มหาวิทยาลัยมหิดล
ในช่วงฤดูหนาว ประเทศไทยมักเผชิญกับ มลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะค่าฝุ่น PM2.5 สูง เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดต่ำลง สภาพอากาศที่นิ่ง ถ่ายเทอากาศไม่ดี ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง หมอก และควัน ในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันมักมีการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรในระยะนี้ ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เพิ่มขึ้นสูง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยในวงกว้าง เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ง่าย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันในระยะยาว ทำให้ร่างกายมีความไวต่อการติดเชื้อและเกิดโรคได้ง่ายขึ้น หน่วยงานภาครัฐจึงเตือนให้ประชาชนใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อช่วยกรองฝุ่นในบ้าน รวมทั้งสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นขนาดเล็ก เมื่อออกจากบ้าน สมุนไพรไทยช่วยดูแลสุขภาพ ลดผลกระทบ PM 2.5 ได้ ก่อนหน้านี้มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในพระอุปถัมภ์ฯ ได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อหาแนวทางการวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรกับโรคเรื้อรังและการลดผลกระทบของ PM 2.5 ต่อสุขภาพ ตั้งแต่การ
ภายใต้ความร่วมมือกับโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (เหมืองผาแดง) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก นำโดยนักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. และ นักวิจัยจากสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับนักวิจัยและพันธมิตรจากหลากหลายองค์กร ได้แก่ 1) โครงการภาคภาษาอังกฤษ โรงเรียนสตรีนนทบุรี 2) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3) บริษัท เมิร์จ จำกัด 4) เครือข่ายเพื่อนสวนพฤกษ์ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 5) กรมป่าไม้ (เหมืองผาแดง) และ 6) สำนักงานเทศบาลเมืองตาก ได้ร่วมกันพัฒนา “Seeding-Rebirth กระทงจากเส้นใยเห็ดรา” เปิดตัวครั้งแรกในงานวันลอยกระทง ค่ำคืนที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ณ สำนักงานเทศบาลเมืองตาก อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ด้วยการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร สู่ผลิตภัณฑ์กระทงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมพัฒนาศักยภาพชุมชนในเรื่องความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที
แม้ “วัยที่เพิ่มขึ้น” จะบ่งบอกถึง “ระดับประสบการณ์” แต่ในการขับขี่ยวดยานบนท้องถนน “พฤติกรรมหลังพวงมาลัย” ที่มาจาก “ความพร้อม” ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งรอบข้างต่างหากที่จะเป็นสาเหตุของความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยได้มากน้อยเพียงใด รองศาสตราจารย์ ดร.อรพินท์ เล่าซี้ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาพัฒนาระบบสุขภาพ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล จากผลงานการวิจัยด้านความปลอดภัยบนท้องถนน (Road Safety) ภายใต้การสนับสนุนโดย ทุนมิตซุย ซูมิโตโม (Mitsui Sumitomo) แห่งประเทศที่ขึ้นชื่อได้ว่ามี “พลเมืองวินัยสูง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ดังเช่น “ประเทศญี่ปุ่น” จนได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ “Journal of Applied Gerontology” โดยมุ่งค้นหาคำตอบที่จะนำไปสู่การสร้างพลังให้กับชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน และวิจัย ของนักศึกษาสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติการจัดการสาธารณสุขมูลฐานมหาบัณฑิต แ
ประเทศไทยกำลังเป็นที่น่าจับตา ในฐานะ “ฐานกำลัง” สู่ “โลกวิจัย Deep tech” หรือเทคโนโลยีขั้นสูงที่ท้าทาย อาจารย์ ดร.นริศรา โกมลวรรธนะ หัวหน้าศูนย์ชีววัตถุการแพทย์ชั้นสูงเพื่อการรักษา (Center for Advanced Therapeutics) หรือ “ศูนย์ CAT” สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเสริม “ฐานกำลัง” สู่ “โลกวิจัย Deep tech” ของชาติ เพื่อขยาย “งานวิจัยพื้นฐาน” โดยเฉพาะในเรื่องโมเลกุลชีวภาพ เช่น อาร์เอ็นเอ เพปไทด์ โปรตีน สู่ “อุตสาหกรรมทางการแพทย์” ที่มีมูลค่าสูง ผลงานวิจัยเด่นภายใต้ “ศูนย์ CAT” ที่นับเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ การทุ่มเทค้นคว้าและวิจัยโรคทางพันธุกรรม และยารักษาโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ เช่น โรคมะเร็ง โรคไข้เลือดออก มายาวนาน จนปัจจุบันสามารถใช้ “เทคโนโลยีการดัดแปลงทางพันธุกรรม” สร้างสรรค์งานวิจัยการแพทย์ชั้นสูง อันเป็นความหวังแห่งมวลมนุษยชาติ สร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้ห่างไกลจากโรคทางพันธุกรรมดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีผลงานเด่นด้าน “โปรตีโอมิกส์” (Proteomics) หรือการศึกษาเกี่ยวกับโปรตีน ที่จะนำ
“แผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน” คือ 1 ใน 6 แผนพัฒนาพื้นที่อีอีซี หรือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีสู่การเป็น “เขตเศรษฐกิจชั้นนำแห่งอาเซียน” ของประเทศไทย ซึ่ง “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน” ที่แข็งแกร่ง จะต้องพัฒนาควบคู่ไปกับ “การขับเคลื่อนชุมชน” ให้เกิดความตระหนักต่อเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ที่ไม่ได้เป็นเพียง “ผู้นำการขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน” เช่นที่ผ่านมา แต่ยังครอบคลุมถึง “การส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม” อีกด้ว รองศาสตราจารย์ ดร.ธันวดี สุขสาโรจน์ ผู้อำนวยการ และอาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาพัฒนาสุขภาพ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยการประปาส่วนภูมิภาค และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการลงพื้นที่อีอีซีสำรวจพฤติกรรมการใช้น้ำของประชาชนในเขตพื้นที่อีอีซี เพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบ “สมดุลน้ำ-สมดุลเศรษฐกิจ” โ
“ไลอ้อน ประเทศไทย” หนุน “ผักโมโรเฮยะ” ราชาแห่งผัก ดันเป็นพืชอัตลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น นำมาพัฒนาสารสกัดวัตถุดิบ ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อคนไทย เล็งขยายพื้นที่การเพาะปลูกเพิ่ม รองรับการขยายกำลังการผลิตในอนาคต นายชูชีพ อภิรักษ์ ผู้จัดการส่วนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อคนไทย มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจ พัฒนาสินค้านวัตกรรมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง เปิดเผยว่า ไลอ้อน ประเทศไทย ยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างต่อเนื่อง ให้สอดรับกับพฤติกรรมและช่วงวัยของผู้บริโภค โดยเล็งเห็นความสำคัญของพืชพื้นถิ่น ไม่ว่าจะเป็น สารสกัดตรีผลาจากสมอไทยและสมอเทศ สารสกัดมะไฟจีน และสารสกัดผักโมโรเฮยะ เป็นต้น โดยดึงประโยชน์จากพืชพื้นถิ่น นำมาพัฒนาสารสกัดจนนำไปสู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อคนไทย ทั้งยังสร้างประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมและสังคม (Sustainable R&D Direction) “ผักโมโรเฮยะ ถูกขนานนามว่า เป็นพระราชาแห่งผัก ด้วยคุณประโยชน์ที่โดดเด่น มีสารพรีไบโอติกสูง สามารถสกัดนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ไลอ้อน
วันที่ 14 พ.ย. แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับมอบหมายจากนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รมว.กระทรวง อว. ให้เป็นประธานในการแถลงข่าว และเป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านงานวิจัย เรื่อง แพลตฟอร์มกลางสำหรับอำนวยความสะดวกเพื่อการเดินทางของผู้สูงอายุและผู้พิการ ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมาย นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร โดย นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด โดย นายอำนาจ คงไทย รักษาการกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เพื่อร่วมกันสนับสนุนโครงการออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการโลจิสติกส์ กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการสู่ระบบสาธารณสุข และเพื่อรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลที่ช่วยการบริการทางการแพทย์และ
วิศวกรของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ช่วยสร้างกล่องอุปกรณ์เลี้ยง “ไข่น้ำ” พืชที่มีโปรตีนสูงให้แก่ทีมวิจัยมหิดล และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อใช้จำลองการเลี้ยงในสภาวะแรงโน้มถ่วงสูงที่องค์การอวกาศยุโรป (ESA) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการคัดกรองพืชที่เหมาะสมต่อการใช้งานในการสำรวจอวกาศ นครราชสีมา – ดร.สุทธิพงษ์ วรรณไพบูลย์ หัวหน้าส่วนปฏิบัติการระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ให้ข้อมูลว่า “คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ขอความอนุเคราะห์สถาบันฯ ให้การสนับสนุนคณะผู้วิจัยเข้าร่วมโครงการ HyperGES เพื่อออกแบบวิศวกรรมและดำเนินการผลิตอุปกรณ์วิทยาศาสตร์สำหรับโครงการ เนื่องจาก อาจารย์ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนจากโครงการดังกล่าวที่สนับสนุนองค์การอวกาศยุโรป และสำนักกิจการอวกาศแห่งองค์การสหประชาชาติ” “ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ ได้รับการสนับสนุนในการศึกษาการตอบสนองของ ‘ไข่น้ำ’ พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกต่อสภาวะแรงโน้มถ่วงสูงจำลอง และสถาบันฯ ได้รับโจทย์ให้ออกแบบและพ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนการวิจัยให้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อดำเนินการพัฒนานวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก “sPace” ขณะนี้ นวัตกรรมประสบความสำเร็จและมีคุณภาพสูง เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ฝีมือนักวิจัยไทย เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการในภูมิภาคต่างๆ ในโอกาสนี้ วช.ได้บริหารการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม “นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก sPace” มอบให้แก่ โรงพยาบาลอุดรธานี และโรงพยาบาลศรีนครินทร จ.ขอนแก่น เพื่อให้ผู้พิการได้ใช้นวัตกรรมเท้าเทียมที่เป็นมาตรฐานระดับสากล โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ร่วมกันส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก “sPace” ให้กับ นายแพทย์ทรงเกียรติ เล็กตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรธานี และศาสตราจารย์ นายแพทย์ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร จังหวัดขอนแก่น ณ อาคารศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้น 9 โรงพยาบาล จังหวัดอุดรธานี ดร.วิภารัตน์ ดี
วช. – รพ.รามาธิบดี MOU สร้างองค์ความรู้ด้านการบริบาลและดูแลผู้สูงอายุ สู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่เครือข่ายภูมิภาค : ภาคกลาง มุ่งยกระดับการดูแลและบริบาลผู้สูงอายุให้มีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566 : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การนำหลักสูตรการอบรมด้านการบริบาลและดูแลผู้สูงอายุ สู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคกลาง” เพื่อมุ่งยกระดับการดูแลและบริบาลผู้สูงอายุให้มีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนาม พร้อมนี้ คณะผู้บริหาร วช. ผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะกรรมการเครือข่ายวิจัยภูมิภาค เข้าร่วมพิธีฯ และเป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ณ เวที Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ดร.วิภาร