่มงอกจะผลิตสารอาหารชนิดหนึ่งขึ้นมา คือ สาร GABA (กาบา) ที่มีส่วนช่วยในเรื่องความจำ และเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แล้วจึงนำข้าวเปลือกที่งอกแล้วไปนึ่ง เพื่อหยุดกระบวกการงอก ทำให้สารอาหารที่เพิ่
อโกลนีมา (Aglaonema ) สกุลของพืชไม้ประดับที่มีความสวยงามที่ใบ ได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่งไม้ประดับ” เป็นลำดับพืชที่มีมากกว่า 100 ชนิด ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้สีสันสวยงาม นิยมเพาะเลี้ยงเพื่อความสวยงาม และจัดเป็นไม้มงคล มีการตั้งชื่อสายพันธุ์ภาษาไทยที่สื่อความหมายทางโชคลาภ เช่น กวักมหามงคล บัลลังก์ทับทิม บัลลังก์ทอง เพชรน้ำหนึ่ง ฯลฯ นอกจากความสวยงามแล้ว ยังเป็นไม้ฟอกอากาศได้ดี สามารถดูดซับก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ ลดมลพิษภายในอาคาร นับเป็นไม้ประดับใบที่มีอนาคตไกล เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศและส่งออกอย่างต่อเนื่อง การขยายพันธุ์อโกลนีมา สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น การตอน การแยกหน่อ การชำ และ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ คือใช้เมล็ด ปกติเมล็ดของต้น อโกลนีมาที่ได้จากการผสมตัวเองจะมีลักษณะเหมือนต้นแม่ แต่ถ้ามีการผสมข้ามระหว่างสกุลสามารถสร้างลูกผสมใหม่ๆ เกิดขึ้น ปัจจุบันกลุ่มผู้ผลิตอโกลนีมานิยมขยายพันธุ์ด้วยการปักชำเป็นส่วนใหญ่ บางกรณีมีการขยายพันธุ์ด้วยการซื้อต้นกล้าขนาดเล็กที่เพิ่มจำนวนด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นไ
จังหวัดนนทบุรีเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มักเกิดน้ำท่วมทุกๆ 10 ปี ดังนั้นวิถีชาวสวนเมืองนนท์ตั้งแต่ในอดีต จึงนิยมปลูกพืชแบบยกร่องแล้วตั้งคันล้อมให้สูง เวลาหน้าฝนจะได้กู้น้ำออกน้ำทิ้งได้ง่าย สวนผลไม้แต่ละแห่งมักทำจุดเชื่อมต่อน้ำในท้องร่องกับน้ำในคลองไว้ ในเวลาปกติก็จะเปิดท่อให้น้ำไหลเข้าออกจากท้องร่องตามธรรมชาติของน้ำขึ้นน้ำลง แต่จะปิดประตูน้ำในช่วงที่น้ำมาก หรือช่วงฤดูแล้ง ที่มีน้ำเค็มจะไหลเข้ามาตามคลอง การเปิดประตูให้น้ำจากลำคลองเข้ามาในร่องสวน ทำให้มีตะกอนดินเข้ามาในสวนเป็นจำนวนมาก ผสมกับเศษใบไม้ใบหญ้าที่ร่วงหล่นในท้องร่องกลายเป็นปุ๋ยชั้นดี ในฤดูแล้ง ชาวสวนจะใช้แรงงานคนทำหน้าที่ขุดลอกท้องร่อง โดยสาดโคลนขึ้นคลุมโคนต้นไม้กลางร่อง และปรับแต่งคันร่องใหม่ เพื่อไม่ให้ดินพังทลายในระหว่างปี ขุดลอกท้องร่อง มีค่าใช้จ่ายสูง คุณวิเชียร เนียมจ้อย” เจ้าของ “สวนโชควิเชียร” อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรีกล่าวกว่า การทำสวนแบบยกร่อง มักประสบปัญหาเศษใบไม้ร่วงลงในท้องร่อง และมีดินตะกอนจากลำคลอง เข้าสู่ร่องสวนทำให้ท้องร่วงตื้นเขิน จนเรือไม่สามารถเข้าไปรดน้ำในร่องสวนได้ จึงต้องขุดลอกท้องร่องในช่วงหน้าแล้ง จ้างแรง
ขอแสดงความยินดีกับ ผลงาน “ปุ๋ยขี้วัวอัดแท่ง” ของวิทยาลัยการอาชีพรัตนประสิทธิ์วิทย์ ที่ได้รับรางวัลระดับชาติ 2 รางวัล ได้แก่ รางวัล I-NEW GEN AWART Popular Vote 2024 และ เหรียญเงิน ระดับอาชีวศึกษา จากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์ในงาน “วันนักประดิษฐ์” กลุ่มการเกษตร ของสำนักงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 ปุ๋ยขี้วัวอัดแห่ง (Cow Manure Fertilizer Pellets) เป็นผลงานของกลุ่มนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยการอาชีพรัตนประสิทธิ์วิทย์ ได้แก่ นางสาวรัชนีวรรณ พามา นางสาวนัฐชยา จรูญรัตนกาญจนา นายกีรติ วรรณชัย และอาจารย์ที่ปรึกษา นายภาคภูมิ ประทุมวัน ที่มาของแนวคิด เกิดจาก อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนให้เลี้ยงโคเนื้อตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างรายได้ เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะทิ้งมูลวัวตามท้องนา จึงเกิดปัญหาการจัดเก็บมูลวัวที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ คณะผู้วิจัยจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนามูลโคเนื้อมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เพราะปุ๋ยเคมีมีราคาสูงขึ้นทุกปี ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงตามไปด้วย ทีมนักวิจัยจึงต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่หันกลับ
ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก จากภาวะโลกร้อน ปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด ฯลฯ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรไทย รศ.ดร.สุดเขตต์ นาคะเสถียร ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ที่เกิดขึ้นนับเป็นความท้าทายที่เกษตรกรไทยต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเกษตรให้สูงขึ้น ประชากรโลกเพิ่มขึ้น 9,900 ล้านคนในปี 2050 ส่องโครงสร้างประชากรโลกในอนาคต รศ.ดร.สุดเขตต์กล่าวว่า คาดการณ์ว่าในปี 2050 โลกจะมีประชากรถึง 9,900 ล้านคน โดยประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก ได้แก่ อินเดีย จีน ไนจีเรีย ปากีสถาน บังคลาเทศ เม็กซิโก ฯลฯ ดังนั้นในอนาคต เราจะเห็นกลุ่มคอเคเซียน(ผิวขาว) และผิวสีมากขึ้นในประเทศไทยที่มาในรูปแบบนักกีฬาและผู้เชี่ยวชาญ ในขณะที่ประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง ใน 10 อันดับแรกของโลก เร่งพัฒนาเทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำ ปริมาณประชากรโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้มีความตัองการอาหารเพิ่มขึ้น 60 % สวนทางกับทรัพยกรธรรมชาติที่นับวันยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ
ทุกวันนี้ คนไทยหันมาเลี้ยง “หมา-แมว” เป็นเสมือนลูกมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์เลี้ยงเฉลี่ยอยู่ที่ 14,200 บาทต่อตัวต่อปี มูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงไทยโตต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 8.4% ต่อปี คาดปี 2569 มีเม็ดเงินสูงถึง 66,748 ล้านบาท “ทรายแมว” เป็นหนึ่งในไอเท็มสำคัญ ที่คนเลี้ยงแมวต้องมีติดบ้าน โดยธรรมชาติ แมวเป็นสัตว์รักความสะอาดและขับถ่ายเป็นที่เป็นทาง ทรายแมวซึ่งเป็นวัสดุรองรับอุจจาระและปัสสาวะของแมวจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การเลี้ยงแมวในคอนโดฯ หรือในพื้นที่จำกัดได้อย่างดี ปัจจุบัน ทรายแมวจากวัสดุธรรมชาติเป็นสินค้าขายดีที่ได้รับความนิยมจากทาสแมวจำนวนมาก เพราะสินค้ากลุ่มนี้ แม้มีราคาสูงแต่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ไม่เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ ทำความสะอาดได้ง่าย เพียงแค่กดลงชักโครก หรือใช้เป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ได้อีก ในท้องตลาดมีสินค้าทรายแมวจากวัสดุธรรมชาติหลากหลายขนิด เช่น ทรายแมวเต้าหู้ ทรายแมวไม้สน ทรายแมวจากข้าวบาร์เลย์ ทรายแมวจากวอลนัท ฯลฯ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนทรายแมวที่คนไทยผลิตได้เอง เช่น ทรายแมวจากซังข้าวโพด ทรายแมวจากมันสำปะหลัง ทรายแมวจากก
ปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านการทำเกษตรไปสู่การเกษตรยุคใหม่ เพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนภาคการเกษตร “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ได้เฟ้นหาเกษตรกรต้นแบบยุคใหม่ประจำปี 2024 จำนวน 5 สาขาที่มีผลงานโดดเด่น ทั้งด้านทักษะความสามารถในการปรับตัว สร้างความหลากหลายของผลผลิต สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น สุดยอดเกษตรกรกรแห่งปี 2024 ซึ่งเป็นต้นแบบเกษตรยุคใหม่ จำนวน 5 สาขา ได้แก่ . 1.สาขา สินค้าเกษตรมูลค่าสูง : อดีตวิศวะต่อยอดสวนมะนาวสู่ คาเฟ่ Lemon Me Farm อ่านเพิ่มเติมได้ที่ . อดีตวิศวะ ต่อยอดสวนมะนาว ใช้เทคนิค “คลุมถุง” มะนาวติดลูกดก สร้างเงินล้าน . สาขา เกษตรผสมผสาน : ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน“คุ้มจันทวงษ์” กับสารพัดพืชทำเงิน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_298022 . สาขา เกษตรหลังเกษียณ : ข้าราชการเกษียณทำสวนคนเดียว 30 ไร่ด้วยนวัตกรรม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_297841 . สาขาเกษตรอินทรีย์ : อดีตช่างภาพพูลิตเซอร์ ทำนาอินทรีย์ สืบสานพันธุ
กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2567 – กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดพื้นที่ให้ 10 สตาร์ทอัพ ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเร่งสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก ร่วมนำเสนอผลงานการใช้เทคโนโลยีเชิงลึกในรูปแบบที่หลากหลายและมีความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเกษตรไทย ในกิจกรรม AGROWTH Demo Day เพื่อผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีเชิงลึกเข้ามาสร้างสรรค์แนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรของประเทศและภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในตลาดโลก และส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนนวัตกรรมที่พลิกโฉมภาคการเกษตรของประเทศไทยสู่อนาคตได้อย่างยั่งยืน ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า การทำเกษตรกรรมเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทยและมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนไทยมายาวนาน ดังนั้น การเร่งสร้างสตาร์ทอัพที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึกในภาคการเกษตร จึงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรสูงสุด โครงการ AGR