ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sphenodesme pentandra (1) Berchemia floribunda wall (2) ชื่อวงศ์ LAMIACEAE (1) RHAMNACEAE (2) ชื่ออื่นๆ ฮ่อสะปายควาย กำลังช้างเผือก กำขาม้า โฮมาลอง โหมะลอง ขาเปีย (เชียงใหม่) จู้ด (สงขลา) ซังสะมูล (จันทบุรี, เขมร) ย่านดูก (ปัตตานี) มือตาโน๊ะ (มลายู, นราธิวาส) สุด, หน่วยสุด (นครศรีธรรมราช) อั๊วเป็งหนุ่มชาวจีนฮ่อ แต่อาศัยเป็นชนเผ่าแบบคนไทยทางเหนือ เช่นเดียวกับชนเผ่าไทลื้อ ตั้งรกรากต้อนวัวควายขายอยู่ทั้งภาคเหนือและถึงอีสาน จนเป็นตำนานเก่าแก่ แต่คนกลับรู้จัก “นายฮ้อยทมิฬ” มากกว่า เพราะเขาเป็นพระเอกหนัง สำหรับอั๊วมีคนรู้จักกันในชุมชนพื้นบ้าน แต่คนในเมืองชอบเรียกชื่ออั๊วผิด เป็น “ฮ่อสะพานควาย” ทั้งๆ ที่สะพานควาย อยู่ในกรุงเทพฯ อั๊วดีใจมากที่ตอนนี้มีคนรู้จักอั๊วมากขึ้น ไม่ใช่เพราะชื่อแปลกหรอก แต่เป็นเพราะที่ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปลูกอั๊วไว้ในสวนสมุนไพรหลังตึก และสิ่งที่อั๊วภูมิใจมากที่สุดคือ ต้องกราบขอบพระคุณ อาจารย์ ภก.ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร กล่าวถึงอั๊วในช่อง ETV สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ตั้งแต่ธันวาคม 2561 แล้วยังพูดถึงที่มาของชื่ออั๊ว เป็นเรื่องเล่าต่อกันว่า วันหนึ่ง
Phyllanthus Oxyphyllus Mig วงศ์ EUPHORBIACEAE ยายคิดว่าใครได้ยินชื่อยายแล้วคงจะไม่ชอบใจ แต่ที่ทุกคนสนใจเพราะอยากรู้ว่าพฤติกรรมของยายเหมือนชื่อหรือไม่ ฟังดูเหมือนยายใจร้าย ทั้งๆ ที่ “กลุ่มพืชสมุนไพรโตนงาช้าง” เขาเรียกยายว่า “ต้นยายจูงหลาน” เพราะข้างๆ รอบโคนต้นของยาย มีต้นเล็กๆ ขึ้นเต็มไปหมดเลย ยายเป็นคนร่างเล็ก ใบเรียงสลับ แผ่กิ่งก้านโปร่ง แม้ดูเป็นพุ่มแต่ก็สูงไม่เกิน 3 เมตร จุ๊…จุ๊…อย่าคิดว่ายายแก่แล้วไม่สวยนะ เพราะเวลายายออกดอกจะเป็นกระจุกตามซอกใบ ดูสวยงาม แต่ที่เท่กว่านั้นคือ ถ้าติดผลก็จะเป็นรูปทรงแคปซูล มีเมล็ดตั้ง 4 ถึง 5 เมล็ด เชียวแหละ ในธรรมชาติทั่วไปจะพบยายได้ตามป่าดิบ หรือในประเทศมาเลเซีย และแถบเกาะสุมาตรา แต่ถ้าอยากจะเด็ดดม ชมยาย นั้น ต้องไปยังจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าควนออกบ้านน้ำตก” เพราะยายมีกลุ่มรวมพลที่นั่น สำหรับที่ยายบอกว่าหลานๆ รักยาย เพราะเขาใช้ใบอ่อนต้มน้ำอาบให้เด็กทารกป้องกันการติดเชื้อได้ ส่วนพวกผู้ใหญ่ก็ใช้เป็นสมุนไพร ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ สำหรับหลานรุ่นหนุ่มๆ ที่ชอบซุกซน ก็ใช้แก้โรคหนองในได้นะ อ้อ! อย่าลืม พากันมาเด็ดยอดอ่อนของยายไป
เห็ดโคน หรือ เห็ดปลวก คนละชนิดกับเห็ดโคนน้อย ความจริงเห็ดโคนน้อยคือเห็ดถั่ว โดยทั่วไปมักพบขึ้นอยู่ตามกองซากถั่วเหลือง หรือถั่วเขียว ส่วนเห็ดโคนหรือเห็ดปลวกนั้น วงจรชีวิตของมันต้องพึ่งพาปลวกเข้ามาช่วย จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า ปลวกงานจะนำเอาสปอร์ ซึ่งเป็นหน่วยขยายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กมาก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับเมล็ดพืชอื่นๆ ไปปลูกในรังให้เป็นอาหารของปลวกวัยอ่อน ส่วนสปอร์ที่หลงเหลือ เมื่อได้รับความชื้นในฤดูฝนก็จะเติบโตโผล่พ้นผิวดินขึ้นมาปรากฏให้เห็น และเป็นอาหารอันโอชะของมนุษย์เรา แนะวิธีเพาะ เห็ดโคน หมอเกษตร ทองกวาว แนะวิธีเพาะหรือปลูกเห็ดโคน ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากนำจาวปลวก ที่อยู่ภายในจอมปลวก มีขนาดใกล้เคียงกับกะลามะพร้าวผ่าซีก จอมปลวกหนึ่งรังจะมีจาวปลวกหลายอัน มีลักษณะเบา โปร่ง ซุย มีรอยทางเดิน ซอกแซก ทะลุถึงกันได้ จาวปลวกน่าจะเป็นสวนปลูกเห็ดอ่อน เพราะมีเส้นใยขาวเต็มไปหมด สามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดต่อไป เกษตรกรจะนำจาวปลวกออกมาถู หรือขยี้ ให้เป็นฝุ่นโปรยลงบนข้าวเหนียวนึ่งสุก ทิ้งให้เย็น เติมน้ำเล็กน้อยแล้วคลุกให้เข้ากัน คล้ายกับการทำสาโท นำไปหมักในถังพลาสติก ปิดปากถังด้วยผ้าขาวบาง
ใครๆ ก็รู้ว่า ช่วงหน้าแล้ง มะนาวมีราคาแพงที่สุดในรอบปี หลายคนอาจเคยซื้อมะนาวในราคาแพงถึงผลละ10-15 บาทกันมาแล้ว แต่พอถึงช่วงฤดูฝนอย่างเต็มต้ว ต้นมะนาวกลับมี ผลผลิตออกมามากจนล้นตลาด ราคาขายลดฮวบเหลือแค่ผลละ 1- 2 บาทเท่านั้น ความจริงปัญหามะนาวถูกในช่วงฤดูฝน แก้ไขได้ไม่ยาก แค่สร้างมูลค่าเพิ่มมะนาว โดยนำมะนาวมาแปรรูปในลักษณะมะนาวดองน้ำปลา สามารถขายได้ราคาสูงถึงผลละ 10 บาทเลยทีเดียว คุณมณี จังพานิช เกษตรกรชาวสวนมะนาวในพื้นที่ตำบลดอนยอ อำเภอเมือง จังหวัด นครนายก ซึ่งมีรายได้เสริมจากการแปรรูปมะนาวดองน้ำปลาตลอดทั้งปี เล่าว่า คุณพ่อของเธอเป็นชาวจีนอพยพที่ได้สอนลูกหลานให้รู้จักการทำมะนาวดองสูตรโบราณ เริ่มจากนำผลมะนาวมาล้างน้ำให้สะอาดแช่น้ำเกลือ 3 คืนก่อนจึงค่อยนำลูกมะนาวมาฝนเปลือกออก ด้วยกระดาษทรายน้ำเอามีดปาดบริเวณหัวจุกมะนาวเป็น 4 แฉก และนำผลมะนาวไปนึ่งในความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรคประมาณ 15-20 นาที หลังจากนั้นให้นำผลมะนาวออกมาตากแดดอีก 3 วัน จึงนำไปนึ่งด้วยความร้อนอีกครั้ง ระหว่างนี้ คุณมณีจะเตรียมน้ำดองมะนาว ที่ใช้น้ำปลายี่ห้อที่คิดว่าอร่อยที่สุด ต้มร่วมกับ น้ำตาลทรายจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้นนำผลมะน
“มะละกอฮอลแลนด์” เป็นไม้ผลยอดฮิต ที่ผู้คนบริโภคนิยมรับประทาน เพราะมีเนื้อแน่น รสชาติหวาน หอม อร่อย มะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ที่มีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มะละกอฮอลแลนด์ เป็นไม้ผลที่น่าปลูกอย่างมาก เพราะให้ผลตอบแทนสูง ในระยะเวลาอันรวดเร็ว คุณอมรเทพ (ต้อม) เสือสังโฆ วัย 35 ปี และภรรยา ชื่อ คุณศิริวรรณ (ผึ้ง) เสือสังโฆ วัย 33 ปี เจ้าของกิจการสวนมะละกอ “คีโม สไมล์ ฟาร์ม” เป็นหนึ่งในเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในเส้นทางอาชีพการทำสวนมะละกอ สร้างรายได้ที่มั่นคงและมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้ที่ดินได้บ้านได้รถ มีเงินทองจับจ่ายใช้สอย มาจากอาชีพการทำสวนมะละกอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาทั้งสิ้น ปัจจุบันพวกเขามีรายได้จากการขายมะละกอฮอลแลนด์ไม่ต่ำกว่า 25,000-38,000 บาท/สัปดาห์ ทีเดียว คุณอมรเทพ เสือสังโฆ หรือ คุณต้อม เจ้าของสวนคีโม สไมล์ ฟาร์ม เล่าให้ฟังว่า เขาเกิดและเติบโตในครอบครัวชาวนา จังหวัดอ่างทอง เรียนจบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ด้านอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต เคยทำงาน บริษัท ฮอนด้า แถวอยุธยา ได้เพียงปีเศษ ต่อมาแต่งงานกับภรรยา “คุณผึ้ง” ซึ่งเป็นสาวเมืองสุพรรณ
มีคนเล่าให้ฟังอย่างชวนน้ำลายสอ ว่าได้ไปกิน หมูหวาน ที่ปักษ์ใต้ เป็นหมูหวานที่ “หวาน” มาก แต่กินโดยราดน้ำมะนาวบีบสด ซึ่งแช่หอมแดงซอย พริกขี้หนูซอย จนเปรี้ยวเผ็ดจี๊ดๆ ลงไปจนชุ่มโชก เลยทำให้รสเปรี้ยวเผ็ดนี้ไปตัดรสหวานจัดและความมันของหมูหวานได้พอดิบพอดี ชนิดที่ว่ากลับมาแล้วก็ยังลืมรสนั้นไม่ลงเอาเลย ได้ยินแบบนี้เข้า ก็เลยจะต้องลองทำหมูหวานกินสักหน่อยล่ะครับผม คนชอบกินอาหารไทยภาคกลางคงนึกออกว่า เราจะพบหมูหวานได้ไม่ยาก เวลาสั่งข้าวคลุกกะปิมากิน หรือใครไปงานเลี้ยงตามโรงแรม ที่เขาชอบเลี้ยงน้ำพริกลงเรือเพื่อให้ดูเป็นสำรับไทยๆ นั้น ก็จะต้องมีหมูหวานไว้ราดหน้าทุกครั้งไป ตามร้านข้าวแกงยิ่งต้องมีแทบทุกร้าน เพราะมันเอาไว้กินตัดเผ็ดตัดเค็ม ตลอดจนคอยเติมรสหวานให้กับข้าวอื่นๆ ในลักษณะของวัฒนธรรมการกินแนมแบบครัวไทยได้ดี การที่เป็นของยอดนิยมแบบนี้ มันจึงมีหลายสูตรด้วยกัน ลองสืบค้นตำรากับข้าวดูเถิดครับ จะมีทั้งแบบที่หั่นยาว หั่นแบน หั่นชิ้นลูกเต๋า ใส่ได้ตั้งแต่น้ำปลา ซีอิ๊วดำหวานดำเค็ม เต้าเจี้ยวบด บ้างใส่หอมแดงซอย แต่บ้างก็ชอบกลิ่นกระเทียมพริกไทยรากผักชี ฯลฯ เรียกว่าทำยังไงก็ไม่มีทาง “ผิดสูตร” ไปได้หรอกคร
ผลิตไม่ทัน – ปัจจุบันปลาดุกร้าทะเลน้อยพัทลุง ถือเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อปที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เนื่องจากมีรสชาติอร่อยและราคาไม่แพง หากได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ความต้องการในตลาดจะเพิ่มสูงขึ้นจนผลิตไม่ทัน พาณิชย์จังหวัดพัทลุงเผย “ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าทะเลน้อยพัทลุง” จ่อขึ้นทะเบียนสินค้า GI ก.ค. 2562 นี้ ชี้ผลิตจากปลาดุกอุยธรรมชาติในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย อ.ควนขนุน ล่าสุด “วิสาหกิจชุมชนบ้านชุมพล” เล็งขยายลงทุนโรงเรือนเพิ่ม เหตุปีที่ผ่านมายอดขายพุ่งกว่า 80% เนื้อหอมผลิตไม่พอขาย “บิ๊กซี” จองวางขายบนห้าง นางสายช่อ อังศุพานิช พาณิชย์จังหวัดพัทลุง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการเปิดอบรมหลักสูตรการสร้างมาตรฐานสินค้าปลาแปรรูปชุมชนทะเลน้อย ซึ่งจังหวัดพัทลุง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพัทลุง ได้จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ในเดือนกรกฎาคม 2562 คาดว่าผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าทะเลน้อยพัทลุงจะได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI ) หลังจากที่ทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพัทลุงร่วมกับวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยได้รับงบประมาณส่งเสริมจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ดำเนินการขับเคลื่อ
“หากมองในแง่ตลาดของการเลี้ยงม้าในเมืองไทยแล้ว ขณะนี้ต้องถือว่าเฟื่องฟูมาก มีผู้สนใจในวิถีชีวิตความเป็นคาวบอย และหันมาเลี้ยงม้ากันมากขึ้น โดยลักษณะการเลี้ยงมีทั้งเพื่อการใช้ในการขี่ม้าพักผ่อน ม้ากีฬา รวมถึงการบำบัดอาการป่วยต่างๆ หรือที่เรียกว่า อาชาบำบัด เช่น ในกรณีเด็กสมาธิสั้น หรือในกลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้เพื่อลดอาการปวดหลัง และการใช้งานเกี่ยวกับการเกษตรต่างๆ” “ตอนนี้การเลี้ยงม้าในประเทศไทยมีมากขึ้น ทั้งในภาคเหนือ ภาคใต้ การเติบโตของตลาดม้าในวันนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก อย่างทางภาคใต้ เขตจังหวัดปัตตานี พัทลุง สตูล จะพบว่าม้าในแต่ละสนามมีไม่ต่ำกว่า 200-300 ตัว โดยการเลี้ยงเพื่อใช้งานในหมู่บ้านของตนเอง รวมถึงการใช้แรงงานในด้านการเกษตร” คุณบุญสิตา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต หรือ คุณตุ๊ก เจ้าของลลิตาฟาร์ม บอกกล่าวถึงสถานการณ์การเลี้ยงม้าที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ลลิตาฟาร์ม เป็นหนึ่งในฟาร์มม้าชั้นแนวหน้าที่เน้นการสอนด้านการขี่ม้าให้กับผู้สนใจ โดยจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นจากที่ คุณตุ๊ก และ คุณพิศุทธิ์ ผู้เป็นสามี โดยสองสามีภรรยา มีบุตร 2 คน คือ น้องเบส และ น้องเพชร เริ่มต้นทำฟาร์ม
ชุมชนบ้านแหลม ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นชุมชนที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำหลากหลาย หอยตลับหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หอยปะ เป็นหอยประจำถิ่นมีอยู่จำนวนมาก แต่การนำมาใช้ประโยชน์ยังไม่เต็มที่ ที่จะสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าจากสิ่งที่มี จึงนำไปสู่การแปรรูปหอยตลับให้มีมูลค่ามากขึ้น ทั้งนี้ หอยตลับ หรือ หอยปะ มีเปลือกค่อนข้างหนา มีเนื้อน้อย มีให้เก็บทุกฤดูกาล มีการจับหอยตลับได้ในปริมาณที่มากกว่าแหล่งอื่นในลุ่มน้ำปะเหลียน โดยการจำหน่ายในรูปหอยตลับสด แปรรูปผลิตภัณฑ์หอยในรูปของหอยตลับดอง หอยตลับปรุงรส แต่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายตามเทศกาล ตามออเดอร์ที่สั่งของลูกค้า โดยหอยตลับขนาดใหญ่และขนาดกลาง ชาวบ้านจะนิยมขายแบบสด ในราคากิโลกรัมละ 30-50 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด ส่วนหอยตลับขนาดเล็กมีเนื้อค่อนข้างน้อย ซึ่งหอยตลับขนาดเล็ก ชั่งทั้งเปลือกมีประมาณ 110-140 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม ชาวบ้านจึงนิยมนำมาลวกเอาแต่เนื้อของหอยมาทำกับข้าว และนิยมนำมาแปรรูปเป็นหอยตลับสมุนไพรเก็บไว้รับประทานในครัวเรือน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชมพูนุช โสมาลีย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.
คนไทยแท้ในแผ่นดินไทย หาได้ยาก ภาคใต้อยู่ติดประเทศมาเลเซีย มีคนไทยเชื้อสายมลายู ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็เป็นลูกผสมลาว ส่วนที่ติดเขมรก็เป็นไทยเชื้อสายเขมร ภาคเหนือตอนบนก็เป็นคนเชื้อสายล้านนาแต่ก่อนเก่า สำหรับในภาคกลางก็ผสมปนเปกันหลากหลายโดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล สรุปแล้วไม่รู้ว่าคนไทยแท้อยู่ที่ไหน คนทางภาคใต้เป็นไทยเชื้อสายมลายูและคนไทยเชื้อสายจีนอยู่มาก โดยเฉพาะชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาทำเหมืองแร่ดีบุก ส่วนหนึ่งมาจากจีนแผ่นดินใหญ่โดยตรง ส่วนหนึ่งมากจากเกาะปีนังประเทศมาเลเซีย ซึ่งเดิมเกาะนี้เป็นของประเทศไทย ชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ได้อพยพมาแต่งงานกับชาวพื้นเมืองเชื้อสายมลายู ลูกหลายคนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “บาบ๋ายาหยา” ส่วนหนึ่งได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่เกาะภูเก็ตก่อนหน้านี้ และอีกส่วนหนึ่งอพยพเมื่อเกาะปีนังกลายเป็นของประเทศมาเลเซีย วัฒนธรรมการกินขนมกับกาแฟในตอนเช้าเป็นเรื่องราวของชาวใต้ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ทุกเช้าจะเห็นชาวบ้านทั้งหนุ่มแก่นั่งจิบกาแฟหรือโกปี๊ในร้านกาแฟซึ่งเปิดบริการแทบทุกหัวระแหง ชาวใต้กินกาแฟกับขนมแทนอาหารเช้า ขนมบนโต๊ะกาแฟจึงค่อนข้างหลา