หมู
กรมปศุสัตว์ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงสัตว์ และคณะทำงานปราบปรามการใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงสุกรและโคขุน หวังขจัดการลักลอบใช้สารอันตรายให้หมดจากประเทศไทย นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต รักษาการอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์ มีนโยบายปราบปรามการใช้สารเร่งเนื้อแดงทั้งระบบ โดยเฉพาะในสุกรและโคขุนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์ปัจจุบันมีการใช้สารเร่งเนื้อแดงลดน้อยลงอย่างมาก ดังจะเห็นได้จาก เมื่อปี 2557 พบสารเร่งเนื้อแดงในปัสสาวะสุกร ร้อยละ 3.5 ขณะที่ในปี 2560 ที่ผ่านมา พบร้อยละ 0.7 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เนื้อสัตว์ของไทยปลอดจากสารเร่งเนื้อแดงอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตและจำหน่ายเนื้อสัตว์ปลอดภัย (Food Safety) สู่ผู้บริโภค กรมปศุสัตว์จึงแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีหน้าที่วางแผนและขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน กำหนดรูปแบบการปราบปรามการใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงสัตว์ทั้งการลักลอบใช้การนำเข้าเคมีภัณฑ์ การผสมสารดังกล่าวในอาหารสัตว์ที่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ที่ฟาร์มสุกร และที่
วันที่ 9 พ.ค. นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้หัวหมู 1,280 หัว ที่ริมเขื่อนแม่น้ำแม่กลอง เขตเทศบาลเมืองโพธาราม จ.ราชบุรี เนื่องในงานพิธีไหว้หัวหมู 4,338 หัว เสริมสิริมงคลทั่วไทย โดยมี น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย ประธานสหกรณ์การเกษตรปศุสัตว์ จำกัด นายพิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี นายสมคิด เรืองวิไลทรัพย์ ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรนครปฐม นายสวัสดิ์ จังพานิช นายกเทศมนตรีเมืองโพธาราม และเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู เข้าร่วมพิธีจำนวนมาก พร้อมทั้งแจกฟรีหัวหมู และหมูหัน ให้กับประชาชนที่เข้าร่วมงานได้หิ้วกลับบ้านกันอีกด้วย ทั้งนี้พิธีดังกล่าวจัดขึ้นพร้อมกัน ทั้ง 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ ไหว้หัวหมู 499 หัว ภาคกลาง ที่ จ.สระบุรี 400 หัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.นครราชสีมา 402 หัว ภาคตะวันออก ที่ จ.ชลบุรี 1,198 หัว ภาคใต้ ที่ จ.สงขลา 559 หัว และภาคตะวันตก ที่ จ.ราชบุรี 1,280 หัว รวมหัวหมูที่ใช้ในพิธีทั้งสิ้น 4,338 หัว โดยหลังจากพิธีเซ่นไหว้หัวหมู ได้มีการแสดง “รณรงค์บริโภคหมูไทย พิษภัยหมูใช้สารเร่งเนื้อแ
กระทรวงเกษตรฯ เตรียมร่วมคณะพาณิชย์ถกเปิดเสรีนำเข้าหมูสหรัฐ ยืนยันหลักการต้องเป็นฟาร์มปลอดภัยไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดงเท่านั้น นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้คณะทำงานในการหารือเรื่องของการนำเข้าหมูจากสหรัฐอเมริกาเตรียมเดินทางไปเจรจาเงื่อนไขการนำเข้าหมูจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งน่าจะเป็นการเจรจาด้านเทคนิค ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ โดย กรมปศุสัตว์ รับผิดชอบพ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์พ.ศ. 2558 ที่ห้ามผู้เลี้ยงผสมสารเร่งเนื้อแดงในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ รวมถึงหมู จะร่วมเป็นคณะเจรจาด้วย เบื้องต้น กระทรวงเกษตรฯยังยืนยันคำเดิมคือไม่ให้นำเข้าหมูที่มีการใช้สารเร่งเนื้องแดง ซึ่งฟาร์มหมูของสหรัฐอเมริกายังอนุญาคตให้ใช้ นายอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ยืนยันคำตอบเหมือนเดิม คือห้ามหมูที่มีสารเร่งเนื้องแดงส่งเข้าขายในเมืองไทย แต่หากอเมริกาต้องการขายหมูมาเมืองไทย ต้องมาจากฟาร์มที่ปลอดภัย ไม่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดง ซึงขณะนี้มาตรฐานที่ไทยกำหนดถือว่าดีอยู่แล้ว เพราะจะไม่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างเลยเพราะไม่ได้อนุญาตให้ใช้ นอกจากนี้ปริมาณผลผลิตหมูในประเทศไทย ขระนี้ก็ล้นตลาดเกินค
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ร.ต.อ.วิเชียร อุปนันทน์ ร้อยเวร สภ.ย่อยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อ.เมืองเพชรบุรี รับแจ้งจากชาวบ้านหมู่ 1 ต.ดอนยาง อ.เมือง จ.เพชรบุรี ว่าพบซากสุกรจำนวนมากถูกทิ้งไว้ในคลองส่งน้ำD 18 หมู่ 1 ต.ดอนยาง จึงประสานตำรวจพิสูจน์หลักฐานจังหวัดเพชรบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรุดไปตรวจสอบพร้อมด้วยนายวีรวัฒน์ จากขันธ์ ปศุสัตว์อำเภอเมือง นายจักรพันธุ์ ปุณะตง สัตวแพทย์ชำนาญการด่านกักสัตว์เพชรบุรี นายพัสกร บุญผูก ปลัด อบต.ดอนยาง นายคำรณ สุพล กำนันตำบลดอนยาง นายสมเกียรติ หับเผย ผญบ.หมู่.1 ต.ดอนยาง ภายในคลองส่งน้ำ D 18 พบซากสุกรที่ชำแหละแล้วเป็นชิ้นส่วนใหญ่ประกอบด้วย ช่วงขาหน้าซ้าย-ขวา ,ขาหลัง ซ้าย-ขวา, และส่วนหัว กว่า 100 ชิ้น ลักษณะเน่าขึ้นอืดส่งกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงลอยอยู่ในน้ำ และตกหล่นอยู่บริเวณไหล่ทางถนนลูกรังเลียบคลองอีกกว่า 10 ชิ้น เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ เจ้าหน้าที่ด่านกักสัตว์เพชรบุรี ชาวบ้าน และอาสาสมัครหน่วยกู้ภัยตำรวจทางหลวงเพชรบุรี ต้องใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงร่วมกันเก็บซากสุกรทั้งหมดใส่รถบรรทุก 6 ล้อขนาดใหญ่จึงแล้วเสร็จ สอบถามนายณรงค์ หับเผย อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 10
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 มีนาคม กระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทของเกาหลีใต้ออกมายืนยันการตรวจพบเชื้อปากและเท้าเปื่อยภายในฟาร์มสุกรแห่งหนึ่ง ที่เมืองกิมโป ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโซล เกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นการพบเชื้อนี้เป็นครั้งแรกในเกาหลีใต้นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา โดยมีการรายงานพบการติดเชื้อ เมื่อ วันที่ 26 มีนาคม และได้มีการสั่งฆ่าสุกรราว 900 ตัว ในฟาร์มดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการประกาศแจ้งเตือนโรคปากและเท้าเปื่อยทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนรับทราบและควบคุมไม่ให้เกิดการระบาด อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ เกาหลีใต้ ระบุว่า ไม่น่าจะเกิดการระบาดขึ้น เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันทั้งในสุกรและปศุสัตว์อื่นๆ ทั่วประเทศแล้ว ที่มา : มติชนออนไลน์
นายสุรชัย สุทธิธรรม สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ราคาสุกรตกต่ำทั่วประเทศ ซึ่งเกิดจากการที่เกษตรกรขยายแม่พันธุ์สุกรเกินปริมาณที่จำเป็นจากปกติที่ทั่วประเทศควรมีแม่พันธุ์ไม่เกิน 1 ล้านตัว แต่ขณะนี้คาดว่ามีมากถึง 115,0000 ตัว โดยในแม่พันธุ์ 1 ตัวสามารถให้ลูกได้ถึง 20 ตัวต่อปี ส่งผลให้ขณะนี้มีลูกสุกรเกิดมามากถึง 2-3 ล้านตัว จากเดิมที่มีประมาณ 1 ล้านตัวเท่านั้น สาเหตุที่มีแม่พันธุ์เกินความต้องการ เป็นเพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมาราคาสุกรค่อนข้างดีและมีเสถียรภาพทำให้เกษตรกรขยายฟาร์มและแม่พันธุ์ออกไปเรื่อยๆ ทำให้ราคาจำหน่ายสุกรหน้าฟาร์มต่อกิโลกรัม (ก.ก.) ตกต่ำโดยราคาสุกรหน้าฟาร์มภาคตะวันตก ราคา 46-47 บาท ตะวันออก 50 บาท อีสาน 49 บาท เหนือ 54 บาท ใต้ 52 บาทเท่านั้น จากที่เคยจำหน่ายได้เฉลี่ยก.ก.ละ 65 บาท เท่ากับว่าขาดทุนเฉลี่ยถึงตัวละ 1,500 บาท และคาดว่าจะยังคงราคานี้ต่อไปอีกสักระยะ จนกว่าแผนการลดจำนวนแม่พันธุ์สุกรจะได้ผล โดยขณะนี้ทางสมาคมอยู่ระหว่างการลดจำนวนแม่พันธุ์ทั้งประเทศด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อรณรงค์ให้มีการบริโภคสุกรมากขึ้นเช่นการทำหมูหันเพื่อลดแม่พันธุ์ กิจกรรมจำหน่าย เนื
นายธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (พิกบอร์ด) ว่า จากราคาหมูที่ลดลง 25% จากราคา 60 บาท/กิโลกรัม (กก.) ลดเหลือ 45 บาท/กก.ในรอบ 6 เดือน ปัจจุบันประเทศไทยบริโภคหมูประมาณวันละ 50,000 ตัว จากราคาที่ลดลงขาดทุนตัวละ 1,500 บาท ส่งผลให้ผู้เลี้ยงขาดทุนวันละ 75 ล้านบาท หรือขาดทุน 13,500 ล้านบาท โดยราคาหมูสัปดาห์แรกของเดือน ม.ค. 2561 ภาคเหนือราคาเฉลี่ย 54 บาท/กก. ภาคอีสานราคา 45 บาท/กก. ภาคตะวันออกราคา 48 บาท/กก.ภาคตะวันตกราคา 40 บาท/กก. และภาคใต้ราคา 47 บาท/กก. เฉลี่ยหมูในประเทศ 46.80 บาท/กก. ทั้งนี้ จากราคาสุกรต่ำและผู้เลี้ยงรายย่อยขาดทุนเพราะราคาจำหน่ายต่ำกว่าต้นทุน สมาคมและผู้เลี้ยงต่าง ๆ ขอเงิน 1,190 ล้านบาท เพื่อทำ3 กิจกรรม คือ 1.ตัดวงจรหมูขุนเพื่อทำหมูหัน 1 แสนตัว ขนาดน้ำหนัก8 กก. ชดเชยให้เกษตรกร 400 บาทต่อตัว รวมเป็นเงินงบประมาณ 40ล้านบาท ระหว่างเดือน ก.พ.-พ.ย. 2561 2.ปลดแม่สุกร 10% จำนวน 1 แสนตัว ชดเชยให้เกษตรกร 6,000 บาทต่อตัว รวมเงินงบประมาณ 600 ล้านบาท และ 3.การนำเนื้อสุกรเก็บเข้าห้องเย็น 1 แสนตัว ราคาตัวละ 5,50
ประเด็นการเจรจาเปิดตลาดนำเข้าหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงจากสหรัฐอเมริกา ถือเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนที่ค้างคามาจากปี 2560 หลังจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ นำบรรดาผู้เลี้ยงสุกรบุกล็อบบี้หารือกับผู้บริหารกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศมาหลายรอบ เพื่อไม่ให้รัฐบาลไทยไฟเขียวนำเข้าสุกร หรือหมูที่ปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง “แรกโตพามีน(Ractopamine)” แต่ดูเหมือนผู้เลี้ยงหมูจะทำได้แค่ประวิงเวลาเท่านั้น ก่อนหน้านี้ นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เคยเสนอเปิดให้นำเข้า แต่ต้อง “ติดฉลาก” (label) ว่า ใช้หรือไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดงหรือไม่ ไทยมุ่งกำจัดสารเร่งเนื้อแดง แต่ล่าสุด “น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้มุมมองใหม่ว่าควรให้สหรัฐนำเข้าเฉพาะ “หมูที่ไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง” โดยเสนอให้ไทยและสหรัฐหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ว่า “ในช่วงที่มีประเด็นการเจรจาเรื่องหมู เป็นช่วงที่อยู่กระทรวงเกษตรฯพอดี ซึ่งไม่เคยมีปัญหาเรื่องการเจรจาในประเด็นนี้ เพราะนโยบายของประเทศไทยชัดเจนมาก คือ “มุ่งกำจัดสารเร่งเนื้อแดง” ไม่ว่าจะมีการเจรจาหรือไ
ในภาวะที่หมูราคาตกต่ำ ราคาขายหน้าฟาร์มเหลือเพียงกิโลกรัมละ 43 บาท จากเมื่อก่อนราคากิโลกรัมละ 63 บาท เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องเจอภาวะขาดทุนตัวละ 800-1,000 บาท และนอกจากขาดทุนแล้วเกษตรกรยังต้องเผชิญกับภาวะกดดันจากการแทรกแซงการตลาดของนายทุนใหญ่ที่เข้ามาครองตลาดไปกว่าครึ่ง ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยต้องยอมแพ้ปิดกิจการ สาบสูญกันไปตามๆ กัน จะอยู่ได้ก็แต่เพียงเกษตรที่สืบทอดกิจการจากรุ่นสู่รุ่น มีเงินทุนหมุนเวียนที่ดี ทำกันเองเป็นอุตสาหกรรมครอบครัวเพื่อลดต้นทุน หากจะหาเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายใหม่หาได้ยาก หรืออาจหาไม่ได้ด้วยซ้ำ ที่เห็นตอนนี้ก็จะมีแต่ทุบเล้าหมูทิ้ง ขายกระเบื้องขายที่ เอาเงินไปลงทุนทำธุรกิจอย่างอื่น แต่อย่างไรผู้คนในประเทศก็ยังต้องบริโภคหมูเป็นอาหารหลัก เกษตรกรผู้เลี้ยงก็ต้องสู้กันไป และควรสู้อย่างไรให้อยู่รอดพ้นวิกฤตไปให้ได้ คุณสุพรชัย จันธนะตระกูล บ้านเลขที่ 156 หมู่ที่ 7 ตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู เล่าว่า ตนเกิดมาในครอบครัวที่ทำกิจการฟาร์มหมูมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อ รุ่นแม่แล้ว โตขึ้นรู้เรื่องก็ต้องช่วยพ่อแม่เลี้ยงหมู ดังนั้น หากจะให้ไปทำอาชีพอ
น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และประธานสหกรณ์การเกษตรปศุสัตว์ราชบุรี จำกัด เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ธันวาคมนี้ นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเข้าพบ ซึ่งในการพบครั้งนี้ กลุ่มเกษตรกร จะทวงถามถึงนโยบายการเปิดนำเข้าหมูจากสหรัฐฯ และหารือแนวทางการควบคุมราคาสุกรตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางอย่างมีเหตุมีผลและเป็นธรรม ทั้งนี้พบว่าหมูต้นทางราคาถูกมาก แต่หมูปลายทางหรือหมูเขียงถึงผู้บริโภคมีราคาแพง จะเสนอให้ปล่อยลอยตัวราคาเหมือนน้ำตาลทราย หรือ ทบทวนโครงสร้างการใช้คำนวณราคากลางใหม่ เช่น อาจใช้ราคาหมูต้นทางศูนย์ 2 และบวก 2 เป็นราคาขายปลายทาง อย่างขณะนี้ราคาหมูต้นทางกิโลกรัมละ 46 บาท คิดคำนวณตามโครงสร้างนี้ราคาจะไม่เกิน 100 บาท ไม่ใช่ขายกันราคา 130-160 บาทอย่างทุกวันนี้ “ตอนนี้ราคาหมูต้นทางตกต่ำมาก เป็นผลจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก สวนทางการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ลดลง และการบริโภคลดลงจากกำลังซื้อคนไทยลดลง บางพื้นที่ราคาเหลือ 40 บาทต่อกิโลกรัม ก็พยายามจะพยุงให้ไม่ต่ำกว่า 50 บาท ถึงจะเหมาะสมกับต้นทุนเลี้ยง ที่แบกรับในเรื่องอาห