ส้มโอ
ส้มโอ เป็นผลไม้ที่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะให้ผลผลิต จึงทำให้การทำสวนส้มโอในอดีตเป็นไปอย่างช้าๆ และไม่มีการขยายพื้นที่มากเหมือนพืชชนิดอื่น และส้มโอเป็นผลไม้ที่มีราคาดี ไม่เคยมีการประท้วงนำผลส้มโอไปเททิ้งให้เป็นข่าวเป็นคราว ทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญลงทุนไม่สูง ปัจจุบัน มีการขยายพื้นที่ปลูกต้นส้มโอกันมากขึ้น และปลูกได้ทั่วประเทศ ที่จังหวัดแพร่ มีสองสามี-ภรรยา เปลี่ยนชีวิตจากผู้มีรายได้ประจำ กลับบ้านเกิดมาขยายพื้นที่ปลูกส้มโอ ก็ยังพอมีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว คุณวรรัตน์ จันทรมงคล หรือ โอ๋ อายุ 45 ปี บ้านเลขที่ 150 หมู่ที่ 9 บ้านคอกช้าง ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150 โทร. 082-171-2517 สามี คุณนิคม มะโนมูล หรือ คม ทั้งสองสามีภรรยาเคยใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี แต่ชีวิตหักเห กลับมาตั้งหลักปักฐาน ทั้งสามี-ภรรยา-ลูก ที่บ้านสามี ตั้งแต่ปี 2557 คุณโอ๋ เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า “ถิ่นกำเนิดเดิมเป็นชาวพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เข้าทำงานโรงงานเย็บผ้า จนได้มาพบกับคุณนิคม เป็นครอบครัวเดียวกัน แต่เนื่องจากบ้านสามีที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ไม่มีใครดูแล จึงจำเป็นต
ทับทิมสยาม ไม่ใช่พันธุ์ส้มโอดั้งเดิมในพื้นที่ปากพนัง หากแต่เป็นส้มโอพันธุ์พูโก หรือ ปูโก พืชท้องถิ่นเมืองของบ้านปราโอ ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ที่ร่วมปลูกกับส้มโอพันธุ์อื่นๆ เช่น ขาวทองดี โรตี บานหยา เป็นต้น รวมไปถึงการทำเป็นสวนผสมผลไม้ชนิดอื่นๆ ไปพร้อมด้วย ทั้ง มังคุด ทุเรียน ลองกอง เงาะ เป็นต้น มีข้อมูลที่ คุณวิรัตน์ ธรรมบำรุง ผู้อำนวยการสำนักวิจัย และพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 สุราษฎร์ธานี เล่าถึง คุณหวัง มัสแหละ นำกิ่งพันธุ์มาปลูกเป็นรายแรก ในปี พ.ศ. 2523 จากนั้นก็แพร่หลาย เป็นที่รู้จักกันต่อๆ มา จนถึงเมื่อราวปี พ.ศ. 2544 คุณอัมพร สวัสดิ์สุข บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 15 บ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย เกษตรกรเมืองปากพนังเริ่มปลูกในพื้นที่ของตนเอง ต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น ที่บ้านแสงวิมาน หมู่ที่ 13 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยปกติแล้ว พื้นที่ในเมืองนครศรีธรรมราชก็มีพืชท้องถิ่นอื่นๆ อีกหลากหลายชนิด ทั้งทุเรียน มังคุด ลองกอง เงาะ ตลอดจนส้มโออยู่แล้ว แต่เมื่อได้ทดลองนำกิ่งพันธุ์ส้มโอชนิดใหม่มาปลูก ก็ดูจะให้ผลผลิตดี โดยเฉพาะพื้นที่ในอำเภอปากพนัง ที่มีสภาพเป็
เจ้าหน้าที่อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย พร้อมด้วย ผู้แทนคลังจังหวัดเชียงราย ไปรษณีย์จังหวัดเชียงราย พาณิชย์จังหวัดเชียงราย ธ.ก.ส. สำนักงานเชียงราย ร่วมประชุมการเตรียมการแก้ไขปัญหาผลผลิตส้มโอเวียงแก่น เมื่อเร็วๆ นี้
ส้มโอขาวแตงกวา เป็นไม้ผลเศรษฐกิจเฉพาะถิ่นของจังหวัดชัยนาท ที่ปลูกสืบต่อกันมากว่า 100 ปี ปลายปี 2554 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้พื้นที่ปลูกส้มโอเสียหายอย่างมาก สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท จึงเร่งฟื้นฟูและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกทดแทนหรือปลูกในพื้นที่ใหม่ ให้ปลูกในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมเพื่อผลิตส้มโอขาวแตงกวาคุณภาพ และเพื่อให้เกษตรกรสามารถยกระดับรายได้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคงยั่งยืน เมื่อปลายปี 2554 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้พื้นที่ปลูกส้มโอขาวแตงกวาเสียหายไปมาก จึงต้องเร่งฟื้นฟูการปลูกและผลิตส้มโอขาวแตงกวาคุณภาพให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (สสข.ที่ 1) จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อผลิตส้มโอขาวแตงกวาคุณภาพ ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายร่วมกันอนุรักษ์ส้มโอขาวแตงกวา จีไอ หรือ GI (Geographical Indications) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะ ซึ่งเป็นไม้ผลท้องถิ่นพันธุ์ดั้งเดิมคุณภาพดีและเป็นไม้ผลเศรษฐกิจสำคัญ ให้คงอยู่คู่กับจังหวัดชัยนาทสืบไป คุณลุงเสรี กล่อมน้อย
กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งเสริมให้นักวิชาการและเกษตรกรคัดเลือกพืชในพื้นที่ขึ้นมาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ เพื่อพัฒนาความรู้ทั้งด้านการผลิต การตลาด และส่งเสริมให้เป็นผลไม้อัตลักษณ์ประจำถิ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ได้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2564 สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ ได้เลือก “ส้มโอ” ซึ่งมีเกษตรกรปลูกกันมาเมื่อหลายสิบปีก่อน และจังหวัดแพร่ มีแนวทางในการพัฒนาและการปลูกส้มโอคุณภาพ ดังนั้น เริ่มจากต้นปี พ.ศ. 2564 สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ และสำนักงานเกษตรอำเภอลอง ได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ ในเรื่องอัตลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ที่จะเกาะเกี่ยวร่วมมือกับทางราชการ ในการผลักดันเรื่องดังกล่าว ผลที่เกิดขึ้นหลังการฝึกอบรม เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอตื่นตัวในการร่วมผลักดันให้ส้มโอเมืองลองได้รับการส่งเสริมและจดทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indications) ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาอัตลักษณ์/ภูมิปัญญาท้องถิ่นส้มโอเมืองลอง จำนวน 7 คน ประกอบด้วย คุณสังวาล ทิน่าน ประธานคณะทำงาน คุณวิโรจน์ ท้วมแก
แหล่งปลูกส้มโอสำคัญของบ้านเรา เดิมทีพบในที่ลุ่มภาคกลาง แต่เพราะการสื่อสารและเทคโนโลยีการเกษตรที่ก้าวหน้าขึ้น จึงมีแหล่งปลูกส้มโอใหม่ๆ ซึ่งก็ทำได้ดี ถึงขั้นส่งออกได้ อย่างส้มโออำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ส้มโออำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก งานเกษตรที่นี่ขึ้นชื่อมากคือ ทำนา และไร่ข้าวโพด ตามด้วยมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง หากบอกว่า ที่นี่เกษตรกรปลูกส้มโอได้ผลดี แทบจะไม่มีใครเชื่อ งานปลูกส้มโอ ต่างจากทำไร่ข้าวโพด เพราะปลูกเพียงครั้งเดียว เก็บกินยาว 20-30 ปี ระยะแรกๆ ก่อนที่ส้มโอจะให้ผลผลิต เจ้าของที่ดินสามารถปลูกพืชแซม สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว เดิมที่นี่ปลูกส้มโอไม่กี่ราย แต่เพราะขายได้ดีจึงปลูกเพิ่มขึ้น ธรรมชาติยังดี คุณสหเขต ชัยชนะ อยู่บ้านเลขที่ 188 หมู่ที่ 3 ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการปลูกส้มโอ เขาปลูกพันธุ์ขาวแตงกวาเป็นส่วนใหญ่ พันธุ์ท่าข่อย มีอยู่ราว 20 ต้น ตำบลชมพู อยู่ห่างจากถนนสายอินทร์บุรี-วังทอง พอสมควร ทีมงานไปถึงบ้านคุณสหเขต จากนั้นขับรถต่อไปยังแปลงปลูกส้มโอ อยู่ห่างจากบ้านราว 4 กิโลเมตร ถนนหน
เวียงแก่นเป็นอำเภอสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายที่เป็นแหล่งปลูกส้มโอมีคุณภาพสูงอันเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศที่เหมาะสม เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ พื้นที่ปลูกส้มโอของอำเภอเวียงแก่น มีประมาณ 8,000 ไร่ ให้ผลผลิต 7,797 ไร่ หรือประมาณ 27 ล้านลูก ตลาดส้มโอเวียงแก่นที่ส่งขายในประเทศ ได้แก่ ห้างค้าส่งใหญ่ ตลาดขายส่งในกรุงเทพฯ และหลายจังหวัด ห้างโมเดิร์นเทรด ส่วนตลาดต่างประเทศส่งออกไปยังตลาดในแถบเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ขณะเดียวกัน ยังสามารถส่งออกไปยังกลุ่มประเทศยุโรป หรืออียู และอีกหลายแห่งในอนาคต สร้างความสนใจและจริงจังให้กับชาวบ้านในพื้นที่หันมาปลูกส้มโออย่างมีคุณภาพ แล้วมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มภายใต้การกำกับดูแลของภาคราชการที่รับผิดชอบเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกส้มโออย่างมีระบบ ได้มาตรฐาน “ส้มโอแปลงใหญ่ตำบลหล่ายงาว” เป็นอีกกลุ่มที่มีผลงานปลูกส้มโอได้ดีมีคุณภาพมายาวนาน ได้รับการส่งเสริมจากสหกรณ์การเกษตรอำเภอเวียงแก่น จำกัด คุณอาทิตย์ อินเทพ คณะกรรมการสหกรณ์ ให้ข้อมูลว่า ส้มโอที่ได้รับการส่งเสริมจากสหกรณ์การเกษตรอำเภอเวียงแก่น จำกัด คือผ่านมาตรฐานความป
อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ในอำเภอแห่งนี้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การปลูกข้าว การทำไร่อ้อย และพืชไร่อื่นๆ อีกหลายชนิด ในส่วนของพืชสวนอย่างส้มโอเป็นอีกหนึ่งพืชที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยทำการตลาดส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในขณะนี้ผลผลิตอย่างส้มโอมีกำลังผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพราะด้วยรสชาติที่ดีในแต่ละปีเมื่อมีผลผลิตออกจำหน่าย ลูกค้าต่างเข้ามาติดต่อขอซื้อกันอย่างมาก จึงทำให้เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่ขึ้นชื่อของอำเภอบ้านแท่นไปแล้วในเวลานี้ คุณประจวบ ป้อมสุวรรณ เกษตรกรปลูกส้มโออยู่ที่อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ปลูกส้มโอจนประสบผลสำเร็จ สามารถทำการตลาดส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ จึงทำให้เกิดรายได้จากการจำหน่ายส้มโอเป็นอย่างดี พร้อมทั้งทำการผลิตกิ่งพันธุ์จำหน่าย ช่วยให้นอกจากจำหน่ายผลผลิตแล้ว ยังเกิดรายได้จากการตอนกิ่งพันธุ์จำหน่ายอีกด้วย แบ่งพื้นที่ทำนา มาปลูกส้มโอพันธุ์ทองดี คุณประจวบ เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนยึดการทำเกษตรเชิงเดี่ยวเพียงอย่างเดียว คือ การทำนา แต่ด้วยระยะหลังมานี้ผลผลิตมีบางช่วงที่ได้ราคาไม่ดีนัก จ
นอกจากส้มเขียวหวานและส้มโอที่มีการปลูกในประเทศมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ในระยะเวลาต่อมาเกษตรกรได้ทำการคัดเลือกต้นพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ รวมทั้งมีการนำพันธุ์ส้มชนิดและสายพันธุ์ต่างๆทั้งส้มโอ ส้มติดเปลือก และโดยเฉพาะส้มเปลือกล่อนจากต่างประเทศ เข้ามาทดลองปลูกอีกหลายสายพันธุ์ ส้มบางสายพันธุ์ที่มีการปรับตัวและการพัฒนาที่ดี สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับและต้องการของผู้ บริโภค ทำให้ปัจจุบันมีสายพันธุ์ของส้มเปลือกล่อน และส้มที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านลักษณะคุณภาพ และรสชาติ ให้เลือกบริโภคตามความต้องการ ปัจจุบันมีส้มเปลือกล่อนที่เกษตรกรนิยมปลูกในประเทศ ได้แก่ 1.ส้มเขียวหวาน พันธุ์บางมด (บางล่าง/กิ่งอ่อน) 2.ส้มเขียวหวาน พันธุ์แหลมทอง (บางบน/กิ่งแข็ง) 3.ส้มสีืองหรืส้มผิวทองซึ่งตามความเป็นจริง คือส้มเขียวหวาน หรือพันธุ์แหลมทอง ที่นำไปปลูกจังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่ หากแต่ผลส้มที่มีสีของเปลือกผลเป็นสีส้มแดง แทนที่จะมีเปลือกเป็นสีเขียว เนื่องจากอิทธิพลของอากาศเย็น 4.ส้มฟรีมองต์ 5.ส้มสายน้ำผึ้ง (หรือส้มโชกุน) 6.ส้มออร่า (พวงทอง/ออร่า 9) 7.ส้มซัสซุมา 8.ส้มพองแกน
ส้มโอ ของจังหวัดนครปฐม ปลูกในหลายอำเภอ คือ อำเภอเมืองนครปฐม สามพราน พุทธมณฑล นครชัยศรี แต่คนทั่วไปจะรู้จักส้มโอของจังหวัดนครปฐม ในนาม “ส้มโอนครชัยศรี” ทั้งนี้ เป็นเพราะเมื่อก่อนการปกครองส่วนท้องถิ่นบริเวณนี้ มีมณฑลนครชัยศรี ชาวบ้านปลูกส้มโอกระจายในหลายพื้นที่ หลังๆ นครชัยศรีมีฐานะเป็นอำเภอ ผู้คนก็ยังติดใจและฝังใจกับส้มโอนครชัยศรีอยู่ ทั้งๆ ที่พื้นที่ปลูกส้มโอเลิศรส กระจายไปหลายอำเภอ เป็นที่ยอมรับกันว่า ที่ราบลุ่มดินตะกอน อย่าง กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ผืนดินเกิดจากการทับถมมานาน เนื้อดินมีคุณสมบัติพิเศษ ปลูกผลไม้ได้คุณภาพเยี่ยม ตัวอย่าง ทุเรียนจังหวัดนนทบุรี พืชอื่นๆ ก็อร่อยอย่างมีนัยยะ เช่น กล้วย มะพร้าว ส้มโอ พื้นที่จังหวัดนนทบุรี อยู่ใกล้กรุงเทพฯ แหล่งเกษตรจึงลดน้อยถอยลงตามลำดับ จังหวัดนครปฐม ถึงแม้อยู่ติดกรุงเทพฯ แต่การรุกคืบทางด้านวัตถุไม่รวดเร็วนัก ดังนั้น จึงมีงานเกษตรหลากหลาย พืชหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด อย่าง ส้มโอ ก็ยังมีปลูกกันอยู่ ถึงแม้จะล้มตายลงเป็นจำนวนมากเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 แรกเริ่มเดิมที ส้มโอนครปฐมปลูกกันหลายพันธุ์ ต