สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
วันที่ 2 เมษายน 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดกิจกรรม “TVET Smart Idea2Innovation : สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาสู่นวัตกรรมพร้อมใช้” ประจำปี 2568 ครั้งที่ 4 ภาคเหนือ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “TVET Smart Idea2Innovation : บ่มเพาะ เสริมแกร่ง พัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษา สู่นวัตกรรมพร้อมใช้” พร้อมด้วย ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี รองศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการภาค 15 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง “ปลดล็อกศักยภาพ สร้างชาติด้วยนวัตกรรม : บทบาทของอาชีวศึกษาในการขับเคลื่อน TVET Smart Idea2Innovation” ณ โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดพิษณุโลก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึง กิจกรรม “TVET Smart Idea2Innovation : สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาสู่นวัตกรรมพร้อมใช้” ประจำปี 2568 ในสายอาชีวศึกษาเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดค
“ข้าวสังข์หยด” เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพัทลุงที่ปลูกกันมาไม่น้อยกว่า 100 ปี ข้าวพันธุ์นี้ได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้บริสุทธิ์ โดยนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวแห่งศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ข้าวเจ้าเมื่อหุงสุกในรูปแบบข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ รสชาติอร่อย ข้าวสังข์หยดนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวนาเมืองพัทลุง เพราะเป็นข้าวพันธุ์แรกของไทยและของโลก ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา วันที่ 23 มิถุนายน 2549 การปลูกข้าวสังข์หยด ข้าวสังข์หยดพัทลุงผลิตจากแหล่งปลูกธรรมชาติ ที่ได้ชื่อว่า “อู่ข้าว” ของภาคใต้ เป็นแผ่นดินที่ราบระหว่างทิวเขาบรรทัดกับทะเลสาบสงขลา-พัทลุง ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งกำเนิดผลผลิตทางการเกษตรหลากหลายชนิด ชาวนาพัทลุงปลูกข้าวสังข์หยดในฤดูนาปี เดือนสิงหาคม-กันยายน เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป การปลูกข้าวสังข์หยด ครอบคลุม 11 อำเภอ เนื้อที่เพาะปลูกรวม 19,655 ไร่ ผลผลิตรวม 7,976 ตันต่อปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 402 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแหล่งปลูกสำคัญ ได้แก่ อำเภอควนขนุน อำเภอปากพะยูน
วันที่ 30 มีนาคม 2568 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH: Earthquake Research Center of Thailand) จัดการเสวนา “วิจัยมีคำตอบ ลดตระหนก สร้างตระหนัก สู่ทางรอดภัยแผ่นดินไหว” โดยได้รับเกียรติจากนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ (EARTH: Earthquake Research Center of Thailand) ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์สารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นางสาวศุภมาส อิศรภักดี กล่าวถึง สถานการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ตามมาตราริกเตอร์ บริเวณรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และหลายพื้นที่ในประเทศไทย อว. ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลทั้งด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรร
เกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง (คบ.ท่อทองแดง) เนื้อที่กว่า 550,688 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 6 อําเภอ ได้แก่ อําเภอไทรงาม อําเภอพรานกระต่าย อําเภอเมือง อําเภอลานกระบือ จังหวัดกําแพงเพชร และอําเภอคีรีมาศ อําเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ต่างมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง หลังใช้แพลตฟอร์มระบบปฎิบัติการส่งน้ำอัจฉริยะที่มีการจัดสรรน้ำให้ตรงกับความต้องการของพืช ลดการสูญเสียน้ำชลประทานได้ร้อยละ 15 ต่อฤดูกาล นวัตกรรมดังกล่าวเป็นผลงานของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ. ) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย มจพ. ร่วมมือกับกรมชลประทาน นำเทคโนโลยี IoT เช่น เครื่องมือควบคุมสั่งการอาคารส่งน้ำ เครื่องมือติดตามสภาพน้ำในคลองส่งน้ำ เครื่องมือติดตามความชื้นชลประทานของดินในแปลงเกษตรกรรม รวมทั้งใช้ AI Software ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระบบปฎิบัติการส่งน้ำในการจัดสรรน้ำที่เหมาะสมกับช่วงเวลาความต้องการน้ำของพืชและระดับน้ำในคลองส่งน้ำ แบบ Real Time ที่ นำไปสู่การวางแผนการจัดสรรน้ำให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้เกษตรกรได้เรียนรู
ปัจจุบันการผลิตกล้าไม้ของเกษตรกรทั่วไปมักปลูกหรือชำกล้าไม้ในถุงหรือกระถางที่ทำจากพลาสติก เมื่อกล้าไม้ที่เพาะชำในกระถางเจริญเติบโตเต็มที่ เกษตรกรจะนำเอากล้าไม้ออกจากถุงเพาะชำ เพื่อนำกล้าไม้นั้นไปฝังลงในดิน โดยการฉีกถุงพลาสติก ส่วนถุงเพาะชำพลาสติกหรือกระถางพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วก็กลายเป็นขยะ มักถูกทำลายโดยการเผาหรือการฝังในดิน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นักศึกษาวิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ประกอบด้วย น.ส.กชณัช นาคสัมปุรณะ น.ส.วธิศรา รุ่งแสง น.ส.สุชาดา เชื้อมั่น น.ส.จิณภัค ถมของ และ นายณัฐภัทร หิ่มเก่า จึงเกิดแนวคิดออกแบบพัฒนา “กระถางปุ๋ยเพาะกล้าไม้ชีวภาพเสริมธาตุอาหารในดินด้วยจุลินทรีย์ Bacillus megaterium” ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้นมา เพื่อเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งทางการเกษตรตามหลักการ BCG ต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้ในเชิงพาณิชย์ เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ผลงานกระถางปุ๋ยเพาะกล้าไม้ชีวภาพ ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางธรรมชาติที่มีธาตุ N P K เมื่อนำไปใช้งาน สามารถย่อยสลายธาตุอาหารในดินออกมาใช้ประโยชน์ ทำให้พืชสามารถจับสารอาหารในดินที่ต้องการได้มากขึ้นและมีฤทธิ์ในการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราแล้ว ย
วันที่ 16 ตุลาคมของทุกปี กำหนดให้เป็น “วันอาหารโลก” เพื่อสร้างความตระหนักถึงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจาก องค์การสหประชาชาติ (UN) คาดการณ์ว่า ประชากรโลกจะเพิ่มจำนวนจาก 8.5 พันล้านคน ในปี 2030 เป็น 11.2 พันล้านคนในปี 2100 จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เสี่ยงเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหารได้ ทุกประเทศจึงมุ่งสร้าง “นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต” ได้แก่ อาหารฟังก์ชัน (Functional Food) โปรตีนทางเลือก (Alternative proteins) และอาหารอินทรีย์ (Organic Food) ที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เร็วและเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สำหรับกลุ่มอาหารโปรตีนทางเลือก ที่จะทวีความสำคัญในอนาคต ได้แก่ 1. โปรตีนที่ทำมาจากพืช (Plant-based protein) 2. โปรตีนจากแมลง (Insect-based protein) 3. เนื้อที่พัฒนาขึ้นจากเซลล์ของสัตว์ (Lab-grown meat) 4. โปรตีนจากเชื้อราหรือจุลินทรีย์ (Mycoprotein) และ 5. โปรตีนจากสาหร่าย (Algae-based protein) โปรตีนทางเลือกจากข้าว ผลงาน มหาวิทยาลัยรังสิต รศ.ยุพกนิษฐ์ พ่วงวีระกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้ประกอบการ คณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า “ไข่พืช” เป็นโปรตีนพื
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) จัดกิจกรรม “TVET Smart Idea2Innovation : สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาสู่นวัตกรรมพร้อมใช้” ภาคใต้และภาคตะวันตก โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลกิจกรรมติดดาว และมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม ณ โรงแรมหัวหินแกรนด์ แอนด์ พลาซ่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. และ สอศ. มีความเชื่อมั่นว่าผลงานที่นำเสนอในกิจกรรมนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนาไปสู่การใช้งานจริง อันจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งทั้งสองหน่วยงานพร้อมให้การสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง โดยกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากสถาบันอาชีวศึกษาจากภาคใต้และภาคตะวันตก แสดงให้เห็นถึงพลังความคิดสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นของผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษา ในการพัฒนาผลงานที่มีประโยชน์ต่อสังคม นอกจากนี้
เกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และประมง แต่อาชีพเหล่านี้มีความผันผวนทางรายได้เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงภายนอก เช่น ฤดูกาล ราคาตลาด ปริมาณผลผลิต ทำให้เกษตรกรขาดรายได้บางช่วง ขณะที่ราคาไก่พื้นเมืองมีชีวิตมีความผันผวนต่ำ โดยราคาไก่พื้นเมืองน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม ประมาณ 70-120 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนราคาขายไก่เนื้อประมาณ 35-40 บาทต่อกิโลกรัม “ไก่” นับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีแนวโน้มอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากปริมาณความต้องการบริโภคไก่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ “ไก่พื้นเมือง” หรือ “ไก่พื้นบ้าน” จึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญ ที่สร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนและท้องถิ่นมาโดยตลอด โดยครัวเรือนส่วนใหญ่จะเลี้ยงไก่พื้นเมืองไว้เนื่องจากใช้เงินทุนน้อย ดูแลจัดการง่าย ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและทนต่อการเป็นโรคได้ดี ซึ่งการเลี้ยงไก่ไว้ทำให้ครัวเรือนมีความคล่องตัวในการขายหรือนำมาประกอบอาหารตามจังหวะโอกาสที่เหมาะสม ดังนั้น หากส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จะช่วยให้เกษตรกรภาคใต้มีรายได้ตลอดปี เพราะไก่พื้นเมือ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดพิธีปิดกิจกรรม “TVET Smart Idea2Innovation : สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมและนวัตกรรมอาชีวศึกษาสู่นวัตกรรมพร้อมใช้” ครั้งที่ 1ประจำปี 2568 ภาคกลางและภาคตะวันออกและพิธีมอบเกียรติบัตรรางวัลติดดาวผลงานเด่นอาชีวศึกษา จำนวน 16 ผลงาน โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมฯ และมอบรางวัลฯ ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพมหานคร ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า วช. ได้ร่วมมือกับ สอศ. ในการมุ่งเน้นเพิ่มสมรรถนะให้แก่นักเรียนระดับอาชีวศึกษา โดยกิจกรรม “TVET Smart Idea2Innovation : สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาสู่นวัตกรรมพร้อมใช้” ได้เสริมสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิค ด้านการประดิษฐ์คิดค้นตลอดจนการเขียนข้อเสนอโครงงานสิ่งประดิษฐ์ได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้นักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาได้เข้าใจและเห็นประโยชน์ของการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานในเ
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดกิจกรรม “TVET Smart Idea2Innovation : สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมและนวัตกรรมอาชีวศึกษาสู่นวัตกรรมพร้อมใช้” ครั้งที่ 1 โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “TVET Smart Idea2Innovation : บ่มเพาะ เสริมแกร่ง พัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษา สู่นวัตกรรมพร้อมใช้” พร้อมด้วย ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง “ปลดล็อกศักยภาพ สร้างชาติด้วยนวัตกรรม : บทบาทของอาชีวศึกษาในการขับเคลื่อน TVET Smart Idea2Innovation” ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพมหานคร ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ร่วมมือกับ สอศ. ในการมุ่งเน้นเพิ่มสมรรถนะให้แก่นักเรียนระดับอาชีวศึกษา โดยกิจกรรม “TVET Smart Idea2Innovation : สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาสู่นวัตกรรมพร้อมใช้” ได้เสริมสร้างและถ่ายทอดองค์