สวนยางพารา
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) เปิดเผยถึงการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานและนวัตกรรมเกษตร บ้านราษฎร์พัฒนา หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี นายวีระศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดินระดับจังหวัด ประจำปี 2568 สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานและผู้ก่อตั้ง ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือการเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการทำการเกษตรผสมผสาน การใช้นวัตกรรมทางการเกษตร โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในภาวะที่ภาคเกษตรต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง และความท้าทายหลายด้าน เกษตรผสมผสานจึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดทั้งปี สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ลดรายจ่ายภายในครัวเรือนและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก สศท.8 ลงพื้นที่ติดตามและเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสัมภาษณ์นายวีระศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ บอกเล่าว่า ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานและนวัตกรรมเกษตร ได้พัฒนาจากสวนยางพารา บนพื้นที่ 12 ไร่ โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นเกษตรผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มรายได้ แบ่งเป็น 1. แปลงเรียนรู้การทำสวน
กยท. เผยฝนตกหนักทั่วภาคใต้ ส่งผลกระทบพื้นที่สวนยาง 11 จังหวัด กว่า 5.5 ล้านไร่ ทำให้ผลผลิตยางธันวาคม 67 หายจากระบบตลาดถึง 1.4 แสนตัน ส่งเจ้าหน้าที่เร่ง สำรวจความเสียหายและเยียวยาหลังน้ำลด นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้เกิดน้ำท่วมน้ำขังครอบคลุมทั่ว 11 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา และสงขลา ซึ่ง กยท. โดยกองวิจัยเศรษฐกิจยาง ฝ่ายเศรษฐกิจยางได้คาดว่ามีสวนยางเปิดกรีดที่ได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกหนักในครั้งนี้ จำนวน 5,592,621 ไร่ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตยางในช่วงเดือน เดือนธันวาคม 2567 หายไปกว่า 142,963.23 ตัน คิดเป็นร้อยละ 24.75 ของผลผลิตยาง ในเดือนนี้ เนื่องจากสภาพการณ์ฝนตกต่อเนื่องทำให้เกษตรกรไม่สามารถออกไปกรีดยางและทำให้ เครื่องมืออุปกรณ์ในการกรีดยางเสียหาย ด้วยสาเหตุเหล่านี้อาจทำให้ผลผลิตยางขาดตลาดได้ นายสุขทัศน์ กล่าวว่า ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ กยท. ในพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือโดยมอบถุงยังชีพบรรจุข้าวสาร อาหารแห้ง และสิ่งของ
บึงกาฬ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีการเกษตรที่สำคัญ โดยพืชที่มีการปลูกมากที่สุดคือยางพารา รองลงมาคือการทำนา แต่หลายปีที่ผ่านมาราคายางพารามีการรับซื้อที่ผันผวน บางช่วงราคาการรับซื้อราคาลดลง ทำให้เกษตรกรได้มีการปรับตัวในเรื่องของการทำการเกษตรที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การปลูกพืชแซม การทำเกษตรผสมผสาน และการเลี้ยงสัตว์ภายในสวนยางพารา จึงช่วยให้เกษตรกรมีรายได้จากช่องทางอื่นตามมาด้วย คุณสมัคร พิมพิลา อยู่บ้านเลขที่ 227 หมู่ที่ 10 ตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เป็นเกษตรกรที่ทำสวนยางพาราอยู่ในพื้นที่ โดยในช่วงที่ราคายางพาราตกต่ำ เขาเองก็ได้มีการปรับตัวในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต ได้นำสุกรเข้ามาเลี้ยงเพื่อนำมูลมาใส่ลงในต้นยางพารา แต่เมื่อเลี้ยงจนประสบผลสำเร็จ ต่อมาจึงเลี้ยงแบบครบวงจร สร้างรายได้ดีควบคู่ไปกับการทำสวนยางพารา จากเลี้ยงสุกรเก็บมูลเป็นปุ๋ย สู่การเลี้ยงแบบครบวงจร คุณสมัคร เล่าให้ฟังว่า การเลี้ยงสุกรของเขานั้นเริ่มแรกไม่ได้มีแนวคิดที่จะเลี้ยงเป็นอาชีพ โดยการเลี้ยงเพียงแค่อยากได้ปุ๋ยคอกอย่างขี้หมูมาใส่ให้ต้นยางพาราเท่านั้น แต่ในช่วงนั้นขี้หมูในพื้นที่ค่อนข้างที่จะหาได้ยาก เขาจึงได้ตัดส
การปลูกพริกไทยพุ่มแซมยางพารา คุณสมนึก ฉิมปลอด บ้านเลขที่ 58 หมู่ที่ 6 ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เกษตรกรผู้ปลูกพริกไทย เล่าว่า พริกไทยที่ปลูกอยู่ในปัจจุบัน เป็นพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่ที่บริเวณเทือกเขาบรรทัด เกษตรกรเมื่อเข้าป่าไปหาของป่าพบเจอเข้า ได้นำมาปลูกในพื้นที่ของตนและขยายพันธุ์แพร่หลายมากขึ้น และปลูกในลักษณะสวนหลังบ้านมาหลายชั่วอายุคนจนถึงปัจจุบัน ต่อมามีความสนใจการปลูกพริกไทยเพื่อเป็นอาชีพมากขึ้นจึงเริ่มมีการขยายพันธุ์และปลูกกันทั่วไปในอำเภอนาโยง โดยตนเองได้ปลูกพริกไทยซึ่งมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 1 ไร่ โดยปลูกทั้งแบบสวนเดี่ยวและแซมในสวนยาง วิธีปลูกพริกไทยของอำเภอนาโยง มี 2 วิธี คือ การปลูกพริกไทยค้าง เกษตรกรปลูกให้ต้นพริกไทยเลื้อยขึ้นไปบนเสาปูน หรือไม้แก่น หรือต้นยอ ซึ่งผลผลิตจะออก 1 ครั้ง ต่อปี ในช่วงฤดูแล้ง การปลูกพริกไทยพุ่ม เกษตรกรคัดเลือกกิ่งแขนงมาขยายพันธุ์ มักใช้วิธีเสียบยอดโดยใช้ต้นตอเป็นต้นโคโลบีนั่ม แล้วนำไปปลูกลงดิน หรือปลูกในภาชนะ เช่น ตะกร้า วิธีนี้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าค้างพริกลงไปได้ สามารถปลูกแซมในสวนอื่นๆ เช่น สวนยางพารา หรือสวนไม้ผลต่างๆ ได้
นายการุณย์ มะโนใจ เกษตรอำเภอเชียงม่วน นางสาวชมพูนุช ชุมภูปฏิ นวส.ชำนาญการ สนง.กษอ.เชียงม่วน นางสาวพรพิมล ใจมะสิทธิ์ ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพะเยา และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบแปลงยางพาราของเกษตรกรที่ยื่นเอกสารขอเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางพารา ระยะที่ 3 ณ แปลงยางพาราหมู่ที่ 8 ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งได้ชี้แจงรายละเอียดความถูกต้องแก่เกษตรกรเป็นที่เข้าใจเรียบร้อยแล้ว เมื่อเร็วๆ นี้
นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 สงขลา (สศท.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสว่า ปัจจุบันจังหวัดนราธิวาสมีพื้นที่ปลูกยางพารา จำนวน 929,888 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 58 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดในจังหวัด) ซึ่งจากรายงานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดนราธิวาส (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม 2565) พบการระบาดซ้ำในพื้นที่ จำนวน 13 อำเภอ รวมพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น จำนวน 753,698 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 81 ของพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมดในจังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบจำนวน 66,281 ราย สำหรับอำเภอที่พบการระบาดมากที่สุดคือ อำเภอสุคิริน ซึ่งพบการระบาด 76,800 ไร่ (คิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมดในอำเภอ) รองลงมาคือ อำเภอระแงะ พบการระบาด 96,759 ไร่ (ร้อยละ 93 ของพื้นที่ปลูกยางในอำเภอ) อำเภองี่งอ พบการระบาด 29,725 ไร่ (ร้อยละ 92 ของพื้นที่ปลูกยางในอำเภอ) และอำเภอบาเจาะ พบการระบาด 21,799 ไร่ (ร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกยางในอำเภอ) สำหรับแผนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยาง
คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบปรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางใหม่ เน้นดูแลเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศอย่างทั่วถึง สร้างความเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิประโยชน์ เตรียมออกประกาศคณะกรรมการ กยท. เร็วๆ นี้ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะเลขานุการฯ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า วันนี้ที่ประชุมบอร์ด กยท.ครั้งที่ 10/2564 มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 โดยเพิ่มเติมเอกสารที่สามารถนำมาประกอบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางได้ เพื่อขยายโอกาสให้เกษตรกรชาวสวนยางมีเอกสารรับรองอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ บัญชีเอกสารหลักฐานที่ดิน 2 ในส่วนของหนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์จากที่ดินรัฐของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น รวมทั้งมีการปรับปรุงแบบเอกสารประกอบการขึ้นทะเบียนต่างๆ ได้แก่ แบบคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง (คบก.1) แบบคำขอขึ้นทะเบียนคนกรีดยาง (คบก.2) แบบหนังสือรับรองตนเอง (คบก.6) และแบบบันทึกค่าพิกัดแปลงสวน
สวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ ในช่วงที่ราคายางและปาล์มสูง เกษตรกรมีความสุข เดิมทีการกรีดยางในระยะแรก ใช้แรงงานครอบครัวกรีดยางกันเอง ต่อมามีแรงงานชาวอีสานหันมารับจ้างกรีดยาง โดยแบ่งสัดส่วนรายได้ ระหว่างเจ้าของสวนยางกับแรงงานอยู่ที่ 60 : 40 เป็นมาตรฐาน โดยเจ้าของสวนได้ 60% คนกรีดได้ 40% อาจมีแตกต่างกว่านั้นแล้วแต่ตกลงกัน เมื่อชาวอีสานเริ่มปลูกยางได้ ก็พากันกลับบ้าน คนงานต่างด้าวซึ่งเป็นชาวพม่าเข้ามาแทนที่ ในจังหวะที่ราคายางสูงลิบ ทั้งคนงานและเจ้าของสวนต่างมีความสุขดี เมื่อเจอภาวะยางราคาตก ชาวพม่าค่อยๆ หนีไปทำงานก่อสร้างในเมือง ทิ้งให้ชาวสวนยางกรีดกันเอง เมื่อเจ้าของสวนลงมือกรีดยางเอง จึงพบว่า ช่วงที่ราคายางแพงนั้น ลูกจ้างชาวพม่าเอายาเร่งน้ำยางทามีดกรีดเพื่อให้ได้น้ำยางเยอะๆ ต้นยางจึงโทรมเร็ว ไม่สามารถกรีดได้ครบ 25 ปี จึงเกิดวลีคำหนึ่งว่า “พม่ากรีด ไทยตัด” คือหลังพม่ากรีดยางแล้ว ไทยต้องโค่นยางทิ้งปลูกใหม่ เพราะต้นยางโทรมมาก คุณชาตรี แสงทอง เกษตรกรชาวสวนยาง อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 87 หมู่ที่ 3 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา โทรศัพท์ 086-497-7665 คุณชาต
ยางพารา และปาล์มน้ำมัน นับเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้หลักของจังหวัดกระบี่ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ราคายางพาราและปาล์มน้ำมันผันผวนขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก เกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาที่ลดลง 30-80% ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างมาก ประชากรร้อยละ 60 ของจังหวัดกระบี่ นับถือศาสนาอิสลาม ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และเลี้ยงแพะ ครัวเรือนละ 3-5 ตัวเพื่อการบริโภค ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และวัฒนธรรมอยู่แล้ว แต่แพะที่เลี้ยงมีลูกน้อยและมีอัตราการตายสูง เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่เลี้ยงแพะแบบปล่อย หรือผูกล่าม ไม่มีโรงเรือน ไม่มีแปลงหญ้า ขณะที่ปริมาณความต้องการใช้แพะในจังหวัดกระบี่มีมากกว่าผลผลิตที่มีอยู่ในพื้นที่ จึงต้องนำเข้าแพะจากนอกพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลทางศาสนา เนื่องจากจังหวัดกระบี่ มีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลขึ้นในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ประกอบกับ เนื้อแพะ นมแพะ เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค และตลาดมีความต้องการสูง นายชวน ภูเก้าล้วน นายกสภาการศึกษา จังหวัดกระบี่ (เป็นองค์กรที่สภาประชาชนจัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550) จึงเกิดแนวคิดใช้พื้นที่สวนยางและส
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) อัปเดตสถานการณ์โรคใบร่วงชนิดใหม่ยางพารา ยังคงเกาะติดเดินหน้า เร่งแก้ปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ หนุนนโยบาย และงบประมาณ พร้อมระดมกำลัง ส่งทีมลงพื้นที่สำรวจและติดตามโรคฯ เร่งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จากสถานการณ์เกิดการแพร่ระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราเมื่อปีที่ผ่าน ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดในสวนยางพาราของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางอย่างรวดเร็วเกือบ 800,000 ไร่ใน 10 จังหวัดภาคใต้ ซึ่ง กยท. ได้เร่งดำเนินการจนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้วในระดับหนึ่ง แม้ปีนี้ข้อมูล ณ ปัจจุบันยังคงพบการระบาดอยู่ประมาณ 23,269 ไร่ ใน 6 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา ตรังและสุราษฎร์ธานี ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม กยท. ยังคงให้ความสำคัญ ได้มอบนโยบายและงบประมาณในแต่ละพื้นที่ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหา พร้อมจัดทีมเจ้าหน้าที่ เกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากโรคใบร่วงชนิดนี้ทำให้ต้นยางพาราเกิดใบร่วงอย่างรุนแรงและกระทบถึงปริมาณผลผลิต ส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนโดยตรง นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผ