ส้ม
ตลาดสี่มุมเมือง ศูนย์กลางค้าส่งผักผลไม้และวัตถุดิบอาหารชั้นนำของอาเซียน ขอเชิญอุดหนุนเกษตรกรสวนส้มของไทยในช่วงเทศกาลแห่งความสุข พบกับส้มคุณภาพดีหวานฉ่ำเข้ามาจำหน่ายสด ๆ มากถึงวันละ 100 ตัน คุณปณาลี ภัทรประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานกลยุทธ์ธุรกิจ ตลาดสี่มุมเมือง กล่าวว่า “ตลาดสี่มุมเมือง มีตลาดส้ม ซึ่งจำหน่ายผลผลิตส้มไทยจากเกษตรกรไทย ทั้งขายส่งและขายปลีก ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนมีนาคม จะเป็นช่วงที่ส้มไทยเริ่มทยอยเข้ามาจำหน่ายถึงวันละ 100 ตัน สำหรับที่ตลาดส้มสี่มุมเมือง มีจำหน่ายทุกสายพันธุ์ยอดนิยม อาทิ ส้มสายน้ำผึ้งฝาง หรือส้มโชกุน ซึ่งถือเป็นสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ขึ้นทะเบียน GI ของดีรายการที่ 5 ของ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อแน่น สีสันสวยงาม และรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีปริมาณน้ำมากและวิตามินซีสูงจะทานผลสดหรือนำไปคั้นเป็นน้ำส้มก็อร่อย ส้มเขียวหวาน หรือส้มบางมดผลและเนื้อสีสวยงาม ฉ่ำน้ำ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ส้มภูเรือจากจังหวัดเลย นอกจากนี้ยังมีส้มจากภาคกลาง และบางส่วนของภาคใต้เข้ามาจำหน่ายด้วย เพื่อต้อนรับเทศกาลแห่งความสุข ตลาดสี่มุมเมืองจัดโปรโ
ส้มเขียวหวาน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ส้มบางมด” เทคนิคการเลี้ยงต้นส้มบางมดในช่วงแรกมีการลองผิดลองถูกเรื่องการเลี้ยงต้นส้ม ต้นส้มใช้ระยะเวลาในการเติบโตอยู่ที่ 3 – 6 ปีกว่าจะได้ต้นส้มที่โตเต็มที่และสามรถเก็บเกี่ยวได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ช่วงปีแรกต้นส้มจะแตกใบอ่อนออกมาชาวสวนจะเริ่มกักท้องร่องให้น้ำแห้งเพื่อให้ต้นเหี่ยว และพอถึงฤดูฝนเจ้าฝนที่ตกลงมาในหน้านั้นจะทำให้ต้นส้มยิ่งผลิดอกและออกผลเป็นอย่างดี ปีที่ 2 ชาวสวนจะทำการกักน้ำอีกครั้งเหมือนปีแรก เมื่อเริ่มเข้าปีที่ 3 ต้นส้มจะโตเต็มที่ผลสุกกินได้ ซึ่งโดยส่วนมากชาวสวนจะเก็บผลส้มแค่ช่วงล่างๆ เท่านั้น พวกเขาจำเป็นต้องเหลือส้มไว้เลี้ยงลำต้นด้วย ถัดมาปีที่ 4-5 ปี ชาวสวนถึงจะเก็บช่วงบนของต้นส้มได้ ทำให้ชาวสวนเก็บผลผลิตได้มากกว่าปีแรกๆ และเมื่อเข้าสู่ปีที่ 6 ต้นส้มพร้อมโตเต็มที่เราจึงไม่จำเป็นต้องเลี้ยงลูกไว้อีกแล้ว ชาวสวนสามารถเก็บผลส้มได้ทั้งต้น สรุปได้ว่าเมื่อครบ 1 ปีชาวสวนสามารถเก็บผลผลิตได้เลยไม่จำเป็นต้องเลี้ยงลำต้น ซึ่งนั้นส่งผลทำให้ชาวสวนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และพอส้มเขียวหวานหรือส้มบางมดเริ่มติดผลดก มีผลผลิตตลอดทั้งปี ทำให้ผลตอบแทนต่อไร่จ
ส้มเขียวหวานเมืองลอง เมื่อครั้งอดีตมีชื่อเสียงอันลือเลื่องในรสชาติ ความอร่อย ผลผลิตมีการส่งออกไปทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ย้อนไปเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2525 ผู้เขียนได้ไปเยือนเมืองลอง (อำเภอลอง จังหวัดแพร่) เห็นรถบรรทุกสิบล้อจอดเรียงรายริมถนนหน้าโรงพยาบาลลอง คนงานกำลังขนถ่ายส้มเขียวหวานจากรถบรรทุกสี่ล้อ ทราบว่ากำลังจะขนส่งไปยังปลายทาง ณ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย จึงได้เข้าไปดูแหล่งผลิตต้นทางสวนส้มเขียวหวานแถบริมฝั่งแม่น้ำยม ซึ่งมีสวนส้มเขียวหวานเต็มพื้นที่ บนต้นกำลังติดผลดก มีทั้งผลเล็ก ผลใหญ่ ทั้งสีเขียวและสีทอง ถัดจากนั้นมา 25 ปี ให้หลัง หลายพื้นที่กลายเป็นสวนส้มร้าง ทราบว่าสภาพดินเป็นกรด ดินขาดอินทรียวัตถุ ต้นส้มเขียวหวานอายุมากแล้ว ต้นโทรม ผลผลิตตกต่ำจากโรคและแมลง จึงไม่สามารถคัดเกรดของผลส้มได้ เกษตรกรที่สู้ต่อไปไม่ไหว ก็วางมือ แต่ปัจจุบันเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ปริมาณผลผลิตส้มเขียวหวานในตลาดมีน้อยลง ราคาสูงขึ้น และหาซื้อได้ยาก จึงมีเกษตรกรรุ่นต่อๆ มา ได้หันมาปรับพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานมากรายขึ้น และได้นำบทเรียน ปัญหาจากอดีตมาปรับเปลี่ยนทั้
หนุ่มบ้านห้วยเม็ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย พบรักสาวพะเยา นำประสบการณ์การทำสวนส้มเขียวหวานมาบุกเบิกที่พะเยา คาดอนาคตไร้คู่แข่ง คุณอภิวัฒน์ จันต๊ะคาด หรือ คุณบอม บัณทิตหนุ่มจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จบการศึกษาเมื่อปี 2555 ถูกเกณฑ์ทหาร 1 ปี หลังจากนั้นได้ไปทำงานที่สนามบินสุวรรณภูมิ ตำแหน่ง Load Control (เจ้าหน้าที่ควบคุมน้ำหนักและจัดระวาง) บริษัท Bangkok Flight Services ทำอยู่ประมาณ 1 ปี จึงกลับมาช่วยพ่อแม่ทำสวน แล้วจึงเริ่มมาลงทุนทำสวนที่พะเยา โดยพักอยู่ที่ บ้านเลขที่ 91 บ้านร่องคำหลวง ซอย 8 หมู่ที่ 3 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ถ้าเอ่ยถึง บ้านห้วยเม็ง หลายคนคงจะรู้จักว่าเป็นหมู่บ้านที่ผลิตส้มเขียวหวานที่มีชื่อเสียงมานาน คุณอภิวัฒน์ สั่งสมประสบการณ์การทำสวนส้มเขียวหวานจากพ่อแม่ที่บ้านห้วยเม็งมาแต่เด็กๆ และทราบดีว่าปัจจุบันสวนส้มเขียวหวานประสบปัญหามากมาย ทั้งเรื่องโรคจากเชื้อรา สาเหตุจากเชื้อโรคอื่น แมลงศัตรูส้ม ธาตุอาหาร เมื่อพบรักกับแฟนสาวชาวพะเยา จึงมาบุกเบิกการปลูกส้มเขียวหวานที่บ้านแฟน ตอนนี้ปลูกไป 2 แปลง แปลงแรกปลูกเมื่อ 4 ปีท
เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ในช่วงหลายปีหลังมานี้เราได้เห็นลูกหลานเกษตรกรหลายบ้านหันมาให้ความสนใจกับอาชีพเกษตรกรที่เป็นอาชีพดั้งเดิมพ่อกับแม่ทำมาก่อนแล้ว ถึงแม้ว่าบางบ้านจะส่งลูกไปเรียนไกลถึงเมืองนอกเมืองนา บางบ้านส่งลูกเรียนจนจบปริญญาตรี ไปจนถึงปริญญาเอก ลูกๆ หลานๆ ก็ยังไม่ลืมที่จะกลับมาพัฒนาสานต่องานเกษตรที่เลี้ยงชีวิตพวกเขาให้เติบโตมาอย่างสมบูรณ์แบบอย่างทุกวันนี้ได้ อย่างเช่นว่าที่เกษตรกรสาวอายุน้อยท่านนี้ คุณวริศรา ไกรกิจราษฎร์ หรือ น้องอ้อม อายุ 22 ปี อยู่ที่ตําบลแม่สิน อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ลูกหลานเกษตรกรชาวสวนส้มเขียวหวาน ที่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเธอก็จะเรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี กำลังเป็นเด็กรุ่นใหม่ไฟแรง อาศัยความรักและชอบในการขายของ เข้ามาช่วยทำการตลาดส้มที่สวนของพ่อกับแม่ จากผลผลิตที่เคยราคาตก ขายออกไม่หมด ปัญหาเหล่านี้ไม่มีอีกแล้ว น้องอ้อม เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันตนกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้นปีที่ 4 ใกล้เรียนจบปริญญาตรี จึงได้วางแผนอนาคตตนเองไว้ว่าหลังเรียนจบจะเข้ามาสานต่อสวนส้มเขียวหวานของครอบครัว และบททดสอบก็เข้ามาไวกว่าที่คิด จากสถานการณ์โควิด-19 ที
ส้ม เป็นพืชที่ปลูกยาก มีปัญหาสารพัด แต่ก็ไม่ได้เหนือความสามารถของเกษตรกรชาวสวนของอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา สามารถแก้ไขและปลูกให้ได้ผลผลิตดีและขายได้ คุณสมคิด คำจันทรา เกษตรกรชาวสวน ซึ่งอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 146 หมู่ที่ 4 ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ดีกรีรางวัลเกษตรกรอาชีพทำสวนดีเด่น ระดับเขตภาคเหนือ และรางวัลชมเชย ระดับประเทศ เล่าให้ฟังว่า ตนเองมีอาชีพทำสวนมาตั้งแต่หนุ่ม ทั้งลิ้นจี่ที่เป็นผลไม้มีชื่อของอำเภอแม่ใจ ส้ม และมะม่วง โดยเฉพาะ ส้มตนเองเคยปลูกมาครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2544 หรือเกือบเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องโรคกรีนนิ่ง และราคาไม่จูงใจ จึงล้มต้นส้มไปปลูกมะม่วงแทน จนกระทั่งปัจจุบันมีการทดลอง และแก้ไขปัญหาในเรื่องโรคกรีนนิ่งโดยการใช้ยาปฏิชีวนะเข้ามาแก้ไข และตนเองได้ไปศึกษาเรียนรู้การปลูกส้มสายน้ำผึ้งจากเกษตรกรชาวสวนที่อำเภอฝาง มั่นใจว่า ทำได้ ได้แบ่งพื้นที่มาปลูกส้มสายน้ำผึ้ง โดยซื้อต้นพันธุ์จากอำเภอฝางมาปลูก ตั้งแต่ ปี 2558 โดยปลูกในพื้นที่ 4 ไร่ ระยะห่างระหว่างต้นระหว่างแถว 4×6 เมตร มีจำนวนประมาณเกือบ 300 ต้น ปีที่แล้วขายได้เงินประมาณ 400,000 บาท แต่ป
“แรกๆ ก็เคยลองผิดลองถูกมาโดยตลอด ว่าการทำสวนส้มเขียวหวาน ทำอย่างไรจึงจะให้ได้ผลผลิตตลอดทุกปีแล้วก็ทุกฤดูกาล พอทำได้แล้ว… ทำอย่างไร จะทำให้ลดต้นทุน พอทำได้แล้ว… ทำอย่างไร ถึงจะหลุดพ้นสารเคมี แล้วจะเอาอะไรมาทดแทนสารเคมี พอเราทำได้ทุกคำพูดจึงบอกต่อแนะนำผู้อื่น แนวคิดนี้เกิดขึ้นด้วยตัวเอง จากผู้หญิงตัวเล็กๆ คนนี้ ก็คิดได้และทำได้ แค่นี้อาจจะมีคนเห็นด้วย และมีคนเห็นต่างจากแนวคิดของเรา” คำกล่าวอันเฉียบคมที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเป็นขั้นเป็นตอน จากการตั้งใจทำงาน จริงใจ ในการสร้างจิตสำนึกผลิตส้มเขียวหวานที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภคของ คุณสมทรง อุตมา สาวแพร่คนเก่ง คุณสมทรง อุตมา อายุ 49 ปี ปัจจุบัน อยู่บ้านเลขที่ 135/1 หมู่ที่ 4 บ้านวังลึก อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ โทร. 093-045-9021 สามี คุณมีชัย อุตมา มีลูกชาย 2 คน คนที่ 1 น้องจักรพงษ์ อุตมา จะเป็นคนที่รับไม้ต่อการทำเกษตรของครอบครัว มีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำเกษตร ได้รับการคัดเลือกให้ไปฝึกอบรมด้านการเกษตรที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 1 ปี เพื่อฝึกงานฟาร์ม หาประสบการณ์ด้านการเกษตร การบริหารจัดการฟาร์มและการตลาด ซึ่งเป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและ
ส้มเขียวหวาน กล่าวได้ว่าเป็นผลไม้สุขภาพชนิดหนึ่ง มีสรรพคุณและคุณค่าทางโภชนาการมากมายโดยเฉพาะมีวิตามินซี วิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) วิตามินดี มีธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และคอลลาเจน ทั้งยังมีใยอาหารที่ช่วยเกี่ยวกับระบบขับถ่าย หาซื้อมารับประทานเลยครับ ทั้งตามตลาดสด ห้างโมเดิร์นเทรด แม้แต่ในร้านสะดวกซื้อ ซื้อหามาแล้วเพียงปอกเปลือกรับประทานได้ หรือจะคั้นน้ำมาดื่มก็ได้สะดวกดี แต่ท่านผู้อ่านคงจะทราบนะครับว่า ส้มเขียวหวาน นั้นมีกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภคซึ่งเป็นปลายทางหลายขั้นตอน โดยเฉพาะการเริ่มต้นผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวาน 1 ปี หรือ 1 ฤดูกาล มีความหวังเพียงครั้งเดียว แต่ตลอดฤดูกาล หรือ 12 เดือน เกษตรกรต้องคอยดูแลเอาใจใส่อย่างใจจดใจจ่อ เพราะลงทุนไปแล้วจะได้ผลคุ้มทุนหรือไม่ ลงทุน 100 อาจได้ผล 70 เพราะมีปัจจัยความเสี่ยงหรือตัวแปรหลายอย่าง ทั้งฝนฟ้าอากาศ โรคแมลง ฯลฯ ก็เพียงเพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาด ทำรายได้มาเลี้ยงดูครอบครัว ผมลงพื้นที่ไปดูสวนส้มเขียวหวานของเกษตรกรรายหนึ่ง ซึ่งผลิตส้มเขียวหวานที่มีรสชาติดี มีการดูแลการผลิตตามมาตรฐาน GAP นำผล
ใครจะคิดว่าเกษตรปลูกส้มวัยเพียง 27 ปี สามารถสร้างผลผลิตได้มากถึง 1 ล้านกิโลกรัม/ปีได้ ‘คุณปองภพ สุรินทร์ตา’ ถือเป็นเด็กหนุ่มรุ่นใหม่ ที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่ปี แต่วันนี้สานฝัน เดินตามรอยเท้าผู้เป็นพ่อ เข้าสู่อาชีพเกษตรปลูก ‘ส้มสายน้ำผึ้ง’ บนพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ส่งผลผลิตเข้าไปในตลาดได้มากถึง 1 ล้านกิโลกรัม ต่อปี เกษตรกรหนุ่มคนนี้ มีเคล็ดลับอะไร ถึงทำให้ ‘ส้มสายน้ำผึ้ง’ เป็นที่ต้องการของตลาด และสร้างรายได้ให้กับเขาได้ วันนี้เขาจะมาเล่าเทคนิค และเคล็ดลับการปลูกส้ม ให้ได้ผลผลิตที่แตกต่าง ส้มลูกงาม ผลใหญ่ เข้าสีสวย ขายได้ราคา เป็นที่ต้องการของตลาด สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ ผ่านรายการ ‘เสียงจริง เกษตรกรยารา’ แล้วจะได้รู้ว่า เทคนิคที่ว่า ง่ายนิดเดียว! #ปุ๋ยยารา #ปลูกส้มสายน้ำผึ้ง #เสียงจริงเกษตรกรยารา #ยารา #เทคโนโลยีชาวบ้าน
ลบภาพจำการปลูกส้มที่เคยมีมา จากที่เมื่อก่อนหลายท่านคิดว่า ส้มจะปลูกให้ดีได้ต้องปลูกที่ภาคเหนือเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้มีเกษตรกรรุ่นใหม่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า “ส้ม” สามารถปลูกบนพื้นที่ใดก็ได้ แม้แต่สภาพพื้นที่เป็นดินทรายอย่างทางภาคอีสานก็สามารถปลูกส้มให้ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพได้แล้ว เพียงต้องอาศัยเทคนิคและความขยันในการปรับปรุงบำรุงดินสักหน่อย คุณสมยศ บ่อหิน อยู่บ้านเลขที่ 103 หมู่ที่ 2 ตำบลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เกษตรกรคนเก่งผู้พลิกผืนดินทรายมาปลูกส้มสายน้ำผึ้ง แถมยังได้ส้มคุณภาพดี อย่างที่ปลูกในพื้นที่ภาคเหนืออีกด้วย คุณสมยศ เล่าว่า ก่อนที่จะมาทำสวนส้ม ตนประกอบอาชีพวิ่งรถขายเคมีเกษตรมาก่อน ซึ่งในขณะนั้นได้พบเจอกับเกษตรกรมากหน้าหลายตา จนวันหนึ่งมีโอกาสเข้าไปขายเคมีเกษตรในสวนส้มที่อำเภอฝาง ได้ไปเจอกับเกษตรกรผู้ที่คร่ำหวอดในวงการส้ม เขาให้ความรู้เรื่องการปลูกส้มมามากมาย ก็ได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากตรงนั้นมาวันละเล็กวันละน้อย จนสามารถชวนพี่ที่สนิทกันหาเช่าพื้นที่ทดลองทำสวนส้มที่อำเภอฝางแล้วค่อนข้างได้ผลดี จึงได้ทดลองนำมาปลูกที่บ้านจังหวัดบึงกาฬบ้าง ปลูกไปปลูกมาเริ่มติดใจและประ