ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์
คุณภาณุวิชญ์ พรมดอนยาง หรือ คุณดรีม อยู่บ้านเลขที่ 118 หมู่ที่ 7 ตำบลปอพาน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ต้นแบบ วางแผนสร้างอนาคตก่อนเรียนจบ ด้วยการปรับผืนดินของที่บ้านมาทำสวนผสมผสาน ปลูกพืชผักผลไม้นานาชนิด จนประสบผลสำเร็จหลังเรียนจบออกมาผลผลิตที่เคยปลูกไว้เก็บขายได้พอดี กลายเป็นเจ้าของฟาร์มเกษตรตั้งแต่อายุยังน้อย คุณดรีม เล่าถึงจุดเริ่มต้นการเป็นเกษตรกรอายุยังน้อยว่า ด้วยพื้นฐานนิสัยเป็นคนชอบงานด้านการเกษตรอยู่แล้ว ในตอนที่ต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย จึงไม่มีความกังวลในการเลือกคณะที่จะเข้าศึกษาต่อเลย สามารถตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสาขาพืชศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์อย่างไม่ลังเล ซึ่งหลังจากที่ได้เข้ามาอยู่ในสาขาวิชาที่ชอบแล้วตนเองก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเพื่อที่เก็บเกี่ยวความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ภายในสวนของตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ก็ได้มีการวางแผนสร้างอนาคตหลังจากเรียนจบไปในตัวด้วยการเริ่มต้นปลูกพืชผัก ผลไม้ไว้แต่เนิ่นๆ โดยยึดหลักการตลาดนำการผลิตในพืชทุกชนิด เน้นพืชที่มีตลาดรองรับ ไม่ต้องดิ้นรนหาตลาดเอง พยายามมองหาตลาดจากสิ่งใกล้ตัว เนื่องจากพื้นที่แถวบ้าน
“เป้” หรือ คุณภัทรพงษ์ เรียบร้อยเจริญ หนุ่มไอทีวัย 37 ปี ทำงานประจำที่กรุงเทพฯ มานานนับสิบปี ตัดสินใจแบ่งเวลาว่าง มาเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรตามรอยพ่อแม่ ในชื่อ Oppa Farm ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี คุณเป้ ปลูกเมล่อนญี่ปุ่น มะเขือเทศยุโรป ผักสลัดในระบบเกษตรอินทรีย์ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) และมาตรฐาน Q อาหารปลอดภัยจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรียบร้อยแล้ว สินค้าทุกชนิดขายดีจนผลิตไม่ทันกับความต้องการตลาด สมัครเข้าโครงการ YSF “เมื่อ 3 ปีก่อนผมตั้งใจกลับบ้านมาช่วยครอบครัวทำอาชีพเกษตร เพื่อจะมีเวลาว่างดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด แต่ผมไม่มีพื้นฐานความรู้เรื่องการทำเกษตรเลย จึงเริ่มต้นขอความรู้เรื่องการทำเกษตรจากพ่อแม่ก่อน หลังจากนั้นเดินเข้ากรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อขอคำแนะนำจากนักวิชาการเกษตรโดยตรง ต่อมาผมสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer (YSF) ปี 2564 จังหวัดกาญจนบุรี ได้แลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายด้านการตลาดร่วมกับเพื่อนเกษตรกรในท้องถิ่น” คุณเป้ กล่าว นางสาวกวินทรากานต์ มาลัยทองแก้วสุภา เกษ
“ไส้เดือน” สัตว์มหัศจรรย์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ มีความสำคัญอย่างมากในการย่อยอินทรีย์สารในดิน และการเคลื่อนที่ในดินของไส้เดือน ถือเป็นการพรวนดิน ทำให้ดินมีช่องว่างที่จะเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ดิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการปลูกพืช อีกทั้งยังใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพจากไส้เดือนได้ สอดคล้องกับเทรนด์รักสุขภาพที่กำลังมาแรง ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากขึ้น ส่งผลทำให้การเพาะเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างเงินให้กับเกษตรกรได้ไม่น้อย คุณศิวภรณ์ นภาวรานนท์ หรือ พี่แต้ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 53/5 หมู่ที่ 3 ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี สาวนักเรียนนอก จบการศึกษาระดับปริญญาโท จาก University of La Verne ; California ; USA คณะ MBA บริหารธุรกิจ สาขาวิชา Supply chain management สู่วิถีชีวิตการเป็นเกษตรกรเพาะเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไส้เดือน และปัจจัยพื้นฐานในการทำการเกษตร เช่น มูลไส้เดือนสด ดินพร้อมปลูก น้ำสกัดมูลไส้เดือน สร้างรายได้มากถึงหลักแสนต่อเดือน พี่แต้ เล่าถึงสาเหตุของการผันตัวเป็นเกษตรกรให้ฟังว่า เกิดขึ้นจ
อาชีพเกษตรกรรม หลายคนมองว่าเป็นอาชีพที่ทำแล้วร่ำรวย หลายคนก็บอกอีกว่าอาชีพเกษตรกรรรมไม่ได้ทำแล้วร่ำรวยเท่าอาชีพอื่น แต่ก็สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัวได้ สรุปแล้วการทำอาชีพเป็นเกษตรกรจะทำให้ร่ำรวยหรือทำแล้วจนลง ก็คงอยู่ที่ทัศนคติของแต่ละบุคคลไป บางคนทำเพื่อหาความสุข ได้ทำสิ่งที่ตัวเองรัก บางคนทำเพื่อเงินตรา สุดแล้วแต่ทางที่เลือกเดิน คุณชัยวัฒน์ อัมภวา อยู่บ้านเลขที่ 38 หมู่ที่ 3 ตำบลสบป่อง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์รุ่นใหม่ที่เลือกดำเนินอาชีพเกษตรกรรมตามรอยครอบครัว และเลือกเส้นทางการทำเกษตรเพื่อความสุขมานานกว่า 15 ปี ลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ จนค้นพบความสุข ความสำเร็จ และเป็นสิ่งที่รัก เงินตราเป็นสิ่งที่รองลงมา คุณชัยวัฒน์ เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำเกษตรตนได้ทำงานเป็นพนักงานโรงงานอยู่ระยะเวลากว่า 2 ปี จึงรู้ว่างานที่ทำอยู่ไม่ใช่ทางที่ชอบ ทำงานอยู่อีกที่แต่ใจคิดถึงแต่บ้านตลอด จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยน ทำให้ต้องลาออกจากงานแล้วกลับมาบ้าน มาเริ่มทำการเกษตร เพราะโดยพื้นฐานครอบครัวเป็นเกษตรกรอยู่แล้ว ได้มีโอกาสสัมผัสชีวิตเกษตรมาตั้งแต่เด็กๆ จึงเลือกที่จะเดินตามรอยพ่อแล
“จากเป็นคนที่ไม่เคยศรัทธาในอาชีพเป็นเกษตรกรมาก่อน เห็นพ่อกับแม่ทำ แต่ไม่นึกใส่ใจ แต่เมื่อเจอปัญหา อาชีพที่เรามองข้ามกลับมาช่วยเราปลดหนี้ พ่อเราจับจอบจับเสียมแต่สามารถช่วยเราปลดหนี้ที่เราไปทำล้มเหลวมาได้ จึงเริ่มเกิดความศรัทธาในอาชีพเกษตรกรรมขึ้น จนมีความคิดที่ว่าอาชีพเกษตรกรรมนี่แหละจะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับตัวเองและคนในครอบครัวต่อไปได้”…คำสารภาพ ของ คุณกัลยา คุณกัลยา พงสะพัง (พี่ยา) ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์สาวขอนแก่น อยู่บ้านเลขที่ 70 หมู่ที่ 14 ตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เล่าว่า อดีตตนเคยทำงานที่บริษัทเกี่ยวกับยางรถยนต์มาก่อน ทำอยู่ในส่วนฝ่ายจัดการผู้บริหารระดับสูง และประกอบธุรกิจส่วนตัวรับเหมาก่อสร้างควบคู่กันไป ไม่เคยศรัทธาในอาชีพเป็นเกษตรกรที่พ่อกับแม่ทำมาก่อนเลย คิดว่าจะทำงานอยู่กรุงเทพฯ ไปจนแก่ แต่ก็เกิดจุดพลิกผันธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ทำมีปัญหา ไปได้ไม่สวยอย่างที่คิด จำเป็นต้องยุบกิจการแล้วกลับบ้าน แต่ก็ไม่ได้กลับบ้านแบบสวยๆ เพราะติดหนี้จากธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นเงินกว่า 10 ล้านบาท ส่วนงานประจำที่ทำอยู่ก็ยังสามารถทำต่อได้ แต่ด้วยสภาพจิตใจที่ท้อและหมดแรง
อาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่หลายคนมองว่าลำบากทำไปก็เหนื่อยเปล่า แต่ก็ยังมีอีกหลายคนมองอาชีพเกษตรเป็นทางรอด ต่างคนต่างทัศนคติ แต่สำหรับคนที่มีทางเลือกน้อย วุฒิการศึกษาไปแข่งกับคนอื่นไม่ได้ จึงมองว่าหากไม่ย่อท้อ มีมันสมองและสองมือ อาชีพเกษตรอาจจะเป็นทางรอดที่ยั่งยืนให้เขาในอนาคตก็เป็นได้ คุณศุภชัย เณรมณี หรือ คุณกอล์ฟ อยู่บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 5 ตำบลมงคลธรรมนิมิตร อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง เกษตรกรผู้สู้ชีวิตไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา เล่าว่า อดีตตนเองทำงานเป็นจับกังได้ค่าแรงวันละร้อยกว่าบาท แต่ก็ต้องยอมเพราะมีทางเลือกไม่มาก เรียนจบแค่ ป.3 ไปสมัครงานบริษัทเขาก็ไม่รับเพราะไม่มีคุณสมบัติที่เขาต้องการจึงต้องยอมลำบากทำงานรับจ้างได้ค่าแรงหลักสิบหลักร้อย แต่ต้องเลี้ยงคนที่บ้านอีก 7 ชีวิต พ่อแม่ก็ต้องช่วยกันเก็บผักจับปลามาเป็นอาหาร มีนาข้าวก็ทำได้ปีละครั้ง สมัยนั้นข้าวมีราคาเกวียนละแค่ 3,500 บาท ใช้จ่ายได้สามสี่เดือนก็หมดต้องไปเชื่อร้านค้ากินเป็นอาทิตย์ชนอาทิตย์ ภรรยาก็เพิ่งคลอดลูกจะมาอยู่แบบเดิมไม่ได้แล้ว มีลูกเพิ่มมาอีกชีวิตต้องหาทางทำอะไรสักอย่าง เลยหันมาสังเกตวิถีชีวิตที่ตัวเองอยู่ มีผักให้เก็บกิน แล้วถ
คุณอรรถพล ไชยจักร อยู่บ้านเลขที่ 176 หมู่ที่ 10 ตำบลดอนอะราง อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ หนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง อดีตวิศวกรไฟฟ้า ผันตัวเป็นเกษตรกร ใช้เวลาศึกษา ล้มลุกคลุกคลาน ทดลองทำเกษตรมาหลายรูปแบบกว่าจะค้นพบรูปแบบที่ใช่ มาดูกันว่าเส้นทางในสายอาชีพการเกษตรของคุณอรรถพล จะผ่านอะไรมาบ้าง แล้วเขามีวิธีจัดการสวนอย่างไร ความรู้จากอาชีพเดิมวิศวกรไฟฟ้าจะเข้ามามีบทบาทช่วยในการจัดการสวน ลดต้นทุนได้อย่างไรบ้าง คุณอรรถพล ไชยจักร เล่าถึงจุดเริ่มต้นก่อนที่จะผันตัวเป็นเกษตรกรว่า เดิมตนมีภูมิลำเนาเป็นคนจังหวัดบุรีรัมย์โดยกำเนิด แต่พอตอนอายุ 10 ขวบ มีโอกาสได้เข้ามาศึกษาและใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพฯ ยาวจนถึงเรียนจบปริญญาตรี และได้ทำงานเป็นวิศวกรไฟฟ้าที่กรุงเทพฯ ต่ออีกนานหลายปี จนเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ได้มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น คิดทบทวนสิ่งที่ลูกคนหนึ่งควรจะทำคือ การได้กลับไปดูแลพ่อและแม่ที่ต่างจังหวัด จึงคิดอยากกลับมาหางานทำที่บ้านเกิด โดยเลือกที่จะเป็นเกษตรกรวันหยุดก่อน คือทำงานประจำควบคู่กับการบุกเบิกพื้นที่ทำสวนไปด้วย ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายมากเพราะพื้นฐานครอบครัวไม่มีใครทำเกษตรมาก่อน คุณพ่อรับราชการครู คุณแ
เกษตรอินทรีย์ดีอย่างไร ทำไมเกษตรกรยุคใหม่ถึงหันมาใส่ใจทำกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดมาจากความเบื่อหน่ายในการทำเกษตรโดยที่ต้องพึ่งสารเคมี ทำให้มีต้นทุนสูง ทำกี่ครั้งก็เป็นหนี้ มิหนำซ้ำยังส่งผลกระทบไปถึงสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมก่อนวัยอันควร เนื่องจากได้รับสารพิษจากปุ๋ยเคมีที่ฉีดพ่นเข้าไปทุกวัน ดังนั้น จะดีแค่ไหนหากเกษตรกรลองปรับเปลี่ยนทัศนคติแบบเดิมๆ แล้วหันมาพึ่งธรรมชาติ ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุนกันให้มากขึ้น ที่นอกจากจะได้สุขภาพที่ดีกลับคืนมาแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังถือเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยปลดหนี้ให้เกษตรกรได้อีกด้วย คุณศรายุธ คงทะเล หรือ พี่บอย ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ประจวบคีรีขันธ์ อยู่บ้านเลขที่ 123 หมู่ที่ 4 ตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้มีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเดิมๆ จากเมื่อก่อนมุ่งมั่นทำแต่เกษตรเคมี สุขภาพก็มีแต่จะแย่ลง ลองหันมาปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรแบบเดิมๆ ที่ต้องพึ่งสารเคมีเพียงอย่างเดียว ปรับมาเป็นการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุน ซึ่งก็ได้ผลดีเป็นอย่างมาก แถมปุ๋ยที่หมักไว้ใช้เองยังเปลี่ยนเป็นเงินได้อีกด้วย พี่บอย เ
“มะลิ” นับเป็นไม้ดอกที่มีบทบาทในสังคมไทยเป็นอย่างมาก ด้วยเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ มะลิถือเป็นไม้มงคลใช้ในการบูชาพระ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ประจำวันแม่ เป็นดอกไม้ที่มีคุณค่าทางจิตใจ สื่อความหมายที่เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกล และผลิดอกออกตลอดทั้งปี จึงส่งผลให้ดอกมะลิกลายเป็นไม้ดอกทำเงินให้กับเกษตรกรได้อย่างไม่ขาดสาย คุณศิระศักดิ์ กล่อมเสนาะ หรือ พี่เล็ก เจ้าของสวนมะลิศักดิ์ชัยคลอง 12 อาศัยอยู่ที่ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เกษตรกรรุ่นใหม่ผู้สืบทอดสวนมะลิของครอบครัวที่ปลูกมายาวนานกว่า 20 ปี เน้นการปลูกอย่างมีคุณภาพ ดูแลให้ทั่วถึง เด่นที่การทำตลาดดิลิเวอรี่ส่งถึงหน้าร้านโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง สร้างยอดขายวันละครึ่งหมื่น พี่เล็ก เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้พ่อแม่ของตนเองเป็นเกษตรกรชาวสวนส้ม ปลูกส้มเขียวหวาน หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “ส้มรังสิต” แต่พอมาถึงช่วงสักประมาณปี 38 เกษตรกรชาวสวนส้มในโซนรังสิตต้องเผชิญกับโรคกรีนนิ่ง ส่งผลทำให้ส้มที่ปลูกทรุดโทรมและแห้งตาย และด้วยปัญหาเหล่านี้จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนทำให้คุณพ่อและพี่ชายของตนเองเริ่มหันมาทดลองปลูกมะลิ ตามคำแนะนำข
สำหรับในประเทศไทย พบจิ้งหรีดได้ทั่วทุกภูมิภาค ชนิดของจิ้งหรีดที่พบ ได้แก่ จิ้งหรีดทองดำ จิ้งหรีดทองแดง (จิ้งโกร่ง หรือ จิ้งกุ่ง) แต่ในฉบับนี้จะขอกล่าวถึงการเลี้ยงจิ้งหรีดทองแดงลาย หรือในภาษาอีสานเรียกว่า แมงสะดิ้ง นับเป็นจิ้งหรีดอีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมากที่สุด เพราะเป็นจิ้งหรีดที่มีขนาดเล็ก ให้ไข่เยอะ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน นอกจากนี้ ยังมีโครงสร้างร่างกายที่ไม่แข็งเกินไป ง่ายต่อการนำไปแปรรูปและต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อการส่งออกอีกด้วย คุณอิงครัตน์ ธัญศิรธนารมย์ หรือ พี่ซอนญ่า อยู่บ้านเลขที่ 88 บ้านหนองโสน หมู่ที่ 11 ตําบลหนองข่า อําเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ อดีตนักวิชาการด้านอาหารสัตว์ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงแมงสะดิ้ง สู่การก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองโสน สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้คนในชุมชนแต่ละเดือนไม่น้อย พี่ซอนญ่า บอกเล่าถึงที่มาของการเลี้ยงแมงสะดิ้งให้ฟังว่า ตนเองเริ่มทำการทดลองเลี้ยงจิ้งหรีดหรือแมงสะดิ้ง ในปี 2559 ซึ่งถ้าหากย้อนไปตอนนั้น จิ้งหรีดยังไม่ถูกยกให้เป็นแมลงเศรษฐกิจ และยังไม่มีการรับรองมาตรฐาน GAP เกิดขึ้น แต่สาเหตุที่ทำให้ตัดใจเลี้ยงจิ้