ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์
ลบภาพจำการปลูกส้มที่เคยมีมา จากที่เมื่อก่อนหลายท่านคิดว่า ส้มจะปลูกให้ดีได้ต้องปลูกที่ภาคเหนือเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้มีเกษตรกรรุ่นใหม่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ส้ม” สามารถปลูกบนพื้นที่ใดก็ได้ แม้แต่สภาพพื้นที่เป็นดินทรายอย่างทางภาคอีสานก็สามารถปลูกส้มให้ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพได้แล้ว เพียงต้องอาศัยเทคนิคและความขยันในการปรับปรุงบำรุงดินสักหน่อย คุณสมยศ บ่อหิน อยู่บ้านเลขที่ 103 หมู่ที่ 2 ตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เกษตรกรคนเก่งผู้พลิกผืนดินทรายมาปลูกส้มสายน้ำผึ้ง แถมยังได้ส้มคุณภาพดี อย่างที่ปลูกในพื้นที่ภาคเหนืออีกด้วย คุณสมยศ เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำสวนส้ม ตนประกอบอาชีพวิ่งรถขายเคมีเกษตรมาก่อน ซึ่งในขณะนั้นได้พบเจอกับเกษตรกรมากหน้าหลายตา จนวันหนึ่งมีโอกาสเข้าไปขายเคมีเกษตรในสวนส้มที่อำเภอฝาง ได้ไปเจอกับเกษตรกรผู้ที่คร่ำหวอดในวงการส้ม เขาให้ความรู้เรื่องการปลูกส้มมามากมาย ก็ได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากตรงนั้นมาวันละเล็กวันละน้อย จนสามารถชวนพี่ที่สนิทกันหาเช่าพื้นที่ทดลองทำสวนส้มที่อำเภอฝางแล้วค่อนข้างได้ผลดี จึงได้ทดลองนำมาปลูกที่บ้านจังหวัดบึงกาฬบ้าง ปลูกไปปลูกมาเริ่มติดใจและประ
“ถั่วเขียว” เป็นพืชอายุสั้น จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืช เช่น ทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วยบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง และนอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ถั่วเขียวยังสามารถนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อย่างเช่น เกษตรกรไอเดียบรรเจิดท่านนี้ ที่คิดค้นต่อยอดรายได้เสริมหลังการทำนา ด้วยการปลูกถั่วเขียวเพื่อแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม “น้ำนมถั่วเขียว” เพื่อสุขภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มจากหลักสิบเป็นหลักพัน คุณนุสร รุ่งพรหม อยู่ที่ 52 หมู่ที่ 9 ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์สงขลาหัวก้าวหน้า อดีตผู้ช่วยพยาบาล หันมาเอาดีด้านงานเกษตร ริเริ่มพัฒนาและต่อยอดอาชีพที่รัก เริ่มจากศูนย์สู่ความสำเร็จ สุขกาย สบายใจ สร้างรากฐานครอบครัวมั่นคง คุณนุสร เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว ตนเคยทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลมาก่อน แล
คุณศุภกานต์ พุทธรางกูร หรือ พี่อ้อ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดเชียงราย อยู่บ้านเลขที่ 333/1 หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เล่าถึงที่มาของการกลับมาเป็นเกษตรกรว่า ก่อนที่จะมาทำเกษตรนั้นตนทำงานประจำเป็นพนักงานโรงแรมมาก่อน แล้วได้ลาออกจากงานประจำเพื่อมาสานต่องานที่บ้าน สืบเนื่องมาจากคุณแม่เป็นชาวนาสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่า ซึ่งเป็นการทำนาข้าวแบบเดิม คือปลูกและนำไปขายให้กับโรงสี อยากได้ข้าวปริมาณมากๆ เลยใช้ปุ๋ยเคมีและยาในการเพาะปลูก เพื่อเพิ่มผลผลิต วนเวียนอย่างนี้ทุกปี ซึ่งราคาข้าวก็ผันแปรไปตามกลไกตลาด ทำให้มีกำไรน้อยมาก หรือบางปีขาดทุน เพราะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรงงาน มีราคาสูงขึ้น คุณแม่จึงคิดว่าอยากจะปลี่ยนแปลงวิธีการทำนาข้าวแบบเดิม จึงเริ่มศึกษาการทำเกษตรอินทรีย์ และเก็บข้าวไว้เอง ไม่ขายให้กับโรงสี เพราะอยากจะผลิตข้าวที่ดีมีคุณภาพ เก็บไว้กินเอง และได้ขายข้าวที่ดีและปลอดภัยให้กับลูกค้า ซึ่งนอกจากนี้คุณแม่ยังได้มีการศึกษาการทำเกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกไว้กินเอง เหลือจึงนำออกไปขาย ได้ลองผิดลองถูกมาตลอด และด้วยความตั้งใจจร
“บ้าหรือเปล่า ทิ้งเงินเดือนหลักแสนมาทำเกษตร” คำพูดเหล่านี้มักจะได้ยินติดหูเป็นประจำ ถ้าหากผู้ใดมีความคิดไม่ตรงกับคนหมู่มาก ก็จะต้องถูกถามก่อนเลยว่า บ้าหรือเปล่า ซึ่งจริงๆ แล้วเงินเดือนหลักแสนอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตของใครหลายคน เพราะเป้าหมายชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน บางคนทำงานเพื่อเงิน บางคนทำงานเพื่อความสุข หรือบางคนมองทรัพย์สินเงินทองเป็นเรื่องรอง ครอบครัวต้องมาก่อน ก็สุดแล้วแต่เป้าหมายของแต่ละคน เพียงแค่ในทุกวันได้ทำงานที่รักและมีความสุขก็พอแล้ว คุณอาคม มากทรัพย์ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์อุทัยธานี อยู่บ้านเลขที่ 78 หมู่ที่ 4 ตำบลหูช้าง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อดีตนายช่างกลเรือ ทิ้งเงินเดือนเรือนแสน เล่าให้ฟังว่า หลังจากลาออกจากงานประจำก็เบนเข็มชีวิตมาเป็นเกษตรกร และก็มีหลายคนสงสัยว่ามีวิธีการปรับตัวอย่างไรกับความคิดและคำพูดเสียดสีจากชาวบ้าน ซึ่งหนทางไม่ง่ายเลย ในหัวจะมีความคิดตลอดว่าตนเองคิดถูกแล้วใช่ไหมที่เลือกทางนี้ จากที่เคยทำงานได้เงินเดือนดีๆ มีลูกน้องคอยช่วยอยู่ข้างๆ ไปไหนมาไหนมีผู้คนต้อนรับนับหน้าถือตา กลับต้องมาทำงานหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน แต่ก็กลับมาคิดว่าไม่มีใครคว้าของทั้งสอ
ด้วยเทคโนโลยีการเกษตรที่พัฒนาไปอย่างก้าวไกล เกษตรกรทุกท่านจึงจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองให้ก้าวทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับกับสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายมากขึ้น แล้งนานกว่าที่เคยเป็นมาก็สามารถรับมือได้ด้วยการนำนวัตกรรมที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ตรวจสภาพดิน ฟ้า อากาศ เพื่อวางแผนการทำเกษตรได้ล่วงหน้า และเป็นเรื่องง่าย สะดวก รวดเร็ว ช่วยประหยัดตุ้นทุน ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงานได้เกือบทั้งหมด คุณเฉลิมพล ทัศมากร (คุณต่าย) ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดตราด อยู่บ้านเลขที่ 49/2 หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด เล่าว่า เรียนจบคณะการจัดการอุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี หลังจากจบมา ก็ทำงานเป็นผู้จัดการแผนกคลังสินค้าและคลังพัสดุภัณฑ์ที่บริษัทแห่งหนึ่งนานกว่า 10 ปี แต่มีสาเหตุที่ต้องลาออกจากงาน เพราะคุณพ่อคุณแม่มีอายุมากขึ้น จึงต้องกลับมาช่วยสานต่ออาชีพเป็นเกษตรกรทำสวน ปลูกเงาะ มังคุด มีทุเรียนเป็นพืชหลักสร้างรายได้ บนพื้นที่กว่า 12 ไร่ ระบบจัดการสวน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามความถนัดของแต่ละคน คุณต่าย บอกว่า ระบบการจัดการสวน จะแบ่งหน้าที่ตามความถนัดของแต่ละคน คุณพ่อมีความเชี่ยวช
เกษตรกรหลายท่าน มักพูดเสมอว่า อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพที่ไม่มีวันอดตาย คุณชัยวัฒน์ ปิ่นนาค (คุณเบญ) ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ อยู่บ้านเลขที่ 134/2 หมู่ที่ 1 ตำบลวังแดง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ถือเป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่จะเข้ามาตอกย้ำกับคำพูดเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เพราะตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่เขาได้เข้ามาสานต่อกิจการขยายพันธุ์ไม้จากพ่อแม่ ก็ทำให้รู้เลยว่า การเป็นเกษตรกรถ้ามีการจัดการวางแผนที่ดี ก็ทำให้มีกินมีใช้ไปได้ตลอดชีวิต คุณชัยวัฒน์ ปิ่นนาค หรือ คุณเบญ เรียนจบปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมเทคโนโลยีเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครเหนือ หลังจากเรียนจบได้เข้ามารับช่วงกิจการขยายพันธุ์ไม้ผลของครอบครัว ที่ทำมานานกว่า 30 ปี โดยช่วงแรกจะเป็นการเรียนรู้งานจากคุณพ่อและการศึกษาดูงานจากแหล่งต่างๆ ในเรื่องของเทคนิคการขยายพันธุ์ไม้ในหลายรูปแบบ สะสมประสบการณ์มาเรื่อยๆ จนเกิดความชำนาญ และได้มีการขยายกิจการเพิ่มเติมจากของครอบครัว สวนประดับพันธุ์ไม้ที่ทำอยู่เดิม 100 ไร่ ขยายเพิ่มเป็น 200 ไร่ และมีการเปิดร้านขายกิ่งพันธุ์เป็นของตัวเอง ชื่อร้านชัยวัฒน์ตลาดกลางพันธุ์ไม้ เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งร้าน
“ไทบ้านฟาร์มเมอร์” ถือเป็นฉายาที่เกษตรกรคนเก่งท่านนี้ตั้งให้ตัวเอง ที่มาของคำแทนตัวเองว่าเป็นไทบ้านฟาร์มเมอร์ มาจากที่ตนเองเป็นคนต่างจังหวัด และมีวิถีชีวิตและหลักคิดในการทำเกษตรแบบบ้านๆ การสื่อสารกับผู้คนก็เป็นหลักคิดง่ายๆ เป็นกันเอง ชาวบ้านคนธรรมดาฟังแล้วรู้เรื่อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ คุณวุฒิพงษ์ พลอยวิเลิศ (พี่กระต่าย) เกษตรกรผู้มากความสามารถ อยู่บ้านเลขที่ 751 หมู่ที่ 14 ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ด้วยความสามารถที่ล้นเหลือ เขาเรียนจบปริญญาตรีภายในเวลา 3 ปีครึ่ง และมีบริษัทเข้ามาจองตัวไปทำงานทันที ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์คุณภาพ โรงงานน้ำตาลกาฬสินธุ์ แต่ชีวิตก็ไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะเป้าหมายในชีวิตคือการเป็นเกษตรกร แต่ด้วยเงินทุนที่มีจำกัด จึงจำเป็นต้องตั้งใจเรียนและวางแผนการศึกษาให้ดี จบให้เร็วและมีคุณภาพเพื่อให้ได้เข้าทำงานบริษัทที่มั่นคง พอที่จะหาเงินทุนมาทำตามความฝันได้ เส้นทางชีวิตเกษตรกรไทบ้าน ไม่ง่ายอย่างที่คิด ต้องทนแรงกดดัน และมีความมุ่งมั่นสูง พี่กระต่าย เล่าให้ฟังว่า ทำงานอยู่โรงงานน้ำตาล
คุณพร้อมพงษ์ คำมุงคุณ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์คนเก่ง ให้ข้อคิดหลักการทำเกษตรเบื้องต้นว่า “ทำการเกษตร ถ้ารู้จักจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะมีพื้นที่กี่ไร่ มีน้อย มีมาก ก็สามารถสร้างรายได้ อย่างไม่ขัดสนได้เช่นกัน คุณพร้อมพงษ์ คำมุงคุณ อยู่บ้านเลขที่ 100 หมูที่ 1 ตำบลหนองบัว อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เล่าว่า ครอบครัวของตนมีอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกยางพารามาก่อน ปัจจุบัน พ่อกับแม่ก็ยังทำอยู่ แต่ตนได้มีโอกาสเรียนจนจบปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เมื่อเรียนจบอยากหาประสบการณ์ลองทำงานตามสายที่เรียนมา จึงไปสมัครงานเป็นช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่บริษัทแห่งหนึ่ง ลักษณะการทำงานค่อนข้างหนัก ต้องสแตนบาย 24 ชั่วโมง เวลาหยุดมีน้อย ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน ร่างกายเริ่มรับไม่ไหว จึงตัดสินใจลาออกจากงาน ช่วงตรงกับตอนที่ราคายางพาราขึ้นสูง กิโลกรัมละ 40-50 บาท พอดี คิดว่าออกมาก็พอจะมีต้นทุนจากตรงนี้ให้สามารถสานต่อทำอย่างอื่นได้ไม่ยาก ความรู้การทำเกษตร มีแบบงูๆ ปลาๆ ใช้ความตั้งใจ ฝ่าอุปสรรคจนได้ เจ้าตัวบอกว่า หลังลาออกจากงาน ก็มาเริ่มลุยงานเกษตรแต่ความรู้งานเกษตรมีน้อยมาก รู้แค่ว่าอยากปลูกอยากขายเท่านั้น แต
กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือ มสธ. โชว์ศักยภาพ Young Smart Farmer (YSF) เกษตรกรรุ่นใหม่ รวมพลสานพลังเครือข่าย ในงาน Young Smart Farmer Show Case 2019 ภายใต้แนวคิด นวัตกรรมอาหารปลอดภัย ในวิถีเกษตรกรรมยั่งยืน ของดี 4 ภาค หนุนต่อยอดเกษตรกรต้นแบบ ปั้นทายาทเกษตรกรหน้าใหม่ พร้อมสร้างแพลตฟอร์มอาชีพเกษตรที่ทันสมัย นำงานวิจัยและนวัตกรรม ควบคู่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ มุ่งพัฒนาผลิตอาหารปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ ในวิถีเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่ออนาคตความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยในงาน “มหกรรมรวมพลเกษตรกรรุ่นใหม่แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 : นวัตกรรมอาหารปลอดภัยในวิถีเกษตรกรรมยั่งยืน ของดี 4 ภาค” ซึ่งจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช จังหวัดนนทบุรี ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer Thailand (YSF) ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนและพัฒนากลุ่มเกษตรกร YSF ในการสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วม และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและการทำงานทุกระดับอย่างชัดเจน เพื่อให้ YSF เป็นผู้นำในการขับเคลื่อ
บ้านสวนเมล่อน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สวนเมล่อนขนาด 4 ไร่ ที่ใครๆ ก็ต้องมาลองชิมเมล่อนสักครั้ง ด้วยเอกลักษณ์พิเศษของสายพันธุ์เมล่อนที่มีทั้งหวานกรอบ และหวานเนื้อนุ่ม รวมถึงการปลูกที่ใส่ใจและปลอดภัยจากสารเคมี 100% นางสาวปคุณา บุญก่อเกื้อ (แก้ว) เกษตรกรรุ่นใหม่ (YSF) เจ้าของสวน “บ้านสวนเมล่อน” ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของสวนแห่งนี้ว่า เกิดจากความต้องการปลูกเมล่อนให้สามี จึงลงมือปลูกและลองผิดลองถูกด้วยตนเองจากการเสิร์ชกูเกิลตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างโรงเรือนจนถึงการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตเมล่อนจนกระทั่งค้นพบวิธีการสร้างโรงเรือนและการปลูกเมล่อนที่เหมาะสม ทำให้มีผลผลิตเมล่อนสำหรับขายมากขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ ขยายการปลูกเมล่อนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีทั้งหมด 17 โรงเรือนแล้วในระยะเวลาเพียง 2 ปี ทั้งนี้บ้านสวนเมล่อนไม่ได้ปลูกแค่เมล่อนเท่านั้น แต่เป็นสวนผสมผสานมีทั้งพืชผักสวนครัวและพืชอื่นๆ ที่เจ้าของสวนชื่นชอบ อาทิ ตะไคร้ ใบกระเพรา ถั่วฝักยาว มะเขือเทศราชินีเหลือง ข้าวโพดหวาน ฮอกไกโด เห็ด ฯลฯ ปลูกร่วมด้วยเสมือนว่ามีตู้เย็นธรรมชาติอยู่ในบ้าน ในกระบวนการผลิตของสวนบ้านเมล่อนจะไม่ใช้สารเคมีในการกำจ