ผัก
ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแสรักสุขภาพกำลังมาแรงแซงโค้งกันเลยทีเดียว ผู้รักสุขภาพทั้งหลายก็จะหาเวลาให้กับตัวเอง ในช่วงเช้าหรือเย็นเพื่อออกกำลังกาย เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง แม้แต่ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ก็เป็นสิ่งที่ผู้รักสุขภาพใส่ใจด้วยไม่แพ้กัน จะเห็นได้จากการบริโภคข้าวอินทรีย์ หรือแม้แต่การกินผักออร์แกนิกต่างๆ ที่ปลูกโดยไม่มีเรื่องของการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมดินตลอดจนการเก็บเกี่ยว ทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามการปลูกแบบระบบอินทรีย์เท่านั้น โดยจะเห็นผักอินทรีย์เหล่านี้มีจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น คุณณรงค์ชัย ปาระโกน อยู่ที่ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า เกษตรกรในแถบนี้ได้มีการทำเกษตรแบบอินทรีย์มากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นแบบเกษตรที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปลูกผัก ตลอดจนถึงการปลูกข้าวอินทรีย์และแปรรูปส่งจำหน่ายทำการตลาดเอง “ผมเริ่มทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ ปี 2538 เราก็ใช้การผลิตแบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.) ต่อมาเมื่อมีมาตรฐาน พีจีเอส ที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศเข้ามา ทางสมาชิกภายในกลุ่มก็เริ่มที่จะสนใจ ทำให้เราได้มีการ
“ไม่ต้องยืนให้สูง ไม่ต้องยืนให้เด่น ขอแค่ยืนให้เป็น แล้วไม่ล้มก็พอ” คำพูดของเจ้ฉิม จากเกษตรกรตัวเล็กๆ ที่เคยโดนเอาเปรียบ โดนกดราคาบ้าง ปลูกแล้วขายไม่ได้บ้าง แต่เจ้ก็ไม่เคยย่อท้อ ยังคงตั้งใจค้นคว้าหาโอกาสให้ตัวเองอยู่เสมอ ไม่รอให้โอกาสวิ่งหาอย่างเดียว จนประสบความสำเร็จ ทะยานสู่ยอดขายหลักล้านต่อเดือน เจ้ฉิม-พัชรินทร์ เลาหอุดมโชค หรือที่ลูกค้ารู้จักในนาม “หมูฉิม” เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่จำความได้ เพราะครอบครัวทำอาชีพเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ทำให้ได้ซึมซับวิถีชีวิตการเป็นเกษตรกรและได้รับการถ่ายทอดชำนาญในการเพาะปลูกพืชผักต่างๆ แต่ในยุคปัจจุบันความชำนาญในการทำเกษตรอย่างเดียวคงจะไม่พอ เพราะการตลาดก็สำคัญมากเช่นกัน จะให้ปลูกเก่ง แต่ขายไม่เป็นก็ไปไม่รอดเหมือนกัน แนวคิดการเป็นแม่ค้าจึงเกิดขึ้น คืออยากลองนำผลผลิตของแม่ไปขายเองบ้าง แต่ตอนนั้นยังไม่รู้จักแหล่งรับซื้อหรือตลาดรองรับเลย จนได้คำแนะนำจาก เฮียหมู (สามี) “ก่อนแต่งงานรู้จักกันเพราะเฮียหมูเข้ามารับผักที่สวนไปขายตามตลาดต่างๆ ซึ่งแกจะมีข้อมูลและรู้ดีว่าตลาดไหนขายดีไม่ดียังไง ตอนนั้นก็ชวนกันมาลองขายที่ตลาดสี่มุมเมือง พอเข้
การปลูกผักเป็นกิจกรรมของครอบครัวที่ทำให้มีความสุขแม้ในพื้นที่อันน้อยนิดก็สามารถนำมาเป็นพื้นที่ปลูกผักได้ ดังที่เราได้นำเสนอเรื่องการปลูกผักในเมืองไว้หลายฉบับ ซึ่งสามารถเป็นแรงบันดาลใจได้ไม่มากก็น้อย ฉบับนี้เรานำเสนอ คุณแจ่มศรี และ คุณอโนเชาว์ พจนาธารงพงศ์ ซึ่งเป็นชนเผ่าปกากะญอ จากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทั้งสองท่านจบปริญญาตรี ด้านบัญชีและด้านภาษาอังกฤษ ทำงานเป็นพนักงานอยู่ในหน่วยงานระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีเวลาว่างเพียงแค่เสาร์อาทิตย์ ก็เจียดเวลามาปลูกผักเพราะต้องการบริโภคผักปลอดสารพิษ ในบ้านจัดสรร 100 ตารางวา ที่แบ่งพื้นที่ 25 ตารางวา เป็นพื้นที่ปลูกผัก ในตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คุณแจ่มศรี เล่าให้ฟังว่า เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2560 เมื่อ 6 ปีที่แล้วเราสองคนซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือนทำงานวันจันทร์ถึงศุกร์ ได้ซื้อบ้านจัดสรรเล็กๆ หลังหนึ่งที่มีพื้นที่เล็กๆ ข้างบ้าน ประมาณ 50 ตารางวา ตั้งใจจะทำสนามหญ้าและสวนผักเล็กๆ โดยการเริ่มต้นจากการไม่มีงบประมาณเลย เพราะทุ่มไปกับการซื้อบ้านหมดเเล้ว เราจึงค่อยๆ ทำไปทีละน้อยเรื่อยๆ โดยไม่มีกฎเกณฑ์ ทำแบบตามใจฉัน ชอบแบบไหนก็ปลูกแบบนั้น เราตั้งใจ
ในปัจจุบันเราทุกคนต่างใช้ชีวิตด้วยความเร่งรีบ จนอาจไม่มีเวลาในการจะปลูกหรือสร้างพื้นที่สีเขียวใดๆ มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อาศัยอยู่ในคอนโดฯ หรือหอพัก ด้วยพื้นที่ที่จำกัดและระยะเวลาที่เร่งรีบทำให้การปลูกผักหรือแม้แต่การปลูกต้นไม้ทำได้อย่างจำกัด วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมาดูผักสวนครัวที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ขนาดเล็กแบบเบื้องต้น มาดูในกันว่าที่ระเบียงหอพักของเราสามารถปลูกอะไรได้บ้าง กะเพรา กะเพราถือเป็นพืชผักสวนครัวยอดฮิตที่นิยมปลูกไว้คู่หอพักและอพาร์ตเมนต์ เนื่องจากเป็นผักสวนครัวที่ปลูกง่าย และใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเมนู โดยการปลูกกะเพรานั้นสามารถทำได้ง่าย ในไม่กี่ขั้นตอน วิธีปลูกกะเพรา การปลูกกะเพราสามารถทำได้ทั้งการวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีชำกิ่ง โดยในการชำกิ่งนั้นให้นำแนะนำให้เลือกกิ่งพันธุ์กลางแก่หรือกลางอ่อนที่ยังไม่เคยออกดอก โดยตัดกิ่งให้ได้ความยาวประมาณ 4-5 นิ้ว มาปักชำในกระถางในลักษณะเอียง 45 องศา และหมั่นรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ พริก พริกเองก็เป็นหนึ่งในพืชผักที่ปลูกได้ง่ายและมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังสามารถหาเมล็ดได้ง่าย แม้จะเป็นเพียงเมล็ดพริกที่มาจากอาหารที่เรากินเหล
“โปรตีน” ไม่เพียงแต่สามารถได้รับจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์เท่านั้น แต่ยังสามารถได้รับจากพืชผักอีกด้วย โดยปกติแล้วการบริโภคพืชผักมักจะถูกมองว่าให้สารอาหารประเภทวิตามินและไฟเบอร์ แต่ในความจริงแล้ว มีพืชผักอีกหลายชนิดที่ให้สารอาหารในรูปแบบของโปรตีน วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมาดูว่าพืชและผักชนิดไหนบ้างที่กินแล้วให้โปรตีนของเราบ้าง ! เห็ด เห็ดถือได้ว่าเป็น “สุดยอดอาหาร” หรือ “superfood” ที่ให้สารอาหารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน กรดกลูตามิก มีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีไฟเบอร์สูง โดยในเห็ดชนิดต่างๆ นั้นมีโปรตีนในจำนวนที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในเห็ดโคน 100 กรัม มีโปรตีนมากถึง 6.3 กรัม หรือในเห็ดนางฟ้าที่มีโปรตีนต่อ 100 กรัม อยู่ที่ 3.4-3.5 กรัม อีกทั้งในเห็ดเข็มทองยังประกอบด้วยสารเฟลมมูลิน (Flammulin) ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย ตำลึง ตำลึงผักพื้นบ้านและพืชผักสวนครัวยอดนิยมที่มักปลูกไว้คูชายคา ซึ่งโดยส่วนมากมักปลูกไว้บริเวณริมรั้วนี้ กลับให้สารอาหารประเภทโปรตีนอย่างคาดไม่ถึง โดยในผักใบเล็กๆ อย่างตำลึง ให้โปรตีนมากถึง 3.2 กรัมต่อตำลึง 100 กรัม และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุง
พืชที่เรียกได้ว่าปลูกได้ทุกฤดูกาล ก็น่าจะเป็นพืชผักสวนครัว ที่ควรจะมีปลูกในทุกฤดูกาล แม้ว่าผักสวนครัวบางชนิดอาจไม่เหมาะกับฤดู แต่วิธีการปลูกก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยให้ผลผลิตมีได้ในทุกฤดูได้เช่นกัน ที่หมู่ 7 บ้านช่างแก้ว ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา พื้นที่ส่วนหนึ่งมีความเป็นชุมชนเมือง เพราะความเจริญที่เข้าถึง แต่ยังคงมีพื้นที่ส่วนที่เป็นสวนอยู่ ดังนั้น เกษตรกรที่นี่จึงต้องอยู่อย่างปรับตัว เช่น ทำสวนควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพเสริมอื่น หากการทำสวนไม่ได้มีรายได้หลักจุนเจือครอบครัว คุณธนพร คงบุญ หรือ พี่แตง ผู้หญิงที่มีความแคล่วคล่องว่องไวในการจัดการหลายๆ เรื่อง ภายในระยะเวลาจำกัดได้อย่างลงตัว เธอเป็นผู้หญิงที่มองเห็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เพราะที่ผ่านมาเมื่อเธอสำเร็จการศึกษามีครอบครัว ก็มุ่งมั่นทำงานเลี้ยงครอบครัว แต่ในที่สุดความห่างไกลกับสามีทำให้เธอพยายามมองหาอาชีพ เพื่อกลับมาอยู่ในถิ่นกำเนิดและอยู่กับครอบครัวอันเป็นที่รัก เมื่อคุณธนพร กลับมาที่บ้านช่างแก้ว อาชีพแรกที่มองเห็น เพราะไม่มีความถนัดในการเกษตร จึงเป็นการเปิดร้านซัก อบ รีด เพราะมีความเป็นชุมชน แต่
คุณเบญจวรรณ ใจหลัก หรือ พี่แตน ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์สาวพังงา อยู่บ้านเลขที่ 90 ถนนศรีตะกั่วป่า ตำบลตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ดีกรีปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ นิด้า ความรู้ ความสามารถ ไม่เป็นสองรองใคร แต่อะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอคนนี้ยอมทิ้งอนาคต แล้วผันตัวสู่อาชีพเกษตรกรรมอย่างเต็มภาคภูมิ คุณเบญจวรรณ ใจหลัก หรือ พี่แตน เกษตรกรสาวผู้มากความสามารถเล่าถึงจุดเปลี่ยนจากนักเศรษฐศาสตร์สู่การเป็นเกษตรกรว่า หลังจากที่เรียนจบมา ตนได้ทำงานประจำเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทำเพื่อหาคอนเน็คชั่นต่อยอดการทำงานไปเรื่อยๆ แต่ด้วยความที่ตนเป็นคนต่างจังหวัด พ่อแม่ก็อาศัยอยู่ที่ต่างจังหวัด อายุของท่านก็เริ่มมากขึ้น อยากที่จะกลับไปดูแลท่าน จึงยอมที่จะสละหน้าที่การงานแล้วมองหาลู่ทางเพื่อที่จะกลับมาทำมาหากินที่จังหวัดบ้านเกิดของตัวเองที่พังงา พยายามมองหาจุดแข็งจุดอ่อนของจังหวัดว่ามีอะไรบ้าง กระทั่งพบว่า ที่อำเภอตะกั่วป่ามีจุดแข็ง คือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ครึกครื้นเกือบตลอดทั้งปี มีโรงแรม
ใครเป็นบ้าง! ซื้อผักสดมา หรือปลูกไว้กินเองเเต่เยอะจนกินไม่ทัน ตัดใจทิ้งทั้งที่ก็เสียดาย ยิ่งไปอยู่ต่างประเทศที่อยากจะเก็บผักไทยไว้รับประทานได้นานขึ้น พาส่องวิธีเก็บผักประจำบ้านงานนี้อยู่ได้เป็นปี ไม่ต้องทิ้งผักให้เสียดายกัน โดยวิธีการคือ การนำผักมาต้มไม่นาน และนำมาน็อคด้วยน้ำเย็น จากนั้นนำผักมาปั้นเป็นก้อนเพื่อสกัดน้ำออก และนำไปใส่ถุงซิปล็อคแช่ตู้เย็นที่ช่องฟรีซ โดยวิธีการนี้คนไทยในต่างแดนสามารถเก็บผักไว้กินได้เป็นปี โดยตัวอย่างที่นำมาให้ดูกันนี้สามารถนำมาประยุกต์ทำได้หลายประเภทผัก วิธีการชมในคลิป Youtube Tukata Hemphill เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563
อาชีพเกษตรกรรม นอกจากจะเป็นกระดูกสันหลังของชาติแล้ว ยังกลายเป็นอาชีพรองรับสำหรับผู้คนทุกเพศทุกวัย ทุกระดับการศึกษา หรือแม้กระทั่งนักธุรกิจร้อยล้าน พันล้าน จะประสบความสำเร็จจากอาชีพประจำแล้วอยากทำเกษตรเพิ่ม หรือผิดหวังจากงานประจำแล้วมาทำเกษตรก็ได้ทั้งนั้น ขอเพียงมีใจรักและความตั้งใจ อาชีพเกษตรกรรมไม่เคยทำร้ายใครอยู่แล้ว คุณชยพล กลมกล่อม สมาร์ทฟาร์มเมอร์นักพัฒนา อยู่บ้านเลขที่ 388 หมู่ที่ 19 ตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อดีตเป็นนักธุรกิจบ้านจัดสรรอยู่ที่กรุงเทพฯ ประสบวิกฤตฟองสบู่แตก ปี 2540 เจอกับภาวะหนี้สินมากมาย จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นหนทางดำเนินชีวิต และเบนเข็มอาชีพสู่การเป็นเกษตรกรปลูกผักมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปีแล้ว จุดเปลี่ยน จากปลูกผัก 500 ไร่ สู่วิถีชีวิตเกษตรกรพอเพียง คุณชยพล เล่าว่า หลังจากหมดเนื้อหมดตัวจากวิกฤตฟองสบู่แตก ตนใช้เวลากว่า 2 ปี ในการเริ่มทำชีวิตใหม่ เริ่มต้นกับอาชีพใหม่ คือการมุ่งมั่นที่จะเป็นเกษตรกร โดยเริ่มจากการเช่าพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานส่งไร่สุวรรณ จำนวน 5 ไร่ จากนั้นค่อยขยับขยายเช่าพื้นที่ปลูกเพิ่มเป็น 80 ไ
แม่บ้านสมัยใหม่ทุกท่านที่ไปจ่ายตลาดด้วยตนเอง ทุกท่านคงจะต้องรู้จักกับผักชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “กะหล่ำปลี” และก็คิดว่าคงจะมีน้อยคนที่ไม่เคยกิน “กะหล่ำปลี” กะหล่ำปลี เป็นผักในตระกูลครูซิเฟอเรีย ซึ่งมาจากคำว่า ครูซิฟิก ซึ่งหมายถึง ไม้กางเขน เพราะมีความเชื่อว่า กะหล่ำปลี เป็นพืชอาหารที่สวรรค์ประทานมาให้แก่มวลมนุษย์ชาติ การที่มีดังนี้เพราะดอกของพืชในตระกูลนี้ จะมี 4 กลีบ วางตัวเป็นรูปไม้กางเขนหรือกากบาท กะหล่ำปลี เป็นผักในตระกูลกะหล่ำเช่นเดียวกับ คะน้า บร็อกโคลี่ ผักกาดขาว แรดิช และ เทอร์นิพ มีลักษณะเป็นหัวกลมขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีสีเขียว และกะหล่ำปลีสีม่วงอีกสายพันธุ์ที่มีสีสันแปลกตา สวยงาม Cabbage คือชื่อภาษาอังกฤษของกะหล่ำปลี ซึ่งเดิมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ต่อมาได้แพร่กระจายไปทั่วโลก และถูกนำมาปลูกในไทยอย่างแพร่หลายเพราะสภาพอากาศเอื้ออำนวย สำหรับประเทศไทยนั้น แต่เดิมปลูกได้ดีเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสาน เพราะการจะห่อตัวเป็นปลีได้จำเป็นต้องได้รับอากาศหนาว ต่อมามีการปรับปรุงพันธุ์ให้ทนกับอากาศร้อน จึงทำให้สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ และทุกฤดูกาล กะหล่ำปลีเป็นพืชที่มีอาย