ปุ๋ยอินทรีย์
มะม่วง เป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย สําหรับภาคกลางนิยมปลูกในจังหวัดราชบุรี นครปฐม อ่างทอง และสุพรรณบุรี ปัจจุบันการส่งเสริมการปลูกมะม่วงในเชิงธุรกิจนั้น ได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก สวนมะม่วงของผู้ที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวจะมีใบ GAP รับรองความปลอดภัยของสินค้าเกษตร มะม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เขียวเสวย มันเดือนเก้า และโชคอนันต์ โดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ผู้ปลูกเป็นอย่างดี สร้างรายได้ปีละหลายแสนบาท คุณสุนทร สมาธิมงคล ได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อลดต้นทุนการผลิตในการซื้อปุ๋ยเคมีและสารเคมีป้องกัน กําจัดศัตรูพืช สําหรับสวนมะม่วง ดังนี้ การปลูกมะม่วง คุณสุนทร เล่าว่า ตนเองนั้นได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านทําปุ๋ย หมักโดยผสมกับน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ เพื่อทดแทนการใช้ ปุ๋ยเคมีในสวนมะม่วง ซึ่งจะใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุมก่อนปลูก ประมาณ 200 กรัม เมื่อนํากิ่งพันธุ์ปลูกแล้วรดน้ำทันที จากนั้นให้รดน้ำประมาณ 4-5 วันต่อครั้ง โดยการทําปุ๋ยหมักจะใช้น้ำหมักจากผลไม้มาผสมด้วยเพื่อเร่งการย่อย สลาย
ปลูกผักสวนครัวในกระสอบ ด้วย ปุ๋ยโบกาฉิ ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องปรุงดินบ่อย ผักโตดี การปลูกพืชผักไว้กินเอง หรือปลูกเพื่อสร้างอาชีพ จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะไม่ว่าจะมีพื้นที่มาก พื้นที่น้อย หรือผู้ที่อาศัยอยู่ตามบ้านจัดสรร คอนโดฯ ก็สามารถปลูกไว้กินเองได้แบบไม่มีข้อแม้ ด้วยรูปแบบของการปลูกผักในยุคปัจจุบันที่มีมากมายหลายรูปแบบให้เลือกปลูกตามความเหมาะสมของพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เยอะอีกต่อไป เพราะสามารถปลูกได้ทั้งในกระถาง ในกระบะ ในกระสอบ หรือภาชนะอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้งานหรือเป็นภาชนะเหลือทิ้งก็สามารถนำมาประยุกต์ปลูกผักได้เหมือนกัน ขอแค่มีใจรักก็สำเร็จได้ไม่ยาก คุณปาริฉัตร แป้นทองคำ หรือ คุณฉัตร อยู่บ้านเลขที่ 266 หมู่ที่ 3 ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี อดีตข้าราชการ ผันตัวเป็นเกษตรกรปลูกผักสลัด-ผักสวนครัว ปลอดสารพิษสร้างรายได้ เน้นการปรุงดินปลูกให้มีคุณภาพ และการบำรุงด้วย “ปุ๋ยโบกาฉิ” ซึ่งเป็น ปุ๋ยอินทรีย์ อย่างดีไม่มีกลิ่นเหม็นเหมือนปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักอื่นๆ รวมทั้งไม่มีไข่แมลงศัตรูพืชที่มักติดมากับปุ๋ยคอกทั่วไปเพราะจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุอย่างสมบูรณ์แล้วจึงเป็นอาหาร
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมในการผลิต “ปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ต้องมีการเติมอากาศและไม่ต้องมีการพลิกกลับกอง” ให้ได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีที่มีค่าตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2551 โดยเสร็จภายในเวลาเพียง 60 วัน ด้วยเหมือนกัน ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ที่ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ก่อให้เกิดกลิ่น น้ำเสีย และแมลงวัน ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้จะเบา นุ่ม และไม่มีกลิ่น มีคุณภาพเหมือนกับที่ผลิตด้วยระบบกองเติมอากาศทุกประการ วัตถุดิบในการการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” มีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” มีดังนี้ 1. นําฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4 ส่วน วางเป็นชั้นบางๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร โดยไม่ต้องเหยียบ โปรยทับด้วย มูลสัตว์ 1 ส่วน แล้วรดน้ำ (ตัวอย่างเช่น วางฟาง 16 เข่ง หนา 10 เซนติเมตร โรยทับด้วยมูลสัตว์ 4 เข่ง เป็นต้น) ทําเช่นนี้ 15-17 ชั้น รดน้ำแต่ละชั้นให้มีความชื้น ขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความ
ปุ๋ยเคมีก็แพงหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์กันดีกว่า สัตว์บางตัวที่เลี้ยงไว้ในฟาร์มมีประโยชน์กว่าที่คิด โดยเฉพาะ “ขี้” เป็นธาตุอาหารและยาบำรุงชั้นดีของพืชผัก ที่เกษตรกรบางคนสามารถสร้างรายได้เสริมได้จากการเลี้ยงไส้เดือน วัว หมู และสัตว์ชนิดอื่นๆ สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยคอกได้ ช่วยลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยไปได้เยอะ ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาจากมูลสัตว์ ที่ถูกเลี้ยงเอาไว้ในวงจรของเกษตรผสมผสาน ปุ๋ยคอกที่ใช้อาจเป็นมูลของสัตว์ชนิดไหนก็ได้ ปุ๋ยคอกที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ ต้องเป็นมูลสัตว์ที่ผ่านกระบวนการหมักเพื่อย่อยสลายก่อน ถึงจะทำให้พืชสามารดูดซึมธาตุอาหารที่มีไปใช้ประโยชน์ได้ วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้รวบรวมมูลสัตว์ต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นปุ๋ยคอก ใช้ยังไงให้ถูกเหมาะสมกับพืชที่ปลูกไปดูกันเลย 🐷มูลหมู มูลหมูเป็นมูลสัตว์ที่มีปริมาณธาตุอาหารสูง โดยเฉพาะฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มูลหมูเป็นปุ๋ยคอกที่ดีสำหรับพืชทุกชนิด โดยเฉพาะพืชที่ต้องการฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง การใส่มูลหมูควรพิจารณาจากปริมาณธาตุอาหารที่ต้องการของพืชและสภาพดิน โดยควรใส่มูลหมูที่แห้งสนิทเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อโรคแล
มีการใช้ใบจามจุรี หรือ ฉำฉา สำหรับปลูกพืชมานานแล้ว ยุคก่อนโน้นที่โป๊ยเซียนได้รับความนิยม ใบจามจุรีมีราคาสูง บางช่วงถึงกับขาดตลาด ใบจามจุรี มีคุณค่าทางอาหารสำหรับพืชสูง โดยเฉพาะไนโตรเจน เพราะเป็นพืชตระกูลถั่ว การใช้ก็ไม่ยุ่งยาก นำมาผสมวัสดุปลูก หรือจะใส่ต้นไม้ทั่วไปก็ได้ อย่าง มะม่วง ขนุน นำใบเทกองไว้โคนต้น เวลาผ่านไป ใบค่อยๆ ย่อยสลาย ต้นไม้โตเร็วกว่าปกติ โดยทั่วไปแล้ว จามจุรีขึ้นตามที่รกร้าง ที่สาธารณะ เมื่อใบร่วงหล่น คนก็ไปกวาดใส่ถุงปุ๋ย นำออกมาจำหน่าย แหล่งใหญ่ของใบจามจุรี พบอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ลพบุรี ในเขตภาคเหนือ จริงๆ แล้วเมื่อก่อนพบจามจุรีอยู่หนาแน่น แต่เพราะเขานิยมตัดโค่นไปแกะสลัก ประชากรของจามจุรีจึงลดลง คุณลุงชิน หรือ จ้อย และ คุณป้าวันทอง ศรีเนตร เป็นชาวตำบลหนองหว้า อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบอาชีพขยายพันธุ์ไม้ขายมานาน 30 ปีแล้ว เมื่อสมัยเป็นวัยรุ่นลุงจ้อยไปทำงานรับจ้างในค่ายทหารที่อู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี วิชาที่ได้ติดตัวมาคือการทำอาหารฝรั่ง รวมทั้งอาหารสากลอื่นๆ จากนั้นลุงไปทำงานตะวันออกกลาง อยู่หลายประเทศ ทำหน้าที่เป็นพ่อครัวให้กับคนสำคัญของประเทศนั้นๆ เมื่อมีส
ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณสมศักดิ์ เครือวัลย์ เกษตรกรทำสวนผลไม้ จังหวัดระยอง เดิมทีเขาทำการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่พึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก และได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อมาลงทุน แต่ประสบกับภาวะขาดทุนจากสภาพพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและมีปัญหาโรคพืช จากการผลิตแบบเดิมๆ ที่มีต้นทุนสูง จึงไม่สามารถใช้หนี้ที่กู้ยืมมาได้ จุดเปลี่ยนของการทำการเกษตรโดยไม่พึ่งสารเคมี เริ่มจากได้ไปศึกษาดูงานกับ ธ.ก.ส. ในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาฟาร์มตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน และจากการได้รับคัดเลือกเป็นหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน จึงได้มีโอกาสเดินทางไปอบรมสัมมนาในพื้นที่ต่างๆ หลายแห่ง โดยใช้เวลาศึกษาเรียนรู้และตัดสินใจนาน 2-3 ปี จึงตัดสินใจทำการเกษตรอินทรีย์ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่พึ่งพาสารเคมีทุกประเภท จนสามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้ มีรายได้ตลอดทั้งปี รูปแบบกิจกรรมทางการเกษตร คุณสมศักดิ์ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสานโดยมี
คุณนิรัชพร ธรรมศิริ หรือ “ต่าย” สาวตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เล่าถึงตัวเองว่า “หนูเป็นเด็กบ้านนอก เกิดมาจากครอบครัวเกษตรกร พ่อแม่มีอาชีพทำนา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ที่อำเภอจุน พะเยา จำได้ว่าตอนเด็กซุกซนตามประสาคือไปขุดไส้เดือนมาตกปลาบ่อยมาก” เธอเว้นวรรคเล็กน้อย…“ต่อมาหลังเรียนจบออกจากบ้าน ได้ไปทำงานสารพัดจังหวัด (เธอบอกเช่นนี้จริงๆ ครับ) เป็นสาวโรงงานที่อยุธยา เป็นแม่ค้าข้าวมันไก่ที่สัตหีบ สุดท้ายทำงานที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่กำแพงเพชร ในเวลานี้” สุดยอดไหมครับ คุณนิรัชพร ธรรมศิริ สำหรับเรื่องการเลี้ยงไส้เดือนนั้นเธอเล่าว่า คิดว่าเป็นความบังเอิญมากกว่า หลังจากที่ค้นหาจากโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อดูเรื่องราวของการปลูกผักปลอดสารพิษ เพราะคิดว่าจะปลูกผักสำหรับไว้กินเอง เนื่องจากส่วนตัวชอบกินผักจิ้มน้ำพริก จนกระทั่งไปเจอวิธีการเลี้ยงไส้เดือน อ่านดูจึงรู้ว่าไส้เดือนเป็นสัตว์มหัศจรรย์มาก คือสามารถนำมูลของมันมาใช้ใส่ผัก ผลไม้ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างดีอีกด้วย ต่อมาจึงได้ศึกษาถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดือน เธอคิดว่าจะสามารถทำความเข้าใจได้โดยไม่ต้
เมื่อประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ความต้องการอาหารย่อมเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2050 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ล้านคน เป็น 9,000 ล้านคน และจะส่งผลให้ความต้องการโปรตีนเพิ่มมากขึ้นจากปัจจุบัน ร้อยละ 60 และ “แมลง” จัดเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสนใจเพื่อใช้เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เปิดเผยว่า เมื่อปี พ.ศ. 2559 BEDO ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศ.ดร.ยุพา หาญบุญทรง ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพแมลงที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยพบว่า มีแมลงที่เป็นอาหารมนุษย์และสัตว์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ กว่า 100 ชนิด เช่น จิ้งหรีด มดแดง จักจั่น แมลงดา แมลงมัน มวนลำไย มวนเงาะ หนอนนก และแมลงโปรตีน BSF เป็นต้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน BEDO และมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตและใช้ประโยชน์แมลงโปรตีน BSF ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อช่วยในการลดต้นทุนค
ปุ๋ยอินทรีย์เกษตรก้าวไกลได้เปิดตลาดผ่านโลกออนไลน์มาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้ว พบว่าการทำตลาดปุ๋ยในเวลานี้มีปัญหาอุปสรรคอยู่พอสมควรสำหรับผู้ผลิตและจำหน่ายที่เป็นรายย่อย โดยเฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ยังคงถูกทิ้งอยู่ข้างหลังเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมีที่มีการแข่งขันทำตลาดอย่างรุนแรง นายพรศักดิ์ พงศาปาน หรือ “ลุงพร เกษตรก้าวไกล” ผู้ก่อตั้งปุ๋ยอินทรีย์แบรนด์เกษตรก้าวไกล ตราหมวกเขียว หรือ “ปุ๋ยลุงพรสั่งได้” เปิดเผยว่า กลยุทธ์การจำหน่ายปุ๋ยที่ผ่านมาจะใช้คนกลางคือร้านค้าที่มีอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เป็นตัวแทนจำหน่าย ซึ่งข้อดีก็คือการกระจายปุ๋ยได้ครอบคลุมกับเกษตรกรผู้ใช้ทั่วประเทศ แต่ข้อเสียก็คือ จะต้องมีค่าส่วนต่างที่มากพอโดยเฉพาะปุ๋ยแบรนด์ใหม่ ซึ่งก็จะกลายเป็นการผลักภาระต้นทุนให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้ออีก ครั้นจะมาจำหน่ายตรงจากโรงงานสู่เกษตรกรผู้ใช้โดยตรงก็ต้องมีภาระเรื่องค่าขนส่งที่เป็นต้นทุนที่สูงไม่แพ้กัน “กลยุทธ์การกำหนดราคาปุ๋ยอินทรียเกษตรก้าวไกลเป็นเรื่องที่เราจะต้องคำนึงให้สอดคล้องสมดุลกับทุกฝ่ายจะต้องไม่เหลื่อมล้ำกันไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค ซึ่งต้องยอมรับว่าการเป็นแบรนด์ปุ๋ยน้องใหม่ไม่สามาร
ตำบลบ้านใหม่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร มีครัวเรือนเกษตรจำนวน 989 ครัวเรือน พืชเศรษฐกิจสำคัญคือ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา เกษตรกรประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำ มีต้นทุนสูงจากใช้ปุ๋ยเคมี ในปี 2562 ทางนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ได้มาให้คำแนะนำเรื่องการตรวจวิเคราะห์ดิน และได้รวบรวมตัวอย่างดินของเกษตรกรส่งตรวจวิเคราะห์กับสถานีพัฒนาที่ดินพะเยา ปรากฏว่าดินของเกษตรกรทุกรายมีค่าเป็นกรดสูง เนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นระยะเวลายาวนาน และพื้นที่เป็นชุดดินเรณู ที่มีความเป็นกรดสูง ทางนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จึงได้เข้ามาถ่ายทอดความรู้เรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ต่อมา คุณประสาน เชื้อดี และเกษตรกรแกนนำบ้านใหม่ บ้านร่องไฮ จำนวน 10 ราย ได้มาขอคำปรึกษาเพิ่มเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน และต้องการลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร ที่สูงเพิ่มขึ้นทุกปี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยา ร่วมกับกลุ่มแกนนำจึงได้ประชาสัมพันธ์ ชักชวนผู้สนใจรวมตัวจัดตั้งเป็น ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน