ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์
อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง มีสภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเนินสูงสลับต่ำ และที่ราบสูง สลับด้วยภูเขา มีป่าไม้ ลำธาร ลำคลอง และห้วยสั้น ไหลสู่ทะเลอันดามัน ด้านตะวันตก มีสภาพเป็นป่าชายเลน สภาพดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ความสมบูรณ์ต่ำ อาชีพส่วนใหญ่ของชาวสิเกา คือเกษตรกรรม ทั้ง กสิกรรม การประมงจับสัตว์น้ำ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้านการท่องเที่ยวทางทะเล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร ร้อยละ 80 รับจ้าง ร้อยละ 15 อื่นๆ ร้อยละ 5 มีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 232,633 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 66.23 และส่วนใหญ่จะเป็นสวนปาล์มน้ำมันและยางพารา ซึ่งเป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่หากคิดถึงภาพการปลูกผักของเกษตรกรในอำเภอสิเกา เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกไว้ข้างบ้าน แค่พอมีพอกินในครัวเรือน และยิ่งหากเป็นผักเมืองหนาว เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และ บร็อกโคลี่ แน่นอนว่าจะนึกถึงภาพบรรยากาศของพื้นที่ภูเขาในแถบภาคเหนือ ที่มีอากาศหนาวเย็น เอื้อต่อการปลูกพืชผักเมืองหนาว ซึ่งเป็นภาพที่เกษตรกรคุ้นชิน คุณกันยารัตน์ หมุนเวียน ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ตำบลกะลาเส เกษตรกรที่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการปลู
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 กรมส่งเสริมการเกษตร จัดเวทีเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับประเทศ ขึ้นที่โรงแรม ทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิด และมีนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมงาน ทั้งนี้ ตัวแทนเครือข่าย Young Smart Farmer แต่ละภาคทั่วประเทศเข้าร่วมงานอย่างคึกคัก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า “เกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer” ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งเน้นที่จะพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาขับเคลื่อนภาค การเกษตรผ่านการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าด้วยกันตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ซึ่งจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันภาคการเกษตรของประเทศไทย มีทิศทางและแนวโนม้ ที่ดีขึ้นอย่างเห็นไดชัดจากการที่กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ ให้มีองค์ความรู้ที่ทันสมัยและสามารถทำการเกษตรอยู่ได้ท่ามกล
จะกี่ยุคกี่สมัย อาชีพเกษตรกรรมก็ยังเป็นอาชีพที่ยั่งยืนและตอบโจทย์วิถีชีวิตคนไทยได้เสมอ การเป็นเกษตรกรถึงอาจจะไม่ได้ทำให้ร่ำรวย แต่อย่างน้อยก็ทำให้หลุดพ้นจากความหิวโหยได้ อาชีพเกษตกรรมไม่ได้แบ่งชนชั้นการศึกษา จะเรียนจบ ป.1 หรือเรียนจบด็อกเตอร์ ก็สามารถเป็นเกษตรกรได้เหมือนกัน อาศัยเพียงความมีใจรัก ความขยันอดทน มุ่งพัฒนาหาความรู้ไม่หยุดนิ่ง เพียงเท่านี้ทุกคนก็จะประสบความสำเร็จจากอาชีพเกษตรกรรมได้ไม่ยาก คุณวาสนา ภู่ทับทิม ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดนราธิวาส ต้นแบบเกษตรกรแบบครบวงจร อยู่บ้านเลขที่ 72/3 หมู่ที่ 5 ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เล่าว่า ตนเรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสทางการศึกษาน้อยแต่ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะความรู้หาได้ทุกที่ไม่จำกัดว่าต้องศึกษาแค่ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น ตนเลือกที่จะออกมาศึกษานอกโรงเรียน เพราะรู้เป้าหมายของตัวเองแล้วว่าจะเดินทางสายเกษตร จึงมุ่งเน้นศึกษาตามศูนย์การเรียนรู้ ได้ลองลงมือปฏิบัติจริง อย่างที่ในเขตตำบลกะลุวอเหนือที่อาศัยอยู่จะมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตนก็เข้าร่วม มีโอกาสได
การตลาดถือเป็นองค์ประกอบสำคัญกับการทำธุรกิจทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรายใหญ่หรือรายย่อย ต่างต้องมีแผนการตลาดที่ดีและดึงดูดลูกค้ากันทั้งนั้น และยังถือเป็นบททดสอบหินสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่อยู่ไม่น้อยที่จะทำอย่างไรให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้เป็นที่นิยม คุณภาพและมาตรฐาน ถือเป็นด่านทดสอบสำคัญอันดับแรก คุณทิฆัมพร กสิโอฬาร หรือ คุณบลู อยู่บ้านเลขที่ 330 ถนนแม่น้ำแคว ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์สาวสวย ควบด้วยตำแหน่งเจ้าของร้าน Cinnamon coffee คนรุ่นใหม่ไฟแรงผู้ชื่นชอบความท้าทาย จากอดีตผู้จัดการโรงแรม เบนเข็มลงแข่งขันในสายงานด้านการเกษตร เหนื่อยบ้าง ท้อบ้าง แต่ไม่ยอมแพ้ ใช้ความสามารถและพลังที่มีอยู่เต็มเปี่ยม จนสามารถสร้างรายได้กับสิ่งที่ตั้งใจทำได้ และไม่เพียงแต่ผลิตได้ แต่ผลผลิตทุกชนิดล้นไปด้วยคุณภาพ ปลอดการใช้สารเคมี อนาคตวางแผนขยายสู่ตลาดสินค้าพรีเมี่ยม คุณบลู เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ตนเองทำงานเป็นผู้จัดการโรงแรมมาก่อน จนมาถึงช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด โรงแรมต้องหยุดให้บริการ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกผักสร้างรายได้ เพราะก่อนหน้านี้มีก
คุณอำนาจ ศรีบัวทอง อยู่บ้านเลขที่ 114 หมู่ที่ 2 ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดอ่างทอง ที่เป็นทั้งเกษตรกรนักสู้ และเป็นทั้งนักคิดนักพัฒนาจนประสบผลสำเร็จในอาชีพที่ทำมาตั้งแต่จำความได้ ทุกวันนี้มีกิน มีใช้ มีเงินเก็บ ส่งลูกเรียน ทั้งหมดนี้ล้วนมาจากรายได้จากอาชีพเกษตรกรรม มาดูกันว่าคุณอำนาจจะมีเทคนิคทำเกษตรอย่างไร ให้ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจได้ขนาดนี้ คุณอำนาจ ศรีบัวทอง เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นเกษตรกรว่า ตนเริ่มเป็นเกษตรกรมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ ซึ่งการทำเกษตรของตนนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้ทันยุคทันสมัยและสอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเริ่มต้นจากการเป็นชาวนา ทำนาปลูกข้าวแบบทั่วไปตามที่สมัยบรรพบุรุษได้สืบทอดทำกันมา แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนไปจากเดิม จึงเริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงการทำนาแบบเดิมๆ มีการเรียนรู้เทคนิคการทำนาสมัยใหม่มากขึ้น พร้อมทั้งศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบที่มีผลในด้านการผลิต ทั้งเรื่องของดิน น้ำ อากาศ เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ในนาข้าวของตัวเอง ซึ่งหลังจากการที่ได้ศึกษาทดลอง
เกษตรกรสาวพิสูจน์ตัวเองจากงานที่ทำ ใบปริญญาไม่ได้ชี้วัดความสำเร็จเสมอไป ความตั้งใจ และการขยันศึกษาหาความรู้พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาต่างหากที่จะเป็นหนทางสู่ความสำเร็จได้ คุณประกายมาศ น้อยมา (คุณมาศ) อยู่บ้านเลขที่ 8 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร คนรุ่นใหม่หัวใจเกษตร เล่าว่า ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เรียนจบสูง แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จในอาชีพที่เลือกอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง เลือกที่จะไม่เรียนต่อ เพราะค้นหาตัวเองเจอตั้งแต่แรกว่า เหมาะกับงานเกษตรมากกว่า จึงตัดสินใจหันมาช่วยพ่อแม่ปลูกข้าวและทำไร่อ้อย “ปี 2555 เริ่มปลูกข้าวทำนา เพราะตอนนั้นข้าวราคาดี พอมาถึงยุคที่อ้อยแพงก็หันมาทำอ้อย แล้วผันตัวเองเป็นเถ้าแก่อ้อย ออกรถคีบ รถสิบล้อ รถหกล้อ แบบครบวงจร เพื่อทำไร่อ้อย ซึ่งทุกอย่างเป็นไปได้ดี จนกระทั่ง ปี 2559 ราคาอ้อยตกต่ำ สู้ค่าคนงานไม่ไหว ต้องติดหนี้จากการกู้เงินมาทำไร่อ้อยเป็นหลักล้าน จึงคิดว่าถ้าทำไร่อ้อยต่อไปไม่รอดแน่นอนจึงเบนเข็มเปลี่ยนมาทำเกษตรผสมผสาน บนพื้นที่ 24 ไร่ โดยเริ่มจากการปลูกปาล์มน้ำมัน กล้วย พริก พืชผักสวนครัว และมะละกอ เป็นพืชหลัก” คุณมาศ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นทำเกษตรผสมผสาน ติดหนี้จ
กระแสรักสุขภาพยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง หากเกษตรกรท่านใดอยากจะสร้างรายได้และช่องทางการตลาดเพิ่ม การทำเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรปลอดสารพิษ ถือเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์ เพราะไม่เพียงแต่ดีต่อสุขภาพของตัวเอง แต่ยังดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค และที่สำคัญคือ สินค้าที่เป็นเกษตรอินทรีย์จะขายได้ราคาดี และเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถกำหนดราคาขายได้เอง ซึ่งการเกษตรที่ใช้สารเคมีไม่สามารถทำได้ คุณสำราญ แคยิหวา อดีตประธานยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ 2 สมัย อยู่บ้านเลขที่ 177 หมู่ที่ 3 ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล เล่าว่า จากเดิมตนมีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำสวนยางมาก่อน แต่เลิกทำสวนยางแล้วหันมาทำไม้ผลชนิดอื่นเพราะมีแรงจูงใจ จากการที่ชอบไปเยี่ยมชมสวนของคนอื่น ได้เห็นวิธีการทำและการแก้ปัญหาของเขาแล้ว รู้สึกว่าชอบ เพราะนิสัยส่วนตัวเป็นคนที่ชื่นชอบแก้ปัญหา ชอบคิดอย่างไม่หยุดนิ่ง อย่างปลูกพืชก็จะมีโรคแมลงหรือปัญหาต่างๆ ให้หาวิธีแก้ แต่กับยางพาราทำอะไรเดิมๆ กรีดยางก็กรีดอยู่แบบนั้น ที่เดิมไม่ได้ออกไปเจออะไรใหม่ๆ จึงเกิดแรงจูงใจที่จะไปทำไม้ผล และพืชที่เลือกปลูกหลังจากเลิกกรีดยางคือ มะละกอ ด้วยเหตุผลที่มะละกอสามารถมีผลผลิตให้เก็บข
คุณวิศิษฐ์ แสนบัวโพธิ์ อายุ 36 ปี หรือ คุณโมค ลูกชายพ่อพัด แม่พันปี แสนบัวโพธิ์ เปิดสวนพื้นที่ 14 ไร่ ให้สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชม พื้นที่ตั้งแต่ปากทางเข้าอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ติดถนนสายหลัก ประมาณ 100 เมตร ซ้ายมือมองเห็นหอถังน้ำเพื่อการเกษตร นั่นแหละใช่เลย จบการศึกษาปริญญาตรี เทคโนโลยีอาหาร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ 5 หมู่ที่ 7 บ้านบัวทอง ตำบลบัวคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทร. (088) 772-1448 แต่งงานแล้ว กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวธิดา ชาปัญญา คุณวิศิษฐ์เป็นคนน่ารัก เอื้ออาทร อารมณ์ดี พร้อมเล่าให้ฟังว่า เมื่อกรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายเรื่อง Young smart farmer (YSF.) เกษตรกรคนรุ่นใหม่ ตนเองได้รับการสนับสนุนจาก คุณเรืองศักดิ์ ถนอมสิทธิ์ เกษตรอำเภอโพธิ์ชัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรหรือเกษตรตำบล โดยเฉพาะ ท่านประยงค์ ภูดินทราย เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ให้ความสำคัญเรื่อง YSF. “การเริ่มต้นที่ดีเท่ากับสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง” เป็นเกษตรกรคนรุ่นใหม่ต้องมีการวางแผนที่ดี แผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เช่น ตนเองปลูกป่า 2-2-0 ไร่ ปลูกต้นไม้ยาง
คุณอิศรากรณ์ พลธรรม ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดเลย เริ่มทำเกษตรด้วยหลักคิดหัวสมัยใหม่ ซึ่งเมื่อก่อนที่บ้านทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำนา มีรายได้ไม่แน่นอน จึงปรับเปลี่ยนหันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน วางแผนการปลูกพืชให้ตรงต่อความต้องการของตลาด ผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพื่อการสร้างรายได้ที่ยั่งยืน โดยถือคติว่า “ถ้าอยากทำเกษตรให้ก้าวหน้าและยั่งยืน จะต้องทิ้งตำราแบบเดิมๆ” ปลูกพืชหมุนเวียน สร้างรายได้ตลอดทั้งปี “หาตลาดก่อนวางแผนการผลิต” โดย คุณอิศรากรณ์ บอกว่า ถ้าอยากทำเกษตรให้ก้าวหน้าและยั่งยืน จะต้องทิ้งตำราแบบเดิมๆ “เราจะไม่ปลูกก่อนแล้วหาตลาดทีหลังอย่างแน่นอน เราต้องศึกษาหาตลาดก่อนปลูก และเลือกปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ เริ่มต้นจากการเปลี่ยนไร่เลื่อนลอยของพ่อแม่มาปลูกมันเทศญี่ปุ่นสีส้มส่งสหกรณ์แก้วเกษตร ปลูกสลับหมุนเวียน แบ่งพื้นที่ปลูกเดือนละ 1 ไร่ และมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้มีผลผลิตส่งสหกรณ์ให้ได้เดือนละ 2 ครั้ง ต้นทุนการปลูกคิดเป็นครึ่งต่อครึ่งของรายได้ 1 เดือน ขายมันเทศได้เงิน 60,000 บาท จากนั้นเริ่มมองหาช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม ด้วยการดูออเดอร์ที่ทางสหกรณ์ต้องการ แต่ผลผล
ผู้เขียนและทีมงานได้มีโอกาสขึ้นเหนือไปที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภองาว อยู่ห่างจากตัวจังหวัดลำปาง ประมาณ 80 กิโลเมตร หมายถึงในเขตของตัวอำเภองาว แต่สำหรับสวนไผ่ซางหม่น และไผ่หวาน ของ น้องเปา จะอยู่กึ่งกลาง ระหว่างตัวจังหวัดลำปางและอำเภอ คืออยู่ห่างจากอำเภองาว ประมาณ 25 กิโลเมตร คือตำบลบ้านหวด หมู่ที่ 5 สมัยแต่ก่อนนั้นในละแวกนี้เรียกว่าเป็นป่าดงดิบเลยก็ว่าได้ เพราะอยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดลำปาง เกือบ 100 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดพะเยา ประมาณ 50 กิโลเมตร น้องเปา หรือชื่อจริงว่า คุณสุสาณี นันท์ตา เธอเล่าให้ฟังว่า พ่อแม่ของเธอเป็นคนจังหวัดแพร่ อยู่ที่อำเภอร้องกวาง เธอได้เรียนหนังสือที่โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ ชั้น ม.3 แล้วต้องออกจากการเรียน ตามพ่อแม่มาทำไร่ข้าวโพดและค้าขายที่อำเภองาว อยู่ห่างจากจังหวัดแพร่ ประมาณ 140 กิโลเมตร น้องเปา เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (อายุ 34 ปี) เธอเล่าว่า ตอนอพยพมาทำไร่ข้าวโพด พ่อได้เช่าที่ดินเขา 10 ไร่ ทำพืชไร่ คือ ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ซึ่งค่าเช่าสมัยนั้นราคาไม่กี่บาท เป็นที่ดินติดถนนใหญ่ สมัยนี้เป็นถนนลาดยาง แต่ก่อนนั้น (20 กว่าปี) เป็นถนนลูกร